ภิกษุ ท. ! วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ
เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจาไม่มีโทษ
และวิญญูชนไม่ติเตียน.
องค์ ๕ ประการอย่างไรเล่า ?
๕ ประการ คือ :-
(๑) กล่าวแล้วควรแก่เวลา (กาเลน ภาสิตา โหติ),
(๒) กล่าวแล้วตามสัจจ์จริง (สจฺจ ภาสิตา โหติ),
(๓) กล่าวแล้วอย่างอ่อนหวาน (สณฺหา ภาสิตา โหติ),
(๔) กล่าวแล้วอย่างประกอบด้วยประโยชน์
(อตฺถสญฺหิตา ภาสิตา โหติ),
(๕) กล่าวแล้วด้วยเมตตาจิต
(เมตตฺตจตฺเตน ภาสิตา โหติ).
ภิกษุ ท. ! วาจาอันประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ
เหล่านี้แล เป็นวาจาสุภาษิต ไม่เป็นวาจาทุพภาษิต เป็นวาจา
ไม่มีโทษและวิญญูชนไม่ติเตียน.
ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๑/๑๙๘.
ลักษณะการพูดของตถาคต
ราชกุมาร ! ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง
ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์และไม่เป็นที่รักที่พึงใจ
ของผู้อื่น ตถาคตย่อม ไม่กล่าววาจานั้น.
ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์และไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม
ไม่กล่าววาจานั้น.
ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบ
ด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคต
ย่อมเลือกให้เหมาะกาล เพื่อกล่าววาจานั้น.
ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ แต่เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม
ไม่กล่าววาจานั้น.
ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ แต่ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ แต่ก็เป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อม
ไม่กล่าววาจานั้น.
ตถาคตรู้ชัดซึ่งวาจาใด อันจริง อันแท้ ประกอบด้วย
ประโยชน์และเป็นที่รักที่พึงใจของผู้อื่น ตถาคตย่อมเป็น
ผู้ รู้จักกาละที่เหมาะเพื่อกล่าววาจานั้น.
ม. ม. ๑๓/๙๑/๙๔.
ร่วมเผยแผ่พุทธวจน อุตฺตมสาโร |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ