จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2555

ความเสื่อมสิ้นแห่งโลก ตามพุทธเจ้า ทรงกล่าวไว้ เป็นความจริงยิ่งกว่าคำทำนายโลก

ความเป็นไปของโลก สู่ความเสื่อมสิ้น ตามพระพุทธเจ้าตรัสไว้ 


ผลจากความไม่มีธรรมะของมนุษย์
(อย่างเบา)
ภิกษุ . ! สมัยใด ราชา (ผู้ปกครอง) ทั้งหลาย
ไม่ตั้งอยู่ในธรรม, สมัยนั้น ราชยุตต์ (ข้าราชการ) ทั้งหลายก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม;เมื่อ ราชยุตต์ทั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม, พราหมณ์
และคหบดีทั้งหลาย ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม;
เมื่อ พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม,ชาวเมืองและชาวชนบททั้งหลาย ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม;เมื่อ ชาวเมืองและชาวชนบททั้งหลาย ไม่ตั้งอยู่ในธรรม, ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ก็มีปริวรรต (การเคลื่อนที่,การหมุนเวียน) ไม่สม่ำเสมอ;
เมื่อ ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ มีปริวรรตไม่
สม่ำเสมอ, ดาวนักษัตรและดาวทั้งหลาย ก็มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ;เมื่อ ดาวนักษัตรและดาวทั้งหลาย มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ, คืนและวัน ก็มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ;
๙๘ ปฐมธรรม
เมื่อ คืนและวัน มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ, เดือนและ
ปักษ์ ก็มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ;เมื่อ เดือนและปักษ์ มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ, ฤดูและปี ก็มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ;เมื่อ ฤดูและปี มีปริวรรตไม่สม่ำเสมอ, ลม (ทุกชนิด)ก็พัดไปไม่สม่ำเสมอ;เมื่อ ลม (ทุกชนิด) พัดไปไม่สม่ำเสมอ, ปัญชสา (ระบบแห่งทิศทางลมอันถูกต้อง) ก็แปรปรวน;เมื่อ ปัญชสา แปรปรวน, เทวดาทั้งหลาย ก็ระส่ำระสาย;เมื่อ เทวดาทั้งหลาย ระส่ำระสาย, ฝนก็ตกลงมาอย่างไม่เหมาะสม;
เมื่อ ฝนตก ลงมาอย่างไม่เหมาะสม, พืชพรรณข้าว
ทั้งหลาย ก็แก่และสุกไม่สม่ำเสมอ;
ภิกษุ . ! เมื่อมนุษย์ทั้งหลาย บริโภคพืชพรรณ
ข้าวทั้งหลายอันมีความแก่และสุกไม่สม่ำเสมอ 
ก็กลายเป็นผู้มีอายุสั้นผิวพรรณทราม ทุพพลภาพและมีโรคภัยไข้เจ็บมาก.
พุทธวจน ๙๙
(ข้อความต่อไปนี้ ได้ตรัสถึงภาวะการณ์ที่ตรงกันข้าม ผู้
ศึกษาพึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม ตลอดสาย)
จตุกฺก. อํ ๒๑/๙๗/๗๐.

ผลจากความไม่มีธรรมะของมนุษย์
(อย่างหนัก)
ภิกษุ . ! เมื่อพระราชา มีการกระทำชนิดที่
เป็นไปแต่เพียงเพื่อการคุ้มครองอารักขา, แต่มิได้เป็นไปเพื่อการกระทำให้เกิดทรัพย์ แก่บุคคลผู้ไม่มีทรัพย์ทั้งหลายดังนั้นแล้ว ความยากจนขัดสน ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
เพราะความยากจนขันสนเป็นไปอย่างกว้างขวาง
แรงกล้าถึงที่สุด อทินนาทาน(ลักทรัพย์) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด; 
เพราะอทินนาทานเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า
ถึงที่สุด การใช้ศัสตราวุธโดยวิธีการต่าง ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
เพราะการใช้ศัสตราวุธโดยวิธีการต่าง เป็นไป
อย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ปาณาติบาต (ซึ่งหมายถึงการฆ่ามนุษย์ด้วยกัน) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
พุทธวจน ๑๐๑
เพราะปาณาติบาตเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า
ถึงที่สุด มุสาวาท (การหลอกลวงคดโกง) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาจาก หมื่นปี เหลือเพียง หมื่นปี)
เพราะมุสาวาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึง
ที่สุด ปิสุณาวาท (การพูดจายุแหย่เพื่อการแตกกันเป็นก๊กเป็นหมู่ทำลายความสามัคคี)
ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง หมื่นปี)
เพราะปิสุณาวาทเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด กาเมสุมิจฉาจาร (การทำชู้ การละเมิดของรักของบุคคลอื่น)ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๑ หมื่นปี)
เพราะกาเมสุมิจฉาจารเป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด ผรุสวาท และ สัมผัปปลาปวาท (การใช้คำหยาบและคำพูดเพ้อเจ้อเพื่อความสำราญ) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง พันปี)
๑๐๒ ปฐมธรรม
เพราะผรุสวาทและสัมผัปปลาปวาทเป็นไปอย่าง
กว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด อภิชฌาและพยาบาท (แผนการกอบโกย และการทำลายล้าง) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ,๕๐๐ - ,๐๐๐ ปี)
เพราะอภิชฌาและพยาบาท เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด มิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดชนิดเห็นกงจักรเป็นดอกบัว นิยมความชั่ว) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด;
(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ,๐๐๐ ปี)
เพราะมิจฉาทิฏฐิ เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้า
ถึงที่สุด (อกุศล) ธรรมทั้งสาม คือ อธัมมราคะ (ความยินดีที่ไม่เป็นธรรม) วิสมโลภะ (ความโลภไม่สิ้นสุด) มิจฉาธรรม(การประพฤติตามอำนาจกิเลส) ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (อย่างไม่แยกกัน);(ในสมัยนี้มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๕๐๐ ปี)
เพราะ (อกุศล) ธรรม ทั้งสาม ... นั้นเป็นไปอย่าง
กว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด (อกุศล) ธรรมทั้งหลายคือไม่ปฏิบัติอย่างถูกต้องในมารดา,บิดา, สมณะพราหมณ์
พุทธวจน ๑๐๓
ไม่มีกุลเชฏฐาปจายนธรรม (ความอ่อนน้อมตามฐานะสูงต่ำ)ก็เป็นไปอย่างกว้างขวางแรงกล้าถึงที่สุด.(ในสมัยนี้ มนุษย์มีอายุขัยถอยลงมาเหลือเพียง ๒๕๐ - ๒๐๐ - ๑๐๐ ปี)
สมัยนั้น จักมีสมัยที่มนุษย์มีอายุขัยลดลงมาเหลือ
เพียง ๑๐ ปี (จักมีลักษณะแห่งความเสื่อมเสียมีประการต่าง ดังที่ท่าน
กล่าวไว้ว่า) : หญิงอายุ ปี ก็มีบุตร; รสทั้งห้า คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และรสเค็ม ก็ไม่ปรากฏ; มนุษย์ทั้งหลาย กินหญ้าที่เรียกว่า กุท๎รูสกะ (ซึ่งนิยมแปลกันว่าหญ้ากับแก้) แทนการกินข้าว; กุศลกรรมบถหายไป ไม่มี
ร่องรอย, อกุศลกรรมบถ รุ่งเรืองถึงที่สุด; ในหมู่มนุษย์ ไม่มีคำพูดว่ากุศล จึงไม่มีการทำกุศล; มนุษย์สมัยนั้น จักไม่ยกย่องสรรเสริญ ความเคารพเกื้อกูลต่อมารดา (มัตเตยยธรรม),
ความเคารพเกื้อกูลต่อบิดา (เปตเตยยธรรม), ความเคารพเกื้อกูลต่อสมณะ (สามัญญธรรม), ความเคารพเกื้อกูลต่อพราหมณ์(พรหมัญญธรรม), และ กุลเชฏฐาปจายนธรรม, เหมือนอย่างที่
มนุษย์ยกย่องกันอยู่ในสมัยนี้; ไม่มีคำพูดว่า แม่ น้าชาย น้าหญิงพ่อ อา ลุง ป้า ภรรยาของอาจารย์ และคำพูดว่า เมียของครู;สัตว์โลกจักกระทำการสัมเภท (สมสู่สำส่อน) เช่นเดียวกันกับ
๑๐๔ ปฐมธรรม
แพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัข สุนัขจิ้งจอก; ความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดฆ่า เป็นไปอย่างแรงกล้า แม้ในระหว่างมารดากับบุตร บุตรกับมารดา บิดากับบุตร บุตรกับบิดา พี่กับน้อง น้องกับพี่ ทั้งชายและหญิงเหมือนกับที่นายพรานมีความรู้สึกต่อเนื้อทั้งหลาย.
ในสมัยนั้น จักมี สัตถันตรกัปป์ (การใช้ศัสตราวุธติดต่อกันไม่หยุดหย่อน) ตลอดเวลา วัน : สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นจักมีความสำคัญแก่กันและกัน ราวกะว่าเนื้อ; แต่ละคนมีศัสตราวุธในมือ ปลงชีวิตซึ่งกันและกันราวกะว่า ฆ่าปลา ฆ่าเนื้อ.
(มีมนุษย์หลายคน ไม่เข้าร่วมวงสัตถันตรกัปป์ด้วย
ความกลัว หนีไปซ่อนตัวอยู่ในที่ที่พอจะซ่อนตัวได้ตลอด วัน แล้วกลับออกมาพบกันและกัน ยินดีสวมกอดกันกล่าวแก่กันและกันในที่นั้นว่า มีโชคดีที่รอดมาได้ แล้วก็ตกลงกันในการตั้งต้นประพฤติธรรมกันใหม่ต่อไป ชีวิตมนุษย์ก็ค่อยเจริญขึ้น จาก ๑๐ ปี ตามลำดับ จนถึงสมัย หมื่นปี อีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งเป็นสมัยแห่งศาสนาของ
พระพุทธเจ้ามีพระนามว่า เมตเตยยสัมมาสัมพุทธะ).
ปา. ที. ๑๑/๗๐-๘๐/๓๙-๔๗.__

 เหตุแห่งการเบียดเบียน
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! อะไรเป็นเครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์อสูร นาค คนธรรพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ ๆ (ซึ่งแต่ละหมู่) ปรารถนาอยู่ว่า
เราจักเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีการเบียดเบียนแก่กันและกัน แต่แล้วก็ไม่สามารถจักเป็นผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มี
ข้าศึก ไม่มีเบียดเบียนแก่กันและกันเล่า พระเจ้าข้า ? ”จอมเทพ ! ความอิจฉา (อิสสา) และความตระหนี่
(มัจฉริยะ) นั่นแล เป็นเครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์ อสูร นาคคนธรรพ์ทั้งหลาย อันมีอยู่เป็นหมู่ ๆ (ซึ่งแต่ละหมู่) ปรารถนาอยู่ว่า เราจักเป็นคนไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีการเบียดเบียนแก่กันและกัน แต่แล้วก็ไม่สามารถจักเป็นผู้อยู่อย่างผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีเบียดเบียนแก่กันและกันได้.
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็ความอิจฉาและความตระหนี่นั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ (นิทาน) มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น (สมุทัย) มีอะไรเป็นเครื่องทำให้เกิด (ชาติกะ) มีอะไรเป็นแดนเกิด (ปภวะ) ? เมื่ออะไรมีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่จึงมี ? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่
จึงไม่มี พระเจ้าข้า ? ”
พุทธวจน ๘๑
จอมเทพ ! ความอิจฉา และความตระหนี่ นั้น
มีสิ่งอันเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก (ปิยาปฺปิย) นั่นแลเป็นต้นเหตุ... เมื่อสิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักไม่มีอยู่ความอิจฉาและความตระหนี่ก็ไม่มี.
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักนั้นเล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ...ฯลฯ... ? เมื่ออะไรมีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและ
สิ่งไม่เป็นที่รักจึงมี ? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักจึงไม่มีพระเจ้าข้า ? ”
จอมเทพ ! สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักนั้น
มีฉันทะ (ความพอใจ ) เป็นต้นเหตุ...ฯลฯ... เมื่อฉันทะ ไม่มีอยู่สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักก็ไม่มี...
มหา. ที. ๑๐/๓๑๐/๒๕๕.

พุทธวจน ๗๗
ความอยาก (ตัณหา)
คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท

เพราะอาศัยตัณหา (ความอยาก) จึงมี การแสวงหา
(ปริเยสนา);เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ);เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย);เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัดด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค);
เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมี
ความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ);
เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอกจับใจ
(ปริคฺคโห);
เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่
(มจฺจริยํ);
เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น
(อารกฺโข);
๗๘ ปฐมธรรม
เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิดจาก
การหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ); กล่าวคือ การใช้อาวุธไม่มีคมการใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาทการกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !” การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ ทั้งหลาย : ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็นอเนกย่อมเกิดขึ้นพร้อม ด้วยอาการอย่างนี้.
มหา. ที. ๑๐/๖๗/๕๘.
ข้อมูลในหนังสือพุทธวจน "ปฐมธรรม" โหลดเต็มได้ทางด้านขวามือ 
(การจัดตัวอักษรในบล้อกนี้ จัดเรียงเป็นลำดับวรรคไม่ได้เลยดูไม่เป็นระเบียบ แม้จัดแล้วแต่ตัวแปลงข้อมูล มันปรับเองโดยอัติโนมัติ ดังนั้นถ้าสนใจฉบับเต็ม โหลดได้ด้านซ้าย ) 
โดย อุตฺตมสาโร 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น