จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เรื่อง ธรรมมะ ความทุกข์ที่ของสตรีที่ธรรมชาติมอบให้ติดตัวมา เพศแม่ที่ควรให้เกียจติ


ความทุกข์ที่ของสตรี คำว่าแม่นี้ยิ่งใหญ่ ผู้ไม่เคารพ ผู้บังเกิดเกล้า จะหาบุญดีความเจริญได้จากไหน
จะทำบุญไว้พระทำไม ไหว้พระพทธเจ้าทำไม เพราะผู้ที่เป็นบุญเริ่มแรก  คือ พ่อ แม่ เราควรจะตอบแทนอย่างหน้าที่ของบุตร
ให้ดีที่สุด อย่างผู้มีปัญญาจะให้สิ่งที่ดีแก่ท่าน ในเรื่อง สัมมาทิฐฐิ นั้นก็ดี ดูแล กายท่าน ใจท่านอย่างที่ทำได้อย่างคุ่มค่าให้ท่านมีใจ แห่งความสุข อันความถูกต้องของเราในฐานะ บุตร

ดูเป็นเรื่องที่น่าสงสารชีวิตของลูกผู้หญิงเสียเหลือเกิน การเกิดมาของสตรีเพศ ได้รับความทุกข์โดยธรรมชาติของความเป็นหญิง และต้องได้รับความทุกข์ความกดดันจากประเพณีและวัฒนธรรมอีก ใครบ้างหนอที่จะพอเข้าใจถึงการได้เกิดมาเป็นลูกผู้หญิงบ้าง
ความทุกข์ที่ของสตรีที่ธรรมชาติมอบให้ติดตัวมา ๑. ทุกข์เพราะมีฤดู ๒. ทุกข์เพราะต้องจากสกุลของตนไปสู่สกุลของสามี ๓. ทุกข์เพราะต้องบำเรอสามี ๔. ทุกข์เพราะตั้งครรภ์ ๕. ทุกข์เพราะการคลอดบุตร
ผู้หญิงเมื่อก้าวเข้าวันของความเป็นสาว ความเปลี่ยนแปลงของทางร่างกายก็ปรากฎผิดไปจากเดิมโดยเฉพาะเด็กผู้ชายที่เป็นรุ่นราวคราวเดียวกันจะไม่ทราบก็คือการมีประจำเดือนหรือมีฤดู ซึ่งมีอยู่ทุกๆ ๒๘ วัน การฤดูหรือรอบเดือนนั้น เป็นความทุกข์ของสตรี ที่ไม่สามารถที่หลีกเลี่ยงได้ ทั้งอารมณ์สุขภาพร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง จะรู้สึกหงุดหวิด ป่วยไข้ไม่สบาย
ผู้หญิงเมื่อถึงคราวแต่งงานมีเย้ามีเรือน ต้องจากสกุลตัวเองจากครอบครัววที่อบอุ่นของตัวไปอยู่กับชายสามีของตน จะต้องปรนนิบัติสามีของตนและญาติผ่ายสามีเป็นต้นว่าพ่อแม่ของสามี เราอาจทำอะไรไม่ถูกใจท่าน บางครั้งก็ถูกดุด่าเกิดความทุกข์ขึ้น บางครอบครัวสะใภ้กับแม่สามีจะไม่ค่อยลงรอยกันซึ่งปรากฏให้เห็นในสังคมไทยในปัจจุบัน
ความต้องการที่ชายปรารถนาจากหญิงก็คือ การได้บำรุงบำเรอจากฝ่ายหญิงโดยต้องใช้ร่างกายของตัวเอง ทำให้สามีหรือชายที่ตนรักพึงพอใจ ฉะนั้นหญิงจึงถูกกดขี่ทางเพศมาก จากภาวะของหญิงที่อ่อนแอจึงถูกทารุณทางเพศจากชายมาก
หญิงที่เริ่มตั้งครรภ์จะมีอาการแพ้ท้องอยู่ไม่เป็นสุข จะดูแลตัวเองมากขึ้นมากกว่าเดิม เพราะนั้นหมายถึงอีกชีวิตหนึ่งที่อยู่ในท้องที่เราจะต้องดูแล นอกจากกิจการงานที่ตนเองรับภาระเป็นประจำอยู่คือภายในบ้าน การหุงหาอาหารรับผิดชอบในครัวเรือนแล้ว ต้องมีภาระที่หนีไม่ได้เป็นภาระที่หนักคือต้องดูแลลูกในภรรค์ที่นับวันก็โตขึ้นเรื่อยๆ ระยะเวลา ๔-๕ วันก็พอทนได้แต่นี้ ๘-๙ เดือน มันเรื่องที่ผู้ไม่เคยทำเลย หรือผู้ชายก็ทำไม่ได้
ยามเมื่อครรภ์แก่และคลอดบุตร เป็นคราวเคราะห์ที่หญิงเจ็บปวดมากที่สุดในชีวิตเป็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นอย่างแสนสาหัสและเสี่ยงชีวิตอย่างมาก สตรีบางคนยังไม่ได้เห็นหน้าลูกสุดที่รักที่อุตส่าห์ทนุถนอมมา ตัวเองตัองมาขาดใจเสียชีวิตก่อนก็มีให้เห็นมากมาย บางทีบุตรก็ต้องมาเสียชีวิตในระหว่างคลอดก็มี ก็ยิ่งเพิ่มความทุกข์ทรมานมาให้ผู้ที่เป็นแม่นั้นอีก มันความทุกข์ความปวดร้าวที่เกิดขึ้นแก่บุคคลที่ชื่อว่าสตรีเสียจริง
ในคัมภีร์พระสุตตันปิฎกเล่มที่ ๑๘ แห่งสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค์ กล่าวไว้ว่า

[๔๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์แผนกหนึ่งของมาตุคามที่ตนจะต้อง เสวย เว้นจากบุรุษ ๕ อย่างนี้ ความทุกข์ ๕ อย่างเป็นไฉน คือ มาตุคามใน โลกนี้ เมื่อยังกำลังสาวไปสู่สกุลผัวเว้นจากญาติ อันนี้เป็นความทุกข์แผนกหนึ่ง ของมาตุคามข้อต้นที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ ฯ

[๔๖๓] อีกประการหนึ่ง มาตุคามมีระดู อันนี้เป็นความทุกข์แผนกหนึ่ง ของมาตุคามข้อที่ ๒ ที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ ฯ

[๔๖๔] อีกประการหนึ่ง มาตุคามมีครรภ์ อันนี้เป็นความทุกข์แผนก หนึ่งของมาตุคามข้อที่ ๓ ที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ

[๔๖๕] อีกประการหนึ่ง มาตุคามคลอดบุตร อันนี้เป็นความทุกข์แผนก หนึ่งของมาตุคามข้อที่ ๔ ที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ ฯ

[๔๖๖] อีกประการหนึ่ง มาตุคามเข้าถึงความเป็นหญิงบำเรอของบุรุษ อันนี้เป็นความทุกข์แผนกหนึ่งของมาตุคามที่ ๕ ที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์แผนกหนึ่งของมาตุคามที่ตนจะต้องเสวย เว้นจากบุรุษ ๕ อย่างนี้แล ฯ

ชีวิตของลูกผู้หญิง จากหนังสือกากับผ้าเหลือง (หลวงปู่เขียว)

เรื่อง ธรรมมะ ทุกข์ที่สุด จะหลุดได้อย่างไร

ทุกข์ที่สุด จะหลุดได้อย่างไร


ทุกข์ที่สุด จะหลุดได้อย่างไร
จงอธิฐานว่า เราจะอยู่อย่างคนที่พัฒนาด้านจิตวิญญาน
อย่างที่สุดเท่าที่เราเกิดมา ที่เรียกว่า มนุษย์ สัตว์ประเสริฐ

อย่ากลัวว่าความทุกข์นั้น จะมีตลอดไป... อย่าคิดว่าไม่มีทางแก้ไข... หนทางที่เร็วที่สุดคือ เปลี่ยนอารมณ์... ท่านใดมีทุกข์ ขอให้มันผ่านไปโดยไวครับ.....

เมื่อเราเกิดมาย่อมได้รับ ทั้งสุขและทุกข์ ปะปนกันไปอยู่แล้ว แต่เมื่อทุกข์ที่สุดเราควรจะทำอย่างไร ปัจจุบันเราได้ยินข่าวเรื่อง การฆ่าตัวตายบ่อยมาก ในชีวิตของความเป็นหมอ ก็เจอคนที่ฆ่าตัวตายบ่อยมาก ทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ หมอได้พูดได้คุยกับคนเหล่านี้มากมาย คำถามที่น่ารู้ก็คือ...

การฆ่าตัวตายเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ควรกระทำหรือไม่ และเราควรจะทำอย่างไรดี

บทความนี้จะไม่สนใจว่าการกระทำอย่างนั้นจะมีผลในอนาคตอย่างไร ทำลายตนเองจะบาปมากแค่ไหน ต้องเกิดมาฆ่าตัวตายใช้กรรมอีก 500 ชาติจริงหรือ เพราะถ้าบอกไป ต้องใช้ความเชื่อและศรัทธาในตัวศาสนามาพูดคุยกัน แต่ต้องการจะบอกว่า การทำลายตนเอง เป็นสิ่งที่น่าเสียดายนัก เสียดายโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีอีกมากที่จะตามมา และเสียดายแทนญาติมิตรที่เกี่ยวข้องที่จะต้องได้รับผลกระทบกายและใจตลอดไป

ในเรื่องความทุกข์ที่สุดนี้ ธรรมะในพระพุทธศาสนาสอนให้เราแก้เรื่องนี้ได้ทันที ด้วยความเข้าใจ ด้วยความรู้ที่เราไตร่ตรองเองได้ และด้วยประสบการณ์ในอดีตของเราทุกคน ในกาลามสูตรพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่อด้วยเหตุ 10 อย่าง เช่นด้วยเหตุผลว่าผู้สอนเป็นครูของเรา และอื่นๆ รวมสิบประการ แต่จะให้เชื่อก็ต่อเมื่อไตร่ตรองรู้ได้ด้วยตนเองจึงเชื่อ การจะไตร่ตรองให้รู้ได้ด้วยตนเอง จะมีได้ก็ต่อเมื่อเรามีประสบการณ์ในเรื่องนั้นมาแล้ว ดังนั้นประสบการณ์ในอดีตจึงเป็นธรรมะที่เราตรึกตรองได้เช่นกัน

เมื่อความทุกข์ที่สุดมาถึง สิ่งที่ควรระลึกถึงมีสองสามอย่างคือ หนึ่ง อย่ากลัวว่าความทุกข์นั้นจะมีตลอดไป เพราะมันจะไม่คงอยู่ตลอดไป เดี๋ยวมันก็จางไป สอง อย่าคิดว่าไม่มีทางแก้ไขให้ดีขึ้นได้ เพราะจะมีทางแก้ไขเสมอ เพียงแต่ตอนนี้ยังนึกไม่ออกเท่านั้น สาม อย่านึกว่าต่อไปนี้เราจะไม่ได้รับสิ่งดีๆ อีก เพราะเมื่อทุกข์ผ่านไป เราจะยังมีความสุข สนุกสนาน ได้อย่างเดิมแน่นอน และสุดท้ายคือ ให้นึกถึงคนข้างหลัง ที่เขาจะต้องเศร้า ได้รับการกระทบกระเทือน จากการกระทำด้วยอารมณ์ของเรา เมื่อทุกข์ที่สุดมาถึงสิ่งที่เราต้องทำทันที ในขณะที่ยังตั้งตัวปรับใจไม่ทันก็คือ รีบหาทางเปลี่ยนอารมณ์ เมื่อเราไปเจอคนอื่นทุกข์สิ่งที่ต้องทำอันดับแรกคือช่วยเปลี่ยนอารมณ์เขาก่อน จากนั้นสติจึงจะตามมา

ความทุกข์ที่มากสุดจะแก้ได้เร็วและง่ายที่สุด ด้วยการเปลี่ยนอารมณ์ ดึงอารมณ์ออกจากสถานการณ์นั้นก่อน อาจง่ายๆ เพียงแค่ทำอะไรที่ชอบ ฟังเพลง ดูหนัง หาของอร่อยกิน ชวนเพื่อนไปเที่ยว ชวนคุยเรื่องอื่น ลืมเรื่องทุกข์ไปชั่วคราวก่อน บางทีก็เบาบางได้เอง ที่สำคัญถ้ามีเพื่อนดี จะเบาบางไปได้มากที่สุด ที่ไม่ควรทำคือดื่มสุรา หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ไม่ควรหันไปดื่มเหล้าเบียร์ เพราะการกินเหล้าก็ดับทุกข์ได้ระดับหนึ่งเท่านั้น แต่จะมีข้อเสียกว่าคือ จะยิ่งโกรธง่าย น้อยใจง่ายและโมโหง่ายกว่าเดิม และไม่มีสติยับยั้งความโกรธ หรืออารมณ์ที่รุนแรงเหล่านั้น เมื่อเปลี่ยนอารมณ์ได้ ใจจะเข็มแข็งมากพอที่จะแก้ในขั้นต่อไป

ขั้นต่อไปคือพยายามตั้งใจใช้สติคิดว่าจะแก้ได้อย่างไร อะไรเป็นเหตุ อะไรเป็นผล สายไปแค่ไหนแล้วและแก้ได้หรือไม่ ทำให้ดีขึ้นได้หรือไม่ ถ้าแก้ไม่ได้ ขั้นสุดท้ายคือ ทำให้ใจของเรายอมรับสิ่งนั้นให้ ได้ ใจของเราจะยอมรับได้ คิดได้ ปลงตกได้ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า ธรรมะ

ทั้งหลายทั้งปวท่านพุทธทาสภิกขุ สอนว่า โดยสรุปรวมในธรรมะของพระพุทธเจ้า อาจสรุปเป็นแบบหนึ่งได้ว่า สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น นั่นเป็นเพราะในความเป็นจริง สิ่งทั้งหลายย่อมไม่ได้ดั่งใจเรา มีความไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนไปได้ตลอดเวลาด้วยเหตุและปัจจัย จึงไม่สมควรที่จะไปหลงยึดมั่นหมายว่าเป็นเรา เป็นตัวเรา หรือเป็นของของเรา สิ่งทั้งหลายไม่ได้ดั่งใจทั้งนั้น ไม่ว่าเราจะเป็นใคร รวยเพียงใด อำนาจล้นฟ้าขนาดไหน ต่างก็มีความทุกข์ประจำตัวประจำอยู่ทุกคนทั้งสิ้น

เมื่อคนคนหนึ่งประสพอุบัติเหตุขาขาดสองข้าง เขาจะรู้สึกอยากตายไม่อยากอยู่ จะรู้สึกว่าชีวิตนี้ไม่มีอะไรเหลืออีกแล้ว แต่ผ่านไปสักสองปี ไปดูอีกทีกำลังหัวเราะอยู่เพราะดูละคร ส่วนเรื่องขาขาดก็นั่งรถเข็นเอา และก็ชินเสียแล้ว ไม่เสียใจมากเหมือนตอนขาขาดใหม่ๆ บางคนแฟนตายไปเสียใจแทบตายตาม ผ่านไป 3 ปี มีแฟนใหม่แล้ว มีความสุขดีมากเลย ความทุกข์จึงเป็นของไม่เที่ยงเสมอ เช่นเดียวกับความสุข เพียงแต่ว่าตอนทุกข์ ให้ผ่านวันเวลาไปได้ ไม่ด่วนตายไปเสียก่อน เมื่อทุกข์ผ่านไป จะมีสิ่งดีๆ ตามมาได้แน่นอน

และเมื่อมองย้อนไป ความทุกข์เหล่านั้นมันก็เท่านั้นเอง เมื่อเราอ่านมาถึงตอนนี้ ก็ขอให้ลองใช้เวลานี้ นึกถึงอดีตที่มีทั้งทุกข์และสุขของเราดู อดีตนั่นแหละที่จะสอนตัวเราในความจริงแห่งธรรมะ ในกาลามสูตรพระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้เชื่ออะไรง่ายๆ แต่สอนว่าเมื่อเราพิจารณาได้เอง ว่านี้เป็นสิ่งดีหรือไม่ดีแก่จิตใจจึงค่อยเชื่อ การจะพิจารณาได้อย่างนั้น จะต้องมีประสบการณ์ในความรู้สึก แบบนั้นในอดีตมาก่อน อดีตจึงเป็นธรรมะที่สอนใจได้เป็นอย่างดี

ทุกข์ที่สุดจะเกิดจาก ความยึดมั่นถือมั่นที่สุด สิ่งใดที่เรารักมากยึดมากว่าเป็นตัวเราหรือของเรา สิ่งนั้นถ้าขาดหายไปจะทำให้ทุกข์ถึงที่สุด ถ้าเรารักความสวยงาม เมื่อเสียโฉมจะทุกข์ที่สุด ถ้าเรารักสามีหรือภรรยา เมื่อเขานอกใจ หรือเสียเขาไปจะทุกข์ที่สุด ถ้ารักลูก ลูกหายหรือพิการหรือตายจะทุกข์ที่สุด ถ้ารักยศถาบรรดาศักดิ์เมื่อสูญเสียจะทุกข์ที่สุด ถ้ารักตนเอง เมื่อทราบว่าตนป่วยเป็นมะเร็ง เป็นเอดส์ หรือโรคที่รักษาไม่หายก็จะทุกข์ที่สุด

แต่ถ้าเราไม่มีสิ่งนั้นเลย ก็ไม่มีอะไรจะทุกข์กับสิ่งนั้น ไม่มีลูกก็ไม่ทุกข์กับลูก ไม่มีแฟนก็ไม่มีทุกข์จากแฟน ไม่มีทรัพย์สิน ก็ไม่ทุกข์กับทรัพย์สิน หรือถ้าเรามีแต่ทำใจไว้เสมือนไม่มี หรือทำใจไว้ว่าของที่มีมันไม่เที่ยงย่อมแปรปรวนไป ก็จะทุกข์น้อยลง ยิ่งยึดมั่นได้น้อยลงเท่าไรก็ทุกข์น้อยลงเท่านั้นเป็นสัดส่วนไป เมื่อไม่ยึดมั่นก็ไม่ทุกข์เลย หมายความว่าไม่มีอะไรทำให้ทุกข์ใจได้อีกเลย แต่ความเจ็บปวดยังมีตราบเท่าที่มีสังขารร่างกายอยู่ เพียงแต่ความทุกข์กายอันนั้น จะไม่สามารถมากินใจให้ทุกข์ใจได้เลย

ความทุกข์ที่เกิดขึ้น มักเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้คนคิดจะทำความดี เพราะธรรมชาติของเราจะหลงลืมและเพลินในสุข ซึ่งความสุขส่วนมากที่เราชอบ มักจะตั้งอยู่บนความไม่เที่ยงทั้งสิ้น พระพุทธองค์เห็นข้อนี้จึงสละทุกสิ่งออกบวชแสวงหาธรรมะ แต่อย่างเราๆ มักจะไม่คิดเรื่องนี้จนกว่าจะทุกข์ เสียก่อน เราจึงพบว่าคนจำนวนมาก ได้ประพฤติธรรมะ ได้ทำสิ่งดีๆ แก่ตนและผู้อื่นเพราะประสพกับความทุกข์มาแล้ว ดังนั้นเมื่อมีทุกข์นั่นคือเราได้อยู่ใกล้ธรรมะแล้ว ถ้าผ่านช่วงนี้ไปได้ก็มักจะมีสิ่งดีโอกาสดี และเราเองก็จะดำรงอยู่ในความดีมากขึ้น ความทุกข์และความสุขเป็นของคู่โลกเช่นนี้มาตลอด

เมื่อเราทุกข์หรือพบคนที่ทุกข์ อย่าลืมเปลี่ยนอารมณ์ ตั้งสติหาทางแก้ไข ใช้ความดีเอาชนะสิ่งไม่ดี ทุกข์ย่อมไม่เที่ยง ย่อมผ่านไป เป็นธรรมดา และเราก็มีโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดี ได้ปรับปรุงตนเป็นคนดีเสมอ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน

 ขอขอบคุณเจ้าของบทความจาก

http://www.rimnam.com

ประวัติบุคคลสำคัญทางพระพุทธศาสนา นิกายเซน ท่านติช นัท ฮันห์

     
ประวัติและปฏิปทา
ท่านติช นัท ฮันห์
(Thich Nhat Hanh)

หมู่บ้านพลัม (Plum Village)
เมืองบอร์กโดซ์ (Bordeaux) ประเทศฝรั่งเศส


ท่านติช นัท ฮันห์ มีนามเดิมว่า เหงียน ซวน เบ๋า (Nguyen Xuan Bao) เกิดเมื่อเดือนตุลาคม
พ.ศ.2469 ที่จังหวัดกวงสี ในตอนกลางของประเทศเวียดนาม ฉายาของท่านเมื่อบวชแล้วคือ ติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh)

ติชในเวียดนามเป็นคำเรียก พระ แปลว่า แห่งศากยะคือ ผู้สืบทอดพุทธศาสนา นัท ฮันห์แปลว่า สติอยู่กับปัจจุบันขณะคือ การกระทำเพียงหนึ่ง (One Action) ดังนั้น ติช นัท ฮันห์จึงแปลว่า ผู้สืบทอดพุทธศาสนาอันสติอยู่กับปัจจุบันขณะ หมู่ลูกศิษย์ในทางตะวันตก เรียกท่านว่า “Thay” (ไถ่) ซึ่งในภาษาเวียดนามมีความหมายว่า ท่านอาจารย์

ในปี พ.ศ.2485 เมื่ออายุได้ 16 ปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดตื่อฮิ้ว (Tu Hieu) วิถีชีวิตในวัดเซนแห่งนี้เป็นรากฐานอันสำคัญต่อชีวิตนักบวชของท่าน สามเณรต้องเรียนรู้การมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันขณะ ในทุกการกระทำ อาจารย์ได้มอบหนังสือเล่มเล็กๆ กำชับให้ศึกษาหนังสือนั้นจนกว่าจะเข้าใจ การนำสารัตถะแห่งพระวินัย มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเป็นตอนแรกของคู่มือเล่มเล็กนั้น กล่าวถึง อากัปกิริยาของพระฝึกหัดจะต้องเกิดขึ้นพร้อมไปกับสัมมาสติ หรือการกำหนดรู้ในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ.2492 เมื่ออายุ 23 ปี ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในทางพุทธศาสนา ฝ่ายมหายานนิกายเซน จากนั้นจึงเดินทางไปไซ่ง่อนเพื่อช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนา

ท่านติช นัท ฮันห์ มีความคิดว่า พุทธศาสนาต้องรับใช้สังคม หรือพุทธศาสนาเพื่อสังคม (Engaged Buddhism) จะมัวเจริญสติเจริญภาวนาอยู่ในวัดอย่างเดียวไม่ได้ ท่านจึงช่วยเหลือผู้คนและสังคมด้วยวิถีแห่งสติและสันติตามแนวทางพุทธศาสนา ช่วยฟื้นฟูพุทธศาสนาให้เข้ากับยุคสมัย รวมทั้งเขียนบทความทางพุทธศาสนา แต่กลับถูกผู้นำองค์กรชาวพุทธและรัฐบาลเวียดนามต่อต้านเป็นอย่างมาก

ในปี พ.ศ.2505 ท่านเดินทางไปศึกษาต่อด้านศาสนาเปรียบเทียบที่มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากได้รับทุน จากนั้น 1 ปี ในราวปี พ.ศ.2506 ท่านได้เป็นผู้บรรยายพิเศษที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และได้รับทุนจากมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

แต่ท่านตัดสินใจกลับเวียดนาม เพื่อช่วยสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทกับมหายานในเวียดนามใต้ ดำเนินการตั้งโรงเรียนยุวชนรับใช้สังคม เพื่อรักษาสังคมและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากสงครามเวียดนาม พยายามสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น ด้วยการสานต่อแนวคิดเรื่องพุทธศาสนาที่ผูกสัมพันธ์กับสังคม และพัฒนาวงการสงฆ์ด้วยการสอนและเขียนในสถาบันพุทธศาสนาขั้นสูง เป็นการบ่งบอกถึงแนวคิดของท่านว่า การกระทำและปัญญาต้องก้าวไปด้วยกัน (action and wisdom must go together)

เมื่อถึงปี พ.ศ.2509 ท่านได้จัดตั้ง คณะเทียบหินเป็นกลุ่มสังฆะประกอบด้วยภิกษุ-ภิกษุณี และฆราวาส ปฏิบัติตนตามหลัก 14 ข้อ ซึ่งครอบคลุมการดำเนินชีวิตในสังคมสมัยใหม่

ในปีเดียวกันท่านติช นัท ฮันห์ กลับไปสหรัฐอเมริกาอีกครั้ง เพื่อร่วมการประชุมสัมมนาเกี่ยวกับพุทธศาสนาในเวียดนามที่มหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ รวมถึงพยายามทำให้สังคมมีสันติภาพ ด้วยการกระตุ้นให้คนไม่ว่าชาติใดก็ตามเห็นถึงความสำคัญของสันติภาพ ท่านตระหนักว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการการต่อสู้เพื่อสันติภาพ เพื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุคือหยุดการสนับสนุนสงครามและมุ่งเน้นสันติภาพ โดยปลุกจิตสำนึกต่อคนทั่วโลก

มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์

กระทั่ง มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ (Martin Luther King, Jr.) นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนชาวอเมริกา ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (Nobel Peace Prize) เมื่อปี พ.ศ.2507 ได้เสนอนามท่านติช นัท ฮันห์ เข้าชิงรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี พ.ศ.2510

ผลของการทำงานและการเคลื่อนไหวต่างๆ ของท่านติช นัท ฮันห์ ส่งผลให้รัฐบาลเวียดนามใต้ไม่อนุญาตให้ท่านกลับเข้าประเทศ ท่านจึงต้องลี้ภัยอย่างเป็นทางการในประเทศฝรั่งเศส โดยสอนประวัติศาสตร์พุทธศาสนาเวียดนามที่มหาวิทยาลัย และสร้างอาศรมแห่งหนึ่งนอกเมืองปารีส เพื่อเขียนหนังสือและปลูกพืชผักสมุนไพร ซึ่งท่านติดต่อลับๆ กับพระภิกษุที่ถูกจำคุกในเวียดนาม เพราะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ระหว่างนั้นท่านยังคงทำงานเพื่อสันติภาพและผู้ลี้ภัย ควบคู่ไปกับการนำธรรมสู่ผู้คนทุกเชื้อชาติ จากประสบการณ์ของท่านที่ได้พบเห็นชะตากรรมของผู้ลี้ภัยด้วยตนเอง จนสามารถช่วยเหลือผู้คนได้อีกมาก


 
ในปี พ.ศ.2525 เมื่อผู้มาปฏิบัติธรรมที่อาศรมของท่าน ทวีจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ท่านจึงเริ่มก่อตั้งชุมชนแห่งใหม่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ให้ชื่อว่า หมู่บ้านพลัม (Plum Village) อันเป็นชุมชนแบบอย่างการปฏิบัติธรรมแห่งพุทธบริษัท 4 โดยไม่มีเส้นแบ่งทางศาสนา ที่เน้นการเจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างตระหนักรู้ในแต่ละลมหายใจเข้าออก และกลับมาอยู่กับปัจจุบันขณะ ซึ่งถือเป็นบ้านของท่านจนทุกวันนี้

ที่มาของชื่อหมู่บ้าน พลัมเกิดจากท่านติช นัท ฮันห์ มีความประสงค์จะสร้างชุมชนปฏิบัติธรรมขึ้น ครั้งนั้นมีภิกษุเสนอให้ตั้งชื่อว่า หมู่บ้านโรงเรียนสำหรับหนุ่มสาวเพื่อรับใช้สังคม

แต่ท่านติช นัท ฮันห์ เสนอให้ใช้ชื่อ หมู่บ้านพลัมเพราะพื้นที่ดังกล่าวปลูกต้นพลัมนับพันต้น เพื่อให้ออกผลให้ผู้ลี้ภัยชาวเวียดนามซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในฝรั่งเศสเก็บรับประทาน และคำว่า พลัมฟังดูน่ารักและเบาสบาย เหมาะเป็นที่พักทางจิตวิญญาณ

ในช่วงแรกหมู่บ้านพลัม (Plum Village) เป็นแหล่งพักพิงของผู้ลี้ภัย ในช่วงการปรับตัวก่อนเข้าสู่สังคมใหม่ในประเทศใหม่ ปัจจุบันหมู่บ้านพลัมได้ต้อนรับผู้คนมากมายในการปฏิบัติสมาธิภาวนา และได้เริ่มมีสมาชิกเป็นนักบวชตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 ซึ่งในปี พ.ศ.2549 มีสมาชิกเป็นนักบวชทั้งภิกษุและภิกษุณีกว่าห้าร้อยคน มาจากยี่สิบกว่าประเทศทั่วโลก ส่วนใหญ่มาอยู่ที่หมู่บ้านพลัม เมืองบอร์กโดซ์ ในประเทศฝรั่งเศส, ที่ Green Mountain Dharma Center รัฐเวอร์มอนต์ และ Deer Park Monastery รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และที่วัดบัทหงา เมืองบ๋าวหลอบ และวัดตื่อฮิ้ว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม

ในปัจจุบัน ชุมชนปฏิบัติธรรมแห่งสังฆะหมู่บ้านพลัม มีทั้งสิ้น 12 แห่ง กระจายอยู่ในประเทศฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา, เยอรมัน และเวียดนาม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มปฏิบัติธรรมตามแนวทางของท่านติช นัท ฮันห์ กระจายอยู่อีกหลายประเทศทั่วโลกเกือบหนึ่งพันกลุ่ม อาทิเช่น

- Upper Hamlet, Lower Hamlet, New Hamlet, Son Ha กระจายตัวอยู่ในหมู่บ้านชนบทใกล้เมืองบอร์กโดซ์ (Bordeaux) ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส

- Clarity Hamlet, Solidity Hamlet ที่ Deer Park Monastery, Community of Mindful Living รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

- Green Mountain Dharma Center, Maple Forest Monastery รัฐเวอร์มอนต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

- Blue Cliff Monastery รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา

- วัดบัทหงา เมืองบ๋าวหลอบ และวัดตื่อฮิ้ว เมืองเว้ ประเทศเวียดนาม



จนกระทั่งปี พ.ศ.2548 เมื่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศเวียดนามเข้าสู่ภาวะปกติ หลังไฟของสงครามเวียดนามดับมอดลงไปแล้วถึง 30 ปี ท่านติช นัท ฮันห์ จึงได้เดินทางกลับมาเยือนประเทศเวียดนาม แผ่นดินอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านอย่างเป็นทางการ หลังการจากมาเป็นเวลายาวนานถึง 39 ปี ซึ่งก็ได้รับการต้อนรับจากประชาชนชาวเวียดนามอย่างอบอุ่น

ถึงตอนนี้ ท่านติช นัท ฮันห์ ยังคงพำนักอยู่ที่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส และยังคงเดินทางไปประเทศต่างๆ เกือบทั่วโลก พร้อมด้วยภิกษุและภิกษุณีแห่งหมู่บ้านพลัม เพื่อเผยแผ่ธรรมและนำการเจริญสติเจริญภาวนาแก่ผู้สนใจซึ่งมีเป็นจำนวนมาก

ท่านติช นัท ฮันห์ เคยกล่าวไว้ว่า พุทธศาสนาเป็นวิถีชีวิต เนื่องด้วยคติข้อหนึ่งที่แพร่อยู่ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือ วิถีทางแห่งพุทธธรรม คือ วิถีทางแห่งชีวิต ท่านจึงนำธรรมเข้าสู่ชีวิตประจำวัน เช่น ฝึกลมหายใจเพื่อนำสู่ สติและ สันติไม่ว่าจะในขณะเดิน นั่ง รับประทานอาหาร หรือขณะทำกิจกรรมอื่นๆ เป็นต้น และไม่เพียงแต่ในห้องปฏิบัติเท่านั้น แต่ยังปฏิบัติในครัว ในห้องน้ำ ในห้องพัก และระหว่างทางเดินด้วย

ในการฝึกปฏิบัติร่วมกันในสังฆะเป็นชุมชน การรับประทานอาหารด้วยกัน (Eating together) ก็เป็นการฝึกสมาธิอย่างหนึ่ง แนวทางปฏิบัติของท่านติช นัท ฮันห์ ระหว่างการรับประทานอาหาร คือ การดำรงอยู่ของเราต่ออาหารทุกมื้อ เมื่อเราตักอาหาร เราก็เริ่มต้นการฝึก เราตระหนักถึงธาตุต่างๆ เช่น สายฝน แสงแดด ผืนแผ่นดิน และความรัก เป็นต้น มาประกอบรวมกันเป็นอาหารอันมหัศจรรย์มื้อนี้ ที่จริงแล้วจากอาหารมื้อนี้ เรามองเห็นถึงจักรวาลทั้งมวลเกื้อหนุนการดำรงอยู่ของเรา

ใน หนังสือปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ (The Miracle of Being Awake) ซึ่งท่านติช นัท ฮันห์ เป็นผู้แต่ง กล่าวไว้ว่า ในพระสูตรต่างๆ พระพุทธเจ้ามักทรงสอนให้ใช้ลมหายใจบำเพ็ญสติเสมอ มีพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องการใช้ลมหายใจ เพื่อฝึกสติเจริญสมาธิโดยเฉพาะสูตรหนึ่งคือ อานาปานัสสติสูตร

การหายใจเป็นเครื่องมือตามธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในการป้องกันความคิดฟุ้งซ่าน ลมหายใจเป็นสะพานเชื่อมระหว่างชีวิตและจิตสำนึก ทำให้ร่างกายและความคิดเป็นเอกภาพกัน หากเกิดความคิดฟุ้งกระจายไป ผู้ปฏิบัติงานควรใช้ลมหายใจในการรวมจิตเข้ามาอีกครั้งหนึ่ง เราไม่ควรปล่อยตนเองให้หลงไปในความคิดที่ฟุ้งซ่านและสิ่งแวดล้อมรอบตัว จงเรียนรู้วิธีฝึกลมหายใจ เพื่อจะได้คอยควบคุมจิตใจและร่างกายของเรา ฝึกสติ พัฒนาสมาธิและปัญญา...การตื่นตัวและพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างสามารถและมีไหวพริบ นี่แหละคือความมีสติโดยแท้...ท่านติช นัท ฮันห์ แนะไว้ในหนังสือปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ

“...การที่เราจะบังคับบัญชาจิตใจ และทำความคิดให้สงบได้นั้น เราจะต้องเจริญสติที่จิตใจด้วย ไม่ใช่ที่ลมหายใจอย่างเดียว นั่นคือ ต้องฝึกมีสติให้รู้พร้อมถึงความรู้สึกต่างๆ (เวทนานุปัสสนา) และรู้พร้อมถึงความคิดต่างๆ (จิตตานุปัสสนา) ด้วย เราต้องรู้วิธีสังเกต และรู้เท่าทันความรู้สึกและความคิดทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นในจิตใจของเรา ท่านอาจารย์เซน เดื่อง เจียว ซึ่งอยู่ในช่วงสุดท้ายของราชวงศ์ลี เขียนไว้ว่า

ถ้าผู้ปฏิบัติธรรมรู้จักจิตใจของตนเองอย่างถ่องแท้ ก็จะเข้าถึงธรรมโดยไม่ต้องใช้ความพยายามมาก แต่ถ้าไม่รู้จักจิตใจของตนเองเลย ความพยายามทั้งหมดของเขาก็จะสูญเปล่า มีหนทางเดียวเท่านั้นที่เธอจะรู้จักจิตใจของเธอเองได้ นั่นก็คือการสังเกตและรู้เท่าทัน ทุกสิ่งทุกอย่างเกี่ยวกับจิตใจ และต้องฝึกปฏิบัติอยู่ตลอดเวลาทั้งในชีวิตประจำวัน และในเวลาของการฝึกสมาธิ...และนี่ก็คือเนื้อหาอีกส่วนหนึ่งในหนังสือปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ

ท่านติช นัท ฮันห์ ยังสอนให้มองทุกอย่างอย่างเชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน (interbeing) ไม่มีสิ่งใดที่จะอยู่แยกจากสิ่งอื่นได้ “...บางทีเราอาจจะพูดได้ว่าเราจะมีชีวิตอยู่จริง มิใช่อยู่อย่างตายซาก ก็ต่อเมื่ออยู่อย่างเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตโลก ดังนั้น จงร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก ความทุกข์ของคนอื่นก็คือความทุกข์ของเรา ความสุขของคนอื่นก็คือความสุขของเรา...เป็นอีกคำสอนของท่านติช นัท ฮันห์

คนไทยส่วนใหญ่อาจเคยได้ยินนาม ติช นัท ฮันห์" หรือทำความรู้จักท่านและคำสอนทางธรรมผ่านงานเขียนของท่าน อาทิ ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ”, “ความโกรธ ปัญญาดับเปลวไฟแห่งโทสะ” (Anger), “สันติภาพทุกย่างก้าว” (Peace Is Every Step), “กุญแจเซน” (Zen Key), “ศานติในเรือนใจ” (Touching Peace), “ปลูกรัก” (Cultivting the Mind of love) ฯลฯ แต่น้อยคนนักที่จะเคยพบท่านในเมืองไทย

ท่านติช นัท ฮันห์ มาเยือนเมืองไทยครั้งแรกเมื่อราว 30 ปีที่แล้ว คราวที่ ส.ศิวรักษ์ ปัญญาชนสยาม อาราธนาท่านมายังอาศรมที่วัดผาลาด ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ครั้งนั้นนั่นเองที่ ส.ศิวรักษ์ สนับสนุนให้มีการแปลงานเขียนของท่านติช นัท ฮันห์ เป็นภาษาไทยหลายต่อหลายเล่ม รวมถึงกลุ่มอื่นยังมีการจัดเสวนาในประเด็นที่ว่าด้วยธรรมของท่านติช นัท ฮันห์ อยู่หลายครั้ง ส่งผลให้คนไทยได้ลิ้มรสแห่งธรรมจากท่านติช นัท ฮันห์


เรื่อง ธรรมมะ พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ กับปาฏิหาริย์แห่งปัจจุบันขณะ


พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ กับปาฏิหาริย์แห่งปัจจุบันขณะ

เมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๓ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เต็มไปด้วยผู้คนกว่า ๒,๕๐๐ คน ที่มาฟังปาฐกถาธรรม ปาฏิหาริย์แห่งปัจจุบันขณะ โดย พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ พระมหาเถระชื่อดังชาวเวียดนาม ในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นิกายเซน แห่งศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติ หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งได้เดินทางพรัอมคณะนักบวชจากหมู่บ้านพลัม มาจาริกธรรมในไทย และจัดกิจกรรมแห่งสติตลอดเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

รายการในวันนั้นเริ่มด้วยบทเพลงภาวนาโดยภิกษุ ภิกษุณี และอาสาสมัคร ต่อด้วยการสวดมนต์และนั่งสมาธิ จากนั้นพระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ จึงได้แสดงปาฐกถาธรรม ซึ่ง ธรรมลีลา ขอนำบางส่วนมาถ่ายทอดไว้ ณ ที่นี้


การดำรงอยู่อย่างเป็นสุขในปัจจุบันขณะ

พระอาจารย์ติช นัท ฮันห์ กล่าวว่า ตอนที่ฉันบวชเป็นสามเณร พระอาจารย์มอบหนังสือบทกวีแห่งสติให้ฉันท่องจำและฝึกปฏิบัติ บทแรกคือ ตื่นนอนยามเช้า

ตื่นนอนเช้านี้ ฉันยิ้ม
ฉันรู้ดีว่ายังคงมี ๒๔ ชั่วโมงแห่งวันใหม่
ตั้งปณิธานใช้ชีวิตอย่างเต็มเปี่ยมในทุกขณะ
และมองทุกสรรพชีวิตด้วยสายตาแห่งความรัก

เมื่อเราท่องบทกวีแห่งสตินี้พร้อมตามลมหายใจ เราจะกลับมามีชีวิตมีชีวา เราจะตระหนักรู้ได้ทันทีว่า เรามีชีวิตที่เป็นดั่งของขวัญอีก ๒๔ ชั่วโมง เมื่อเราปฏิบัติเช่นนี้ เราเป็นสุขได้ในทันที สำหรับฉัน การมีชีวิตคือความมหัศจรรย์

ในเวียดนาม ตอนที่ฉันยังเป็นสามเณรอยู่ ภิกษุไม่ขับรถและไม่ขี่จักรยาน ฉันจึงเป็นสามเณรคนแรกในเวียดนาม ที่ใช้จักรยานในการเดินทาง ฉะนั้น ฉันจึงแต่งบทกวีเพื่อฝึกปฏิบัติการขี่จักรยาน หลังจากนั้นฉันยังเขียนกวีแห่งสติในการรับโทรศัพท์ และในการเดินลงจากเครื่องบิน เพื่อเตือนให้รู้ว่าเรากำลังทำอะไรในขณะนี้

การดำรงอยู่อย่างเป็นสุขในขณะปัจจุบัน คือคำสอนที่สำคัญมากในพุทธศาสนา เราไม่จำเป็นต้องวิ่งไปในอนาคต เพื่อแสวงหาความสุข เพียงแต่นำกายและใจมาดำรงด้วยกันอย่างตั้งมั่น เธอจะสามารถสัมผัสกับความสุขที่มีมากเพียงพออยู่แล้ว

นิพพาน ดินแดนสุขาวดี หรือความสุขดำรงอยู่ตรงนี้ในขณะปัจจุบัน หากเธอเดินในวิถีแห่งสติได้ เธอจะสัมผัสกับสิ่งเหล่านี้ได้ พวกเราหลายคนติดยึดกับความเศร้าโศกในอดีต ความลังเลสงสัยในอนาคต และความทุกข์ในปัจจุบัน เมื่อเรารู้วิธีการฝึกปฏิบัติ เราจะปล่อยวางความทุกข์ต่างๆ ได้

การเดินในวิถีแห่งสติเป็นการฝึกปฏิบัติที่ประเสริฐมาก ทุกย่างก้าวนำเรากลับสู่ปัจจุบันขณะ ช่วยให้เราเป็นอิสระจากอดีตและอนาคต เพียงแค่ฝึกประสานลมหายใจแห่งสติกับทุกย่างก้าวเท่านั้น

ความรักที่มีสติ และ ปัญญา คือความรักที่สุขที่สุด และ อยู่กับคนที่รักอย่างวางตัวถูกต้องที่สุด

คาถาแห่งรัก ๓ ข้อ อยู่ตรงนี้เพื่อเธอที่รัก

เมื่อเธอรักใครคนหนึ่ง สิ่งที่เธอจะมอบให้กับเขาได้คือการอยู่ตรงนั้นอย่างเต็มเปี่ยม เธอจะทำอย่างนั้นได้เมื่อเธอฝึกเจริญสติ เธอมองไปยังดวงตาของคนที่เธอรักและกล่าวว่า ที่รัก ฉันอยู่ตรงนี้เพื่อเธอ

คุณพ่อของเด็กชายคนหนึ่งเป็นคนที่มีฐานะดี แต่ไม่มีความสุข เพราะทำงานยุ่งอยู่เสมอ เขาถามลูกชายว่า พรุ่งนี้เป็นวันเกิดลูก ลูกอยากได้อะไร

สิ่งที่ลูกชายขอจากคุณพ่อ คือ การอยู่ด้วยกัน หากคุณพ่อท่านนั้นฝึกเจริญสติ เขาจะสามารถมองไปยังดวงตาของลูกชายและพูดว่า

ลูกรัก พ่ออยู่ที่นี่เพื่อลูกของขวัญชิ้นนี้เป็นของขวัญที่ดีที่สุดสำหรับคนที่เธอรัก นี่คือคาถาแห่งรักข้อแรกที่เธอฝึกได้ทุกวัน

คาถาแห่งรักข้อที่สอง คือ เธอตระหนักรู้ถึงการดำรงอยู่ของคนที่เธอรัก

ที่รัก ฉันรู้ว่าเธออยู่ตรงนั้น ยังมีชีวิตอยู่ และฉันมีความสุขมาก เธอจะเอ่ยคาถานี้ได้ก็ต่อเมื่อเธอดำรงอยู่กับตนเองอย่างเต็มเปี่ยมได้ ซึ่งทำให้เธอตระหนักรู้ถึงความรักของเธอที่มีต่ออีกฝ่าย และตระหนักรู้ว่าอีกฝ่ายยังมีชีวิตอยู่ตรงหน้าเธอ

เมื่อเธอสังเกตเห็นว่าคนที่เธอรักเป็นทุกข์ เธอสามารถใช้คาถาแห่งรักข้อที่สาม

ที่รัก ฉันรู้ว่าเธอเป็นทุกข์ ฉันอยู่ตรงนี้เพื่อเธอ

หากเธอเป็นทุกข์ แต่คนที่เธอรักไม่รู้และไม่เข้าใจเธอ เธอย่อมเป็นทุกข์ แต่หากเธอเป็นทุกข์และอีกฝ่ายรับรู้ เธอจะรู้สึกเบาขึ้นในทันที ทุกคนสามารถนำคำสอนเหล่านี้ของพระพุทธองค์มาใช้ในชีวิตประจำวันได้



การเจรจาแห่งสันติ

เรานำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาสร้างสันติสุขให้กับสังคม ประเทศชาติ และโลกได้ ที่หมู่บ้านพลัมเราเชิญชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์มาร่วมงานภาวนา ตอนแรกทุกคนต่างไม่ไว้ใจกัน ดังนั้น ในช่วงแรกของงานภาวนา เราจึงย้ำให้พวกเขาฝึกปฏิบัติกลับมาดำรงอยู่กับลมหายใจ โอบอุ้มความรู้สึกของตนเอง ซึ่งเป็นการฝึกอานาปานสติ เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดในร่างกายและจิตใจของพวกเขา

อาทิตย์ต่อมา เราเชิญให้พวกเขาแบ่งปันความทุกข์ในใจของเขา และแนะให้ไม่กล่าวตำหนิอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายมีโอกาสรับฟังด้วยความเข้าใจ ขอเพียงเล่าถึงความทุกข์ที่เราประสบเพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจ ฝ่ายที่รับฟังก็จะนั่งนิ่งๆ โดยไม่ขัดจังหวะการพูดของอีกฝ่าย เพราะพวกเขารู้ว่าพวกเขาจะมีโอกาสปรับความเข้าใจกันอีกในอนาคต เขาไม่จำเป็นต้องขัดจังหวะการแบ่งปันของอีกฝ่าย การฟังด้วยวิถีเช่นนี้ทำให้ทั้งสองฝ่ายรู้ว่า ความทุกข์ของอีกฝ่ายไม่แตกต่างจากความทุกข์ของตนเลย เมื่อเราเข้าใจความทุกข์ของอีกฝ่าย ความกรุณาจะเกิดขึ้นในจิตใจทันที อาทิตย์ที่สามของงานภาวนา ทั้งสองฝ่ายทานอาหารด้วยกันและเดินจูงมือกันได้

ฝึกฟังอย่างลึกซึ้ง

สังคมของเราเต็มไปด้วยความรุนแรง ความแบ่งแยก และความโกรธเกลียด สิ่งเหล่านี้จะแปรเปลี่ยนได้ด้วยการฝึกฟังอย่างลึกซึ้ง และการเอ่ยวาจาแห่งรัก ฉันเชื่อว่าเหตุที่การเจรจาสันติภาพไม่ประสบผลสำเร็จ เพราะเราไม่ได้นำวิถีแห่งสติมาใช้ในการเจรจา เรามักกระตือรือร้นที่จะถกกันเรื่องสันติภาพ แต่ทั้งสองฝ่ายกลับมีแต่ความลังเลสงสัย ความโกรธ และความกลัว พวกเขาไว้ใจกันและกันไม่ได้ การเจรจาจึงไม่ประสบผล

ในวิถีพุทธ เราจะแนะนำให้เขาใช้เวลา ๑-๒ อาทิตย์ ฝึกเจริญสติเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดในกายและใจ พวกเราซึ่งอยู่ในชุมชนแห่งการฝึกปฏิบัติจะช่วยหยิบยื่นพลังแห่งความสงบสุขให้พวกเขา และเมื่อทั้งสองฝ่ายสงบกายสงบใจได้แล้ว เราจึงจัดให้รับฟังกันด้วยความกรุณา เมื่อทั้งสองฝ่ายมีความกรุณาในใจ การเจรจาเพื่อสันติภาพจึงเกิดขึ้นได้




จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 120 พฤศจิกายน 2553 โดย กองบรรณาธิการ

Pink Mango 42 Talk ริว จิตสัมผัส เรื่องกรรมการฆ่าตัวตายและเรื่องกรรมเป็นเกย์


ริว จิตสัมผัส เรื่องกรรมการฆ่าตัวตายและสาระหลักคิดเรื่องกรรม

ริว จิตสัมผัส เรื่องกรรมการฆ่าตัวตาย
ในส่วนตัวยอมรับชายคนนี้ มีหลักการมีเหตุผล มีธรรม มีแง่คิด ไม่เห็นประโยชน์เอาดีใส่ตัว มีใจเมตตา กรุณา ไม่ให้คนมัวแต่เชื่อโดยไม่มองย้อนคิดทบทวนตัวเองด้วยสติปัญญา เตือนคนให้สร้างกรรมดี ระวังกรรมชั่ว  ไม่หลงตัวเอง อยู่อย่างคนสามัญปกติ ไม่อวดอ้าง มีหลายอย่างที่เราสัมผัสได้จากชายคนนี้ เขาสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องกรรมดีกรรมชั่ว ว่ามีผลจริงๆให้กับใครหลายคน ยืนหยัดเผยแผ่ความจริงที่มนุษย์มองข้ามจากหลักคำสอนทางศาสนา หวังว่าเราควรจะจับหลักที่คนผู้นี้พูดมาให้มาขบคิดเพื่อทบทวนการกระทำของตัวเองอีกครั้ง อย่างไม่ประมาทในการใช้ชีวิตต่อไปในปัจจุบันและข้างหน้า

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติประเพณีสำคัญทางพุทธศาสนา ความเป็นมา การทอกผ้าป่า

ประเพณีการทอดผ้าป่า

           
ทอดผ้าป่า หมายถึง พิธีบุญอย่างหนึ่งของชาวพุทธ ผ้าป่าคือผ้าที่ผู้ทำบุญนำไปวางไว้ที่ใดที่หนึ่งไม่ต้องการให้พระรู้ว่าตนเป็นผู้ทำบุญ และตั้งใจไว้ว่าหากภิกษุรูปใดมาพบผ้านั้นก่อนให้หยิบเอาไป กิริยาที่เอาผ้ามาวางไว้ แล้วตั้งใจอธิษฐานนั้น เรียกว่า ทอดผ้าป่า

         พิธีทอดผ้าป่า เป็นการทำบุญอีกอย่างหนึ่งของชาวพุทธที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ พิธีทอดผ้าป่าจะคล้ายกับพิธีทอดกฐิน แต่ไม่มีการกำหนดระยะเวลาที่จำกัด ในแต่ละปีทางวัดจัดให้มีการทอดผ้าป่ากี่ครั้งก็ได้ และไม่มีการเจาะจงพระภิกษุในการรับผ้า

         ความเป็นมาของประเพณีการทอดผ้าป่า กล่าวคือ ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุรับจีวรจากชาวบ้าน ดังนั้นพระภิกษุจะต้องหาผ้าที่ชาวบ้านทิ้งแล้ว ผ้าที่เปรอะเปื้อน ผ้าห่อศพ โดยรวบรวมนำมาซักฟอกทำความสะอาดตัดเย็บและย้อมทำเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ เมื่อชาวบ้านทราบถึงความยากลำบากจึงต้องการนำผ้ามาถวายแต่ยังไม่มีพุทธานุญาต ดังนั้นชาวบ้านจึงต้องการนำผ้าไปทอดทิ้งตามที่ต่างๆเช่น ตามทางเดิน ป่าช้า แล้วแต่ว่าพระภิกษุสงฆ์องค์ใดจะมาพบเห็นแล้วนำผ้านั้นไปใช้

         ในปัจจุบันการทอดผ้าป่าได้มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยนิยมนำกิ่งไม้มาปักไว้ในกระถาง และนำผ้ามาผูกแขวนไว้ และอาจจะนำผ้ามาทำเป็นรูปร่าง ต่างๆ เช่น  ชะนี รูปผี แขวนไว้ที่กิ่ง และสิ่งของเครื่องใช้ที่จะถวายพระ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ฯลฯ เงินหรือปัจจัยให้เสียบไม้แล้วปักกับต้นกล้วยเล็กๆ ในกองผ้าป่า

         ก่อนพิธีการทอดผ้าป่า จะต้องมีการจองผ้าป่า เช่นเดียวกันกับการทอดกฐิน เนื่องจากเป็นงานค่อนข้างใหญ่ ดังนั้นจึงจะต้องแจ้งความจำนงให้ทางวัดทราบก่อนเพื่อที่จะได้มีการจัดเตรียมต้อนรับ เมื่อถึงวันกำหนดก้จะมีการแห่ขบวนผ้าป่าที่วัด หลังจากนั้นก็จะนำผ้าป่าไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์ และกล่าวคำถวายผ้าป่า พระสงฆ์หนึ่งรูปจะลุกขึ้นมาชักผ้าบังสุกุลและกล่าวปริกรรม พระสงฆ์สวดอนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำเป็นอันเสร็จพิธี

         คำกล่าวถวายผ้าป่า

         อิมานิ มะยัง ภันเต ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ภิกขุ สังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ปังสุกูละจีวะรานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

         คำแปล ข้าแต่พระภิกษุสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้าบังสุกุลจีวรกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับผ้าบังสุกุลจีวรกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ

ประเพณีสำคัญทางพระพุทธศาสนา ประวัติความเป็นมา การทอดกฐิน

       ประเพณีการทอดกฐิน ในแต่ละปีกำหนดให้มีการจัดทอดกฐินขึ้นภายใน ๑ เดือน หลังประเพณีออกพรรษา โดยวัดที่จะสามารถรับกฐินได้ ต้องมีพระภิกษุจำพรรษาโดยไม่ขาดพรรษาเลย ไม่ต่ำกว่า ๕ รูป และแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละ ๑ ครั้ง
การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน

      กฐินแปลว่าอะไร?
คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อนแล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มี ความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอเหมือนจักรเย็บผ้า ในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตรพระมหาโมคคัลลานะพระมหากัสสปะแม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมาช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)

ผู้ประสงค์จะทอดกฐินจะทำอย่างไร

พุทธศาสนิกชนทั่วไป ย่อมถือกันว่า การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรง เพราะเป็นกาลทาน ทำได้เพียงปีละ 1 ครั้งและต้องทำในกำหนดเวลาที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ดังนั้นถ้ามีความเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐินบ้างแล้ว พึ่งปฏิบัติดังต่อไปนี้

จองกฐิน เมื่อจะไปจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพรรษาแล้ว พึงไปมนัสการสมภารเจ้าอาวาสวัดนั้น กราบเรียนแก่ท่านว่าตนมีความประสงค์จะขอทอดกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้รู้ทั่ว ๆ กัน การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่น ๆ ก็เพื่อให้ได้ทอดวัดที่ตนต้องการ หากมิเช่นนั้นอาจมีผู้อื่นไปจองก่อน นี้กล่าวสำหรับวัดราษฎร์ ซึ่งราษฎรมีสิทธิจองได้ทุกวัด แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง อันมีธรรมเนียมว่าต้องได้รับกฐินหลวงแล้ว ทายกนั้น ครั้นกราบเรียนเจ้าอาวาสท่านแล้ว ต้องทำหนังสือยื่นต่อกองสัมฆการีกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ขอเป็นกฐินพระราชทาน ครั้นคำอนุญาตตกไปถึงแล้ว จึงจะจองได้

เตรียมการ ครั้นจองกฐินเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกพรรษาแล้ว จะทอดกฐินในวันใด ก็กำหนดให้แน่นอน แล้วกราบเรียนให้เจ้าอาวาสวัดท่านทราบวันกำหนดนั้น ถ้าเป็นอย่างชนบท สมภารเจ้าวัด ก็บอกติดต่อกับชาวบ้านว่าวันนั้นว่านี้เป็นวันทอดกฐิน ให้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดหาอาหารไว้เลี้ยงพระ และเลี้ยงผู้มาในการทอดกฐิน

ครั้นกำหนดวันทอดกฐินแล้ว ก็เตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐิน คือไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่น ๆ ตามแต่มีศรัทธามากน้อย (ถ้าจัดเต็มที่มักมี 3 ไตร คือ องค์ครอง 1 ไตร คู่สวดองค์ละ 1 ไตร)

วันงาน พิธีทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น โดยมากจึงจัดงานเป็น 2 วัน วันต้นตั้งองค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ จะไปตั้งที่วัดก็ได้ กลางคืนมีการมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน ญาติพี่น้องและมิตรสหายก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา รุ่งขึ้นเป็นที่วัดทอด ถ้าไปทางบก ก็มีแห่ทางขบวนรถหรือเดินขบวนกันไป มีแตรวงหรืออื่น ๆ เป็นการครึกครื้น ถ้าไปทางเรือก็มีแห่งทางขบวนเรือสนุกสนาน โดยมากมักแห่ไปตอนเช้า และเลี้ยงพระเพล การทอดกฐิน จะทอดในตอนเช้านั้นก็ได้ ทอดเพลแล้วก็ได้ สุดแล้วแต่สะดวก การเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างในชนบท ชาวบ้านจัดภัตตาหารเลี้ยงด้วย เจ้าของงานกฐินก็จัดไปด้วย อาหารมากมายเหลือเฟือ แม้ข้อนี้ ก็สุดแต่กาละเทศะแห่งท้องถิ่น

อนึ่ง ถ้าตั้งองค์กฐินในวัดที่จะทอดนั้น เช่น ในชนบทตอนเย็น ก็แห่งองค์พระกฐินไปตั้งที่วัด กลางคืนมีการฉลองรุ่งขึ้น เลี้ยงพระเช้าแล้ว ทอดกฐิน ถวายภัตตาหารเพล

การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้ากฐินนั้น คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพ อุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผ้าไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้

พิธีกรานกฐิน
พิธิกรานกฐินเป็นพิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะคือภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนั้นนำผ้ากฐินไปทำ เป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง เย็บ ย้อม แห้ง เรียบร้อยดีแล้ว เคาะระฆัง ประชุมกันในโรงพระอุโบสถ ภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร เสร็จแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ขึ้นสู่ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนา กล่าวคือเรื่องประวัติกฐินและอานิสงส์ครั้งแล้วภิกษุผู้รับผ้ากฐิน นั่งคุกเข่าตั้งนะโม 3 จบ แล้วเปล่งวาจาในท่ามกลางชุมนุมนั้น ตามลักษณะผ้าที่กรานดังนี้

ถ้าเป็นผ้าสังฆาฏิ เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมายสงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสัมฆาฎินี้ (ในเวลาว่านั้นไม่ต้องว่าคำแปลนี้) 3 จบ

ถ้าเป็นผ้าอุตตราสงค์เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินาอุตฺตราสงฺเคน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่าจ้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอุตตราสงค์นี้ 3 จบ

ถ้าเป็นผ้าอันตรวาสก (สบง) เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินา อนฺตรวาสเกน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่าข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอันครวาสกนี้ 3 จบ

ลำดับนั้น สงฆ์นั่งคุกเข่าพร้อมกันแล้วกรานพระ 3 หนเสร็จแล้ว ตั้งนโมพร้อมกัน 3 จบ แล้วท่านผู้ได้รับผ้ากฐินหันหน้ามายังกลุ่มภิกษุสงษ์ กล่าวคำอนุโมทนาประกาศดังนี้

"อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" 3 จบ (แปลว่า อาวุโส! กฐินสงฆ์กราบแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าขออนุโมทนา)

คำว่า อาวุโส นั้น ถ้ามีภิกษุอื่นซึ่งมีพรรษามากกว่าภิกษุผู้ครองกฐินแม้เพียงรูปเดียวก็ตาม ให้เปลี่ยนเป็น ภนฺเต

ต่อนั้น สงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ พร้อมกันแล้วให้ภิกษุทั้งปวง อนุโมทนาเรียงองค์กันไปทีละรูป ๆ ว่า "อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินฺ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" 3 จบสงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ ทำดังนี้ จนหมดภิกษุผู้ประชุมอนุโมทนา

(ถ้าผู้อนุโมทนา มีพรรษษแก่กว่าสงฆ์ทั่งปวง ให้เปลี่ยนคำว่า ภนฺเต เป็น อาวุโส)

ในการว่าคำอนุโมทนานี้พึงนั่งคุกเข่าประนมมือเสร้จแล้วจึงนั่งพับเพียงลง

เมื่อเสร็จแล้ว ให้นั่งพร้อมกันคุกเข่าประนมมือ หันหน้าตรงต่อพระพุทธปฏิมา ว่าพร้อมกันอีก 3 จบ แต่ให้เปลี่ยนคำว่า อนุโมทามิ เป็น อนุโมทาม เป็นอันเสร็จไปชั้นหนึ่ง

ต่อแต่นั้นกราบพระ 3 หน นั่งพับเพียบ สวดปาฐะและคาถาเนื่องด้วยกรานกฐิน จบแล้วก็เป็นเสร็จพิธีการกรานกฐินอานิสงส์กฐินสำหรับพระ

ในพระวินัย ระบุอานิสงส์กฐินไว้ 5 คือ

1. เข้าบ้านได้โดยมิต้องบอกลาภิกษุด้วยกัน

2. เอาไตรจีวรไปโดยไม่ครบสำรับได้

3. ฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้

4. เก็บจีวรไว้ได้ตามปรารถนา

5. ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของเธอผู้จำพรรษาในวัดนั้น

คำถวายผ้ากฐินอย่างมหานิกาย
อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม (ว่า 3 หน) แปลว่า "ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์"

คำถวายผ้ากฐิน อย่างธรรมยุตติกนิกาย
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินนทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย
แปลว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐิน พร้อมทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย และครั้นรับแล้วขอจงกรานกฐินด้วยผ้านเพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน

ในการทอดกฐินนี้ ยังมีกฐินและข้อพิเศษที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย คือ 1. จุลกฐิน 2.ธงจระเข้

1. จุลกฐิน มีกฐินพิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐินเป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำนั้น คือเก็บผ้ายมากรอเป็นด้วย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว

"วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวงทำในวันกลางเดือน 12 คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวันกลางเดือน 12 อันเป็นที่สุดของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐินคงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นเช่นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่" (จากวิธีทำบุญ ฉบับหอสมุด หน้า 119)

2. ธงจระเข้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 2 มติ คือ 1. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลี่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงานทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัดและภายหลัง คงหวั่นจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยกรานกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว

2. อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้

ประวัติของกฐิน
ประวัติของกฐินนั้นมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป มีความประสงค์จะไปเฝ้าพระพุทะเจ้า ณ เมืองสาวัตถี จึงพากันเดินทางจากเมืองปาฐาไปสาวัตถี แต่พอไปถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ในระยะทางอีก ๖ โยชน์จะถึงสาวัตถี ก็เผอิญถึงวันเข้าพรรษาภิกษุเหล่านั้นจะเดินทางต่อไปไม่ได้ จึงจำพรรษาอยู่ในเมืองสาเกต ในระหว่างจำพรรษามีความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยเร็ว พอออกพรรษาก็ออกเดินทางจากเมืองสาเกต ในเวลานั้นฝนยังตกมากอยู่ ทางเดินก็เป็นโคลนตมเปรอะเปื้อน เมื่อมาถึงเมืองสาวัตถีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบความลำบากของพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำพิธีกรานกฐิน ในระยะเวลาภายหลังวันออกพรรษาแล้วไป ๑ เดือน ภิกษุที่ได้ทำพิธีกรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ คือความยกเว้นในการผิดวินัย ๕ ประการ เป็นเวลา ๔ เดือน (หมดเขตในวันเพ็ญเดือนสี่) อานิสงส์หรือความยกเว้นทั้ง ๕ ประการนั้น คือ

๑. เข้าบ้านได้โดยไม่ต้องลาภิกษุด้วยกัน
๒. เดินทางโดยไม่ต้องเอาไตรจีวรไปด้วย
๓. ฉันอาหารโดยล้อมวงกันได้
๔. เก็บอาหารที่ยังไม่ต้องการใช้ ไว้ได้
๕. ลาภที่เกิดขึ้น ให้เป็นของภิกษุผู้จำพรรษาในวัดนั้น ซึ่งได้กรานกฐินแล้ว

ที่กล่าวนี้เป็นประวัติของกฐิน ซึ่งเก็บความจากพระบาลี แต่ข้อความที่กล่าวข้างต้นนี้ยังเข้าใจยาก และไม่แลเห็นว่าเหตุผลเนื่องถึงกันอย่างไร ฉะนั้นจึงต้องอธิบายขยายความสักเล็กน้อย

ตามหลักวินัย ภิกษุจะเข้าบ้านต้องบอกลากัน จะเดินทางต้องเอาไตรจีวรไปให้ครบชุดเวลาฉันอาหารต้องนั่งเรียงกัน จะล้อมวงกันไม่ได้ จึงที่เหลือใช้เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน ลาภที่เกิดขึ้นต้องให้แก่ภิกษุผู้มีอาวุโส คือที่บวชนานที่สุด ข้อบังคับเหล่านี้ ย่อมเป็นความลำบากแก่ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก เช่นการเข้าบ้านต้องบอกลากันเสมอไปนั้น ถ้าเผอิญอยู่คนเดียว ไม่มีใครจะรับลา ก็เข้าบ้านไม่ได้ การเดินทางต้องเอาไตรจีวรไปให้ครบ หมายความว่าต้องเอาผ้านุ่งห่มไปให้ครบชุด คือ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าซ้อนผ้าห่ม) ในครั้งก่อน ภิกษุไม่มีโอกาสได้ผ้าบางเนื้อละเอียดอย่างสมัยนี้เสมอไป ถ้าไปได้ผ้าเปลือกไม้หรือผ้าอะไรชนิดหนา การที่จะนำเอาไปด้วยนั้นไม่เป็นการง่าย ภิกษุ ๓๐ รูปที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็ได้รับความลำบากในเรื่องนี้มาแล้ว การห้ามฉันอาหารล้อมวง และบังคับให้นั่งเรียงกันฉันอาหารนั้น ถ้ามีอาหารน้อยก็ทำความลำบาก เราทราบอยู่แล้วว่าการรับประทานแยกกันย่อมปลีกอาหารมากกว่าการรับประทานรวมกัน เรื่องนี้ภิกษุ ๓๐ รูป ที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็คงได้รับประสบความลำบากเรื่องนี้มา ในระหว่างทางเหมือนกัน เรื่องจีวรที่ไม่ต้องการใช้นั้น ในชั้นเดิมเป็นความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า ที่จะไม่ให้พระภิกษุเก็บสะสมทรัพย์สมบัติ ถ้ามีอะไรเหลือใช้ จะเก็บไว้ไม่ได้ ต้องให้คนอื่นเสีย โดยเฉพาะเรื่องจีวรนี้มีบัญญัติว่า ถ้ามีจีวรเหลือใช้เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน พัน ๑๐ วันไปแล้วต้องสละให้คนอื่นไป ถ้าจะไม่สละต้องทำพิธี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเรียกว่า วิกัปคือไปทำความตกลงกับภิกษุอีกรูปหนึ่งให้เป็นเจ้าของจีวรด้วยกัน แล้วมอบให้ตนเก็บไว้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า อธิษฐานคือถ้าจีวรที่เหลือใช้นั้นใหม่กว่าของที่ใช้อยู่ ก็เอามาใช้เสีย แล้วสละของเก่าให้คนอื่นไป การห้ามกวดขันไม่ให้เก็บผ้าจีวรไว้เกินต้องการเช่นนี้ ในบางครั้งก็เกิดความลำบากเช่น ถูกขโมยลักจีวร ซึ่งเคยถูกกันมามากในครั้งพุทธกาล หรือมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้จีวรนั้นใช้ไม่ได้ ก็ไม่มีสำรองเสียเลย ในเรื่องลาภที่เกิดขึ้นในวัดนั้น มีข้อบังคับกวดขันว่าให้ได้แก่ภิกษุที่มีพรรษายุกาลมากที่สุด คือที่บวชก่อนคนอื่น ในเรื่องนี้ทำความเดือดร้อนหลายครั้ง เช่นภิกษุอยู่ในวัดเดียวกัน อดอยากมาด้วยกัน มีผู้เอาของมาถวาย และในวันที่มีผู้เอาของมาถวายนั้น เผอิญมีภิกษุจรมาพักอยู่ในวัดนั้นด้วย และภิกษุจรมีพรรษายุกาลมากกว่าภิกษุที่อยู่ในวัด ลาภนั้นก็ต้องตกเป็นของภิกษุที่จรมา ส่วนภิกษุที่อยู่ในวัดก็ไม่มีส่วนได้

ความขัดข้องลำบากเกิดจากทางวินัยอย่างนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงเห็นมานานแล้ว แต่วินัยของพระพุทธเจ้าไม่เหมือนกฎหมาย คือกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว ถ้ารู้สึกว่าไม่ดีก็ประกาศเลิก และบัญญัติใหม่ ส่วนวินัยของพระพุทธเจ้าประกาศเลิกไม่ได้ ได้แต่งดชั่วคราว หรือมีข้อยกเว้นพิเศษให้ เมื่อได้ทรงเห็นความลำบากของภิกษุที่มาเฝ้า ทรงเห็นชัดว่าควรให้ความยกเว้นในเรื่องหอบหิ้วเอาไตรจีวรมา และทรงยกเว้นในข้อนี้ ก็เลยทรงประทานข้อยกเว้นอื่น ๆ ที่ทรงดำริมาแล้วแต่ก่อนด้วย จึงเกิดมีข้อยกเว้นขึ้น ๕ ข้อดังกล่าวมาข้างต้น

แต่การที่งดใช้วินัยชั่วคราว หรือให้ความยกเว้นเป็นพิเศษนั้น จะให้กันเฉยๆ ไม่ได้ พระภิกษุต้องได้ทำความดีอันใดอันหนึ่ง จึงจะได้รับความยกเว้น ฉะนั้นการที่จะให้ภิกษุได้รับความยกเว้นในข้อนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้มีพิธีกรานกฐิน พิธีกรานกฐินต้องถือเป็นความดีความชอบอย่างหนึ่ง เพราะการทำจีวรในสมัยนั้นไม่ใช่ของง่าย ๆ ตามปกติเวลามีการทำจีวร ภิกษุย่อมได้รับความยกเว้นในวินัยหลายข้ออยู่แล้ว เมื่อต้องมาทำจีวรโดยรีบร้อนให้เสร็จในวันเดียว และตกเป็นสมบัติของคณะสงฆ์อีกเช่นนี้ ก็ควรเป็นความชอบที่พึงได้รับความยกเว้นใน

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น