จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2564

เบิกเนตร:สถาบันพระมหากษัตริย์กับการเมือง

 


พระมหากษัตริย์ กับ ผู้ถือหุ้นบริษัท

เจ้าของประเทศ กับ เจ้าของบริษัท

ตอนที่ 2 “กษัตริย์ทรงปกเกล้าแต่ไม่ทรงปกครอง””


……………………………………….…………………………….

บทบาทของพระมหากษัตริย์


• เป็นประมุขของชาติ 

• เป็นที่เคารพสักการะสูงสุด

• เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน 

• เป็นสัญลักษณ์แห่งความต่อเนื่องของชาติ

• พระมหากษัตริย์ มีส่วนสำคัญในการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและทำให้การบริหารงานประเทศเป็นไปด้วยดี 


……………………………………….…………………………….

อำนาจทางการเมืองของพระมหากษัตริย์


• ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านรัฐสภา

• ทรงใช้อำนาจการบริหารผ่านคณะรัฐมนตรี

• ทรงใช้อำนาจตุลาการผ่านทางศาล


ซึ่งภาษากฎหมายอาจทำให้ชาวบ้านตาสีตาสาเข้าใจว่า พระมหากษัตริย์มีอำนาจทางการเมืองเต็มรูปแบบ


แต่ความจริง พระมหากษัตริย์ไม่ได้มีอำนาจทางการเมืองจริง อำนาจทางการเมืองเหล่านั้นเป็นของรัฐสภา รัฐบาลและศาล ซึ่งเป็น 3 สถาบันหลักในระบอบประชาธิปไตยที่มีอำนาจและหน้าที่ในบริหารงานราชการแผ่นดิน


……………………………………….…………………………….

บทบาทหน้าที่เกี่ยวกับประชาธิปไตยของพระมหากษัตริย์


• ทรงยอมรับและอุ้มชูระบอบประชาธิปไตยให้ดำรงอยู่ได้ต่อเนื่อง

• ทรงช่วยแนะนำรัฐบาลด้านการปกครองยามจำเป็น

• ทรงช่วยยับยั้งเหตุการณ์รุนแรงให้ผ่อนคลาย

• ทรงใช้อำนาจอธิปไตยในนามของประชาชนชาวไทย

• ทรงเป็นกลางทางการเมือง


……………………………………….…………………………….

บทบาทที่เกี่ยวกับประชาชนของพระมหากษัตริย์


• ออกเยี่ยมเยียนราษฎร ช่วยเหลือ และห่วงใยในความเป็นอยู่ของราษฎร

• สร้างความเป็นปึกแผ่นของคนภายในชาติ

• มีบทบาทในการช่วยพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทำให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ดีขึ้น


……………………………………….…………………………….

สรุป


จะเห็นได้ว่า พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมาย แต่อยู่เหนือการเมือง


• อยู่ใต้กฎหมาย คือ ทรงมีบทบาทและหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนด


• อยู่เหนือการเมือง คือ ทรงไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ไม่ฝักใฝ่หรือสนับสนุนฝ่ายการเมืองใด และไม่ทรงมีอำนาจและหน้าที่ใดๆ ในการบริหารราชการแผ่นดิน


ซึ่งทั้งหมดนี้แปลเป็นภาษาชาวบ้านได้ว่า…


ความผิดพลาดในการบริหารราชการแผ่นดินหรือการฉ้อราษฎร์บังหลวง นั้นเกิดจากการบริหารงานของนักการเมืองและการทำงานของข้าราชการ ภายใต้ 3 สถาบันหลักในระบอบประชาธิปไตย อันประกอบด้วยรัฐสภา รัฐบาลและศาล ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ในบริหารงานราชการแผ่นดิน ไม่ใช่พระมหากษัตริย์


________________________________________

“เจ้าของบริษัท”


“ผู้ถือหุ้น คือเจ้าของธุรกิจ”ที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยถือครองหุ้นจำนวนหนึ่งหุ้นหรือมากกว่านั้น ในบริษัทมหาชนหรือบริษัทเอกชนตามสัดส่วนของจำนวนหรือมูลค่าของหุ้น


โดยทั่วไปแล้วสิทธิทางกฎหมายของผู้ถือหุ้นจะประกอบด้วย 6 ประการ คือ 

• สิทธิในการรับเงินปันผล

• สิทธิในการเป็นเจ้าของธุรกิจ

• สิทธิในการลงคะแนนเสียงและตัดสินใจในกิจกรรมต่างๆ เช่น การเลือกกรรมการบริษัท การเลือกผู้บริหาร

• สิทธิในการได้รับรายงานเกี่ยวกับสถานภาพทางการเงินของธุรกิจ

 • สิทธิในการกล่าวโทษหรือฟ้องร้องบริษัทและเจ้าหนี้

• สิทธิในการซื้อขาย โอน หรือรับโอนหุ้นกับผู้ถือหุ้นอื่น


________________________________________

โดยทางกฎหมาย “ผู้ถือหุ้น คือเจ้าของธุรกิจ” จะไม่ต้องรับผิดชอบหนี้ของบริษัท


……………………………………….…………………………….

“ผู้บริหารบริษัท”


กรรมการผู้จัดการ (MD) ในระบบอังกฤษ หรือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ในระบบอเมริกัน คือ ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดในบริษัทเอกชนหรือมหาชน


ในกรณีที่นิติบุคคล(บริษัทเอกชนหรือมหาชน)กระทำความผิดกฎหมาย ให้ถือว่ากรรมการหรือกรรมการผู้จัดการหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารของนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดกับนิติบุคคลนั้น


……………………………………….…………………………….

สรุป 


ผู้ถือหุ้นของบริษัท ไม่มีหน้าที่การบริหารธุรกิจ และไม่ต้องรับผิดต่อการคอร์รัปชั่นหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของบริหารธุรกิจ และกรรมการผู้บริหารบริษัทคือผู้รับผิดชอบต่อการบริหารและการดำเนินธุรกิจ


ในทำนองเดียวกัน พระมหากษัตริย์ (หรือแม้แต่ประชาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศ ไม่มีหน้าที่การบริหารราชการแผ่นดิน และไม่ต้องรับผิดในการฉ้อราษฎร์บังหลวงหรือความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการบริหารราชการแผ่นดิน และนักการเมืองและข้าราชการคือผู้รับผิดชอบต่อการบริหารราชการแผ่นดิน


________________________________________

หลักการสำคัญประการหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา ที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คือ การแยกประมุขของรัฐ (Head of State)  อันได้แก่พระมหากษัตริย์ ออกจากหัวหน้ารัฐบาล (Head of government) อันได้แก่นายกรัฐมนตรี


พระมหากษัตริย์เป็นเพียงสัญลักษณ์ของประเทศ รัฐบาล รัฐสภา และศาล (ในภาวะปกติ) หรือคณะปฏิวัติ รัฐประหาร (ในภาวะไม่ปกติ) คือผู้ใช้อำนาจอย่างแท้จริงในนามของกษัตริย์ 


และเป็นผู้ใช้อำนาจเหล่านั้นนั่นเองที่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการกระทำของตน


“กษัตริย์ไม่ทรงต้องรับผิด” หรือ “The king can do no wrong” ที่ว่า “no wrong” เพราะ “The king” ไม่ได้ทำอะไรเลยจึง “no wrong” 


ไม่ได้ทำอะไรเลย ที่หมายถึง ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในทางการเมืองและในการบริหารราชการแผ่นดินไหว


สมดังคำกล่าวที่ว่า “กษัตริย์ทรงปกเกล้าแต่ไม่ทรงปกครอง”


โปรดติดตามตอนต่อไป


……………………………………….…………………………….

อัษฎางค์ ยมนาค


ตอนที่ 1 :    https://www.facebook.com/1234993066616474/posts/4191955487586869/?d=n     

……………………………………….…………………………….

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น