จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

สาระพุทธวจน อกุศลกรรมบถ ๑๐ ที่ออกจากปากของพระพุทธเจ้า

อกุศลกรรมบถ ๑๐
จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางกาย มี ๓ อย่าง
ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง
ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง
จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางกาย มี๓ อย่างเป็นอย่างไรเล่า ?
(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง หยาบช้า มีฝ่ามือเปื้อนด้วยโลหิต มีแต่
การฆ่าและทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิต
 


(๒) เป็นผู้มีปกติถือเอาสิ่งของที่มีเจ้าของมิได้ให้
คือวัตถุอุปกรณ์แห่งทรัพย์ของบุคคลอื่นที่อยู่ในบ้านหรือ
ในป่าก็ตาม เป็นผู้ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ด้วยอาการ
แห่งขโมย
(๓) เป็นผู้มีปกติประพฤติผิดในกาม (คือประพฤติผิด)
ในหญิง ซึ่งมารดารักษา บิดารักษา พี่น้องชาย พี่น้องหญิง
หรือญาติรักษา อันธรรมรักษา เป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องพวงมาลัย) เป็นผู้ประพฤติผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น
จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาด
ทางกาย ๓ อย่าง.
 

จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางวาจา มี ๔ อย่าง
เป็นอย่างไรเล่า ?
(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มีปกติกล่าวเท็จ
ไปสู่สภาก็ดี ไปสู่บริษัทก็ดี ไปสู่ท่ามกลางหมู่ญาติก็ดี
ไปสู่ท่ามกลางศาลาประชาคมก็ดี ไปสู่ท่ามกลางราชสกุลก็ดี
อันเขานำไปเป็นพยาน ถามว่า “บุรุษผู้เจริญ ! ท่านรู้อย่างไร
ท่านจงกล่าวไปอย่างนั้น” ดังนี้, บุรุษนั้น เมื่อไม่รู้ก็กล่าว
ว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น เมื่อเห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น,
เพราะเหตุตนเอง เพราะเหตุผู้อื่นหรือเพราะเหตุเห็นแก่
อามิสไรๆ ก็เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งที่รู้อยู่
(๒) เป็นผู้มีวาจาส่อเสียด คือฟังจากฝ่ายนี้แล้ว
ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้ หรือฟังจากฝ่ายโน้นแล้ว
มาบอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น เป็นผู้ทำคนที่สามัคคีกัน
ให้แตกกันหรือทำคนที่แตกกันแล้วให้แตกกันยิ่งขึ้น พอใจยินดี เพลิดเพลินในการแตกกันเป็นพวก เป็นผู้กล่าววาจาที่กระทำให้แตกกันเป็นพวก
(๓) เป็นผู้มีวาจาหยาบ อันเป็นวาจาหยาบคาย
กล้าแข็ง แสบเผ็ดต่อผู้อื่น กระทบกระเทียบผู้อื่น แวดล้อมอยู่
ด้วยความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ เขาเป็นผู้กล่าววาจา
มีรูปลักษณะเช่นนั้น
(๔) เป็นผู้มีวาจาเพ้อเจ้อ คือเป็นผู้กล่าวไม่ถูกกาล
ไม่กล่าวตามจริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย
เป็นผู้กล่าววาจาไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่ถูกกาละเทศะ ไม่มีจุดจบ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นไม่ความสะอาด
ทางวาจา ๔ อย่าง.
 

จุนทะ ! ความไม่สะอาดทางใจ มี ๓ อย่าง
เป็นอย่างไรเล่า ?
(๑) บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้มากด้วย
อภิชฌา (ความโลภเพ่งเล็ง) เป็นผู้โลภเพ่งเล็งวัตถุอุปกรณ์
แห่งทรัพย์ของผู้อื่น ว่า “สิ่งใดเป็นของผู้อื่น สิ่งนั้นจงเป็น
ของเรา” ดังนี้;

(๒) เป็นผู้มีจิตพยาบาท มีความดำริในใจเป็นไป
ในทางประทุษร้ายว่า “สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้จงเดือดร้อน
จงแตกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ อย่าได้มีอยู่เลย” ดังนี้
เป็นต้น;
(๓) เป็นผู้มีความเห็นผิด มีทัสสนะวิปริตว่า
“ทานที่ให้แล้ว ไม่มี (ผล), ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล), การบูชา
ที่บูชาแล้ว ไม่มี (ผล), ผลวิบากแห่งกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว
ไม่มี, โลกนี้ ไม่มี, โลกอื่น ไม่มี, มารดา ไม่มี, บิดา ไม่มี,
โอปปาติกะสัตว์ ไม่มี, สมณพราหมณ์ที่ไปแล้ว ปฏิบัติแล้ว
โดยชอบถึงกับกระทำให้แจ้งโลกนี้และโลกอื่นด้วยปัญญา
โดยชอบเอง แล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ ก็ไม่มี” ดังนี้.
จุนทะ ! อย่างนี้แล เป็นความไม่สะอาด
ทางใจ ๓ อย่าง.
จุนทะ ! เหล่านี้แล เรียกว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐.
จุนทะ ! บุคคลประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐
เหล่านี้ ลุกจากที่นอนตามเวลาแห่งตนแล้ว แม้จะลูบแผ่นดิน
ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้, แม้จะไม่ลูบแผ่นดิน ก็เป็นคน
สะอาดไปไม่ได้; แม้จะจับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้,แม้จะไม่จับโคมัยสด ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้; แม้จะจับหญ้าเขียว ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้, แม้จะไม่จับหญ้าเขียวก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้; แม้จะบำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้, แม้จะไม่บำเรอไฟ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้;แม้จะไหว้ดวงอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้, แม้จะไม่ไหว้ดวงอาทิตย์ ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้; แม้จะลงน้ำในเวลา
เย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้, แม้จะไม่ลงน้ำ
เวลาเย็นเป็นครั้งที่สาม ก็เป็นคนสะอาดไปไม่ได้.
ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?
จุนทะ ! เพราะเหตุว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐
ประการเหล่านี้ เป็นตัวความไม่สะอาด และเป็นเครื่อง
กระทำความไม่สะอาด.
จุนทะ ! อนึ่ง เพราะมีการประกอบด้วย
อกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ ประการเหล่านี้เป็นเหตุ นรก
ย่อมปรากฏ กำเนิดเดรัจฉานย่อมปรากฏ เปรตวิสัยย่อม
ปรากฏ หรือว่า ทุคติ ใด ๆ แม้อื่นอีก ย่อมมี.
ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๓ – ๒๘๙/๑๖๕.

ช่วยเผยแผ่พุทธวจน อุตฺตมสาโร

สาระพุทธวจน อุโบสถ(ศีล) ที่ออกจากปากของพระพุทธเจ้า

                         อุโบสถ (ศีล)
 
(ปาณาติปาตา เวรมณี) เธอนั้น ละปาณาติบาต
เว้นขาดจากปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่.
 

(อทินนาทานา เวรมณี) เธอนั้น ละอทินนาทาน
เว้นขาดจากอทินนาทาน (ลักทรัพย์) ถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้วหวังอยู่แต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย มีตนเป็นคนสะอาดเป็นอยู่.
 

(อพรฺหมฺจริยา เวรมณี) เธอนั้น ละกรรมอันไม่ใช่
พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์โดยปกติ ประพฤติห่างไกลเว้นขาดจากการเสพเมถุนอันเป็นของชาวบ้าน.
 

(มุสาวาทา เวรมณี) เธอนั้น ละมุสาวาท เว้นขาด
จากมุสาวาท พูดแต่ความจริง รักษาความสัตย์ มั่นคงในคำพูด มีคำพูดควรเชื่อถือได้ ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลก.

(สุราเมระยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี) เธอนั้น
เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งของความประมาท.
 

(วิกาละโภชนา เวรมณี) เธอนั้น เป็นผู้ฉันอาหาร
วันหนึ่งเพียงหนเดียว เว้นจากการฉันในราตรีและวิกาล.
 

(นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา เวรมณี) เธอนั้น
เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ การขับร้อง การประโคมและการดูการเล่นชนิดเป็นข้าศึกแก่กุศล.
 

(มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานาเวรมณี) เธอนั้น เป็นผู้เว้นขาดจากการประดับประดา คือ ทัดทรงตกแต่งร่างกายด้วยมาลา ของหอมและเครื่องลูบทา.
 

(อุจจาสะยะนะมหาสะยะนา เวรมณี) เธอนั้น เป็น
ผู้เว้นขาดจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ สำเร็จการนอนบนที่นอนอันต่ำ.
ติก. อํ. ๒๑/๒๗๑/๕๑๐.

ขอร่วมเผยแผ่พุทธวจน

สาระพุทธวจน ศีล ๕ ที่ออกจากปากของพระพุทธเจ้า

ศีล ๕ จากพุทธวจนของพระพุทธเจ้า
 

(ปาณาติปาตา เวรมณี) เธอนั้น ละปาณาติบาตเว้นขาดจากปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์) วางท่อนไม้และศัสตราเสียแล้ว มีความละอาย ถึงความเอ็นดูกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูลในบรรดาสัตว์ทั้งหลายอยู่.
 


(อทินนาทานา เวรมณี) เธอนั้น ละอทินนาทาน
เว้นขาดจากอทินนาทาน (ลักทรัพย์) ถือเอาแต่ของที่เขาให้แล้ว หวังอยู่แต่ของที่เขาให้ ไม่เป็นขโมย มีตนเป็นคนสะอาดเป็นอยู่.
 

(กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี) เธอนั้น ละการประพฤติ
ผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม

(คือเว้นขาดจากการประพฤติผิด) ในหญิง ซึ่งมารดารักษา บิดารักษาพี่น้องชาย พี่น้องหญิง หรือญาติรักษา อันธรรมรักษาเป็นหญิงมีสามี หญิงอยู่ในสินไหม โดยที่สุดแม้หญิงอันเขาหมั้นไว้ (ด้วยการคล้องพวงมาลัย) ไม่เป็นผู้ประพฤติ
ผิดจารีตในรูปแบบเหล่านั้น.

(มุสาวาทา เวรมณี) เธอนั้น ละมุสาวาท เว้นขาด
จากมุสาวาท พูดแต่ความจริง รักษาความสัตย์ มั่นคงในคำพูด มีคำพูดควรเชื่อถือได้ ไม่แกล้งกล่าวให้ผิดต่อโลก.
 

(สุราเมระยะมัชชะปมาทัฏฐานา เวรมณี) เธอนั้น
เว้นขาดจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งของความประมาท.

สี. ที. ๙/๘๓/๑๐๓.
ที่มาเฉพาะข้อกาเมฯ : ทสก. อํ. ๒๔/๒๘๗ - ๒๘๘/๑๖๕.

ขอร่วมเผยแผ่พุทธวจน อุตฺตมสาโร.
                                       

วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

สาระแห่งภาพถ่าย ภาพหาดูยากในประเทศไทยในมุมสูง (ไม่รู้อยู่ที่ไหนกัน แต่รู้ว่าไทย)



เป็นแหล่งตลาดที่มีมากที่สุด หลายรูปแบบ ทุกคนมีรอยยิ้มต้อนรับ อย่าเที่ยวหลอกฝรั่ง หรือ ให้ฝรั่งมาหลอกแล้วกัน








ประเทศที่มีศิลปวัฒนธรรมต่างๆเป็นของตัวเอก ทั้งรูปธรรม และนามธรรม นักท่องเที่ยวชอบ เราก็ต้องภูมิใจ ว่าเรามีหลายสิ่งที่ฝรั่งเขาไม่มี และเราต้องช่วยเห็นคุณค่า

ประเทศต้นๆที่ผลิตข้าวมากติดอันดับ เวลาประเทศอื่นเดือดร้อนเป็นประเทศแรกๆที่ช่วยเรื่องเอาข้าวไปช่วยเหลือ จริงๆลองหาข้อมูลดู


ประเทศไทยติดอันดับประเทศหน้าเที่ยวที่สุดติดต่อกัน 3 สมัย

ยังคงเห็นความเป็นไทยในรูปธรรมช่วยกันยกระดับให้เป็นเเหล่งศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์

ประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติ ช่วยกันอนุรักษ์ และเพิ่มปลูกป่ารักษาธรรมชาติ เป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่

อย่าให้ฝรั่งมันซื้อที่ดินดินแดนของไทยไปเดี่ยวนี้ชาวฝรั่งเหมาซื้อที่ดินผืนดินของประเทศไทยไปมากลงธุรกิจบ้าง มาทำเป็นบ้านพักส่วนตัวบ้าง

เพิ่มเพลงไปด้านบนเพื่อให้เรารักประเทศไทยมากขึ้น โชคดีที่เราเกิดบนแผ่นดินไทย โชคดีที่เกิดมาดินเเดนพุทธศาสนา โชคดีที่มีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงธรรม โชคดีที่เกิดมาเป็นมนุษย์   หากโชคร้ายเกิดในประเทศอดอยาก แห้งแล้ง ทำสงคราม กดขี่ เกิดท่ามกลางพวกไม่มีศาสนา หรือ ทำสงครามระหว่างศาสนา ฆ่าบูชายัญ หรือ งมงายหลายอย่างไม่ฉลาดสักที เกิดประเทศที่มีผู้นำบ้าอำนาจ กดขี่ข่มเหงประชาชน และไม่เหลียวแล  เกิดเป็นสัตว์เดียจรฉานในจิตใจ  เป็นสัตว์นรก และอสูร ในใจที่หวาดกลัวแก่งแย้ง โทสะ โลภะ เมื่ออยู่ในสภาพที่ไม่ดีทั้งหลายที่กล่าวมา จงใช้ชีวิตให้คุ้มค่าที่สุดที่มีอยู่และเป็นประโยชน์มากเท่าที่จะทำในแผ่นดินนี้...
 

วันเสาร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2555

สาระภาพถ่าย ย้อนอดีตวิถีชีวิตชาวสยาม ๓.

 ข่อยได้เจอบทความภาพ ย้อนอดีตวิถีชีวิต แบบชนชาวสยามเมื่อก่อน ดีใจเหลือ เลยขออนุญาตินำมาให้ผู้เจอกระทู้นี้ได้ยินชมกัน ท่องเที่ยวสยามสู่เเดนธรรม เน้อ มาพวกซ้อกกราว อย่างเราไปเชยชมกัน 
เพลินเเท้ เด้อ ดูภาพช้าๆน่ะไม่ต้องรีบดูเเล้วคิดคำนึงให้ถึงหัวใจ และเลือดสยามของพวกเรา บังคับเปิดดนตรีประกอบบทความด้วย

๑.
ครอบครัวคหบดีเมืองสุรินทร์ ในปี พุทธศักราช ๒๔๔๓
 
 
๒.
ชาวมณฑลร้อยเอ็ดจำนวนมาก บริเวณคูรอบเมืองโบราณในเมืองร้อยเอ็ด

๓.
การแต่งกายของชาวภูไทเมือร้อยกว่าปีก่อน
 
 
๔.
 สตรีเมืองนครพนม เกล้ามวย ห่มสไบขิด นุ่งซิ่นมัดหมี่
 
๕.
พิธีทรงผีของชาวเมืองร้อยเอ็ด
 
 
๖.
ช่างฟ้อนกลองตุ้มเมืองอุบล ในสมัยรัชกาลที่๕
 
 
๗.
สตรีในมณฑลอุดร สวมเสื้อปั๊ด ห่มสไบจีบ นุ่งซิ่นมัดหมี่

๘.
ทหารเมืองโคราช ในสมัยรัชกาลที่ ๕
 
๙.
แห่ปราสาทผึ้งและเทียนพรรษา เมืองอุบลราชธานี
 
 
๑๐.
แสกเต้นสาก ของชาวไทแสกสมัยก่อน
 
๑๑.
วิถีชีวิตผู้คนในอดีต

๑๒.
วิถีชีวิตผู้คนในตลาดอันครึกครึ้นในพระนคร

๑๓.
ตลาดในสมัยก่อน
 
 
 
๑๔.
เรือประมงที่ปากน้ำ
 
 
 
๑๕.
 โขลงช้างและควาญช้างที่สุรินทร์

๑๖.
สิมหลวงวัดกลางมิ่งเมือง เมือง ร้อยเอ็ด

๑๗.
วิถีชีวิตริมคลองพระโขนง

๑๘.
 ประตูเมือง และ ชาวเมืองสงขลา

๑๙.
พิธีโล้ชิงช้าหน้าวัดสุทัศน์

๒๐.
รูปคลองบางกอกน้อยยามน้ำลด
 
 
๒๑.
คลองบางกอกน้อยยามน้ำขึ้น
 
 
๒๒.
เจริญกรุง๑

๒๓.

เจริญกรุง๒

๒๔.
เจริญกรุง๓

๒๕.
เรือขายของที่คลองบางหลวง

๒๖.
คลองมหานาค
 
 
 
๒๗.
แยกสี่กั๊กพระยาศรี พระนคร
 
 
 
๒๘.
ถนนพาหุรัด ในสมัยก่อน

หา...จบแล้วหรือ ข่อยยังนึกอยู่เลย ว่าที่นี้ที่ไหน ที่นั้นที่ไหน เมื่อกี้หลับหน้าจอคอมครับ..คงหลับฝันถึงอดีตความรุ่งเรืองของชาวสยามของไทยในอดีตอีกแบบหนึ่ง เดี่ยวนี้ก็รุ่งเรืองน่ะ แต่ความสุขมันไม่มีดั่งคนสมัยก่อนเก่า จะพูดว่ารุ่งเรืองทางวัตถุที่มากเกินตัวก็ได้ แต่จิตใจชาวเรานั้นมันตามกิเลศหรือความอยากได้ของสิ่งในสมัยนี้ไม่ทัน คือมันพัฒนาไปไม่พร้อมกัน วัตถุมันไปเร็วมากกับการเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็ว เรานี้ไม่ได้ปรับสภาพใจให้เรียนรู้พร้อมกับสิ่งสมัยใหม่ให้เท่าความพอดีและจำเป็นของเรา เฮ้อ.งตามใจกิเลศมันก็ทำให้ใจวิ่งไปตามอารมณ์ความอยากอันเหนื่อยมากเท่านั้น...สิ่งสมัยใหม่เรียนรู้และจะมีได้ตามเหตุตามผล แต่อย่าตามใจเรา  สักวันคุณคงจะรู้ว่าเหนื่อยมากกับการตามหาสิ่งภายนอกที่ล่อ หูล่อตา ล่อใจ เรา มันไม่สิ้นสุดจริง...และตัณหาของเราถ้าไม่เบรคแล้ว เราจะหาความสุขที่แท้จริงแบบอิสระจากใจแท้ๆไม่ได้เลย...ฝากกลอนหน่อยครับ

ความเอ๋ย  ความสุข
ใคร ใคร  ทุกคน  ชอบเจ้า  เฝ้าวิ่งหา
แกก็สุข  ฉันก็สุข  ทุกเวลา
แต่ดูหน้า  ตาแห้ง  ยังแคลงใจ
ถ้าเราเผา  ตัวตัณหา  ก็น่าสุข
ถ้ามันเผา  เราก็ "สุก" หรือเกรียมได้
เขาว่าสุข  สุขเน้อ  อย่าเห่อไป
มันสุขเย็น  หรือสุขไหม้  ให้แน่เอยฯ

                  ท่านพุทธทาส

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น