จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ประวัติบุคคลสำคัญทางพระพุทธศาสนา พร้อมคลิปวิดีโอ พระพรหมมังคลาจารย์ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ

พระพรหมมังคลาจารย์ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ


  พระพรหมมังคลาจารย์ (ปั่น ปัญญานันโท) (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 - 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550) หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปคือ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ท่านเป็นที่รู้จักในฐานะพระสงฆ์ผู้ปฏิรูปแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทย ผู้เป็นสหธรรมิกร่วมอุดมการณ์คนสำคัญของพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) และผู้อุทิศชีวิตให้กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนวาระสุดท้ายของชีวิต

พระพรหมมังคลาจารย์กำเนิดที่ ตำบลคูหาสวรรค์ อ.เมือง จ.พัทลุง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เดิมมีนามว่า ปั่น เสน่ห์เจริญ หลังใช้ชีวิตฆราวาสจนมีอายุได้ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอุปนันทนาราม จังหวัดระนอง โดยมี พระรณังคมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดนางลาด อ.เมือง จ.พัทลุง โดยมี พระจรูญกรณีย์ เป็นอุปัชฌาย์เมื่อปี พ.ศ. 2474

ท่านมรณภาพวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ด้วยอาการปอดอักเสบและไตวาย ที่โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุรวม 96 ปี
ศึกษาหาหลักธรรมหลังจากอุปสมบทได้ไม่นาน ได้เดินทางไปศึกษาหาหลักธรรมในบวรพุทธศาสนาหลายจังหวัดที่มีสำนักเรียนธรรมะ เช่น นครศรีธรรมราช สงขลา และกรุงเทพมหานคร จนหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีเป็นที่ 1 ของสังฆมณฑลภูเก็ต และสามารถสอบได้นักธรรมชั้นโท และเอกในปีถัดมาที่ จ.นครศรีธรรมราช จากนั้นท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อด้านภาษาบาลีจนสามารถสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค ที่สำนักเรียนวัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร แต่เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้หลวงพ่อต้องหยุดการศึกษาไว้เพียงเท่านั้น แล้วเดินทางกลับพัทลุงภูมิลำเนาเดิมและได้เริ่มแสดงธรรมในพื้นที่ต่างๆ ของภาคใต้ รวมทั้งเดินทางไปจำพรรษาที่วัดสีตวนารามและวัดปิ่นบังอร รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย ในระหว่างที่จำพรรษาอยู่นี้ก็ได้ศึกษาทั้งภาษาอังกฤษและภาษาจีน เพื่อเป็นพื้นฐานในการเผยแพร่ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อไป

เผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศพ.ศ. 2475 หลวงพ่อมีโอกาสร่วมเดินทางไปประเทศพม่า กับพระโลกนาถชาวอิตาลีสหายธรรม ร่วมเดินทางแสวงบุญไปประเทศอินเดียและทั่วโลกโดยผ่านทางประเทศพม่าด้วยเท้าเปล่าเพื่อเป็นพุทธบูชา แต่เมื่อเดินทางถึงประเทศพม่าก็ต้องเดินทางกลับ
ระหว่างปี พ.ศ. 2475-2476 หลวงพ่อได้มีโอกาสเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศหลายประเทศ จนหลวงพ่อได้ชื่อว่า เป็นพระสงฆ์รูปแรกของไทยที่ได้เดินทางไปประกาศธรรมในภาคพื้นยุโรป

สหายธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุพ.ศ. 2477 หลวงพ่อได้เดินทางไปจำพรรษากับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และร่วมเป็นสหายธรรมดำเนินการเผยแพร่หลักธรรมที่แท้จริงตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

   ประกาศธรรมแก่ชาวบ้านที่เชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2492 หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ได้รับอาราธนานิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ และได้เริ่มแสดงธรรมในทุกวันอาทิตย์และวันพระที่พุทธนิคม จ.เชียงใหม่ พร้อมกันนี้หลวงพ่อได้เขียนบทความต่างๆ ลงในหนังสือพิมพ์และเขียนหนังสือธรรมะขึ้นจำนวนหลายเล่ม นอกจากนี้ หลวงพ่อได้เดินทางไปประกาศธรรมแก่ชาวบ้าน ชาวเขาโดยใช้รถติดเครื่องขยายเสียง จนชื่อเสียงของหลวงพ่อดังกระฉ่อนไปทั่ว จ.เชียงใหม่ ในนาม "ภิกขุปัญญานันทะ"
ในยุคนี้เองที่หลวงพ่อได้ก่อตั้งมูลนิธิ "เมตตาศึกษา" ที่วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ และบำเพ็ญศีล กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกมากมาย
 วัดชลประทานรังสฤษฎ์ในปี พ.ศ. 2502 ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ในสมัยนั้น ระหว่างที่ไปเยือนเชียงใหม่มีความประทับใจ ในลีลาการสอนธรรมะแนวใหม่ของหลวงพ่อ จึงเกิดความศรัทธาปสาทะในหลวงพ่อ และในขณะนั้นกรมชลประทานได้สร้างวัดใหม่ขึ้น ชื่อ "วัดชลประทานรังสฤษฎ์" ที่ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จึงได้อาราธนาหลวงพ่อไปเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 จนถึงปัจจุบัน
พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ได้ดำเนินการเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยวิธีที่ท่านได้เริ่มปฏิวัติรูปแบบการเทศนาแบบดั้งเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรมแบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งในช่วงแรกๆ ได้รับการต่อต้านอยู่บ้าง แต่ต่อมาภายหลังการปาฐกถาธรรมแบบนี้กลับเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจนถึงบัดนี้ เมื่อพุทธศาสนิกชนทราบข่าวว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุจะไปปาฐกถาธรรมที่ใดก็จะติดตามไปฟังกันเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดหลวงพ่อได้รับอาราธนาให้เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมในสถานที่ต่างๆ และเทศนาออกอากาศทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ หลวงพ่อยังได้รับอาราธนาไปแสดงธรรมในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น และยังได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมและกล่าวคำปราศรัยในการประชุมองค์กรศาสนาของโลกเป็นประจำอีกด้วย
พระพรหมมังคลาจารย์ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
โดยที่หลวงพ่อท่านเป็นพระมหาเถระผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย ได้สร้างงานไว้มากมายทั้งด้านศาสนาสังคมสงเคราะห์ตลอดจนงานด้านวิชาการ ดังนั้นหลวงพ่อจึงได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมาย และเป็นประธานในการดำเนินกิจกรรมทั้งที่เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและสังคม เช่น สนับสนุนโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน เป็นประธานจัดหาทุนสร้างตึกโรงพยาบาล กรมชลประทาน 80 ปี (ปัญญานันทะ) และเป็นประธานในการดำเนินการจัดหาทุนสร้างวัดปัญญานันทาราม ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ แม้ว่าคำสอนของหลวงพ่อจะเป็นคำสอนที่ฟังง่ายต่อการเข้าใจ แต่ลึกซึ้งด้วยหลักธรรมและอุดมการณ์อันหนักแน่นในพระรัตนตรัย หลวงพ่อปัญญานันทภิภขุ เป็นหนึ่งในบรรดาภิกษุผู้มีชื่อเสียง และเปี่ยมด้วยคุณธรรมเมตตาธรรม ผู้นำคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งเหมาะสมสำหรับชนทุกชั้นที่จะเข้าถึง หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่กล้าในการปฏิรูปพิธีกรรมทางศาสนา ของชาวไทยที่ประกอบพิธีกรรมหรูหรา ฟุ่มเฟือย โดยเปลี่ยนเป็นประหยัด มีประโยชน์และเรียบง่าย ดังนั้น หลวงพ่อจึงได้รับการขนานนามว่า "ผู้ปฏิรูปพิธีกรรมของชาวพุทธไทย" ในปัจจุบัน

ผลงานและเกียรติคุณ บทความนี้มีลักษณะเหมือนประวัติสมัครงาน คุณสามารถร่วมแก้ไขปรับปรุงได้ โดยเขียนให้มีลักษณะเป็นสารานุกรมมากยิ่งขึ้น
[แก้] งานด้านการปกครองพ.ศ. 2503 เป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์
พ.ศ. 2506 ได้รับพระบัญชา แต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 9
เป็นรองเจ้าคณะภาค 18
พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธธรรม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา
    งานด้านการศึกษาพ.ศ. 2503 เป็นเจ้าสำนักศาสนาศึกษา แผนกธรรมและบาลีวัดชลประทานรังสฤษฏ์
พ.ศ. 2512 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ ระดับอนุบาล ประถม มัธยมศึกษา
พ.ศ. 2524 เป็นผู้อำนวยการจัดการการอบรมพระธรรมทายาทของวัดชลประทานรังสฤษฏ์
เป็นผู้อำนวยการจัดการอบรมพระนวกะที่บวชในวัดชลประทานรังสฤษฏ์
[แก้] งานด้านการเผยแผ่พ.ศ. 2492-2502 เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมประจำวันพระและวันอาทิตย์ ณ พุทธนิคม สวนพุทธธรรม วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่
พ.ศ. 2500 เป็นประธานมูลนิธิ "ชาวพุทธมูลนิธิ" จังหวัดเชียงใหม่
เป็นประธานก่อตั้งพุทธนิคม จ.เชียงใหม่
พ.ศ. 2503 เป็นองค์แสดงธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์
เป็นผู้ริเริ่มการทำบุญ ฟังธรรมในวันอาทิตย์ ณ วัดชลประทานรังสฤษฏ์
เป็นผู้ก่อตั้งทุนพิมพ์หนังสือเพื่อเผยแผ่ธรรมะแก่ประชาชน พ.ศ. 2520
เป็นผู้อบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา
พ.ศ. 2525 รับเป็นองค์แสดงธรรมแก่วุฒิสมาชิก และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2534 เป็นผู้ริเริ่ม ค่ายคุณธรรมแก่เยาวชน เรียกว่า "ค่ายพุทธบุตร" ในโรงเรียนต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย ฯลฯ
พ.ศ. 2536 จำพรรษา ณ วัดพุทธธรรม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา
[แก้] การปฏิบัติศาสนากิจในต่างประเทศพ.ศ. 2497 เดินทางเผยแผ่ธรรมรอบโลก
ช่วยเหลือกิจการพุทธศาสนา เผยแผ่ธรรมะในต่างประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เยอรมัน
เป็นเจ้าอาวาสววัดพุทธธรรม วัดไทยในชิกาโก สหรัฐอเมริกา
      งานด้านสาธารณูปการพ.ศ. 2516 เป็นประธานในการก่อสร้างกุฏิสี่เหลี่ยม เพื่อเป็นที่อยู่แก่พระภิกษุผู้บวชใหม่
พ.ศ. 2518 เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธธรรม
เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
พ.ศ. 2537 เป็นประธานก่อสร้างกุฏิสองหลังเป็นกุฏิทรงไทยประยุกต
 งานด้านสาธารณประโยชน์พ.ศ. 2533 เป็นประธานหาทุนสร้าง "ตึก 80 ปี ปัญญานันทะ" ให้โรงพยาบาลชลประทาน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
สร้างศูนย์ฝึกและปฏิบัติงาน มูลนิธิแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ที่ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
พ.ศ. 2534 บริจาคเงินสร้างอุโบสถวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จ.เชียงใหม่
พ.ศ. 2537 บริจาคเงินสร้างโรงอาหารแก่โรงเรียนประภัสสรรังสิต อ.เมือง จ.พัทลุง
บริจาคเงินซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลวชิระ จ.ภูเก็ต
รับมอบที่ดินและเป็นประธานหาทุนสร้างและอุปถัมภ์ วัดปัญญานันทาราม จ.ปทุมธานี
บริจาคเงินเป็นทุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนในโรงเรียนท้องถิ่นที่ขาดแคลนต่างๆ หลายจังหวัด
ได้แสดงธรรมเพื่อหาเงินสบทบทุนในจัดสร้างอาคารเรียน 100ปี โรงเรียนพัทลุง จังหวัดพัทลุง
แสดงธรรมเพื่อหาเงินสมบทในจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์แก่โรงพยาบาลพัทลุง จังหวัดพัทลุง
เป็นประธานหาทุนปรับปรุงและยกฐานะโรงพยาบาลชลประทานเป็นศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ-ชลประทาน
       งานพิเศษพ.ศ. 2503 เป็นองค์แสดงธรรมถวายสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ณ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน
พ.ศ. 2518 เป็นองค์แสดงธรรมถวายสมเด็จพรเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ ณ ศาลาการเปรียญ วัดชลประทานรังสฤษฏ์
เป็นองค์แสดงธรรมถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามาธิบดีอันมีศักดิ์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
เป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทแก่ช่าวต่างประเทศ ที่อุปสมบทในประเทศไทย เช่น ชาวอเมริกัน อังกฤษ ออสเตรเลีย เยอรมัน ญี่ปุ่น และศรีลังกา เป็นต้น
พ.ศ. 2529 ได้รับนิมนต์เข้าร่วมประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์อาเชี่ยนเพื่อสันติภาพ ครั้งที่ 7 ที่ประเทศประชาธิปไตยประชาชนลาว (12th Asain Buddist Conference for Peace)
พ.ศ. 2536 ได้รับนิมนต์ไปร่วมประชุมและบรรยาย ในการประชุมสภาศาสนาโลก 1993 ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา (The 1993 Parliament of the world's Religion)
       งานด้านวิทยานิพนธ์ได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาไว้มากมาย เช่น

ทางสายกลาง
คำถามคำตอบพุทธศาสนา
คำสอนในพุทธศาสนา
หน้าที่ของคนฉบับสมบูรณ์
รักลูกให้ถูกทาง
ทางดับทุกข์
อยู่กันด้วยความรัก
อุดมการณ์ของท่านปัญญา
ปัญญาสาส์น
ชีวิตและผลงาน
มรณานุสติ
ทางธรรมสมบูรณ์แบบ
72 ปี ปัญญานันทะ
กรรมสนองกรรม เป็นต้น
    เกียรติคุณที่ได้รับพ.ศ. 2520 ได้รับรางวัล "สังข์เงิน" จากสมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทย ในฐานะพระภิกษุผู้เผยแผ่ธรรมะและศีลธรรมยอดเยี่ยมของประเทศไทย
พ.ศ. 2521 ได้รับรางวัล "นักพูดดีเด่น" ประเภทเผยแผ่ธรรม จากสมาคมฝึกพูดแห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2525 ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระศาสนา เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จากกรมการศาสนา โดยได้รับรางวัลและประกาศเกียรติคุณ 2 รางวัล คือ ประเภท ก.บุคคล และประเภท ข.สื่อสารมวลชน (รายการส่งเสริมธรรมะทางสถานีวิทยุโทรทัศน์)
พ.ศ. 2524 ได้รับปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาครุศาสตร์ จาก มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2531 ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2534 ได้รับปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์
พ.ศ. 2536 ได้รับปริญญาอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2536 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปรัชญาและศาสนา) จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พ.ศ. 2537 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2548 ได้รับการยกย่องเป็นศิษย์เก่าดีเด่น เนื่องในโอกาสงานครบรอบ 100 ปี โรงเรียนพัทลุง จากโรงเรียนพัทลุง
พ.ศ. 2550 ได้รับยกย่องเชิดชู ในฐานะ "ผู้สูงอายุแห่งชาติ" ประจำปี 2550 ผู้มีผลงานดีเด่นคนแรก (รูปแรก) ของประเทศ
[แก้] สมณศักดิ์ที่ได้รับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ "พระปัญญานันทมุนี"
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นราช ที่ "พระราชนันทมุนี"
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ "พระเทพวิสุทธิเมธี"
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ "พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมภาณ วิสาลธรรมวิภูษิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏหรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ "พระพรหมมังคลาจารย์ ไพศาลธรรมโกศล วิมลศีลาจารวินิฐ พิพิธธรรมนิเทศ พิเศษวรกิจจานุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
[แก้] มรณภาพพระพรหมังคลาจารย์ถึงแก่มรณภาพเมื่อเวลา 9.09 น. ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยเหตุติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริรวมอายุได้ 96 ปี 5 เดือน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานโกศแปดเหลี่ยมและรับศพไว้ในพระราชานุเคราะห์
อ้างอิง
ข้อมูลจากวิกิพิเดีย


พระปัญญานันทภิกขุ...ภิกษุสี่แผ่นดิน

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ


แม้วันนี้ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุหรือ พระพรหมมังคลาจารย์จะมีอายุมากถึง 96 ปี แต่ทุกวันของท่านยังคงดำเนินไปเพื่อกิจแห่งพระพุทธศาสนา ทั้งการเทศน์สั่งสอนประชาชนจนถึงการชำระพระศาสนาให้บริสุทธิ์ โดยทุกๆ เช้าวันอาทิตย์ ณ วัดชลประทานรังสฤษฏ์ การแสดงปาฐกถาธรรมโดยหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ได้ดำเนินมากว่า 50 ปี จนเรียกได้ว่าเป็นประเพณีหนึ่งของพุทธศาสนิกชน








หลวงพ่อได้เล่าให้ญาติโยมอย่างติดตลกว่า สำนักนายกรัฐมนตรีได้มอบรางวัล พระแก่ให้หลวงพ่อ เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนความดี ในฐานะที่ แก่แล้วแต่ยังไม่หยุดทำงาน


ภาพหลวงพ่อนั่งบนรถเข็นไปตามทางเดินในวัด พร้อมกับใบหน้าที่ยิ้มแย้มของบรรดาศาสนิกชนผู้เลื่อมใสศรัทธาทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างนั่งลงกราบไหว้ตามทางที่หลวงพ่อไป หลวงพ่อจะยกมือทักทาย จับศีรษะเด็กๆ ที่มาเป็นกราบไหว้ข้างๆ รถเข็นด้วยความเมตตา


หลายคนอาจไม่ทราบว่าหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุมี พี่น้องร่วมสาบานใน ยุทธจักรแห่งธรรมะที่นำทัพต่อสู้กับ ฝ่ายอธรรมหรือ กิเลสซึ่งอยู่ภายในจิตใจมนุษย์


ท่านปัญญานันทภิกขุเป็นท่านน้องเล็ก พระบุญชวนเขมาภิรัตน์เป็นท่านพี่รอง ท่านพุทธทาสภิกขุ คือท่านพี่ใหญ่! อุดมการณ์เพื่อศาสนาของหลวงพ่อจึงไม่แตกต่างจาก ปราชญ์แห่งแผ่นดินอย่างท่านพุทธทาสภิกขุ

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ


ข้าพเจ้า ขอถวายชีวิตจิตใจนี้ แด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ขอมอบกายใจแด่พระพุทธศาสนา จะทำงานให้แก่พระศาสนาจนตลอดชีวิตหลวงพ่อได้กล่าวคำอธิษฐานต่อหน้าพระบรมธาตุกลางเมืองนครศรีธรรมราช ภายหลังเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ไม่ถึงพรรษา ระหว่างนั้นได้มีโอกาสเทศน์เป็นครั้งแรกด้วยความบังเอิญ จึงเริ่มฝึกการเทศน์จนเริ่มมีชื่อเสียง


วันหนึ่ง หลวงพ่อได้ออกเดินทางไปพร้อมกับพระบุญชวนเพื่อกลับไปเยี่ยมท่านพุทธทาส หลังจากวันนั้นทั้งสามเกิด อุดมการณ์อันแน่วแน่ที่ตรงกัน กลายเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการศึกษาค้นคว้า แนวทางใหม่ให้แก่พระพุทธศาสนา


แต่เดิม หลวงพ่อตั้งใจไว้ว่าจะไม่เป็นสมภารที่วัดใด นอกเสียจากว่าเป็นวัดใหม่หรือวัดร้างที่ไม่มีพระสงฆ์ เพราะหากมีพระประจำวัดอยู่แล้ว จะทำการปฏิรูปสิ่งต่างๆ ได้ลำบาก กระทั่งเมื่อปี 2503 อธิบดีกรมชลประทานได้นิมนต์หลวงพ่อปัญญาฯ ลงมาเป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์ ซึ่งเป็นวัดสร้างใหม่


ในสมัยนั้น การเดินทางมาวัดนี้ค่อนข้างลำบากเพราะอยู่ห่างไกลความเจริญ ทว่าสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลวงพ่อที่ต้องการสร้างรากฐาน พัฒนาและบุกเบิกการเข้าถึงพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงหลวงพ่อเริ่มงานจากการ ปฏิรูปทางจิตใจไม่เน้นการสร้างพุทธสถานโอ่อ่าอลังการ มีการแก้ไขพิธีกรรมทางศาสนาบางอย่าง เช่น พิธีบวชที่เน้นความเรียบง่าย โดยผู้ที่มีความประสงค์จะบวชจะต้องผ่านการทดสอบโดยการสวดมนต์เช้า-เย็น ส่วนพิธีงานศพ ไม่อนุญาตให้มีการเล่นพนัน กินเหล้าในงาน งดเว้นการสวดบาลี เพราะเห็นว่าสวดไปคนก็ฟังไม่รู้เรื่อง ท่านจึงเปลี่ยนเป็นการเทศน์เรื่องการเกิด แก่ เจ็บ ตาย แทน


จวบจนถึงปัจจุบัน ภาพอันน่าปลาบปลื้มปีติได้เกิดขึ้นทุกวันอาทิตย์ ณ ลานไผ่แห่งวัดชลประทานฯ แห่งนี้ ซึ่งจะเต็มไปด้วยพุทธศาสนิกชนจำนวนหลักร้อยหลักพัน ไม่ใช่เหตุเพราะมีงานปลุกเสกหรือแจกเครื่องรางของขลัง หากแต่เป็นเพราะพุทธานุภาพของหลวงพ่อที่ได้เทศน์สั่งสอนผู้คนมาหลายยุคหลายสมัย จนทำให้ที่นี่คลาคล่ำไปด้วยประชาชน ทั้งคนหนุ่มสาว ครอบครัว และคนชรา ที่ต่างมาร่วมกันมาทำบุญตักบาตร เลี้ยงเพลพระ ไม่ต้องไปให้ใครเสกวัตถุมงคลให้ มานี่ มาที่วัดชลประทานฯ นี่จะ เสกความดีใส่ตัวให้


ด้วยความที่หลวงพ่อเป็น นักพัฒนาในวันนี้ วัดชลประทานฯ จึงไม่ได้เป็นเพียงสถานที่สำหรับสงฆ์ หากแต่ยังประโยชน์สำหรับฆราวาสเพื่อศึกษาพระธรรมและทำกิจกรรมทางศาสนา ตลอดจนเป็นแหล่งรวบรวมศิลปวัฒนธรรมเพื่อเยาวชนไทย


ทุกวันนี้ท่านปัญญานันทภิกขุดำรงวัตรปฏิบัติอย่างเรียบง่าย กุฏิที่อาศัยหาได้มีข้าวของเครื่องใช้ที่เกินความจำเป็นแห่งสงฆ์ไม่ นับเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ภิกษุและสามเณรทั่วไป


หากย้อนกลับไป หลวงพ่อได้ปฏิบัติงานเพื่อพระพุทธศาสนามาตั้งแต่อายุเพียง 22 พรรษา โดยภารกิจหลักของท่านคือ การเทศน์ ท่านมีชื่อเสียงทางด้านการแสดงปาฐกถาธรรมมาตั้งแต่อดีต โดยตระเวนเดินสายมาแล้วทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากท่านพูดภาษาอังกฤษได้ โดยสไตล์การเทศน์จะตรงไปตรงมา เลี่ยงภาษาบาลี

หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ


บางครั้งท่านร้องเพลงกลอนให้ฟัง


แม้ว่าวันนี้หลวงพ่อจะไม่สามารถเทศน์ได้นานเหมือนก่อน หากแต่ปณิธานที่ตั้งไว้ยังคงไม่เสื่อมคลาย ความมุ่งหมายของข้าพเจ้าอยู่ที่การประกาศคำสอนที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา


เห็นคนโง่แล้วสงสาร” ...เพราะมีคนจำนวนมากที่ยังไม่ได้มีโอกาสสัมผัสกับ ธรรมมะเหตุนี้เองจึงผลักดันให้เกิดท่านทำงานด้านการสอนอย่างต่อเนื่อง


นักสังคมสงเคราะห์เป็นอีกบทบาทหลักของพระปัญญานันทภิกขุ ท่านไม่เคยทิ้งผู้ประสบภัยและมักชวนญาติโยมให้ทำบุญเพื่อผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเหล่านี้ด้วย


ถาวรวัตถุเพื่อสาธารณประโยชน์ อาทิ ตึก 80 ปี ปัญญา นันทะในโรงพยาบาลชลประทาน ตึก 92 ปีปัญญานันทะที่มหาวิทยาลัยสงฆ์วังน้อย นับเป็นโครงการใหญ่ที่มีหลวงพ่อเป็นผู้ระดม บุญ


รวมถึงเมกะโปรเจกต์อย่าง พระอุโบสถกลางน้ำในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยปณิธานในการสร้างถาวรวัตถุชิ้น สุดท้ายของหลวงพ่อ


เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้น มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งนี้จะรองรับภิกษุได้ 20,000 รูป


ไม่เพียงแต่ใช้เป็นที่ชุมชุมของสงฆ์ หากแต่พระอุโบสถแห่งนี้ยังมุ่งหมายให้ไทยเป็นสัญลักษณ์แห่งการเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา สามารถใช้การประกอบพิธีทางศาสนาของชาวพุทธ ทั่วโลกและใช้เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์เพื่อทดแทนสิ่งปลูกสร้างที่ถูกทำลายไปในสมัยเสียกรุงศรีอยุธยา


ทุกครั้งที่หลวงพ่อต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ท่านจะบ่นอยากกลับวัด

สหายทางธรรม ของแผ่นดิน

เป็นห่วงงาน
หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
ชาตะ-11 พ.ค. 2454
มรณะ-10 ต.ค. 2550
ข้อมูลจาก www.palungdham.com/buddhism/panya04.jpg

รวบรวมโดย ทองพริก วิกิพิเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น