จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

บุญ กับ กุศล คือ อะไร

บุญเป็นอะไร?

สิ่งนั้น ๆ เป็นเหมือน ของเกลื่อนกลาด
ที่เป็นบาป เก็บกวาด ทิ้งใต้ถุน
ที่เป็นบุญ มีไว้ เพียงเจือจุน
ใช้เป็นคุณ สะดวกคาย คล้ายรถเรือ,
หรือบ่าวไพร่ มีไว้ใช้ ใช้ไว้แบก
กลัวตกแตก ใจสั่น ประหวั่นเหลือ
เรากินเกลือใช้จะต้องบูชาเกลือ
บุญเหมือนเรือ มีไว้ขี่ ไปนิพพาน
มีใช่เพื่อ ไว้ประดับ ให้สวยหรู
เที่ยวอวดชู แบกไป ทุกสถาน
หรือลอยล่อง ไปในโลก โอฆกันดาร
ไม่อยากข้าม ขึ้นนิพพาน เสียดายเรือฯ
                                       
                         
 พูดถึงคำว่าบุญ ชวนกันไปทำบุญสิ่งแรกที่เรามักนึกถึงเสมอ
ก็คือ เงิน การบริจาคเงิน บริจาคทรัพย์ การตักบาตร ถวาย
สังฆทาน ฯลฯ ซึ่งความเป็นจริงนั้น การทำบุญที่เสียเงินมีอยู่
อย่างเดียวคือ การให้ทาน อีก 9 อย่างอาจไม่ต้องมีเงินเข้า
มาเกี่ยวข้องเลยก็ว่าได้ ส่วนที่ว่าให้ ทานนั้นก็มิได้หมายถึง
การให้เงินกับขอทานเพียงอย่างเดียว การทำบุญมีอะไร
บ้างเรามาดูกันนะครับ

“ บุญ ” หรือ “ ปุญญ ” แปลว่า ชำระ หมายถึงการทำให้หมดจด จากมลทิน เครื่องเศร้าหมอง อันได้แก่ โลภะ โทสะ และ โมหะ


ตามพระไตรปิฎก เราสามารถสร้าง “ บุญ ” ได้ถึง ๓ อย่าง คือ


๑ . ทาน คือ การให้ เช่นที่กล่าวมาแล้ว คือ การตักบาตร บริจาคทรัพย์ ถวายสังฆทาน เป็นต้น ถือเป็น จาคะ หรือ การให้ นับเป็น บุญอย่างหนึ่ง แต่มีการให้บางประการที่ไม่นับเป็นบุญ เช่น สุรา มหรสพ ให้สิ่งเพื่อกามคุณ เป็นต้น


๒ . ศีล คือ ความประพฤติที่ไม่ละเมิด หรือรักษาความสำรวมทางกาย วาจา การรักษาศีลสำหรับฆราวาส ได้แก่ ศีล ๕ และอุโบสถศีล ( มี ๘ ข้อ )


๓ . ภาวนา ภาวนา คือ การอบรมจิต ทางสมถะและทางวิปัสสนา การนั่งสมาธิ เรียกว่า สมถะภาวนา ส่วนการนั่งวิปัสสนา ( สติรู้ถึงรูป – นาม ) เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา


“ บุญ ” ยังมีอีก ๗ อย่าง ตามอรรถกถา หรือข้อปลีกย่อย นอกเหนือจากพระไตรปิฎก นับถัดไปเป็นลำดับที่ ๔ ดังนี้


๔ . อปจายนะ ความเป็นผู้นอบน้อม ต่อผู้ที่ควรนอบน้อม


๕ . เวยยาวัจจะ ความขวนขวายในกิจหรืองานที่ชอบที่ควรกระทำ


๖ . ปัตติทาน การให้บุญที่ตนถึงแล้วแก่คนอื่น เช่นการ อุทิศส่วนกุศล การกรวดน้ำ


๗ . ปัตตานุโมทนา คือการยินดีในบุญที่ผู้อื่นถึงพร้อมแล้ว เช่น เห็นผู้อื่นทำบุญตักบาตร เมื่อเราพลอยปลื้มปิติยินดี กล่าวอนุโมทนา เพียงเท่านี้ ก็ได้บุญแล้ว


๘ . ธัมมัสสวนะ หรือการฟังธรรม ไม่ว่าจะฟังธรรมโดยตรง หรือจากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ Mp3 ฯลฯ


๙ . ธัมมเทศนา หรือ การแสดงธรรม เมื่อได้ศึกษาธรรมะแล้ว การถ่ายทอดให้แก่ผู้อื่น นับเป็นบุญประการหนึ่งด้วย


๑๐ . ทิฏฐุชุกรรม คือการกระทำความเห็นให้ตรง หรือ สัมมาทิฏฐิ นั่นเอง


บุญทั้ง ๑๐ ประการนี้ บางที่เรียกกันว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ จะเห็นว่าบุญทำได้ถึง ๑๐ อย่าง มีเพียงข้อแรกเท่านั้นที่ต้องใช้ทรัพย์ อีก ๙ ข้อล้วนไม่ต้องใช้ทรัพย์ รู้ว่าบุญทำได้อย่างนี้แล้ว วันนี้ คุณทำบุญแล้วหรือยัง แนะนำ หรือบอกช่วยส่งต่อเรื่องบุญนี้ ถือเป็นบุญประการหนึ่ง ดังพระพุทธวจนะ


                        “ การให้ธรรมะ ชนะการให้ทั้งปวง ”                 " ผู้รับธรรมะ และ นำไปปฏิบัตถือเป็นสิ่งสูงสุด
                                 มากกว่าสิ่งล้ำค่าทั้งปวง "

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น