จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เบิกเนตร ความจริงโครงการพระราชดำริ


 โครงการพระราชดำรินำไปใช้ทำอะไรบ้าง?

=========================

โครงการในพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ ๙ มีอยู่กว่า ๔,๐๐๐ โครงการ พระองค์ทรงทราบดีว่า หน่วยงานราชการหลายแห่งในสมัยนั้นจะทำอะไรก็ล่าช้า และไม่ทราบความต้องการของประชาชน เพราะติดขัดที่ระเบียบและกระบวนการทางราชการ ด้วยเหตุนี้จึงทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ตั้งต้นทำโครงการพระราชดำริต่างๆ ไปก่อนที่หน่วยราชการจะเข้ามารับสนองพระราชดำริทำงานถวายแทบจะทั้งหมด

.

เมื่อพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นว่าพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงงานโครงการพระราชดำริมากมาย ล้วนแล้วแต่เป็นประโยชน์กับประเทศชาติและประชาชน สมควรที่รัฐบาลและหน่วยราชการต่างๆ ควรรับสนองพระราชดำริเพื่อแบ่งเบาพระราชภาระ จึงเกิดการตั้งสำนักงาน กปร. ขึ้น กปร. คือ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ช่วยประสานงานหน่วยราชการเพื่อทำโครงการพระราชดำริต่างๆ ถวาย

.

งบประมาณแผ่นดินเพื่อโครงการพระราชดำริ จำนวน  ๔,๐๐๐ โครงการนั้น ก็ทำไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน แต่พระราชดำริสำคัญในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙  คือ โครงการพระราชดำริใดสำเร็จแล้ว ให้กลับไปอยู่ในความดูแลบำรุงรักษา ของหน่วยราชการ ไม่ได้ทรงดูแลจัดการด้วยพระองค์เองหากทำได้สำเร็จแล้ว ไม่ได้ให้สำนักงาน กปร. เป็นคนดูแลด้วย

.

ยกตัวอย่างเช่น เขื่อนขุนด่านปราการชล เป็นโครงการพระราชดำริ เก็บน้ำจากเขาใหญ่ ปราจีนบุรี นครราชสีมา และนครนายก ป้องกันน้ำท่วมนครนายก ปราจีนบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพ ทำให้เกิดการขยายพื้นที่ชลประทานเป็นประโยชน์กับประชาชนและประเทศชาติ โครงการสร้างเขื่อนนี้สำเร็จแล้ว เป็นประโยชน์มหาศาล แต่ต้องมีค่าดูแลบำรุงรักษา ซึ่งกรมชลประทานรับสนองพระราชดำริดูแลต่อ

.

ดังนั้น งบประมาณดูแลบำรุงรักษาเขื่อนขุนด่านปราการชล ไม่ใช่งบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์อีกต่อไป และไม่เคยใช่ด้วย เพราะงบประมาณในการสร้างเขื่อนย่อมต้องเป็นกรมชลประทานขอมาสร้างสนองพระราชดำริ การดูแลรักษาก็เป็นของกรมชลประทาน ประเทศชาติได้ประโยชน์ ประชาชนได้ประโยชน์

.

ทั้งนี้ ในหลวง สำนักพระราชวัง และสำนักงาน กปร. ไม่ได้มีโอกาสอะไรที่จะใช้เงินเหล่านี้เพื่อตัวเองหรือเพื่อหน่วยงานของตนเองเลย แต่เงินงบประมาณแผ่นดินเหล่านี้ใช้ไปเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนเป็นสำคัญ

.

ขอบคุณข้อมูล :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์

สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence

สาขาวิชา วิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง

คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ภาพ : ประดิษฐ์ มณีพันธ์ุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น