จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

ถามเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ทำไมต้องเชื่อพระพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้าเกิดมาบนโลก ๒ พระองค์ได้หรือไม่


ถาม ทำไมเราต้องเชื่อฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และจะมีประโยชน์อย่างไรหากเชื่อฟัง
 
 ผู้เชื่อฟังพระตถาคต จะได้รับประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน
ภิกษุ ท.! เราแล เป็นผู้ฉลาดในเรื่องโลกนี้ ฉลาดในเรื่อง โลกอื่น,
 เป็นผู้ฉลาดต่อ วัฏฏะอันเป็นที่อยู่ของมาร ฉลาดต่อ วิวัฏฏะอันไม่เป็นที่อยู่
 ของมาร,เป็นผู้ฉลาดต่อ วัฏฏะอันเป็นที่อยู่ของมฤตยู ฉลาดต่อ วิวัฏฏะ
 อันไม่เป็นที่อยู่ของมฤตยู. ชนเหล่าใดถือว่าเรื่องนี้ควรฟังควรเชื่อ ข้อนั้น
 จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นสิ้นกาลนาน.
 (ครั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำนี้แล้ว พระสุคตได้ตรัสคำอื่นอีกดังนี้ว่า :-)
 ทั้งโลกนี้แลโลกอื่น ตถาคตผู้ทราบดีอยู่ ได้ประกาศไว้
 ชัดแจ้งแล้ว. ทั้งที่ที่มารไปไม่ถึง และที่ที่มฤตยู
 ไปไม่ถึง ตถาคตผู้รู้ชัดเข้าใจชัด ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว 
 เพราะความรู้โลกทั้งปวง. ประตูนครแห่งความ
 ไม่ตาย ตถาคตเปิดโล่งไว้แล้ว เพื่อสัตว์ทั้งหลาย
 เข้าถึงถิ่นอันเกษม. กระแสแห่งมารผู้มีบาป ตถาคต
 ปิดกั้นเสียแล้ว กำ จัดเสียแล้ว ทำ ให้หมดพิษสงแล้ว.

  ภิกษุ ท.! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มากมูนด้วยปราโมทย์
 ปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะเถิด.
 บาลี จูฬโคปาลสูตร มู.ม ๑๒/๔๒๑/๓๙๑. ตรัสแก่ภิกษุ ท. ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้เมืองอุกกเวลา.
 
ถาม พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นบนโลกมีได้ ๒ พระองค์ได้หรือไม่
โลกธาตุหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว
อานนท์! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะนั้น ย่อมรู้ว่า ข้อนี้มิใช่ ฐานะ ข้อนี้มิใช่โอกาสที่จะมี คือข้อที่ในโลกธาตุอันเดียว จะมีพระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ สององค์ เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่ก่อน ไม่หลังกัน. นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้. ส่วนฐานะ อันมีได้นั้น คือใน โลกธาตุอันเดียว มีพระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะองค์เดียว เกิดขึ้น. นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้. ---------------------------------------------------------------------------------------------------------
บาลี พหุธาตุกสูตร อุปริ. ม. ๑๔/๑๗๑/๒๔๕.

ถามเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ใครประเสริฐที่สุดในโลก พระพุทธเจ้าต่างจากมนุษย์ธรรมดาอย่างไร

  
 
ถาม อยากทราบว่าใครเป็นที่สุดในโลก เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลกนี้
 
ทรงเป็นอัจฉริยมนุษย์ในโลก
 
      ภิกษุ ท. ! บุคคลเอก เมื่อเกิดขึ้นมาในโลก ย่อมเกิดขึ้น เป็นอัจฉริย -
มนุษย์. ใครกันเล่าเป็นบุคคลเอก? ตถาคต ผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง
นี้แลเป็นบุคคลเอก.

 ภิกษุ ท. ! นี่แล บุคคลเอก ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นมาในโลก ย่อมเกิดขึ้น
เป็นอัจฉริยมนุษย์ ดังนี้.
 
ถาม พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์แบบเราหรือต่างจากมนุษย์ธรรมดาอย่างเราอย่างไร 
 
ทรงต่างจากมนุษย์ธรรมดา
        ภิกษุ ท. ! เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นทียินดี กำหนัดแล้ว ในรูป บันเทิงด้วยรูป.เทวดาแลมนุษย์ ท. ย่อมทนทุกข์อยู่ เพราะความแปรปรวน ความกระจัดกระจาย ความแตกทำลาย ของรูป. ภิกษุ ท. ! เทวดาแลมนุษย์ ทั้งหลาย มีเสียง๓ ฯลฯ, มีกลิ่น ฯลฯ, มีรส ฯลฯ, มีโผฏฐัพพะ ฯลฯ, มีธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี กำ หนัดแล้วในธรรมารมณ์ บันเทิงด้วยธรรมารมณ์. เทวดาแลมนุษย์ ท. ย่อมทนทุกข์อยู่ เพราะความแปรปรวน ความกระจัดกระจาย ความแตกทำลาย ของธรรมารมณ์. ภิกษุ ท. ! ส่วนตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ รู้แจ้งตามเป็นจริง ซึ่งเหตุเป็นเครื่องเกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษคือความ ต่ำทราม และอุบายเครื่องหลุดพ้นออกไปได้ แห่งรูปทั้งหลายแล้ว ; ไม่เป็นผู้มีรูป เป็นที่ยินดี ไม่กำหนัดในรูป ไม่บันเทิงด้วยรูป. ภิกษุ ท. ! ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข เพราะความแปรปรวน ความกระจัดกระจาย ความแตกทำลาย ของรูป, ภิกษุ ท. ! ตถาคตรู้แจ้งตามเป็นจริง ซึ่งเหตุเป็นเครื่องเกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษคือความต่ำทราม และอุบายเครื่องหลุดพ้นออกไปได้แห่ง เสียง ท. แห่งกลิ่น ท. แห่งรส ท. แห่งโผฏฐัพพะ ท. และแห่งธรรมารมณ์ ท. แล้ว; ไม่เป็นผู้มีเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี ไม่กำหนัดไม่ บันเทิงด้วยเสียงเป็นต้นภิกษุ ท. ! ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข เพราะความแปรปรวน ความกระจัดกระจาย ความแตกทำลาย แห่งธรรมมีเสียงเป็นต้นนั้นๆ. (พระผู้มีพระภาค ได้ทรงกล่าวคำนี้แล้ว, พระสุคตครั้นตรัสคำนี้แล้ว พระศาสดาได้ภาษิตคำอื่นอีกที่ผูกเป็นคาถาดังนี้ว่า :-) รูป ท. เสียง ท. กลิ่น ท. รส ท. ผัสสะ ท. ธรรม ท. ทั้งสิ้น อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าชอบใจ ยังเป็นสิ่งกล่าวได้ว่ามีอยู่เพียงใด มนุษยโลกพร้อมด้วยเทวโลก ก็ยังสมมติว่า “นั่นสุข”อยู่เพียงนั้น. ถ้าเมื่อ สิ่งเหล่านั้นแตกดับลงในที่ใด, สัตว์เหล่านั้น ก็สมมติว่า “นั่นทุกข์” ในที่นั้น. สิ่งที่พระอริยเจ้า ท.เห็นว่าเป็นความสุข ก็คือความดับสนิทแห่ง สักกายะทั้งหลาย,แต่สิ่งนี้กลับปรากฏเป็นข้าศึกตัวร้ายกาจ แก่สัตว์ ท. ผู้เห็นอยู่โดยความเป็นโลกทั้งปวง. สิ่งใด ที่สัตว์อื่นกล่าวแล้วโดยความ เป็นสุข, พระอริยเจ้า ท. กล่าวสิ่งนั้น โดยความเป็นทุกข์. สิ่งใดที่สัตว์อื่น กล่าวแล้ว โดยความเป็นทุกข์, พระอริยะผู้รู้ กล่าวสิ่งนั้นโดยความเป็น สุข, ดังนี้. --------------------------------------------------------------------------------------------------------- บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๕๙/๒๑๖. มีข้อความเต็มเหมือนในข้อต้นที่ว่าด้วยรูปเป็นที่ยินดีจนตลอด, แต่ในที่นี้ย่อไว้ให้สะดวกแก่การอ่าน ไม่รกตา.

ถามเรื่องราวของพระพุทธเจ้า การประสูติ ดอกบัว ๗ ดอก พูดได้จริงหรือ

พระพุทธเจ้าตอนประสูติเป็นพระโพธิสัตว์ มีดอกบัว ๗ ดอกรองรับจริงหรือ และทรงพูดได้จริงหรือไม่ 
 คำตอบ หากไม่มีกล่าวในนี้คือคำของพระพุทธเจ้า นอกเหนือจากนั้นเติมแต่งมาภายหลัง ดอกบัวรองรับไม่มี 
ทรงพูดได้จริงในขณะนั้น หลังจากนั้นเติบโตเหมือนเด็กทั่วไป ดอกบัว ๗ ดอก เติมเเต่งขึ้นภายหลังโดยแฝงปริศนาธรรมมาเท่านั้น
 
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำเอามาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า

“ ดูก่อนอานนท์! หญิงอื่น ๆ ย่อมนั่งคลอดบ้าง นอนคลอดบ้าง. ส่วนมารดา
แห่งโพธิสัตว์ หาเป็นอย่างนั้นไม่, มารดาแห่งโพธิสัตว์ ย่อม ยืนคลอด
โพธิสัตว์” ดังนี้.

 ฯลฯ “ดูก่อนอานนท์! ในกาลใด โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่ง
มารดา ในกาลนั้นเทวดาย่อมเข้ารับก่อนส่วนมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเข้ารับต่อ
ภายหลัง” ดังนี้.

 ฯลฯ “ดูก่อนอานนท์! ในกาลใด โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่ง
มารดายังไม่ทันถึงแผ่นดินเทพบุตรทั้งสี่ ย่อม รับเอามาวางตรงหน้าแห่งมารดา
ทูลว่าแม่เจ้าจงพอพระทัยเถิด บุตรอันมีศักดาใหญ่ของแม่เจ้า เกิดแล้ว” ดังนี้.
ฯลฯ “ดูก่อนอานนท์! ในกาลใด โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดา
ในกาลนั้นเป็นผู้สะอาดหมดจด ไม่เปื้อนด้วยเมือก ไม่เปื้อนด้วยเสมหะ ไม่เปื้อน
ด้วยเลือด ไม่เปื้อนด้วยหนอง ไม่เปื้อนด้วยของไม่สะอาดอย่างใด ๆ เป็นผู้
บริสุทธิ์สะอาดหมดจดมาทีเดียว.เหมือนอย่างว่า แก้วมณีที่วางอยู่บนผ้าเนื้อเกลี้ยง
อันมาแต่แคว้นกาสี, แก้วก็ไม่เปื้อนผ้า ผ้าก็ไม่เปื้อนแก้ว, เพราะเหตุใด,
เพราะเหตุว่ามันเป็นของสะอาดหมดจดทั้งสองอย่าง; ฉันใดก็ฉันนั้น ที่โพธิสัตว์
ออกมาจากท้องแห่งมารดา เป็นผู้สะอาดหมดจด ไม่เปื้อนด้วยเมือก ไม่เปื้อน
ด้วยเสมหะ ไม่เปื้อนด้วยเลือด ไม่เปื้อนด้วยหนอง ไม่เปื้อนด้วยของไม่สะอาด
อย่างใด ๆ เป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดหมดจดมาทีเดียว” ดังนี้.

 ฯลฯ “ดูก่อนอานนท์! ในกาลใด โพธิสัตว์ออกมาจากท้องแห่งมารดา
ในกาลนั้น ท่อธารแห่งน้ำสองท่อ ปรากฏจากอากาศ เย็นท่อหนึ่งร้อนท่อหนึ่ง,
อันเขาใช้ในกิจอันเนื่องด้วยน้ำ แก่โพธิสัตว์ และแก่มารดา”. ดังนี้.
ฯลฯ “ดูก่อนอานนท์! โพธิสัตว์ผู้คลอดแล้วเช่นนี้ เหยียบพื้นดิน
ด้วยฝ่าเท้าอันสม่ำเสมอ มีพระพักตร์ทางทิศเหนือ ก้าวไป ๗ ก้าว, มีฉัตร
สีขาวกั้นอยู่ ณ เบื้องบน, ย่อมเหลียวดูทิศทั้งหลาย และกล่าว อาสภิวาจา ว่า

 “เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก, เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก, 
 เราเป็นผู้ประเสริฐสุดแห่งโลก. ชาตินี้ เป็นชาติสุดท้าย. 
 บัดนี้ ภพใหม่ย่อมไม่มี”. ดังนี้

ถามเรื่องราวของพระพุทธเจ้า มหาปุริสลักขณะสามสิบสองประการ

อยากทราบว่าพระพุทธเจ้ามีลักษณะรูปร่างอย่างไร 

“....ภิกษุ ท. ! มหาบุรุษ (คือพระองค์เองก่อนผนวช) ผู้ประกอบด้วย
มหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ ย่อมมีคติเป็นสอง หาเป็นอย่างอื่นไม่ คือ:-
ถ้าเป็นฆราวาส ย่อมเป็นจักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระราชา
โดยธรรม มีแว่นแคว้นจดมหาสมุทรทั้งสี่เป็นที่สุด มีชนบทอันบริบูรณ์ ประกอบ
ด้วยแก้ว ๗ ประการ. แก้ว ๗ ประการ ย่อมเกิดแก่มหาบุรุษนั้นคือ จักรแก้ว
ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว และปริณายกแก้ว เป็นที่ ๗.
มีบุตรผู้กล้าหาญ มีแววแห่งคนกล้าอันใคร ๆ จะย่ำยีมิได้ ตามเสด็จกว่า ๑๐๐๐. หนึ่ง
มหาบุรุษนั้นชนะแล้วครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นที่สุดโดยรอบ, ไม่มีหลักตอ
เสี้ยนหนาม มั่งคั่ง เบิกบาน เกษม ร่มเย็น ปราศจากเสนียดคือโจร, ทรง
ครอบครองโดยธรรมอันสม่ำเสมอ มิใช่โดยอาญาและศาสตรา.
ถ้า ออกบวชจากเรื่อน เป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกือ้กูลด้วยเรือน ย่อมเป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มีกิเลสเครื่องปกปิดอันเปิดแล้ว ในโลก.
ภิกษุ ท.! มหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการนั้น เหล่าไหนเล่า? คือ:-

๑. มหาบุรุษ มีพื้นเท้าสม่ำเสมอ.
๒. มหาบุรุษ ที่ฝ่าเท้ามีจักรเกิดแล้ว, มีซี่ตั้งพัน พร้อมทั้งกงและดุม
๓. มหาบุรุษ มีส้นเท้ายาว.
๔. มหาบุรุษ มีข้อนิ้วยาว.
๕. มหาบุรุษ มีฝ่ามือฝ่าเท้าอ่อนละมุน.
๖. มหาบุรุษ มีลายฝ่ามือฝ่าเท้าดุจตาข่าย.
๗. มหาบุรุษ มีข้อเท้าอยู่สูง.
๘. มหาบุรุษ มีแข้งดุจแข้งเนื้อทราย.
๙. มหาบุรุษ ยืนไม่ย่อตัวลง แตะเข้าได้ด้วยมือทั้งสอง.
๑๐. มหาบุรุษ มีองคชาตตั้งอยู่ในฝัก.
๑๑. มหาบุรุษ มีสีกายดุจทอง คือมีผิวหนังดุจทอง.
๑๒. มหาบุรุษ มีผิวหนังละเอียด ละอองจับไม่ได้.
๑๓. มหาบุรุษ มีขนขุมละเส้น เส้นหนึ่ง ๆ อยู่ขุมหนึ่ง ๆ.
๑๔. มหาบุรุษ มีปลายขนช้อนขึ้น สีดุจดอกอัญชัน ขึ้นเวียนขวา
๑๕. มหาบุรุษ มีกายตรงดุจกายพรหม.
๑๖. มหาบุรุษ มีเนื้อนูนหนาในที่ ๗ แห่ง (คือหลังมือหลังเท้าบ่าคอ).
๑๗. มหาบุรุษ มีกายข้างหน้า ดุจราชสีห์.
๑๘. มหาบุรุษ มีหลังเต็ม (ไม่มีร่องหลัง).
๑๙. มหาบุรุษ มีทรวดทรงดุจต้นไทย กายกับวาเท่ากัน.
๒๐. มหาบุรุษ มีคอ กลมเกลี้ยง.
๒๑. มหาบุรุษ มีประสาทรับรสอันเลิศ.
๒๒. มหาบุรุษ มีคางดุจคางราชสีห์.
๒๓. มหาบุรุษ มีฟัน ๔๐ ซี่บริบูรณ์.
๒๔. มหาบุรุษ มีฟันเรียบเสมอ.
๒๕. มหาบุรุษ มีฟันสนิท (ชิด).
๒๖. มหาบุรุษ มีเขี้ยวสีขาวงาม.
๒๗. มหาบุรุษ มีลิ้น (ใหญ่และยาว) เพียงพอ.
๒๘. มหาบุรุษ มีเสียงดุจเสียงพรหม พูดเหมือน นกการวิก.
๒๙. มหาบุรุษ มีตาเขียวสนิท (สีนิล).
๓๐. มหาบุรุษ มีตาดุจตาวัว.
๓๑. มหาบุรุษ มีอุณาโลมหว่างคิ้ว ขาวอ่อนเหมือนสำลี.
๓๒. มหาบุรุษ มีศีรษะรับกับกรองหน้า.

 ภิกษุ ท. ! นี้เป็นมหาปุริสลักขณะ ๓๒ ประการ ของมหาบุรุษ.

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น