จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิธีคิดแบบพระพุทธศาสนา แบบวิภัชชวาท

วิธีคิดแบบวิภัชชวาท

วิธีคิดแบบพระพุทธศาสนา แบบวิภัชชวาท

 วิธีคิดแบบวิภัชชวาท คำว่า วิภัชชวาทมาจาก วิภัชช + วาท วิภัชช แปลว่า แยกแยะ แบ่งออก จำแนก หรือแจกแจง ใกล้เคียงกับคำว่า วิเคราะห์ ส่วนคำว่า วาทแปลว่า การกล่าว การพูด การแสดงคำสอน ดังนั้นคำว่า วิภัชชวาท จึงแปลว่า การพูดแยกแยะ การพูดจำแนก หรือพูดแจกแจง หรือการพูดเชิงวิเคราะห์ ลักษณะสำคัญของการคิดและการพูดแบบนี้คือ การมองและแสดงความจริง โดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละแง่แต่ละด้าน แต่ละประเด็นครบทุกแง่ทุกด้าน ทุกประเด็น ไม่ใช่จับเอาประเด็นใดประเด็นหนึ่งมาคิดวิเคราะห์แล้วสรุปครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด

การคิดแบบวิภัชชวาทนี้แบ่งออกเป็นลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1. จำแนกในประเด็นของความจริง แบ่งย่อยออกเป็น 2 อย่างคือ
1.1 จำแนกตามประเด็นด้านต่าง ๆ ตามที่เป็นอยู่จริงของสิ่งนั้น ๆ คือมองหรือกล่าวตามความเป็นจริง ให้ตรงประเด็นและครบทุกประเด็น ไม่นำเอาประเด็นใดประเด็นหนึ่งมาสรุปในภาพรวม เช่น กล่าวถึงบุคคลผู้หนึ่งว่าเขาดีหรือไม่ดี ก็ชี้ตามความเป็นจริงว่า เขาดีอย่างไร หรือเขาไม่ดีอย่างไร แต่ไม่เหมารวมว่าเขาดีทุกด้าน หรือไม่ดีทุกด้าน เป็นต้น

 1.2 จำแนกโดยมองหรือแสดงความจริงของสิ่งนั้น ๆ ให้ครบทุกแง่ ทุกด้าน ทุกประเด็น คือ เมื่อมองหรือพิจารณาสิ่งใดไม่มองแคบ ๆ ไม่ติดอยู่กับส่วนเดียว แง่เดียว หรือไม่มองในด้านเดียวของสิ่งนั้น ๆ เช่น เขาดีในแง่ใด ด้านใด หรือไม่ดีในแง่ใด ด้านใด เป็นต้น เป็นลักษณะเสริมในข้อแรก

2. จำแนกโดยส่วนประกอบ คือวิเคราะห์แยกแยะออกไปให้รู้เท่าทันตามความเป็นจริงของสิ่งนั้น ๆ เช่น มีองค์ประกอบย่อยอะไรบ้าง การคิดในลักษณะนี้ตรงกับวิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ

3. จำแนกโดยลำดับ คือ แยกแยะวิเคราะห์เป็นไปตามลำดับขั้นตอน เช่น การคิดแบบอริยสัจ หรือการคิดแบบวิธีการวิทยาศาสตร์จะต้องคิดเป็นไปตามลำดับขั้นตอนคือ คิดวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้น --> ตั้งสมมติฐาน --> ทดลอง --> วิเคราะห์ --> สรุปผล เป็นต้น
4. จำแนกโดยความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย คือสืบสาวหาเหตุปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์ต่อเนื่องกันของสิ่งของหรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ
เช่น สาเหตุที่ฝนตก มีเหตุปัจจัยดังนี้ คือ ความร้อน การระเหยของน้ำบนพื้นโลก ลม ความเย็น เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไม่ได้

5. จำแนกโดยเงื่อนไข คือมองหรือแสดงความจริงโดยพิจารณาจากเงื่อนไขต่าง ๆ ประกอบด้วย ยกตัวอย่างเช่น อาจพิจารณา
ปัญหาทางการศึกษาว่า ควรปล่อยให้เด็กพบเห็นสิ่ง ๆ ต่าง ๆ ในสังคม เช่น เรื่องราวต่าง ๆ หรือการแสดงต่าง ๆ ทางสื่อมวลชน อย่างอิสระเสรีหรือไม่ หรือแค่ไหนเพียงไร ถ้าตอบตามแนววิภัชชวาทในข้อนี้ จะต้องวินิจฉัยได้โดยพิจารณาเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนี้คือ

               1) ความโน้มเอียง ความพร้อม นิสัย ความเคยชินต่าง ๆ ของเด็กแต่ละคนที่ได้สะสมไว้โดยการอบรมเลี้ยงดู และอิทธิพลทางวัฒนธรรม เป็น เท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เป็นอย่างไรบ้าง พอที่จะรับรู้สื่อต่าง ๆ เหล่านั้นได้หรือไม่
              2) เด็กรู้จัดคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือคิดแบบแยบคาย รอบคอบ แยกแยก ฯลฯ ได้หรือไม่
              3) เด็กมีกัลยาณมิตร คือ มีบุคคลหรืออุปกรณ์คอยชี้แนะแนวทางความคิดความเข้าใจอย่างถูกต้องต่อสิ่งที่พบเห็นอย่างไรบ้าง
             4) ประสบการณ์ หรือสิ่งที่เด็กได้พบเห็นนั้น มีลักษณะหรือมีคุณสมบัติที่เร้า กระตุ้น หรือยั่วยุ รุนแรงมากน้อยถึงระดับใดดังนั้นจะเห็นได้ว่าเงื่อนไขต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นคำตอบของคำถามดังกล่าวว่าควรให้เด็กได้ดูสื่อหรือไม่ควรดูอย่างไร

6. วิภัชชวาทในฐานะวิธีตอบปัญหาอย่างหนึ่ง ลักษณะการตอบปัญญาแบบวิภัชชวาทนั้น เรียกว่า ปัญหาพยากรณ์ มี 4 อย่างคือ

1) เอกังสพยากรณ์ คือ การตอบในแง่เดียว หรือตอบอย่างเดียวเด็ดขาด (มีคำตอบถูกข้อเดียว)
2) วิภัชชพยากรณ์ คือ การตอบแบบแยกแยะ (เป็นวิธีการตอบแบบวิภัชชวาท)
3) ปฏิปุจฏาพยากรณ์ คือ การตอบโดยย้อนถาม
4) ฐปนะ คือ การหยุดยั้งหรือหยุดพูด หรือไม่ตอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น