จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

เบิกเนตร:10 ข้อยกเว้นทางกฎหมาย ของราชวงศ์อังกฤษ


 10 ข้อยกเว้นทางกฎหมาย ของราชวงศ์อังกฤษ 

----------------------------

1. ควีนเอลิซาเบธ ไม่ถูกดำเนินคดี ไม่ถูกจับกุม ได้รับการยกเว้นทางกฎหมาย

.

หากพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรก่ออาชญากรรมอย่างต่อเนื่อง หรือต่อให้คดีอาชญากรรมที่พระองค์ท่านกระทำนั้นจะร้ายแรงสักแค่ไหน ก็จะไม่มีการสืบสวนสอบสวน ไม่มีการจับกุม และไม่มีการดำเนินคดีกับพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักร

.

แต่ทั้งนี้เว็บไซต์สำนักพระราชวังสหราชอาณาจักรระบุว่า แม้ว่าจะไม่สามารถดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ทรงดำรงชีพอย่างระมัดระวังและเคร่งครัด เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ทุกกิจกรรมของพระองค์ท่านดำเนินไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

.

2. ขบวนเสด็จของราชวงศ์อังกฤษ ที่ตำรวจอารักขา สามารถขับช้าหรือขับเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดได้

.

ตามกฎหมายการจราจรแห่งสหราชอาณาจักร ยานพาหนะเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ดับเพลิง รถพยาบาล และยานพาหนะหน่วยงานด้านความมั่นคง สามารถขับช้าหรือขับเร็วกว่าที่กฎหมายกำหนดได้ ซึ่งรวมไปถึงขบวนรถเจ้าหน้าที่อารักพระราชินี สมาชิกในราชวงศ์ และนายกรัฐมนตรี

.

3. ควีนเอลิซาเบธ ไม่ต้องใช้พาสปอร์ต

.

โดยปกติแล้ว พาสปอร์ตทุกเล่มของชาวอังกฤษ จะมีพระนามของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ทำให้พระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรไม่ต้องมีพาสปอร์ต แต่สมาชิกราชวงศ์ทุกพระองค์ก็ยังจำเป็นต้องมีพาสปอร์ต

.

4. ควีนเอลิซาเบธ ไม่จำเป็นต้องมีใบขับขี่

.

ข้อนี้จะคล้ายกับข้อ 1 นั่นก็คือ ถ้าหากว่าสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ทรงรถด้วยความเร็วที่เกินกฎหมายกำหนด แล้วถูกตำรวจเรียกให้จอดรถ พระองค์ท่านไม่จำเป็นต้องมีใบขับขี่ ในขณะที่ประชาชนทั่วไปต้องแสดงใบขับขี่เมื่อถูกตำรวจเรียกให้จอดรถ และถ้าหากยานพาหนะของสมเด็จพระราชินีฯไม่มีป้ายทะเบียนรถ ก็ยังถือว่าไม่ผิดกฎหมายการจราจรแห่งสหราชอาณาจักร

.

5. ราชวงศ์อังกฤษ ไม่จำเป็นต้องมีนามสกุล

.

ช่วงก่อน ค.ศ. 1917 สมาชิกราชวงศ์อังกฤษไม่ใช้นามสกุล แต่ในปัจจุบัน พระราชทายาทของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ และเจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ ทรงใช้นามสกุลว่า ‘Mountbatten-Windsor’

.

6. ควีนเอลิซาเบธมีสิทธิ์ในการเลี้ยงดูพระราชนัดดา(หลาน)ทุกพระองค์ได้ทันที

.

หากปู่ย่าตายายที่เป็นสามัญชนทั่วไป ต้องการมีสิทธิที่จะเลี้ยงหลานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ก็ต้องไปร้องต่อศาลปกครอง แต่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ ไม่จำเป็นร้องต่อศาล เพราะมีสิทธิ์ในการเลี้ยงดูพระราชนัดดา(หลาน)ทุกพระองค์ได้ทันที

.

7. ราชวงศ์อังกฤษ ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี

.

ตามกฎหมายสหราชอาณาจักร สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธ และราชวงศ์อังกฤษพระองค์อื่นๆ ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี แต่สมเด็จพระราชินีและเจ้าชายชาลส์ ทรงจ่ายภาษีด้วยความสมัครใจ

.

8. ราชวงศ์อังกฤษ สามารถปฏิเสธการเข้าร่วมเป็นคณะลูกขุน แต่คนทั่วไปที่ถูกเชิญ หากไม่ไปร่วม จะถูกปรับ 1,000 ปอนด์ หรือ 40,000 บาท

.

หากมีการเชิญให้เป็นคณะลูกขุน ราชวงศ์อังกฤษ ไม่จำเป็นต้องเข้าร่วมเป็นคณะลูกขุน แต่คนทั่วไปที่ถูกเชิญให้เป็นคณะลูกขุน หากไม่ไปร่วม จะถูกปรับ 1,000 ปอนด์ หรือ 40,000 บาท

.

9. ในหนึ่งปี ควีนเอลิซาเบธ จัดงานเฉลิมพระชนมพรรษา 2 ครั้งต่อปี วันที่ 21 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชสมภพจริงๆของควีนเอลิซาเบท แต่เป็นการจัดงานเฉลิมพระชนมพรรษาส่วนพระองค์ แต่สำหรับวันเสาร์ที่สองของเดือนมิถุนายน เป็นการจัดงานเฉลิมพระชนมพรรษาอย่างเป็นทางการ

.

10. ราชวงศ์ UK ได้รับการยกเว้นจากกฎหมาย Freedom of Information Act หมายความว่า ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลกิจการภายในและข้อมูลทางการเงินของราชวงศ์ UK ออกสู่สาธารณะ

.

ที่มา : https://www.insider.com/rules-and-laws-that-british-royals-are-allowed-to-break-2020-6

The METTAD

วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เบิกเนตร:กฐินปัจจุบันมีกี่อย่าง กฐินหลวงคืออะไร

 




พระกฐินหลวง 

เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็น พุทธมามกะและเอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จพระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา เสด็จพระราชดำเนินทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ รวมทั้งพระกฐินที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ ราชสกุล องคมนตรี หรือผู้ที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรให้เสด็จฯ แทนพระองค์นำไปถวายยังพระอารามหลวงสำคัญ ๑๖ พระอาราม ที่สงวนไว้ไม่ให้มีการขอพระราชทาน คือ

๑. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

๒. วัดอรุณราชวราราม

๓. วัดราชโอรสาราม

๔. วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

๕. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

๖. วัดบวรนิเวศวิหาร

๗. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

๘. วัดสุทัศนเทพวราราม

๙. วัดราชาธิวาส

๑๐. วัดมกุฏกษัตริยาราม

๑๑. วัดเทพศิรินทราวาส

๑๒. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

๑๓. วัดพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

๑๔. วัดนิเวศธรรมประวัติ อำเภอบางปะอินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๑๕. วัดสุวรรณดาราราม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

๑๖. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมืองพิษณุโลก  จังหวัดพิษณุโลก

 

กฐินต้น

เกิดขึ้นจากการที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน วัดที่ไม่ได้เป็นวัดหลวง และไม่ได้เสด็จไปอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นพระราชพิธี แต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์เอง

 

พระกฐินพระราชทาน 

เป็นกฐินที่มี ผ้าพระกฐิน บริขาร และบริวารกฐิน เป็นของหลวง แต่เปิดโอกาสให้ส่วนราชการ องค์กร  หรือบุคคลที่สมควร  ขอรับพระราชทานอัญเชิญไปถวายยังพระอารามหลวงต่างๆ รัฐบาลโดยกรมการศาสนาเป็นผู้จัดหาผ้าพระกฐิน และบริวารพระกฐิน (ปัจจุบันมีจำนวน 265 พระอาราม มีรายชื่อตามบัญชีพระอารามหลวง) ซึ่งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ สมาคม บริษัทห้างร้าน และบุคคลทั่วไป จะต้องยื่นความจำนงขอพระราชทานผ่านไปยังกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม และเมื่อถึงกำหนดกฐินกาลก็ติดต่อขอรับ ผ้าพระกฐินและบริวารพระกฐินจาก กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา  เพื่อนำไปทอดกฐิน  ณ พระอารามที่ขอรับพระราชทานไว้ เมื่อทอดถวายเรียบร้อยแล้วผู้ขอรับพระราชทานจะต้องจัดทำบัญชีรายงานถวายพระราชกุศลในการถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน  ส่งไปยัง กรมการศาสนา  เพื่อจะได้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐิน ส่งไปยัง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อแจ้งให้สำนักราชเลขาธิการนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท เพื่อถวายพระราชกุศลในการที่หน่วยงาน องค์กร หรือบุคคลทั่วไป อัญเชิญผ้าพระกฐินไปถวาย  ณ  อารามนั้น

 

กฐินทั่วไป หรือ “กฐินราษฎร์”

ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินโดยทั่วไปในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับ “บริวารกฐิน” มากกว่าผ้ากฐินซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการกรานกฐิน

กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ราษฎรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ในปัจจุบันกฐินราษฎร์ ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญกับการรวบรวม (เรี่ยไร) เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปในประเทศไทย


#กฐินหลวง

#รักในหลวง

#รักประเทศไทย

#เราภาคภูมิใจเมืองไทยนี้ดี

วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เบิกเนตร:กษัตริย์มีไว้ทำไม ยังจำเป็นอยู่ไหม

 



ตอนเห็น# นี้ใน IG “# กษัตริย์มีไว้ทำไม” 

ผมบอกได้เลยนะว่าตอนนั้น อารมณ์ขึ้นมากๆครับ 

แต่พอมานั่งคิดอีกที น้องๆอาจจะไม่รู้จริงๆก็ได้นะ เลยถาม?

ผมก็เลยอยากจะบอกให้ทราบกันทุกคนนะครับว่า กษัตริย์มีไว้ทำไม?

จะพยายามเขียนแบบสั้นๆละกัน เพราะว่าถ้ามาversion เต็มๆ น้องๆคงต้องใช้เวลาในการอ่านกันหลายวัน 555


ก่อนจะเริ่ม น่าจะมีหลายคนถามว่า

“พี่โดนล้างสมองมาป่าว? "

"พี่เกิดทันเหรอ?"

พี่ขอตอบเลยว่า “น้องครับ การศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ มันจำเป็นมากๆกับอาชีพของพี่ครับ พี่มีอาชีพทำงาน content แนวๆครีเอทีฟ,ศิลปะ ,และวัฒนธรรม ครับ (ไว้จะอธิบายคราวหลังนะว่ามันเกี่ยวข้องอย่างไร?)

และนอกจากในตำราแล้ว (ที่ใครอาจบอกว่ามีการแต่งเติม) เราสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จาก สถานที่จริง ,โบราณวัตถุ , ตลอดจนหลักฐานและบุคคลอ้างอิงต่างๆได้ครับ

เข้าเรื่องเลยแล้วกันนะเดี๋ยวจะยาว


รัชกาลที่ 1 ท่านทรงครองราชย์ 27 ปี กว่าๆครับ

ท่านทรงทำอะไรให้พวกเราไว้บ้าง?

-ท่านรักษาเอกราชให้พวกเราครับ สงครามแรกของกรุงเทพ ก็คือสงครามเก้าทัพ ที่พม่าแห่กันมาเพียบเพื่อมาตี กทม ให้เป็นเมืองขึ้น 

แต่พม่าก็แพ้ร.1 กลับไป ในสมัยของท่าน พม่ายกมาตีหลายรอบนะครับ แต่ก็แพ้กลับไปทุกที

-ท่านสร้างวัดพระแก้ว ไว้ให้พวกเรา (ช่วงก่อนโควิทมีนักท่องเที่ยวมาเยือนวันละ 2-3หมื่นคน สร้างรายได้เท่าไรคูณเอานะ)

-ท่านโปรดให้สังคายนาพระไตรปิฎก พ.ศ. 2331 และจารฉบับทองประดิษฐานไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

-ท่านทรงฟื้นฟูวรรณคดีไทยซึ่งเสื่อมโทรมตั้งแต่ยุคกรุงแตกให้ ให้กลับคืนดีอีกวาระหนื่ง

-ท่านทรงบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้าง พระอารามเป็นจำนวนมาก เป็นการเปิดโอกาสให้ช่างฝีมือด้านต่างๆ มีงานทำ

(ยกตัวอย่างแค่นี้พอก่อนนะ เดี๋ยวจะยาว นี่แค่ร.1 เอง)


รัชกาลที่ 2 ทรงครองราชย์เกือบ 15 ปี

-ทรงมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ด้านการดนตรี แต่ที่โดด เด่นที่สุดเห็นจะเป็นในด้านวรรณคดี 

-ยุค ร.2 ถือเป็นยุคทองของวรรณคดีไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ 

ละครรำ รุ่งเรืองถึงขีดสุด ด้วยพระองค์ทรงเป็นกวีเอก และทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเล่มด้วยกัน เช่น รามเกียรติ์ตอนลักสีดา 

วานรถวายพล พิเภกสวามิภักดิ์ สีดาลุยไฟ 


รัชกาลที่ 3 ทรงครองราชย์ 26 ปีกว่าๆ

ท่านคือพระบิดาแห่งการค้าไทย

-ท่านทรงโปรดให้เปิดการค้าขายกับต่างประเทศ 

เงินถุงแดงของท่าน(ในถุงเป็นเงินประเทศเม็กซิโกครับ) เป็นเงินกู้ชาติที่ ร.5ท่านใช้เป็นค่าไถ่ประเทศไทยจากฝรั่งเศสครับ

-ทรงโปรดให้สร้างป้อมปราการตามหัวเมืองสำคัญและ ตามชายฝั่งทะเล ตลอดจนต่อเรือรบเรือกำปั่นไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก (เหมือนจะทรงรู้ว่าฝรั่งเศสจะมาบุกในสมัยร.5)

-ทรงขุดคลองไว้เยอะเช่นคลองบางขุนเทียน

-ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามเป็นจำนวนมาก โปรดให้มีการสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ และโปรดให้จารึกตำราต่างๆ 8 หมวดบนแผ่นศิลา ประดับไว้ในวัดพระเชตุพนฯ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ถือได้เลยว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศเลยหละ


รัชกาลที่ 4 ทรงครองราชย์ 17 ปีกว่าๆ

-ทรงเป็นพระบิดาแห่งการทูต ท่านทรงติดต่อกับนานาอารยประเทศ เห็นได้จากการ ที่ประเทศต่างๆ ส่งคณะทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี และติดต่อค้าขาย และพระองค์ได้ทรงแต่งคณะทูต ออกไปเจริญสัมพันธไมตรีตอบแทนหลายครั้ง เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา โปรตุเกส เดนมาร์ค ฯลฯ 

-ทรงสนับสนุนให้มี การศึกษาศิลปวิทยาการใหม่ๆ เช่น วิชาการต่อเรือใบ เรือกลไฟ เรือรบ การฝึกทหารอย่างยุโรป 

-ทรงให้ตั้งโรงกษาปณ์ขึ้นเพื่อผลิตเหรียญเงินขนาดต่าง ๆ ใช้แทนเงินพดด้วง ประกาศพิกัดอัตราแลกเปลี่ยนเงินเพื่อช่วยให้การแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าได้คล่องและเป็นสากลขึ้น

-ทรงประกาศ กฎหมายต่าง ๆ ออกมา เป็นจำนวนมากเพื่อความผาสุก และให้ความเป็นธรรมแก่อาณาประชาราษฎร์ เช่นการลดภาษีอากร ลดหย่อนค่านา และอีกเยอะ


(พักครึ่งเวลาก่อนก็ได้นะครับ พรุ่งนี้มาอ่านต่อ เพราะ ร.5 น่าจะยาวครับ 555)


รัชกาลที่ 5 ท่านครองราชย์ 42ปี

ผลงานที่สำคัญของท่าน

-ทรงเลิกทาส 

การเปลี่ยนแปลงต่างๆ จะเป็นผลสำเร็จได้ ต้องทำให้คนไทยได้เป็นไทเสียก่อน พระองค์จึงได้ทรงดำเนินการเลิกทาสโดยมิให้กระทบกระเทือนถึงเจ้าของทาสและทาส ด้วยพระราชหฤทัยแน่วแน่และทรงพระราชอุตสาหะอย่างยิ่ง ใช้เวลาถึง30ปี ก็ทรงเลิกทาสสำเร็จลงตามพระราชปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้ 


-ทรงได้รับยกย่องว่าเป็นนักปฏิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศ จากแบบเก่ามาสู่แบบใหม่ 

-ทรงยกเลิกการไต่สวนพิจารณาคดีแบบจารีตนครบาลมาเป็นการไต่สวนพิจารณาคดีในศาลแบบปัจจุบัน

-ทรงจัดการศึกษาแผนใหม่ ทรงตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นทั้งในพระบรมมหาราชวังและตามวัดต่างๆ 

-ทรงโปรดให้ปรับปรุงการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น การประปา การรถไฟ และการไปรษณีย์-โทรเลข 

-ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ 

-ทรงปรับปรุงระบอบการปกครองโดย เสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้านเช่นสิงคโปร์ และอินเดีย เพื่อศึกษาการปกครองแบบตะวันตกที่นำมาประยุกต์ใช้ได้ในประเทศตะวันออก เพื่อปรับปรุงการปกครองของไทยให้ทันสมัย โดยทรงแบ่ง ส่วนราชการการบริหาร และราชการส่วนกลางเป็น 12 กระทรวง 

-การเสด็จประพาสต้น เป็นการเสด็จไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างง่ายๆ โดยมิให้ใครรู้จักพระองค์ ทำให้ได้ประทับปะปนในหมู่ประชาชน ทรงทราบทุกข์สุขจากปากประชาชนโดยตรง ทำให้ได้ทรงแก้ไขปัดเป่าความทุกข์ยากให้ ราษฎรของพระองค์ได้ผลโดยตรง 


(อันนี้ยกมาเป็นตัวอย่างแบบรวบรัดมาครับ ผมอยากให้น้องๆลองไปหาข้อมูลเพิ่มเติมนะครับ แล้วจะรักท่านมากครับ)


รัชกาลที่ 6 ครองราชย์ 15 ปีกว่าๆ

ผลงานที่สำคัญๆ ของพระองค์

-การศึกษาของชาติเจริญก้าวหน้ามาก ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 

-การพระศาสนาเจริญสูงขึ้น ทรงทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม และขยายการศึกษาของสงฆ์ให้กว้างขวาง 

-การคมนาคม เช่น การรถไฟ สะดวกสบายขึ้นมาก

-ทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศได้ อย่างถูกต้อง เห็นการณ์ไกล โดยทรงนำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งทหารเข้าช่วยฝ่ายสัมพันธ มิตรรบในสมรภูมิยุโรป ทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยมากขึ้น และยังทำให้ประเทศได้รับผลประโยชน์ ด้านต่างๆ ในฐานะประเทศชนะสงคราม 

-ทรงจัดตั้งกองทัพอากาศเพิ่มขึ้นอีกกองทัพหนึ่ง ทรงจัดตั้งกองเสือป่าและกองลูกเสือเพื่อปลุกใจพลเมืองให้รักชาติ 

-ทรงโปรดให้สร้างบ้านเมืองจำลองขึ้นเรียกว่า ดุสิตธานี เพื่อเป็นโรงเรียนสอน เสนาบดีและอำมาตย์ ให้รู้จักการปกครองแบบประชาธิปไตย 

-ทรงโปรดให้กระทรวงมหาดไทย เตรียมร่างกฎหมายปกครองท้องที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเริ่มการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาลอย่างแท้จริง 

-ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในเชิงอักษรศาสตร์ มีพระราชนิพนธ์คำประพันธ์ทุกชนิดเกินกว่า 200 เรื่อง 

       

รัชกาลที่ 7 ทรงครองราชย์ 9 ปีกว่าๆ

-ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี 

-ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม

-ทรงให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ

-ทรงโปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก 

-โปรดให้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกใน ประเทศไทย 

-ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จน กระทั่งถึงต่อเขตแดนเขมร 

-ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจ เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับประชาชน


รัชกาลที่ 8 ทรงครองราชย์ 11 ปีกว่าๆ


ทรงครองราชย์ตั้งแต่ตอนอายุ 9พรรษา ทรงเป็นยุวกษัตริย์ ที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจให้ประชาชนชาวไทยได้เป็นอย่างดีครับ ทรงโปรดที่จะเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็ง เพื่อทรงเยี่ยมประชาชนชาวจีนและอินเดียในบริเวณนั้น เป็นการช่วยลดความแตกแยกระหว่างประชาชนชาวไทยและชาวจีน จนหมดไปด้วยพระปรีชาของพระองค์


รัชกาลที่9 ทรงครองราชย์ 70 ปี


4447 โครงการในพระราชดำริ ถูกตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชน และสิ่งแวดล้อม 

(ผมมีโอกาสไปเห็นกับตาตัวเองมาแล้ว 26 โครงการ) 

ทุกโครงการมีสถานที่ตั้งชัดเจน พวกเราสามารถเข้าไปเยี่ยมชม และศึกษาได้เลยครับ ไม่ใช่โฆษณาชวนเชื่อแต่อย่างไร! 

  

-หลายโครงการเพื่อการส่งเสริมอาชีพ เช่น การทำฟาร์มโคนม ,โครงการนาข้าวทดลองที่สวนจิตลดา เพื่อเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นดีให้ชาวนานำไปปลูก ขยายพันธ์ ,โครงการเกษตรหลวงที่ดอยอ่างขางเพื่อให้ชาวเขา เลิกปลูกฝิ่นมาปลูกพืชผลและดอกไม้ที่จะเป็นประโยชน์กว่า , โครงการธนาคารโคกระบือ ให้เกษตรกรยืมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตร , โครงการชั่งหัวมัน แปลงทดลองเกษตรวิถีใหม่เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรนำไปทำตาม,

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน เพื่อพัฒนาอาชีพการประมงและการเกษตรในเขตที่ดินชายฝั่งทะเล. 


-หลายโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมเช่น กังหันชัยพัฒนา แก้ปัญหาน้ำเสีย, โครงการแกล้งดิน แก้ปัญหาดินเสีย,โครงการฝนเทียม เพื่อลดความแห้งแล้ง, โครงการชลประทาน เพื่อการบริหารจัดการน้ำ, โครงการหญ้าแฝก เพื่อรักษาหน้าดิน, โครงการแก้มลิง เพื่อบริหารจัดการน้ำบรรเทาน้ำท่วม ,โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย จัดการน้ำเสียและขยะ , ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง เพื่อให้ความรู้ มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงดินพรุ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้. (ยังมีอีกเยอะครับ )


-หลายโครงการเกี่ยวกับสาธารณสุข

ทรงตั้งหน่วยแพทย์พระราชทาน เพื่อตามเสด็จไปรักษาประชาชนทั่วประเทศ ,มูลนิธิราชประชาสมาสัย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อน , มูลนิธิวิจัยประสาทวิทยา เพื่อค้นคว้า ป้องกัน รักษา และสงเคราะห์ผู้ป่วยทางประสาทวิทยาและสมองพิการทุกประเภท, วัคซีนโควิด-19 ที่แอสตร้า ผู้พัฒนาวัคซีนเลือกไทยเป็นฐานในการผลิตวัคซีนโดย บ.สยามไบโอไซเอนซ์ (ก่อตั้งโดยในหลวงรัชกาลที่9)


สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ( พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)

พระราชกรณียกิจของพระองค์ครอบคลุม 4ด้านใหญ่ๆครับ

-ด้านศิลปวัฒนธรรม

โครงการศูนย์ศิลปาชีพ สร้างอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรไทยทั่วประเทศ ส่งเสริมงานศิลปะพื้นบ้าน การปั้น การทอ และการจักสาน

โครงการนกยูงทอง ยกระดับและพัฒนาผ้าไหมไทย

-ด้านสาธารณสุข

ทรงรับผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงเป็นคนไข้ในพระราชูปถัมภ์ ทรงจัดตั้งโครงการแพทย์หลวง โครงการทันตกรรมพระราชทาน ,โครงการหมอหมู่บ้าน , โครงการแขน ขาเทียมพระราชทานเคลื่อนที่ 

-ด้านการศึกษา

ทรงให้ความสำคัญโครงการศึกษานอกระบบโรงเรียน  เช่นการสอนอาชีพ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

-ด้านสิ่งแวดล้อม

ทรงตั้งโครงการป่ารักษ์น้ำ ,บ้านเล็กในป่าใหญ่ , โครงการพิทักษ์ป่ารักษาชีวิต, โครงการอนุรักษ์สัตว์น้ำ เป็นต้น


รัชกาลที่ 10 ครองราชย์ 2559 - ปัจจุบัน

FYI ท่านทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจ ตั้งแต่ก่อนที่ท่านจะทรงขึ้นครองราชย์ อีกนะครับน้องๆ 

-ด้านการศึกษา

ทรงยกระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38แห่งทั่วประเทศ concept คือ ให้มีคุณภาพการศึกษาและสามารถนำไปพัฒนาท้องถิ่นของตน

ทรงจัดตั้งโรงเรียนในพระราชดำริ เช่น โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 3แห่ง โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 3แห่ง ,โรงเรียน ทีปังกรวิทยาพัฒน์ 6แห่ง , มกุฏเมืองราชวิทยาลัย, โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์,และ โรงเรียนราชปิโยรสา ยุพาราชานุสรณ์

-ด้านสาธารณสุข

ทรงตระหนักว่าสุขภาพพลานามัยอันดีของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญของการสร้างสรรค์ทรัพยากรบุคคล จึงทรงสนพระราชหฤทัยในการประกอบพระราชกรณียกิจกับโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่งทั่วประเทศ 

-ด้านสังคมสงเคราะห์

ทรงเยี่ยมชุมชนแออัดของกรุงเทพฯ หลายแห่ง เช่น ชุมชนแออัดพระโขนง เขตคลองเตย เขตยานนาวา พระราชทานพระราชทรัพย์สนับสนุนโครงการของชุมชน เช่น โครงการพัฒนาเด็กเล็กที่ขาดแคลน โครงการปราบปรามยาเสพติด

-ด้านเกษตรกรรม

ทรงตั้งโครงการทำปุ๋ยหมักจากผักตบชวาและวัชพืชอื่น ๆ เพื่อพระราชทานแก่เกษตรกร สำหรับนำไปใช้ในการเพาะปลูกเป็นการเพิ่มผลผลิต ที่บ้านแหลมสะแก จังหวัดสุพรรณบุรี

ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2545 เพื่อช่วยเหลือราษฎรในท้องถิ่นให้ได้มีเทคโนโลยีการเกษตรแผนใหม่ 

ทรงมีพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาแหล่งน้ำในหลายพื้นที่ เช่น ศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาด้านการเกษตรกรรมเกษตรวิชญา บ้านกองแหะ อำเภอแม่ริม


สมเด็จพระเทพฯ 

(สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)

พระราชกรณียกิจของพระองค์ครอบคลุม 5 ด้านใหญ่ๆครับ

-ด้านการศึกษา

ทรงเป็น "ทูลกระหม่อมอาจารย์" สำหรับนักเรียนนายร้อย

ทรงพระราชดำริให้ก่อตั้งโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับบุตรหลานข้าราชบริพารและประชาชนทั่วไป

ทรงพระราชทานทุนส่งเสริมการเรียนดี และพระราชทานประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาขั้นพื้นฐานจากสถานศึกษาต่าง ๆ คือ โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ วิทยาลัยในวังชาย วิทยาลัยในวังหญิง โรงเรียนผู้ใหญ่พระดาบส ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกาญจนาภิเษก (วิทยาลัยในวัง) กาญจนาภิเษกวิทยาลัย (ช่างทองหลวง)

ทรงมีแนวความคิดจัดตั้งโครงการพัฒนานักอักษรศาสตร์รุ่นใหม่ขึ้น โดยความร่วมมือของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาและคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทรงสนับสนุนการช่วยเหลือ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ให้เป็นโรงเรียนผลิตนักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ สร้าง"องค์ความรู้"ให้แก่ประเทศไทย

-ด้านการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม

ทรงมีพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทยทั้งในด้าน การช่างไทย นาฎศิลป์ไทย งานพิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์และโบราณสถาน ภาษาและวรรณกรรมไทย พระองค์ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญาว่า “ เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย ”

-ด้านการพัฒนาห้องสมุดและการรู้หนังสือ

สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทัยการอ่านและการพัฒนาห้องสมุด ทรงรับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯไว้ในพระราชูปถัมภ์  

-ด้านการสาธารณสุข

จากการที่พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังถิ่นทุรกันดาร ทำให้พระองค์ทอดพระเนตรเห็นถึงปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรในชนบท จึงทรงตั้งโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารกลางวันของเด็กนักเรียน 

พระองค์ยังทรงจัดตั้งหน่วยแพทย์พระราชทานและหน่วยทันตกรรมพระราชทานเพื่อออกตรวจรักษาราษฎรในถิ่นทุรกันดารที่พระองค์เสด็จ

-ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ทรงเป็น “IT Princess”

พระองค์มีพระราชดำริให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาพัฒนาประเทศหลายประการ เช่นการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนในชนบท มีโรงเรียนในโครงการประมาณ 85 แห่ง 

โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อคนพิการ เพื่อให้คนพิการสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อสร้างความรู้ สร้างอาชีพต่อไปในอนาคต 

ทรงโปรดให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับงานทางด้านการเผยแพร่วัฒนธรรมของไทย 76 จังหวัด ผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยมีกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ดูแลโครงการนี้


เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์  (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี)

-ทรงก่อตั้งกองทุนจุฬาภรณ์ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทย

-ทรงก่อตั้งศูนย์วิจัยด้านโรคมะเร็งที่มีความเป็นเลิศทางการวิจัย วิชาการ และการบำบัดรักษา พร้อมทั้งพัฒนาเป็นศูนย์ชำนาญการวินิจฉัยมะเร็งที่ก้าวหน้าและทันสมัยที่สุดในภูมิภาค 

-ทรงจัดตั้งศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ(Cyclotron and PET Scan) ซึ่งเป็นหน่วยงานให้บริการในการตรวจโดยสารเภสัชรังสี เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีระดับสูง

-ทรงให้ความสำคัญกับงานเทคโนโลยีเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ โปรดให้จัดงานประมงน้อมเกล้าฯ เป็นกิจกรรมการแสดงนิทรรศการของการประมงในประเทศไทย 

-ทรงก่อตั้งมูลนิธิ หน่วยงาน เพื่อสุขภาพที่ดีของชาวไทยตลอดจนสิ่งแวดล้อมเช่น มูลนิธิเทียนส่องใจเพื่อคนไข้โรคลมชัก ,  สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย,  สมาคมเคมีแห่งประเทศไทย ,และ มูลนิธิรักษาพยาบาลสัตว์ป่วยอนาถา โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


(นี่แค่เป็นข้อมูลคร่าวๆนะครับ เพื่อให้เห็นภาพรวมของพระราชกรณียกิจของแต่ละพระองค์)


จากสิ่งที่สถาบันกษัตริย์ได้ทำให้กับประเทศชาติ แล้วพวกเราจะยังอยากที่จะเรียกร้องปฎิรูปสถาบัน 10 ข้อนี้อีกหรือ?

1. ยกเลิกมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ ที่ว่าผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องกษัตริย์มิได้ 

2. ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รวมถึงเปิดให้ประชาชนได้ใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันกษัตริย์ได้ และนิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดีเพราะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ทุกคน

3. ยกเลิก พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 และให้แบ่งทรัพย์สินออกเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง และทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่ของส่วนตัวของกษัตริย์อย่างชัดเจน

4. ตัดลดงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

5. ยกเลิกส่วนราชการในพระองค์ หน่วยงานที่มีหน้าที่ชัดเจน เช่น หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ให้ย้ายไปสังกัดหน่วยงานอื่น และหน่วยงานที่ไม่มีความจำเป็น เช่น คณะองคมนตรี ให้ยกเลิก

6. ยกเลิกการบริจาคและรับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด เพื่อกำกับให้การเงินของสถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้การตรวจสอบทั้งหมด

7. ยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ

8. ยกเลิกการประชาสัมพันธ์และการให้การศึกษาที่เชิดชูสถาบันกษัตริย์แต่เพียงด้านเดียวจนเกินงามทั้งหมด

9. สืบหาความจริงเกี่ยวกับการสังหารเข่นฆ่าราษฎรที่วิพากษ์วิจารณ์หรือมีความเกี่ยวข้องใดๆ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์

10. ห้ามมิให้ลงพระปรมาภิไธยรับรองการรัฐประหารครั้งใดอีก


พี่ขอถามตรงๆนะ

1.มีข้อไหนที่ยกเลิกไปแล้วทำให้เรามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบ้างครับ? 

2.น้องๆอยากจะบูลลี่กษัตริย์แล้วไม่มีความผิด มากเลยเหรอ? 

3.ตัวคนที่ชักจูงพวกน้องๆเคยทำอะไรเพื่อประเทศชาติและประชาชนบ้างครับ?


สงครามล้มเจ้านี้ไม่ใช่ของพวกเราครับ 

อย่ายอมเป็นเบี้ยในกระดานให้ใครอีกเลย!


ย้ำอีกทีนะ ถ้าแค่รถติดแล้วทำให้เราคิดล้มเจ้า และถ้าเราเชื่อจดหมาย CIA ลับสุดๆแต่ดันไปอยู่ในมือคนล้มเจ้า! แล้วทำไมเราไม่เข้าไปดูโครงการต่างๆที่ในหลวงทำหละครับ? ไปค้นหาความจริงแล้วจะรู้ว่า ท่านทำเพื่อพวกเรา พ่อแม่ และญาติมิตรของเราจริงๆ ใกล้ที่ไหนไปที่นั่นเลยครับ เพราะมีอยู่ทั่วประเทศ รอการพิสูจน์จากน้องๆเลยครับ ท้าให้ไปจริงๆ


พี่อยากจะบอกว่า คนแก่ คนรุ่นเก่า พ่อแม่ของเรา เค้าไม่ได้ถูกล้างสมองจากข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตหรือโฆษณาชวนเชื่อหรอกครับ แต่พวกเค้าได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ได้พบ ได้เห็น ได้สัมผัสกับสิ่งที่ท่านทำเพื่อประชาชนของพระองค์จริงๆครับ 


(ขอบคุณที่น้องๆอ่านจนจบนะครับ ตอนนี่น่าจะทราบกันแล้วนะครับว่า กษัตริย์มีไว้ทำไม?) 🙂🙂🙂


วชิรภัทร อินทุภูติ

ผมแค่เป็นคนไทยที่รักสถาบันคนนึงครับ

วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เบิกเนตร คนฆ่า ร.๘







 “ใครฆ่า ร.8” 

ที่ม็อบพยายามจะบอกว่า ร.9 เป็นผู้ทำนั้น 

จริงๆแล้วข้อเท็จจริงคืออะไร ?



คดีลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที๘  ส่วนที่1


ไม่นึกไม่ฝันว่าจะได้มีโอกาสเขียนถึง คดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘ อีกครั้งหลังจากที่ มีหลายท่านตั้งข้อสงสัยกันมา ว่าเรื่องราวข่าวลืออันเกี่ยวกับเรื่องการลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘  วันนี้เราก็ มาพูดถึงเรื่องเหล่านี้กันอีกซักหน่อย (ขอใช้คำสามัญในการเขียนเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย)


ก่อนอื่นเลยเราต้องรู้ก่อนนะครับว่า คดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘ มีหลากหลายเวอร์ชั่นมาก และหลายๆฉบับในอดีต ก็มีการใส่ ข้อสันนิฐานเอาไว้มากมาย ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งก็ล้วนไปคนละทิศคนละทาง ส่วนนึงก็เพราะ คดีนี้เกิดขึ้นในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่สองพึ่งสงบ การใส่ความเท็จลงในหนังสือวิเคราะห์เท็จช่วงเปลี่ยนแปลงแผ่นดินรัชกาลที่๘จึงเกิดขึ้นมาก และไม่มีใครในปัจจุบันนี้เกิดทันว่าหลักฐานเอกสารใดที่ถูกทำในยุคเก่าๆนั้นเป็นเรื่องจริง


คดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘ เกิดขึ้นใน ปี2489 ภายหลัง เปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 เพียง 15 ปีเท่านั้น และเกิดขึ้นภายหลัง การยุติสงครามโลกครั้งที่สอง(2488) เพียงปีเดียว 


ซึ่งประเทศไทยเวลานั้น เกือบต้อง เสียเอกราชในสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ผู้นำคณะราษฎรเวลานั้นได้นำประเทศไทยเข้าร่วมกับ  อักษะที่มี นาซีเยอรมนี นาซีอิตาลี และ ญี่ปุ่น เป็น พันธมิตรหลัก แต่สุดท้ายก็กลับกลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทางสงคราม ส่งผลให้จอมพล แปลกพิบูลสงคราม  กลายเป็นอาชญากรสงครามที่ต้องขึ้นศาลอาญาโลกในเวลานั้น แต่เพราะ แนวคิดของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หนึ่งในผู้นำคนสำคัญของ ขบวนการเสรีไทย จากสหรัฐอเมริกา  (โดยมี ปรีดี พนมยงค์ เป็นอีกหนึ่งแกนนำ ที่ยอมหักหลัง จอมพล แปลก มาฝักใฝ่ เสรีไทย สายรัฐบาล) ออกมาดัดหลังอังกฤษที่ แอบจ้องเขมือบประเทศไทยหากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง 


เวลานั้น ขบวนการเสรีไทย ในสหรัฐอเมริกา เริมมีการเคลื่อนไหวเพื่อนำ ในหลวงรัชกาลที่ ๘ และ น้องชาย ( รัชกาลที่๙) ประมุขของประเทศไทย ตัวจริงกลับประเทศ  เพื่อดัดหลังอังกฤษโดยยืนยันว่า การดำเนินราชการแผ่นดิน เวลานั้นมิใช่ทำไปด้วยเจตจำนงของในหลวงแห่งราชอาณาจักรไทย แต่เป็นการทำไปโดยพลการ ซึ่งผลลัพท์ ของการเจรจาครั้งนั้นก็สามารถทำให้ประเทศไทยหลุดออกจากการเป็นฝ่ายพ่ายสงครามโลกครั้งที่สอง และรักษาเอกราชได้เสมือนเป็นประเทศผู้ชนะสงคราม ด้วยวีรกรรมของเสรีไทย และ ในหลวงรัชกาลที่๘ นั้นเอง    


เอกราชที่ได้มานั้นก็ ทำให้ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม หลุดพ้นโทษประหารจากการเป็นอาชญากรในคดีบนศาลโลก เพราะ ราชอาณาจักรไทย มีเอกราชทางศาลเป็นของตนเอง เนื่องจากมีเอกราชเสรี ศาลโลกจึงไม่มีสิทธิแทรกแซงได้ต่อไป ศาลไทย มีการพิจารณาคดีทางวินัย และสุดท้าย จอมพลแปลกก็รอดพ้นจากการประหารชีวิต  


และเนื่องด้วยการกลับมาของในหลวงรัชกาลที่๘  และรัชกาลที่๙ ในวัยหนุ่มซึ่งทั้งสอง รูปงาม สูงโปร่ง ราวกับฝาแฝด และเต็มไปด้วยความฉลาดหลักแหลมก็ยิ่งผูกใจมัดปวงชนชาวไทยอย่างอยู่หมัด อีกทั้งแนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน ช่วงปี2489เช่นการ เสด็จเยือนเยาวราชเพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างชาวไทยและชาวจีน ก็ยิ่งเห็นความฉลาดหลักแหลมของ ทั้งสองพระองค์ อย่างแนบแน่น


  แต่ความสุขเหล่านี้เกิดขึ้นได้ไม่นานก็เกิด คดีสะเทือนขวัญ เมื่อ เมื่อรัชกาลที่๘ เสด็จสวรรคต. เวลาประมาณ 9 โมงเช้า เมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 บนที่นอน โดยมีอาวุธปืนที่ใช้สังหารวางอยู่ข้างลำตัวบนเตียง  ลักษณะรอยกระสุน ถูกยิงกดจาก หน้าผากเหนือคิ้วซ้าย ทะลุไปที่ ท้ายทอยขวาล่าง รอยแผลมีลักษณะกดมุมต่ำ ลักษณะยิงด้วยการยืนยิงจากทางด้านซ้าย ของรัชกาลที่๘  ( ด้วยความทันสมัยของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ปัจจุบันฯเราจึงสามารถสร้างภาพจำลองจากคอมพิวเตอร์ให้เห็นแนวกระสุน ได้ จึงทำให้คาดคะเนได้ว่ากระสุนถูกยิงจากคนที่ยืนค้ำหัว)


จุดที่น่าสนใจ ที่ข้าพเจ้าพบตามหลักฐานในหนังสือ ที่อ้างอิงจากการจำลองรูปคดีในชั้นศาล คือลักษณะ อาวุธปืนที่ใช้สังหารวางอยู่ข้างลำตัวบนเตียง มีพิรุธมากเพราะปลายกระบอกหันไปทางปลายเท้า และมีลักษณะที่เป็นไปไม่ได้เลยที่จะ ยิงตัวตายแล้ว ปืนจะตกอยู่ข้างลำตัวเช่นนี้ 


 ........

เกร็ดเรื่องคดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘


มีข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่ง ที่น่าสนใจ ช่วง  เมษายน พ.ศ. 2489  ก่อน คดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘ ราวสองเดือน  นายฉันท์ หุ้มแพร( นายทัศย์ สุจริตกุล) มหาดเล็กผู้ช่วยเหลือครอบครัวมหิดลมาตลอดนั้น  ถูกวางยาพิษจนเสียชีวิต  


นายฉันท์ หุ้มแพรนั้นเองคือคนที่มอบปืน(กระบอกที่วางข้างศพในวันเกิดเหตุ)ให้ในหลวง รัชกาลที่ ๘ปกป้องตนเอง และ เตือนพระองค์ถึงภัยที่กำลังเข้ามาหมายเอาชีวิต


(เดี่ยวเราค่อยกลับมาพูดว่าใครอยู่ที่ใหนในเหตุการณ์นี้ ดูได้ที่นี่  https://www.facebook.com/1403156603326693/posts/2441573612818315/)


.........


9 มิถุนายน พ.ศ. 2489  วันเดียวกันที่เกิดเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่๘ ประมาณ เที่ยงตรง นายปรีดีออกแถลงการณ์ การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นอุบัติเหตุ   แทบจะในทันทีวันนั้น


หลังเหตุสะเทือนขวัญไปเพียงคืนเดียว 10 มิถุนายน พ.ศ. 2489  ระหว่างนั้นก็มีการทำความสะอาดพระบรมศพ โดยเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจุฬาฯได้พบบาดแผลที่(ท้ายทอย) ซึ่งเป็นบาดแผลที่พบใหม่ไม่ตรงกับคำแถลงการณ์ที่ออกมาในตอนแรก(หน้าผาก)  จึงเกิดความไม่มั่นใจหมู่ปชช. สงสัยว่ารัฐบาลปรีดีอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี ส่งผลให้เกิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายปรีดี แทบจะในทันที (การเมือง) ส่วนหนึ่งเกิดจาก พฤติกรรม ของนายปรีดี ต่อรัชกาลที่๘ นั้นมีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่ามีการกลั่นแกล้งมาโดยตลอด ก่อนหน้านี้ (เช่นเหตุขโมยรถพระที่นั่ง)


ช่วงนั้นไม่ค่อยมี คนรู้ว่า.รถพระที่นั่งทางการที่จัดถวายในหลวง รัชกาลที่๘  คือรถ โรลสรอยส์ และรถ เดมเล่อร์ โดยมีรถแนชและเชฟโรเลทเป็นรถพระที่นั่งส่วนพระองค์ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นรถที่สวยงามสมเกียรติ แต่เป็นรถโบราณก่อนสงครามโลกซึ่งมีสภาพไม่ค่อยดีเท่าไร


จากคำบอกเล่าของ หม่อมราชวงศ์หญิง กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี(ซึ่งเสียชีวิตเมื่อ ปี2561 ขณะอายุ85 ปี)


ระบุว่า “วันหนึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนีมีพระประสงค์จะเสด็จซื้อของเป็นการส่วนพระองค์ ปรากฎว่าทางในวังมิสามารถจัดหารถที่เหมาะสมถวายให้ทรงใช้ได้ เพราะรถเชฟโรเลทนั้น ราชเลขานุการส่งไปให้นายกรัฐมนตรีใช้ ส่วนรถแนชส่งไปซ่อมให้แขกเมืองใช้ เมื่อความทราบฝ่าละอองธุรีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขุ่นพระราชหฤทัย มหาดเล็กต้องไปตามเอารถแนชคืนมา เมื่อมีพระราชดำรัสซักถามได้ความว่าราชเลขาจัดเอารถเชฟโรเลทไปให้นายกรัฐมนตรีใช้ จึงตรัสว่าหากทำเนียบนายกรัฐมนตรี(บ้านปรีดี)ไฟใหม้ พระองค์ท่านคงต้องยกวังให้อยู่เป็นแน่


ต่อจากนั้นไม่กี่วัน รถแนชพระที่นั่งก็หายไปจากโรงเก็บรถในเวลากลางคืน และไม่สามารถสืบหากลับมาได้ แสดงให้เห็นว่าเวรยามที่เฝ้าพระที่นั่งบรมพิมาน มิได้รักษาหน้าที่อย่างเคร่งครัดเลย แล้วองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงปลอดภัยได้อย่างไร”


เรามาดูไทม์ไลน์เรื่อยๆว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง


18 มิถุนายน 2489 รัฐบาลปรีดี ทนเสียงทัดทานไม่ไหว ก็ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีสวรรคต แต่ก็ยังไมไ่ด้รับความไว้วางใจจากประชาชนเนื่องเกรงว่าปรีดีแต่งตั้งคนของตนเอง


19 สิงหาคม 2489 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


23 สิงหาคม 2489 นายปรีดี ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีสวรรคต  และแต่งตั้งพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ขึ้นเป็นนายกคนต่อมา และทำการสืบคดีต่อ


8 พฤศจิกายน 2490 เกิดการรัฐประหาร 2490 โดยกลุ่มทหารนอกราชการที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ร่วมมือกับพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเหตุผลด้านการทุจริตของรัฐบาล และ ปัญหาเรื่องกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘.   นาย ควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกต่อ


ตอนนั้น นายปรีดีและพลเรือตรี ถวัลย์ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศเพราะ ต้องสงสัยในความไม่ชอบมาพากต่อกรณีสวรรคตรัชกาลที่๘ ( ปรีดี ลี้ภัยไปที่ประเทศจีน)


15 พฤศจิกายน 2490 ภายใต้รัฐบาลควง อภัยวงศ์ ตำรวจทำการจับกุมการจับคุมตัว นายชิต นายบุศย์ และ นายเฉลียว และได้ออกหมายจับนายปรีดี และเรือเอกวัชรชัย ในฐานะผู้ต้องหาร่วมกันลอบปลงพระชนม์ในหลวงรัชกาลที่๘


จากพยานและหลักฐานที่มีอยู่ขณะนั้น ศาลนี้เชื่อว่า นายเฉลียว นายชิตและนายบุศย์ ได้ร่วมสมคบคิดกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘


8 เมษายน พ.ศ. 2491 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นนายกแทนพันตรี ควง อภัยวงศ์ ตามมติคณะรัฐประหาร


26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 นายปรีดี แอบกลับไทยก่อ กบฏวังหลวง ขึ้น โดยการรุกเข้ายึดครองพื้นที่พระบรมมหาราชวัง แต่ไม่ประสบความสำเร็จจึงต้องหลบหนีออกนอกประเทศ และไม่กลับประเทศไทยอีกเลย


ช่วงปี พ.ศ. 2494 ศาลชั้นต้น เริ่มมีการพิพากษานายเฉลียว นายชิตและนายบุศย์ ระหว่างนั้นจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการพยายาม รัฐประหารแต่ไม่สำเร็จ  (ตอนนั้นในหลวง รัฐกาลที่๙ กำลังเสด็จกลับไทย)


อีก4 ปี ต่อมา ช่วงปี พ.ศ. 2498 ศาลฏีกา  พิพากษานายเฉลียว นายชิตและนายบุศย์ ประหารชีวิต


จะเห็นได้ว่า เกมการเมืองในช่วงหลัง มีการแบ่งออกเป็นสองฝ่ายในกลุ่มคณะราษฎร อีกทั้ง  นั้นมีการใช้ประเด็นกรณีสวรรคตรัชกาลที่๘ในการแสดงความไม่ไว้วางใจและซัดกันเองเนื่องๆ


แม้หลังจากประหารชีวิต 3 จำเลยไปแล้ว ต่อมา จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีแนวคิดจะรื้อฟื้นคดีใหม่อ้างว่ามีหลักฐานใหม่ เพื่อคืนความเป็นธรรมให้ 3 จำเลยที่เสียชีวิต รวมทั้งนายปรีดี และเรือเอกวัชรชัย ที่ถูกกล่าวหา แต่ยังไม่ทันได้ดำเนินการ จอมพล ป.กลับถูกรัฐประหารเสียก่อน โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ช่วงปี 2500 จนจอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ได้ลี้ภัยไปต่างประเทศ 


จอมพล แปลก พิบูลสงคราม. เสียชีวิต ปี 2507 ที่ ประเทศ ญี่ปุ่น โดยไม่ทราบสาเหตุ


....


อย่างไรก็ตามตลอดเหตุการณ์ตั้งแต่ ปี2489 - 2492  การเมืองต่างประเทศ ระหว่างอังกฤษและสหรัฐ ก็มีกระทบอยู่อย่างต่อเนื่องโดยมีการตั้งข้อสังเกต อย่างห่างๆมาโดยตลอด


 เช่น ออกหนังสือแจ้งข่าวด่วน ต่อสถานทูต อังกฤษโดยMI6  เมื่อ 14 สิงหาคม ปี 2489 โดยตั้งสมมุติฐานไปว่า อาจจะเป็นการ 1. ได้มีความพยายามลอบปลงพระชนม์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ด้วยการวางยาพิษ และรัฐบาลอังกฤษได้แจ้งเรื่องนี้ให้รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยทราบ และรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยยอมรับว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีความพยายามลอบปลงชนม์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ก่อนที่พระองค์จะเสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์

(หลังเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่ ๘ แล้ว)


2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอังกฤษสั่งการให้หน่วยสืบราชการลับทำการสืบค้นเรื่องลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘ ความพยายามปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๙ ความพยายามลอบสังหารแม่ทัพใหญ่อังกฤษ และความพยายามลอบสังหารเอกอัครราชทูตอังกฤษ โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษเชื่อว่ามีผู้อยู่เบื้องหลัง และมีความเป็นไปได้ว่าผู้กระทำทั้งหมด "เป็นกลุ่มเดียวกัน"


3. หน่วยสืบราชการลับอังกฤษรายงานถึงรัฐบาลอังกฤษ เพื่อยืนยันว่า ข้อสันนิษฐานดังกล่าวเป็นความจริง และมีการจับกุมผู้ลอบปีนเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง และมุ่งหน้าไปยังห้องบรรทมของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เอาไว้ได้


4. หน่วยสืบราชการลับอังกฤษรายงานถึงรัฐบาลอังกฤษว่า จะมีการปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๙ ด้วยการวางแผนก่อวินาศกรรมเครื่องบินพระที่นั่งที่สนามบินดอนเมือง ในวันที่พระองค์จะเดินทางกลับไปสวิสเซอร์แลนด์ (ใน 19 สิงหาคม 2489 )


****สรุป ซึ่งหากเป็นจริงตามที่สายลับอังกฤษกล่าวอ้างแล้ว ลองมองในมุมของสงครามโลก  แสดงว่ามีผู้ไม่หวังดี ต้องการลอบสังหาร ทั้งรัชกาลที่๘ และ. รัชกาลที่๙ ตามลำดับ เพื่อยั่วยุ ให้เกิดการกระทบกระทั่งกันระหว่าง รัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลไทย อีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง 


แต่ข่าวสารที่แตกต่างออกไปก็มีมาโดยตลอดหลังจากนั้น

........


หลังคดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘ ถูกปิดคดีไปนานแล้ว แต่   ข่าวลือต่างๆ พิศดารก็ยังงอกเงยจากทฤษฎีสมคบคิดต่างๆนา มีเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะ ช่วงสงครามเย็น ระหว่าง คอมมิวนิสต์ และฝ่ายเสรีนิยม ช่วง พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2534 ซึ่งแข่งขันกันพัฒนาทางเศรษฐกิจและลัทธิทางการเมือง ก็เลยมี หนังสือ ที่ถูกแต่งขึ้นจำนวนนึง หยิบเอาประวัติศาสตร์มาตกแต่งเพิ่มเติมเพื่อหวังผลเพื่อทำยอดขาย แต่บางเล่มก็ถูกนำมาแปลโดยหวังผลใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดความสงสัยในประวัติศาสตร์ให้ผู้คนออกมาโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ และระบบตุลาการที่ไทยมีเอกราช

เช่น

หนังสือ เรื่อง The Devil's Discus (กงจักรปีศาจ) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2507  เขียนโดย. เรย์นี ครูเกอร์ กล่าวหา ในหลวง รัชกาลที่๘ ทรงยิงตัวตาย โดย เชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงชู้สาวที่ไม่สมหวังกับเพื่อนนักศึกษาชื่อ แมรีเลน เฟอร์รารี (Marylene Ferrari) อีกทั้งยังโจมตี ระบบศาลสถิตยุติธรรรมของไทยทำให้ไม่น่าเชื่อถือ  แต่หนังสือเล่มนี้ ก็ขัดต่อทุกบริบททางศาลที่พิจารณาคดี รัชกาลที่๘ และ ไม่สนใจแม้แต่หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ จึงทำให้ เป็นหนังสือที่หยิบเอาเฉพาะ ข่าวลือ หลังสวรรคตใหม่ๆ มาดัดแปลงเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือเท่านั้น


ส่วนหนังสือ ยุคหลังๆ เช่น. The Revolutionary King: The True–Life Sequel to The King and I (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2543) เขียนโดย วิลเลี่ยม สตีเฟนสัน  เขียนเป็นนวนิยายสารคดีอ้างว่าสายลับญี่ปุ่น ชื่อ ซึจิ มาซาโนบุ (Tsuji Masanobu)ได้หลบซ่อนตัวอยู่ในประเทศไทยหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง  เชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่๘  แต่ก็ไม่พบหลักฐานชัดเจนว่า ซึจิ มาซาโนบุ เคยเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่ ๘ แต่อย่างใดเลยไม่น่าเชื่อถือ


............


มีต่อ 


ส่วนที่2

ค่ำคืนวันเกิดเหตุเกิดอะไรขึ้น และ บางส่วนของคำพิพากษา อ่านต่อ 

https://www.facebook.com/1403156603326693/posts/2441573612818315/


ส่วนที่3 สรุปแนวทาง การศึกษา ประวัตศาสตร์เรื่องคดีลอบปลงพระชนม์ อ่านต่อ 

https://www.facebook.com/1403156603326693/posts/2441797832795893/


คดีลอบปลงพระชนม์ ร.๘ ส่วนที่ 4 (หลักฐานหลังปี2500)

https://www.facebook.com/1403156603326693/posts/2443151809327162/


Cr.ปราชญ์ สามสี / Cr.สติค่ะลูกกกก

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

เบิกเนตรโครงการ ฝนหลวง ร.๙


 ใน พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงพบเห็นภาวะแห้งแล้ง ขณะเสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยมเยียนทุกข์สุขของพสกนิกรทางภาคอีสานบริเวณเทือกเขาภูพาน

.

เนื่องจากสภาพอากาศจากพื้นดินถึงระดับฐานเมฆ ไม่เอื้ออำนวยให้ไอน้ำกลั่นตัวเป็นเมฆและยากต่อการเหนี่ยวนำให้ฝนตกลงสู่พื้นดิน จึงมีฝนตกน้อยหรือไม่ตกเลย เป็นเหตุให้เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลายาวนาน สร้างความเดือดร้อนและความสูญเสียทางเศรษฐกิจแก่เกษตรกรอย่างสาหัส

.

พระองค์พระราชทานพระราชดำริแก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรวิศวกรรม ว่าน่าจะมีวิธีประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยการใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ในการดัดแปรสภาพอากาศ มาช่วยให้เมฆกลั่นตัวเป็นหยดน้ำฝนได้ 

.

การรับสนองพระราชดำริ นำไปสู่การดำเนินการอย่างจริงจังของ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ม.ล.เดช สนิทวงศ์ และ ม.จ.จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เพื่อศึกษาวิธีทำฝนเทียมของต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล มาประยุกต์ใช้กับสภาพอากาศของประเทศไทย 

.

การทำฝนเทียมหรือฝนหลวง (Artificial Rain) เป็นเทคนิคการเหนี่ยวนำนํ้าจากฟ้าโดยอาศัยหลักการความร้อนชื้นปะทะกับความเย็น มีการใช้เครื่องบินโปรยสารเคมีจนไอนํ้าในอากาศอิ่มตัว และควบแน่นกลั่นตัวลงมาเป็นฝน เทคนิคนี้ต้องอาศัยความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิที่เหมาะสม และความสามารถในการบินประกอบกัน

.

ในช่วงเริ่มต้นของการทดลองปฏิบัติการฝนหลวง ประเทศไทยยังไม่มีนักวิชาการด้านการวัดแปรสภาพอากาศ หรือนักวิชาการทำฝนอยู่เลย รัชกาลที่ 9 จึงได้ทรงติดตามผลการวางแผนการทดลองปฏิบัติการ โดยทรงสังเกตจากรายงานแทบทุกครั้งอย่างใกล้ชิด 

.

14 ปีต่อมา จากการค้นคว้าและคิดค้นอย่างจริงจัง การปฏิบัติการทดลองทำฝนเทียมกับเมฆบนท้องฟ้าจริงๆ จึงเกิดขึ้นบริเวณวนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จากการสนับสนุนเครื่องบินของแผนกปราบศัตรูพืชทางอากาศและกองเกษตรวิศวกรรม ในวันนี้เมื่อ พ.ศ. 2512

.

การทดลองดำเนินการ 3 เที่ยวบินด้วยกัน เที่ยวแรกดำเนินการโปรยน้ำแข็งแห้ง (Dry-ice) ทับยอดเมฆที่ระดับ 6,000-8,000 ฟุต ช่วงแรกเมฆยังไม่หนาแน่นมาก และไม่ปรากฏหยดน้ำเกาะที่กระจกกระจังหน้าเครื่องบิน 

.

เที่ยวบินที่ 2 นักบินต้องปรับเพดานบินสูงขึ้น เพื่อโปรยน้ำแข็งแห้งทับยอดเมฆที่พัฒนาตัวสูงขึ้นเป็น 8,000-10,000 ฟุต ปรากฏว่าเมฆมีสภาพแน่นและทึบแสง เริ่มมีละอองน้ำขนาดเล็กเกาะที่กระจกกระจังหน้าของเครื่องบิน

.

เที่ยวบินที่ 3 น้ำแข็งแห้งถูกโปรยที่ยอดเมฆระดับ 12,000-15,000 ฟุต ฐานเมฆเปลี่ยนเป็นเป็นสีเทาเกือบดำ เม็ดน้ำที่จับกระจังหน้าของเครื่องบินมีขนาดใหญ่ขึ้นเป็นหยดฝน เครื่องบินมีอาการสั่นสะเทือน และโยนตัวขึ้นลงรุนแรงหลายครั้ง สรุปผลการทดลองเป็นที่น่าพอใจ แต่ยังไม่สามารถควบคุมให้ฝนตกในบริเวณที่ต้องการได้

.

หลังจากนั้น การพัฒนาฝนหลวงได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ รัชกาลที่ 9 ทรงวิเคราะห์กรรมวิธีผลิตฝนหลวงว่ามี 3 ขั้นตอนด้วยกัน

.

ขั้นที่ 1 ก่อกวน (ใช้สารเคมีกระตุ้นให้มวลอากาศลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบนเป็นก้อนเมฆ) 

.

ขั้นที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน (โปรยสารเคมีฝนหลวงที่ทรงค้นคว้าขึ้นมา โดยไม่มีสารพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ก้อนเมฆขยายตัวหรืออ้วนขึ้น) 

.

ขั้นที่ 3 โจมตี (เมื่อกลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอ ภายในจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมายที่พร้อมตกลงมาเป็นหยาดฝน)

.

พ.ศ. 2518 รัฐบาลตระหนักถึงการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานฝนหลวงเพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ดังนั้น เพื่อให้ปฏิบัติการฝนหลวงสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ครอบคลุมขึ้น จึงมีการตราพระราชกฤษฎีกาตั้ง ‘สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง’ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป

.

พ.ศ. 2535 สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงถูกรวมเข้ากับกองบินเกษตร ก่อตั้งเป็น ‘สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร’ เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงให้แก่เกษตรกรและประชาชน เติมน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำ วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการดัดแปรสภาพอากาศ รวมถึงบินบริการสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

.

พ.ศ. 2556 สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น ‘กรมฝนหลวงและการบินเกษตร’ ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2556 เพื่อให้การบริหารจัดการการปฏิบัติการฝนหลวง เป็นไปอย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ และมีความคล่องตัวในการบูรณาการภารกิจร่วมกับส่วนราชการอื่น

__

ภาพถ่ายโดย อธิษฐ์ พีระวงศ์เมธา


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก


ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน : http://huahin.royalrain.go.th/historyhuahinroyalrain/historyofdepartmentroyalrain.php


กรมฝนหลวงและการบินเกษตร : https://www.royalrain.go.th/royalrain/ShowDetail.aspx?DetailId=9668


มูลนิธิมั่นพัฒนา : http://www.tsdf.nida.ac.th/th/royally-initiated-projects/10167-%E0%B8%9D%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A8-2498/


วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564

บทความดีๆของชีวิต:หลายอย่าที่จะทำให้คุณหลุดพ้น


 

อย่าอยู่กับคนที่ทำให้คุณรู้สึกด้อยค่า

อย่าแคร์คนที่ไม่สนใจว่าคุณจะรู้สึกอย่างไร

อย่าเสียน้ำตาให้คนที่ไม่เคยหันมามอง เวลาคุณร้องไห้

อย่าเสียความเป็นตัวเองให้คนที่ไม่ให้เกียรติคุณ

อย่าหมดความมั่นใจ เพราะคำพูดของใครบางคน

อย่าเสียเวลาพิสูจน์ ในสิ่งที่รู้คำตอบอยู่แล้ว

อย่ายอมทำทุกอย่าง เพียงแค่อยากเอาชนะ

อย่าเบียดเบียนตัวเอง เพราะแค่อยากให้เขาพอใจ

อย่าเสียสละความสุข เพื่อแลกกับความรักปลอมๆ

อย่าฉุดรั้ง คนที่ไม่ได้ต้องการมีคุณอยู่ในชีวิต

อย่ายื้อเวลา เพื่อให้เขาทำร้ายใจคุณซ้ำๆ

อย่าถามหาเหตุผลจากคนที่ชอบใช้แต่อารมณ์

อย่ารอคำขอโทษจากคนที่ไม่เคยยอมรับว่าตัวเองผิด

อย่าเสียเวลาอธิบายให้คนที่ไม่อยากรับฟัง

.

มันไม่ง่ายที่จะตัดใครสักคนจากชีวิต

แต่มันก็ไม่ยาก ถ้าคุณรักตัวเองมากพอ

คุณต้องตัดสินใจ ว่าจะทนอยู่กับความรู้สึกแย่ๆ

หรือเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ “เลือก” อีกครั้ง

อย่ากลัวการสูญเสีย 

จนตัวเองกลายเป็นคนที่ “ไม่มีอะไรจะเสีย!”

.

(ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต) 

Credit : Puipinnarat

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เบิกเนตร:สถาบันพระมหากษัตริย์กับการเมือง

 


พระมหากษัตริย์ กับ ผู้ถือหุ้นบริษัท

เจ้าของประเทศ กับ เจ้าของบริษัท

ตอนที่ 2 “กษัตริย์ทรงปกเกล้าแต่ไม่ทรงปกครอง””


……………………………………….…………………………….

บทบาทของพระมหากษัตริย์


• เป็นประมุขของชาติ 

• เป็นที่เคารพสักการะสูงสุด

• เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน 

• เป็นสัญลักษณ์แห่งความต่อเนื่องของชาติ

• พระมหากษัตริย์ มีส่วนสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและทำให้การบริหารงานประเทศเป็นไปด้วยดี 


……………………………………….…………………………….

อำนาจทางการเมืองของพระมหากษัตริย์


• ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านรัฐสภา

• ทรงใช้อำนาจการบริหารผ่านคณะรัฐมนตรี

• ทรงใช้อำนาจตุลาการผ่านทางศาล


ซึ่งภาษากฎหมายอาจทำให้ชาวบ้านตาสีตาสาเข้าใจว่า พระมหากษัตริย์มีอำนาจทางการเมืองเต็มรูปแบบ


แต่ความจริง พระมหากษัตริย์ไม่ได้มีอำนาจทางการเมืองจริง อำนาจทางการเมืองเหล่านั้นเป็นของรัฐสภา รัฐบาลและศาล ซึ่งเป็น 3 สถาบันหลักในระบอบประชาธิปไตยที่มีอำนาจและหน้าที่ในบริหารงานราชการแผ่นดิน


……………………………………….…………………………….

บทบาทหน้าที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยของพระมหากษัตริย์


• ทรงยอมรับและอุ้มชูระบอบประชาธิปไตยให้ดำรงอยู่ได้ต่อเนื่อง

• ทรงช่วยแนะนำรัฐบาลด้านการปกครองยามจำเป็น

• ทรงช่วยยับยั้งเหตุการณ์รุนแรงให้ผ่อนคลาย

• ทรงใช้อำนาจอธิปไตยในนามของประชาชนชาวไทย

• ทรงเป็นกลางทางการเมือง


……………………………………….…………………………….

บทบาทที่เกี่ยวกับประชาชนของพระมหากษัตริย์


• ออกเยี่ยมเยียนราษฎร ช่วยเหลือ และห่วงใยในความเป็นอยู่ของราษฎร

• สร้างความเป็นปึกแผ่นของคนภายในชาติ

• มีบทบาทในการช่วยพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทำให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ดีขึ้น


……………………………………….…………………………….

สรุป


จะเห็นได้ว่า พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมาย แต่อยู่เหนือการเมือง


• อยู่ใต้กฎหมาย คือ ทรงมีบทบาทและหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนด


• อยู่เหนือการเมือง คือ ทรงไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ไม่ฝักใฝ่หรือสนับสนุนฝ่ายการเมืองใด และไม่ทรงมีอำนาจและหน้าที่ใดๆ ในการบริหารราชการแผ่นดิน


ซึ่งทั้งหมดนี้แปลเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่า…


ความผิดพลาดในการบริหารราชการแผ่นดินหรือการฉ้อราษฎร์บังหลวง นั้นเกิดจากการบริหารงานของนักการเมืองและการทำงานของข้าราชการ ภายใต้ 3 สถาบันหลักในระบอบประชาธิปไตย อันประกอบด้วยรัฐสภา รัฐบาลและศาล ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในบริหารงานราชการแผ่นดิน ไม่ใช่พระมหากษัตริย์


________________________________________

“เจ้าของบริษัท”


“ผู้ถือหุ้น คือเจ้าของธุรกิจ”ที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยถือครองหุ้นจำนวนหนึ่งหุ้นหรือมากกว่านั้น ในบริษัทมหาชนหรือบริษัทเอกชนตามสัดส่วนของจำนวนหรือมูลค่าของหุ้น


โดยทั่วไปแล้วสิทธิทางกฎหมายของผู้ถือหุ้นจะประกอบด้วย 6 ประการ คือ 

• สิทธิในการรับเงินปันผล

• สิทธิในการเป็นเจ้าของธุรกิจ

• สิทธิในการลงคะแนนเสียงและตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ เช่น การเลือกกรรมการบริษัท การเลือกผู้บริหาร

• สิทธิในการได้รับรายงานเกี่ยวกับสถานภาพทางการเงินของธุรกิจ

 • สิทธิในการกล่าวโทษหรือฟ้องร้องบริษัทและเจ้าหนี้

• สิทธิในการซื้อขาย โอน หรือรับโอนหุ้นกับผู้ถือหุ้นอื่น


________________________________________

โดยทางกฎหมาย “ผู้ถือหุ้น คือเจ้าของธุรกิจ” จะไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ของบริษัท


……………………………………….…………………………….

“ผู้บริหารบริษัท”


กรรมการผู้จัดการ (MD) ในระบบอังกฤษ หรือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ในระบบอเมริกัน คือ ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดในบริษัทเอกชนหรือมหาชน


ในกรณีที่นิติบุคคล(บริษัทเอกชนหรือมหาชน)กระทำความผิดกฎหมาย ให้ถือว่ากรรมการหรือกรรมการผู้จัดการหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคลนั้น


……………………………………….…………………………….

สรุป 


ผู้ถือหุ้นของบริษัท ไม่มีหน้าที่การบริหารธุรกิจ และไม่ต้องรับผิดต่อการคอร์รัปชั่นหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของบริหารธุรกิจ และกรรมการผู้บริหารบริษัทคือผู้รับผิดชอบต่อการบริหารและการดำเนินธุรกิจ


ในทำนองเดียวกัน พระมหากษัตริย์ (หรือแม้แต่ประชาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศ ไม่มีหน้าที่การบริหารราชการแผ่นดิน และไม่ต้องรับผิดในการฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการบริหารราชการแผ่นดิน และนักการเมืองและข้าราชการคือผู้รับผิดชอบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน


________________________________________

หลักการสำคัญประการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คือ การแยกประมุขของรัฐ (Head of State)  อันได้แก่พระมหากษัตริย์ ออกจากหัวหน้ารัฐบาล (Head of government) อันได้แก่นายกรัฐมนตรี


พระมหากษัตริย์เป็นเพียงสัญลักษณ์ของประเทศ รัฐบาล รัฐสภา และศาล (ในภาวะปกติ) หรือคณะปฏิวัติ รัฐประหาร (ในภาวะไม่ปกติ) คือผู้ใช้อำนาจอย่างแท้จริงในนามของกษัตริย์ 


และเป็นผู้ใช้อำนาจเหล่านั้นนั่นเองที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการกระทำของตน


“กษัตริย์ไม่ทรงต้องรับผิด” หรือ “The king can do no wrong” ที่ว่า “no wrong” เพราะ “The king” ไม่ได้ทำอะไรเลยจึง “no wrong” 


ไม่ได้ทำอะไรเลย ที่หมายถึง ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในทางการเมืองและในการบริหารราชการแผ่นดินไหว


สมดังคำกล่าวที่ว่า “กษัตริย์ทรงปกเกล้าแต่ไม่ทรงปกครอง”


โปรดติดตามตอนต่อไป


……………………………………….…………………………….

อัษฎางค์ ยมนาค


ตอนที่ 1 :    https://www.facebook.com/1234993066616474/posts/4191955487586869/?d=n     

……………………………………….…………………………….

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น