จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เบิกเนตร:ทำไม ร.๙ ถึงเซ็นรัฐประหาร


 “พระมหากษัตริย์ กับ ผู้ถือหุ้นบริษัท”

เจ้าของประเทศ กับ เจ้าของบริษัท

ตอนที่ 1 “ทำไม ร.9 ลงนามให้กับการรัฐประหาร”


……………………………………….…………………………….

เมื่อวานผมรับโทรศัพท์จากญาติผู้ใหญ่ที่ผมเคารพนับถือ ปกติผมจะไม่พูดคุยหรือพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดคุยกับญาติพี่น้องหรือเพื่อนพ้องในเรื่องการเมือง เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันปัญหาที่น่ารำคาญใจ


แต่บ่อยครั้งการสนทนามักจบลงด้วยเรื่องการเมือง ที่อาจทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายบาดหมางกันเสมอไป


เมื่อวานนี้ก็เช่นกัน มันจบลงด้วยคำกล่าวของญาติผู้ใหญ่ของผมว่า ท่านยกยอและเทิดทูนในหลวงรัชกาลที่ 9 แต่…. (การลงท้าย ด้วยคำว่าว่า แต่…. คือตัวปัญหาเสมอ)


แต่รัชกาลที่ 9 เซ็นรัฐประหาร คืออะไร?


……………………………………….…………………………….

ผมเป็นคนใจเย็นมาก ถึงมากที่สุด แต่ถ้าใครกล่าวหาให้ร้ายในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งผมถือว่าพระองค์เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในชีวิตที่ผมประสบพบเจอ ผมจะอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ และผมถือเป็นหน้าที่ของผม ของประชาชนคนไทย ที่จะต้องแก้ต่างให้พระองค์


ผมยกตัวอย่างเปรียบเทียบระหว่างพระมหากษัตริย์ กับ ผู้ถือหุ้นบริษัท เพื่อให้ชาวบ้านอย่างเราๆ เห็นภาพตามคำอธิบายได้ง่ายๆ


คงไม่มีใครปฏิเสธว่า แต่ดั่งแต่เดิมพระมหากษัตริย์ คือเจ้าของประเทศ (พระองค์ได้มอบความเป็นเจ้าของประเทศให้กับประชาชนหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475)


ผมตั้งคำถามว่า บริษัทใหญ่ยักษ์ในประเทศไทยทั้งหมด เช่น ปตท การบินไทยฯลฯ มีใครคือเจ้าของบริษัท


ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการ หรือผู้ถือหุ้นของบริษัท


คำตอบคือ 

ผู้ถือหุ้น คือเจ้าของบริษัท ใช่หรือไม่


ประเทศไทยก็เหมือนกัน!


เจ้าของประเทศ คือพระมหากษัตริย์ (และในปัจจุบันคือประชาชนทุกคน)


ผู้บริหาราชการแผ่นดินหรือผู้บริหารประเทศ ไม่ใช่ พระมหากษัตริย์หรือประชาชน แต่เป็น รัฐบาล รัฐสภาและศาล


เช่นเดียวกับบริษัทเอกชน บริษัทมหาชน ที่ผู้บริหารธุรกิจคือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการ กรรมการบริหารของบริษัทและผู้จัดการฝ่ายต่างๆ


ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท ไม่มีอำนาจหรือหน้าที่ในการบริหารงาน


แต่การกระทำใดๆ ในการบริหารบริษัท ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท ต้องได้รับการรับรู้


เช่นเดียวกับ การกระทำใดๆ ในการบริหารราชการแผ่นดิน พระมหากษัตริย์ ต้องได้รับการรับรู้


……………………………………….…………………………….

นอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ยังมีบทบาทเป็นประมุขของประเทศ อันเป็นที่เคารพสักการะสูงสุด 


ดังนั้นกฎหมายทุกฉบับที่ออกมาเพื่อใช้บริหารประเทศ โดยรัฐบาลหรือรัฐสภา(ในภาวะปกติ) หรือคณะรัฐประหาร(ในภาวะไม่ปกติ) จะต้องทูลเกล้าถวายให้ลงพระนาม


ซึ่งพูดด้วยภาษาชาวบ้านได้ว่า…


ในภาวะปกติ รัฐสภา รัฐบาลและศาล คือผู้ใช้อำนาจร่วมกันในการบริหารประเทศ (ไม่ใช่ในหลวง)


ดังนั้น…

รัฐสภาเสนอแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ในหลวงก็ต้องลงพระนาม

รัฐสภาผ่านร่างงบประมาณ ในหลวงก็ต้องลงพระนาม

รัฐบาลจะออกกฎหมายบริหารประเทศอย่างไร ในหลวงก็ต้องลงพระนาม


เมื่อเกิดการรัฐประหาร คณะรัฐประหารจะกลายเป็นผู้มีอำนาจบริหารประเทศ (ไม่ใช่ในหลวง)


ดังนั้น…

เมื่อเกิดรัฐประหาร ในหลวงก็ต้องลงพระนามว่าเกิดรัฐประหารแล้ว และคณะรัฐประหารจะเข้ามามีอำนาจในการบริหารปกครองบ้านเมือง


คณะรัฐประหารออกกฎหมายบริหารประเทศอย่างไร ในหลวงก็ต้องลงพระนาม


ซึ่งไม่ได้หมายควาใว่า ในหลวงสั่งให้รัฐบาล รัฐสภา ศาล กระทำการใดๆ ในการบริหารบ้านเมือง


หรือสั่งให้คณะรัฐประหารทำการรัฐประหาร


……………………………………….…………………………….

กิจกรรมทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน ขึ้นอยู่กับนักการเมือง(ในภาวะปกติ) และคณะรัฐประหาร(ในภาวะไม่ปกติ)


กฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา รัฐบาลหรือคณะรัฐประหาร ที่ทูลเกล้าให้ลงพระนามนั้น ถ้าในหลวงไม่ลงพระนาม กฎหมายนั้นก็จะถูกบังคับใช้อยู่ดี เพราะพระมหากษัตริย์ไม่ได้มีอำนาจจริง ในทางการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน


มิหนำซ้ำ เมื่อเกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหาร คณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารนั้นมีอำนาจสูงสุด สูงขนาดว่าสามารถล้มล้างการปกครอง และล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ได้ด้วยซ้ำ ซึ่งหมายความว่าคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารมีอำนาจเหนือพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่พระมหากษัตริย์มีอำนาจสั่งให้ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหาร 


……………………………………….…………………………….

ดังนั้น เมื่อการบริหารที่ผิดพลาด หรือมีการคอร์รัปชั่น หรือการกระทำผิดกฎหมาย ผู้ที่ต้องรับผิดชอบ ต้องขึ้นโรงขึ้นศาล ติดคุกติดตาราง 


ในบริษัทเอกชน มหาชน คือประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการผู้จัดการและกรรมการบริหารของบริษัท


ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท


ในระดับประเทศ คือ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ผู้แทนราษฏร ผู้พิพากษาในศาลและคณะรัฐประหาร


ไม่ใช่ พระมหากษัตริย์ และประชาชน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศ


นึกภาพออกมั้ย!


……………………………………….…………………………….

พระมหากษัตริย์ ก็เหมือนประชาชนคนไทยทุกคน ที่ไม่มีส่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน


พระมหากษัตริย์มีข้อแตกต่างกับประชาชน ในเรื่องบทบาท ที่ทรงเป็นประมุขของชาติ ซึ่งมีหน้าที่ในการลงพระนาม 


ในขณะที่ประชาชนมีบทบาทในการเลือกผู้แทนไปทำหน้าที่แทนประชาชนในสภา เพื่อออกกฎหมายและเลือกรัฐบาลมาทำงาน


……………………………………….…………………………….

ความจริงอีกอย่างที่คนมองข้าม ทั้งที่ประชาชนควรเป็นผู้ยอมรับ ว่ารัฐประหารที่เกิดขึ้น มีจุดเริ่มต้นของปัญหามาจากตัวประชาชนเอง 


ประชาชนเป็นคนเลือกคนขี้โกง เข้าไปเป็นผู้แทนในสภา ทำให้สภาได้รัฐบาลที่ขี้โกงมาบริหารประเทศ ที่สร้างปัญหาการคอร์รัปชั่น แล้วมันก็จบลงเมื่อผู้ที่มีกำลังต้องการล้างไพ่ด้วยการทำรัฐประหาร


……………………………………….…………………………….

สรุปได้ว่า 


ตัวประชาชนนั้นเอง คือผู้ที่ใช้อำนาจเลือกนักการเมืองขี้โกงเข้าไปบริหารประเทศ แล้วพระมหากษัตริย์ต้องลงพระนาม (ในการกิจการบริหารบ้านเมืองที่ผู้แทนขี้โกงที่ถูกเลือกโดยประชาชน) โดยไม่มีทางเลือกอื่นใด


แต่เมื่อเกิดการคอร์รัปชั่นในการบริหารบ้านเมือง (ซึ่งมาจากนักการเมืองขี้โกงที่เข้าไปบริหารประเทศ) จากคนที่ประชาชนเป็นผู้เลือกเข้าไปเอง 


ทั้งนักการเมืองและประชาชนกลับโยนความผิดให้พระมหากษัตริย์ เพียงเพราะพระมหากษัตริย์ต้องลงพระนาม(ซึ่งเป็นไปตามบัญญัติในรัฐธรรมนูญ)ในการกระทำทั้งหลายของนักการเมืองที่ประชาชนเลือกมาเอง


และสุดท้ายเมื่อเกิดรัฐประหาร เพราะนักการเมืองโกงกันจนถึงทางตัน นักการเมืองและประชาชนก็กลับโยนความผิดให้พระมหากษัตริย์ซ้ำอีก เพียงเพราะพระมหากษัตริย์ต้องลงพระนามให้คณะรัฐประหาร


รัฐประหารที่เกิดขึ้นเพราะประชาชนเลือกนักการเมืองขี้โกงเข้าไปบริหารประเทศ


การลงพระนามให้คณะรัฐประหาร (ในภาวะไม่ปกติ)ก็เป็นบทเดียวกันกับการลงพระนามให้กับรัฐสภาและรัฐบาล (ในภาวะปกติ) ซึ่งเป็นไปตามบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ที่พระมหากษัตริย์ต้องลงพระนามในการกระทำทั้งหลายของผู้ที่มีอำนาจในการบริหารบ้านเมือง ในพระปรมาภิไธย เพราะทรงอยู่ในฐานะประมุขของชาติ ไม่ว่าผู้มีอำนาจบริหารบ้านเมืองจะเป็น รัฐสภา รัฐบาล หรือรัฐประหาร


พอจะเห็นภาพกันมั้ย!


ถ้ามีเวลาและมีแรงอ่านต่อ ผมจะขยายความให้ฟัง 

โปรดติดตามตอนต่อไป


ถ้าคิดว่ามีประโยชน์ช่วยเปิดเนตรลุงป้าน้าอาลูกหลานไทย แชร์เลยครับ


……………………………………….…………………………….

อัษฎางค์ ยมนาค


1 ความคิดเห็น:

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น