จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เบิกเนตร เผยความจริง งบสถาบันกษัตริย์ 2563

 

งบประมาณรายจ่ายปี 2565 กำลังเป็นประเด็นร้อนอยู่ ณ ขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดสรรงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 33,712 ล้านบาท ซึ่งมีการจัดแบ่งเป็น 5 ประเภท 

.

#1 งบพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ 629 ล้านบาท เช่น โครงการรวมใจเทิดไท้สถาบันพระมหากษัตริย์ ของกรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม

#2 งบถวายความปลอดภัย 6,938 ล้านบาท เช่น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องบินและเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง ภายใต้ผลผลิตการถวายความปลอดภัยด้านการบิน

#3 งบส่วนราชการในพระองค์ 8,761 ล้านบาท

#4 งบโครงการตามพระราชดำริและพระปณิธาน เป็นงบที่เกี่ยวกับโครงการหลวงต่าง ๆ 15,203 ล้านบาท

#5 งบอื่นๆ เช่น งบพระราชทานเพลิงศพ งบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 2,179 ล้านบาท

.

ซึ่ง 1 ใน 5 ประเภทนี้ ในส่วนของงบโครงการตามพระราชดำริและพระปณิธาน ที่เป็นประเด็นร้อนจากในสภาโดย ส.ส.ท่านหนึ่ง จนออกมาสู่สังคมโซเชียล ได้กล่าวถึงเรื่องโครงการตามพระราชดำริต่าง ๆ นั้น

.

ได้มีนักวิชาการชื่อดัง ผศ.ดร. อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ออกมาให้ข้อมูลผ่านทางเว็บไซต์ Manager Online ในเรื่องของงบประมาณโครงการพระราชดำริ 4,000 โครงการ ว่า “ไม่ใช่งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์” อันมีใจความดังนี้

.

“...ในช่วงต้นรัชกาล (รัชกาลที่ 9) ไม่ทรงมีพระราชอำนาจใด ๆ เลย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ไม่สนับสนุน และเป็นปฏิปักษ์กับสถาบันอย่างชัดเจน แต่ก็ทรงงานโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ไปด้วยพระองค์เองตามลำพัง จนกระทั่ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี จึงเริ่มมีการสนองพระราชดำริในการทรงงานโครงการต่าง ๆ

.

เมื่อ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นว่าการปล่อยให้พระเจ้าอยู่หัว ร.9 ทรงงานโครงการพระราชดำริมากมาย ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชน สมควรที่รัฐบาลและหน่วยราชการต่าง ๆ ควรรับสนองพระราชดำริเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระ จึงเกิดการตั้งสำนักงาน กปร. ขึ้น

.

กปร. คือ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ช่วยประสานงานหน่วยราชการเพื่อทำโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ถวาย

.

งบประมาณแผ่นดินเพื่อโครงการพระราชดำริ จำนวนกว่า 4,000 โครงการนั้น ก็ทำไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน และมีหน่วยราชการทำงานนั้น ๆ ถวายเป็นเจ้าภาพ 

.

แต่พระราชดำริสำคัญในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลคือ โครงการพระราชดำริใดสำเร็จแล้ว ให้กลับไปอยู่ในความดูแลบำรุงรักษาของหน่วยราชการ ไม่ได้ทรงดูแลจัดการด้วยพระองค์เอง หากทำได้สำเร็จแล้ว ไม่ได้ให้สำนักงาน กปร. เป็นคนดูแลด้วย 

.

เช่น เขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นโครงการพระราชดำริ เก็บน้ำจากเขาใหญ่ ปราจีนบุรี นครราชสีมา และนครนายก ป้องกันน้ำท่วมนครนายก ปราจีนบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพฯ โครงการสร้างเขื่อนนี้สำเร็จแล้ว เป็นประโยชน์มหาศาล แต่ต้องมีค่าดูแลบำรุงรักษา ซึ่งกรมชลประทานเป็นเจ้าภาพรับสนองพระราชดำริดูแลต่อ

.

งบประมาณดูแลบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชล สมมติว่าปีละ 50 ล้านบาท ไม่ใช่งบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์อีกต่อไป เพราะงบประมาณในการสร้างเขื่อนย่อมต้องเป็นกรมชลประทานขอมาสร้างสนองพระราชดำริ การดูแลรักษาก็เป็นของกรมชลประทาน ประเทศชาติได้ประโยชน์ ประชาชนได้ประโยชน์

.

ในหลวง สำนักพระราชวัง สำนักงาน กปร. ไม่ได้มีโอกาสอะไรที่จะใช้เงินเหล่านี้เพื่อตัวเองหรือเพื่อหน่วยงานของตนเองเลย แต่เงินงบประมาณแผ่นดินเหล่านี้ใช้ไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน

.

หากไม่มีงบประมาณในการบำรุงดูแลรักษาต่อยอดโครงการพระราชดำริเหล่านี้ ใครจะเดือดร้อน คำตอบคือ ประเทศชาติและประชาชน เขื่อนที่ไม่มีหน่วยงานดูแลจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เกิดหายนภัย อุทกภัย ภัยแล้ง และปัญหาอื่น ๆ ได้อีกมากมาย และผมก็เชื่อว่าโครงการพระราชดำริที่ทำสำเร็จแล้ว แต่ต้องบำรุงดูแลรักษาก็มีมากถึง 4,000 โครงการ

.

การใส่ร้ายป้ายสีสถาบัน ด้วยการรวมงบจากหลายร้อยหลายพันหน่วยงานที่เป็นโครงการพระราชดำริ มาเป็นงบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่น่าจะประสงค์ดีใด ๆ ต่อสถาบัน แต่ต้องการใส่ร้ายว่าสถาบันใช้เงินงบประมาณแผ่นดินจากภาษีกู ทำงานของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่เป็นงานของหน่วยราชการต่าง ๆ และเป็นงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน จึงเป็นเรื่องของคนที่ไม่หวังดีต่อสถาบัน และไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง...”

.

.

ที่มา: MGR Online

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น