คุณสมบัติของพระอาจารย์สอนกรรมฐาน
คุณสมบัติของกัลยาณมิตร
ครูบาอาจารย์ผู้ที่สามารถสอนกัมมัฏฐาน และคอยเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ผู้เจริญสมาธิได้
ต้องประกอบด้วย กัลยาณมิตตธรรม 7 ประการ คือ
1. ปิโย หมายถึง บุคคลผู้มีความน่ารักน่าเลื่อมใส เป็นที่ชื่นชมของทุกคน
เพราะเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ เป็นนักให้ ให้ทั้งปัจจัย 4 ความรู้และความปลอดภัย
เป็นผู้มีปกติยิ้มแย้มแจ่มใสและอารมณ์ดีอยู่เสมอ มีมารยาทงาม ทำให้ใครๆ
เห็นก็รู้สึกรัก ประดุจพระจันทร์วันเพ็ญ ชุ่มเย็นชวนมอง
2.ครุ หมายถึง บุคคลผู้ที่น่าเคารพ น่าเกรงใจ เพราะมีศีล สมาธิและการถือธุดงค์
มีความอ่อนน้อมถ่อมตน วางตัวได้เหมาะสม เป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจได้ทุกเมื่อ
ประดุจขุนเขาตระหง่านมั่นคง
3.ภาวนีโย หมายถึง บุคคลผู้น่าสรรเสริญเทิดทูน เพราะมีจิตใจเที่ยงธรรม
ปราศจากอคติ 4 คือ ไม่มีความลำเอียงในบรรดาสหธรรมิกและลูกศิษย์
เหมือนดวงอาทิตย์เป็นใหญ่ในท้องฟ้า
4.วตฺตา หมายถึง บุคคลผู้ฉลาดพร่ำสอน สามารถอบรมลูกศิษย์ให้ดีได้
และคอยปกป้อง ลูกน้อยให้ปลอดภัย อุปมาเหมือนแม่ไก่สอนลูกให้หาอาหาร
5.วจนกฺขโม หมายถึง บุคคลผู้อดทนต่อถ้อยคำ ยอมรับคำตักเตือนจากสหธรรมิกและ
ลูกศิษย์ มีนิสัยไม่เอาเรื่องใคร
อุปมาดั่งแผ่นดินไม่สะทกสะท้านหวั่นไหวในของหอม
และของเหม็นที่ ราดรด
6.คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา หมายถึง บุคคลผู้สามารถแถลงเรื่องล้ำลึก
คือสามารถถ่ายทอดธรรมะที่ลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจให้เป็นเรื่องง่ายเข้าใจได้
ชัดเจน เช่น ขันธ์ 5 อริยสัจ 4 ปฏิจจสมุปบาท 12 อุปมาเหมือนจุดไฟในที่มืด
หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง
7.โน จฏฺฐาเน นิโยชเย หมายถึง บุคคลผู้ไม่ชักนำไปในทางเสื่อม
เพราะมีความมั่นคงสม่ำเสมอในธรรม ไม่ชักชวนในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
แม้เพียงครั้งเดียว อุปมาเหมือนตาชั่งมาตรฐาน คงเส้นคงวา
คุณธรรมทั้ง 7 ประการดังกล่าวนี้ สำคัญมากต่ออาจารย์ผู้สอนภาวนา
หากขาดข้อใดข้อหนึ่งไป ก็ไม่อาจจะได้ชื่อว่ากัลยาณมิตรที่สมบูรณ์
ในพระไตรปิฎกพระพุทธองค์ทรงแสดงถึงความสำคัญของกัลยาณมิตรไว้ เป็นต้นว่า
“ ภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่เล็งเห็นธรรมอันอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ซึ่งจะเป็นเหตุให้
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรดี”3)
ในทุติยอัปปมาทสูตร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่พระเจ้าปเสนทิโกศลว่า
ครั้งหนึ่ง พระอานนท์ได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า
“ ความเป็นผู้มีมิตรดีมีสหายดีมีจิตน้อมไปในคนที่ดี เป็นคุณกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์
” พระพุทธองค์ตรัสว่า
“ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีจิตน้อมไปในคนที่ดี เป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์”4)
มีตัวอย่างการได้กัลยาณมิตรที่ดีที่จะช่วยให้การปฏิบัติธรรมดี คือ ในครั้งหนึ่ง
พระเมฆิยซึ่งกำลังทำหน้าที่อุปัฏฐากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้รับพุทธานุญาตให้ไป
บิณฑบาตที่มีหมู่บ้านชันตุ ในขณะเดินทางกลับ ได้พบสวนมะม่วงที่น่ารื่นรมย์ใกล้ๆ
กับแม่น้ำแห่งหนึ่ง จึงทูลถามพระพุทธองค์ว่า จะไปเจริญสมาธิที่นั่นได้หรือไม่
พระพุทธองค์ตรัสว่า ให้รอจนกว่าจะมีพระภิกษุมาดูแลพระองค์แทน แต่หลังจาก
พระเมฆิยะทูลขอ 3 ครั้ง พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาต พระเมฆิยะไปที่นั้นและ
นั่งเจริญสมาธิใต้ต้นมะม่วงต้นหนึ่ง แต่พระ- เมฆิยะรู้สึกประหลาดใจที่พบ
อกุศลวิตกขึ้นในจิตอย่างไม่ขาดสาย จึงกลับไปเฝ้าพระพุทธองค์และ
กราบทูลถึงความล้มเหลวในการทำสมาธิ พระพุทธองค์ทรงอธิบายถึงเหตุ
ให้ผู้บำเพ็ญเพียรที่ยังมีสมาธิิ ไม่แก่กล้า จะสามารถบรรลุธรรมจนหลุดพ้นได้
จะต้องประกอบด้วยธรรม 5 ประการคือ5)
1.ได้กัลยาณมิตร คือ มิตรดี สหายดี
2.ความบริสุทธิ์แห่งศีล
3.เป็นผู้ได้การพูดคุยที่สมควร เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมักน้อย สันโดษ
ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร เป็นต้น
4.เป็นผู้ปรารภความเพียร บากบั่น ไม่ทอดธุระเพื่อละอกุศลธรรม เจริญกุศลธรรม
5.การได้รับความรู้ที่จะนำไปสู่วิปัสสนา
พระพุทธองค์ทรงอธิบายต่อว่า ผู้ที่มีข้อแรก คือ กัลยาณมิตร จะสามารถมี 4 ข้อที่เหลือ
ในไม่ช้าในเรื่องนี้เป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของบุคคลที่จะเจริญสมาธิ
จำต้องอาศัยอาจารย์ ที่เป็นกัลยาณมิตรที่จะสามารถพิจารณาสภาพจิตและนิสัยของตน
เพื่อจะได้อธิบายเทคนิควิธีการปฏิบัติ ให้เหมาะสมกับตน
การเข้าหากัลยาณมิตร
ดังได้กล่าวแล้วว่า กัลยาณมิตรมีความสำคัญต่อผู้เจริญสมาธิ บุคคลผู้จะเจริญสมาธิ
ควรเข้าไปหากัลยาณมิตร ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านได้ให้หลักในการเข้าหากัลยาณมิตร
ไว้ว่า ในช่วงเวลาที่พระ- สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ พระกัมมัฏฐานที่ได้
รับจากอาจารย์นั้นถือว่าได้รับมาอย่างดี แต่เพราะ เรื่องนี้เป็นไปไม่ได้ เราจึง
ควรรับพระกัมมัฏฐานจากพระอรหันต์ และจากพระอรหันต์ผู้ได้บรรลุฌานที่ 4 และ
ฌานที่ 5 โดยวิธีเจริญพระกัมมัฏฐาน และจากผู้ได้บรรลุพระอรหันต์โดยการ
เจริญวิปัสสนาบนพื้นฐานคือฌาน ถ้าไม่มีบุคคลเช่นนั้น เราควรไปหาบุคคล
ต่อไปนี้ตามลำดับ คือ พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน เมื่อไม่มีบุคคล
เหล่านี้เราควรไปหาผู้ที่ได้บรรลุฌานแล้ว หรือไปหาอาจารย์ผู้รู้พระไตรปิฎก สองปิฎก
หรือแม้ปิฎกเดียว เมื่อไม่สามารถพบบุคคลเช่นนั้น เราควรไปหาบุคคลผู้สามารถท่อง
จำนิกายหนึ่งในบรรดานิกายทั้งหลายพร้อมด้วยอรรถกถาของนิกายนั้น และบุคคลผู้คู่
ควรแก่ความนับถือ ผู้อยู่บนเส้นทางแห่งความเจริญ
ถ้าบุคคลเช่นนั้นอยู่ในอารามเดียวกัน โดยบังเอิญก็เป็นการดียิ่ง ถ้าไม่เป็นเช่นนั้น
เราควรไป แสวงหาเขา ศิษย์ควรใช้ชีวิตอยู่ในอารามที่พบอาจารย์นั้นเป็นเวลาหลายวัน
และหลังจากทำหน้าที่ของ ศิษย์ต่ออาจารย์แล้ว ควรขอพระกัมมัฏฐานจาก
อาจารย์ผู้มีลักษณะและนิสัยที่เหมาะสมที่สุด
ในการหาครูบาอาจารย์ที่มีลักษณะดังที่ได้กล่าวแล้ว อาจจะต้องอาศัยเวลาและ
การพิจารณา อย่างมาก พระภาวนาวิริยคุณ (หลวงพ่อทัตตชีโว)
ให้แนวทางในการเลือก
ให้แนวทางในการเลือก
พระอาจารย์ หรือสำนักในการ ปฏิบัติธรรม พอเป็นหลักง่ายๆ ไว้ว่า
“ ก่อนที่จะเลือกสำนักปฏิบัติธรรมนั้น ถ้าจะให้ดีควรจะหาความรู้จากพระไตรปิฎก
เสียก่อน เพื่อเป็นหลักในการปฏิบัติต่อไปในวันข้างหน้า และเป็นหลักในการเลือก
สำนักด้วย เพราะว่าพระไตรปิฎกนั้น ได้รวบรวมคำสอนภาคทฤษฎีเอาไว้อย่าง
เรียบร้อยบริบูรณ์ เมื่อมีความรู้ขั้นพื้นฐานจากพระไตรปิฎกแล้ว จากนั้นจึงค่อยไป
เลือกสำนักปฏิบัติ
คราวนี้ ในการเลือกสำนักปฏิบัตินั้น ก็มีวิธีเลือกง่ายๆ ให้ดูเจ้าสำนักเป็นเกณฑ์ว่า
เจ้าสำนักนั้น มีความประพฤติ มีข้อปฏิบัติถูกต้องตามพระไตรปิฎกที่เราเรียนมา
หรือไม่ ถ้าท่านมีความประพฤติมีการปฏิบัติเรียบร้อยบริบูรณ์ดีงาม สมกับที่เราได้
อ่านมาจากพระไตรปิฎกแล้วก็เลือกสำนักนั้นแหละเป็นสำนักที่เราควรจะมอบ
กายถวายชีวิต ให้ท่านอบรมเป็นกัลยาณมิตรเคี่ยวเข็ญกันต่อไป
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วโอกาสที่เราจะได้เข้าไปสนทนา ได้เข้าไปใกล้ชิด
กับเจ้าสำนักต่างๆ บางทีก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกัน เพราะยิ่งเป็นสำนักใหญ่
เจ้าสำนักท่านก็มีงานมีภาระรับผิดชอบมาก หลวงพ่อขอแนะนำวิธีเลือกสำนักอีก
วิธีหนึ่ง คือ ลองศึกษาความประพฤติ การปฏิบัติจากลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดของท่าน
จะเป็นพระหรือฆราวาสก็ตาม ถ้าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ 6 ประการนี้แล้ว
ก็มอบกายถวายชีวิตเข้าไปเป็นลูกศิษย์ได้เลย
คุณสมบัติ 6 ประการ ซึ่งสำนักที่ได้มาตรฐานจริงๆ จะต้องมี คือ
1.เจ้าสำนักเองรวมทั้งลูกศิษย์ในสำนักนั้น ไม่มีนิสัยชอบว่าร้ายหรือโจมตี
การปฏิบัติธรรมของสำนักอื่น ถ้าท่านยังมีนิสัยชอบว่าร้ายอยู่ แสดงว่า
คุณธรรมของท่านก็ยังไม่พอ แล้วท่านจะมาสอนเราได้อย่างไร
2.ท่านจะต้องไม่มีนิสัยชอบในลักษณะที่เรียกว่า นักเลง หรือชอบข่มขู่คนอื่น
อะไรทำนองนั้น ท่านควรจะมีวิธีการสอนประเภทที่เรียกว่า ชี้แจงเหตุแสดงผล
ได้ลุ่มลึกไปตามลำดับ ไม่ใช่บังคับให้เชื่อ หรือขู่ให้เชื่อ
3.สังเกตดูด้วยว่าศีลของท่าน มารยาทของท่านงามดีไหม สมกับที่จะมาเป็น
พระอาจารย์สอนเรา ได้หรือยัง การจะดูว่ามารยาทงามหรือไม่งาม
ศีลงามหรือไม่งามนั้น เราเทียบจากพระวินัยในพระไตรปิฎกที่เราเรียนมา
อย่าไปถือเอาความถูกใจเราเป็นเกณฑ์ ต้องเอาความถูกต้องเป็นเกณฑ์จึงจะใช้ได้
4.เจาะลึกไปถึงเรื่องอาหารการขบฉันของท่าน คือ ต้องดูว่าวัดนี้ สำนักนี้
จุกจิกจู้จี้ในเรื่องอาหาร บ้างหรือเปล่า หรือบริโภคกันฟุ่มเฟือยสุดโต่ง
เช่น ต้องสั่งจากภัตตาคารมาประเคน ถ้าอย่างนั้นถอย ออกมาดีกว่า
5.ดูสถานที่การปฏิบัติธรรมของเขาจริงๆ ว่าออกในลักษณะไหน ถ้าออกในลักษณะ
โอ่อ่าเกินไป เดี๋ยวจะเกิดนิสัยฟุ้งเฟ้อกลับมา แต่ว่าถ้าซอมซ่อเกินไปปล่อยให้
สกปรกรกรุงรังอย่างนั้นก็ไม่สมควร เพราะในพระศาสนานี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงเคร่งครัดในเรื่องของความสะอาด ความมีระเบียบ ตลอดจนกระทั่ง
ความร่มรื่นของสถานที่ปฏิบัติธรรมด้วย เราจึงต้องดู
6.เจ้าสำนักเอง ท่านรักการฝึกสมาธิมากแค่ไหน ถ้าฝึกสมาธิกันแค่วันละชั่วโมง
สองชั่วโมง หรือว่าฝึกกันไปตามมีตามเกิด คุณอย่าไปฝากตัวเป็นศิษย์ท่านเลย
ถ้าเป็นสำนักที่ตั้งใจฝึกสมาธิกันอย่าง จริงๆ จังๆ ก็ใช้ได้ ถ้าเป็นสำนักที่ไม่ตั้งใจ
ฝึกสมาธิกันอย่างจริงจัง ย่อมไม่สามารถที่จะรักษาคุณธรรมที่กล่าวไว้แล้ว
ข้างต้นทั้ง 5 ประการได้สมบูรณ์หรอก
คุณสมบัติข้อที่ 6 นี้เป็นข้อที่สำคัญมากที่สุด ที่จะยืนยันว่าสำนักที่เราจะไปปฏิบัตินั้น
ต้องมีการฝึกการสอน มีการอบรมสมาธิอย่างจริงจัง เจ้าสำนักเอง ก็ทุ่มเทฝึกสมาธิด้วย
เป็นผู้นำในการฝึก และ สมาธินั้นก็เป็นสมาธิในพระพุทธศาสนา ถ้าไปพบสำนักใดมี
คุณธรรม 6 ประการนี้อยู่ครบบริบูรณ์แล้วละก็ เข้าไปสมัครเป็นลูกศิษย์ในสำนัก
นั้นได้เลย รับรองไม่ผิดหวังแน่นอน”
ผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ ควรคบเป็นมิตร
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการควรเสพ ควรคบเป็นมิตร ควรเข้าไปนั่งใกล้
แม้ถูกขับไล่ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ
แม้ถูกขับไล่ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน คือ
- ภิกษุเป็นที่รักใคร่พอใจ ๑
- เป็นที่เคารพ ๑
- เป็นผู้ควรสรรเสริญ ๑
- เป็นผู้ฉลาดพูด ๑
- เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ ๑
- พูดถ้อยคำลึกซึ้ง ๑
- ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ๑
พึงคบมิตรผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ
เธอทั้งหลายพึงคบมิตรผู้ประกอบด้วยองค์ ๗ ประการ
๗ ประการเป็นไฉน คือ
๗ ประการเป็นไฉน คือ
- มิตรผู้ให้ของที่ให้ได้ยาก ๑
- รับทำกิจที่ทำได้ยาก ๑
- อดทนถ้อยคำที่อดใจได้ยาก ๑
- บอกความลับของตนแก่เพื่อน ๑
- ปิดความลับของเพื่อน ๑
- ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ ๑
- เมื่อเพื่อนสิ้นโภคสมบัติก็ไม่ดูหมิ่น ๑
มิตรที่ดีงาม ย่อมให้ของที่ดีงามให้ได้ยาก รับทำกิจที่ทำได้ยาก อดทนถ้อยคำหยาบคาย แม้ยากที่จะอดใจไว้ได้ บอกความลับของตนแก่เพื่อน ปิดบังความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ เมื่อเพื่อนสิ้นโภคสมบัติ ก็ไม่ดูหมิ่น
ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในบุคคลใด บุคคลนั้นเป็นมิตรแท้
ผู้ประสงค์จะคบมิตร ก็ควรคบมิตรเช่นนั้น
ความเป็นผู้มีมิตรดีเป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว
อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า
จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
อันภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า
จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ก็ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี ย่อมเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ย่อมกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ อย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
- ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
- ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
- ย่อมเจริญสัมมาวาจา อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
- ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
- ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
- ย่อมเจริญสัมมาวายามะ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
- ย่อมเจริญสัมมาสติ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
- ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียวนั้น
พึงทราบโดยปริยายแม้นี้
ด้วยว่าเหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชาติ
ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา
ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ
ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากโสกะ
พึงทราบโดยปริยายแม้นี้
ด้วยว่าเหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชาติ
ผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา
ผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากมรณะ
ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากโสกะ
ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเพราะอาศัยพระพุทธองค์ผู้เป็นกัลยาณมิตร
“ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์”
ท่านพระอานนท์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี นี้ เป็นกึ่งหนึ่งแห่งพรหมจรรย์เทียวนะ
พระเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า “ดูก่อนอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น
ก็ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดีนี้ เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้นทีเดียว
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังข้อนี้ได้ว่า
จักเจริญอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ (มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น)
จักกระทำให้มากซึ่งอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘”
(ข้อความบางตอนจาก ... พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อุปัฑฒสูตร)
กัลยาณมิตร หมายถึง มิตรที่ดีงาม เพื่อนที่ดีงาม เป็นผู้ที่มีปัญญา
ความรู้ความเข้าใจพระธรรมอย่างถูกต้อง เป็นผู้อนุเคราะห์ให้ออกจากอกุศลธรรม
แล้วให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรม ให้เป็นผู้มีความเจริญในกุศลธรรมยิ่งๆขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือความเจริญด้วยปัญญา ซึ่งเป็นธรรมที่เข้าใจถูกต้อง
ในสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง
บุคคลผู้เป็นกัลยาณมิตรสูงสุดสำหรับสัตว์โลกทั้งปวง คือ
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงมีพระปัญญาอันเลิศหาผู้เปรียบมิได้
ซึ่งเป็นบุคคลที่ประเสริฐสูงสุด เพราะทรงแสดงพระธรรมจากการที่
ซึ่งเป็นบุคคลที่ประเสริฐสูงสุด เพราะทรงแสดงพระธรรมจากการที่
ทรงตรัสรู้ความจริง ให้สัตว์โลกได้รู้แจ้งธรรม ได้รู้ความจริงตามพระองค์
ด้วยการอบรมเจริญปัญญา ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม
และเจริญกุศลทุกประการ เพื่อความพ้นไปจากอกุศลโดยสิ้นเชิง
สำหรับที่ว่า กัลยาณมิตร เป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ หรือ เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
นั้น หมายความว่า เพราะอาศัยกัลยาณมิตรผู้มีปัญญาจึงทำให้เข้าใจถูก
และเจริญในอริยมรรคมีองค์ ๘
(พรหมจรรย์ในที่นี้หมายถึง มรรคพรหมจรรย์ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง)
จึงเป็นเหตุให้สามารถดับกิเลสได้ในที่สุด
ซึ่งจะเห็นได้ว่า เหล่าสัตว์ผู้มีชาติ(ความเกิด)เป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชาติ
ผู้มีชรา(ความแก่)เป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากชรา ผู้มีมรณะ(ความตาย)เป็นธรรมดา
ย่อมพ้นไปจากมรณะ ผู้มีโสกะ(ความเศร้าโศก) ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ
พิไรรำพัน) ทุกข์ โทมนัส(เสียใจ,ทุกข์ใจ) อุปายาส(ความลำบากใจอย่างหนัก)
เป็นธรรมดา ย่อมพ้นไปจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส
เพราะอาศัยพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นกัลยาณมิตร นั่นเอง
กล่าวคือ หลุดพ้นจากกิเลสโดยประการทั้งปวง ไม่ต้องมีการเกิดอีกในสังสารวัฏฏ์
ดังนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่ทุกคนจะได้คบกับพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นกัลยาณมิตรอย่างสูงสุด ด้วยการฟังพระธรรมและศึกษา
พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงด้วยความเคารพ พร้อมทั้งมีความจริงใจ
มีความตั้งใจอย่างมั่นคงที่จะน้อมประพฤติปฏิบัติตามด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง.
คุณสมบัติของผู้เป็นครูสอนกรรมฐาน
การเป็นครูสอนกรรมฐานจำเป็นต้องรู้อารมณ์และอาการจิตที่เข้าถึงกรรมฐาน
๔๐ และสติปัฏฐาน ๔ ตั้งแต่ ..ขณิกฌาณประกอบด้วยวิตก – วิจาร ซึ่งเป็นการตรึก
– ตรองในกรรมฐานกองใดกองหนึ่งชั่วขณะ ...อุปจารฌาณ ประกอบด้วยวิตก – วิจาร
– ปิติ ซึ่งเป็นการตรึก – ตรอง ในกรรมฐานจนเกิดความอิ่มกาย – อิ่มใจ ...
อารมณ์ฌาณ ๑ ประกอบด้วยวิตก – วิจาร – ปิติ – สุข - เอกัคตารมณ์ซึ่งเป็นการตรึก –
อารมณ์ฌาณ ๑ ประกอบด้วยวิตก – วิจาร – ปิติ – สุข - เอกัคตารมณ์ซึ่งเป็นการตรึก –
ตรองจนเกิดความสุขกาย – สุขใจ จนจิตเป็นหนึ่งอยู่กับกรรมฐานที่เพ่ง
– พิจารณา อย่างต่อเนื่อง ฯลฯ ผู้ปฏิบัติถ้าเป็นพุทธภูมิจะต้องทำกรรมฐานเพื่อเป็น
ครูเขา กรรมฐานที่สำคัญที่สุดที่ต้องประจำไว้ในจิต คือ พุทธานุสสติ
( พระนามย่อของพระพุทธเจ้า “ พุธ – โธ ” ) กรรมฐานกองต่อมาคือ
ธรรมานุสสติ อันได้แก่ การเอาจิตจดจ่อกับธรรมชาติของกองลม
และกรรมฐานกองต่อมา คือ สังฆานุสสติ ในขั้นนี้ ถ้าหากเป็น
พุทธภูมิบารมีอ่อนต้องพยายามคิดให้ดี เพราะแม้แต่สงฆ์ในสายดีก็เป็นสัตว์นรก
เกือบหมดแล้ว ทางที่ดีควรทำใจของเราให้เป็นสงฆ์จะเหมาะสมกว่าการ
เคารพสงฆ์ทั่วไป หรือหากเชื่อผู้เขียนก็ขอให้เคารพหลวงปู่ปาน หลวงพ่อฤาษีฯ
( ผู้นำกรรมฐานโบราณมาแสดง )
น่าจะเหมาะสมที่สุด ... การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ตามฐานะการบำเพ็ญ
แห่งตนเองในปัจจุบัน
( ถ้าหากเป็นฆราวาสทำจิตของเราให้เป็นสงฆ์ เราจะได้พรหมวิหาร ๔
ในจิตด้วย ซึ่งพรหมวิหารธรรมนั้นมีกำลังสูงกว่าศีล พร้อมให้ควบด้วยปัญญาบารมี
ศรัทธาบารมี วิริยบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เพื่อเข้าถึงธรรม ตรงจุดนี้กำลัง
จิตจะสูงกว่าสมมติสงฆ์ทั่วไปที่รักษาศีล ๒๒๗ ทันที )
เมื่อทำศีล พร้อมอธิษฐานจิตให้ตนเองถือบวช เราก็ได้ศีลบารมี
อธิษฐานบารมี พรหมวิหารธรรม ( หรือธรรมที่มีองค์ประกอบของเมตตาบารมี )
ปัญญาบารมีเราเห็นตามพระพุทธเจ้าแล้ว
เพราะเห็นทุกข์จึงเข้ามาปฏิบัติธรรม ... ความศรัทธาในพระพุทธเจ้าเราบังเกิดแล้ว
จึงต้องการรู้แจ้งในพุทะประเพณีตาม ... ความเพียรเราบังเกิดแล้ว ... สัจจเราบังเกิดแล้ว
... ความอดทนอดกลั้นในการฝึกวางกายไม่เที่ยง อันเป็นขันติบารมีเราบังเกิดแล้ว
... การวางเฉยในกายไม่เที่ยง ( อุเบกขาบารมี อันเป็นส่วนผลของ
การบำเพ็ญพุทธบารมีตามพระพุทธเจ้าในอดีต ) จะบังเกิดตามทันที ... ทาบารมี
อันเป็นส่วนผลที่เราบำเพ็ญพุทธบารมีมาแล้วในสำนักของพระพุทธเจ้าองค์ก่อน
จะส่งผลให้ใจเราคิดวางของนอกกายเป็นทาน สละเลือดเนื้อเป็นทาน
และสละชีวิตเป็นทาน เพื่อแลกกับความรู้ในอารมณ์พระโพธิญาณใน
การรื้อขนสัตว์ให้พ้นจากภัยในวัฏสงสารตามรุ่นพี่ที่เป็นพระพุทธเจ้าได้
กระทำสำเร็จมาแล้ว อารมณ์ธรรมแม้บังเกิดเพียงชั่วขณะจิต
แต่ก็จะมีความหนักแน่นและมั่นคงมาก จะทำให้เราลืมโลก ลืมทรัพย์สมบัติ
ลืมพ่อลืมแม่ ลืมลูกลืมเมีย ลืมกายไม่เที่ยง การเห็นหมู่สัตว์ผู้ยากไร้ต้องมา
ทนทุกข์ทรมานในวัฏสงสารนั้นนับเป็นเรื่องพิเศษสูงสุดของพุทธภูมิทั้งหลาย
เพราะถ้าว่าเราไม่สงสารหมู่สัตว์จนถึงที่สุดแล้ว เราจะไม่กล้าให้ของนอกกาย
เป็นทาน ... เราจะไม่กล้าให้เลือดเนื้อเป็นทาน ... เราจะไม่กล้าให้ชีวิตเป็นทาน
การรับกัมมัฏฐานจาก พระอาจารย์สอนกรรมฐาน
ผู้ปฏิบัติเมื่อได้กัลยาณมิตรผู้ให้กัมมัฏฐาน พึงมอบตนแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
หรือแก่พระอาจารย์ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่น และไม่เกิดความสะดุ้งกลัวใดๆ
ในขณะบำเพ็ญกัมมัฏฐาน และเพื่อให้ได้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือจาก
อาจารย์ผู้สอนกัมมัฏฐาน ไม่ต้องเสียเวลาในการลองผิดลองถูกด้วยตนเอง
ผู้ปฏิบัติ พึงมอบตัวแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และพระอาจารย์ดังที่กล่าวไว้ใน
คัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า
“ กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญเพียร เข้าไปหากัลยาณมิตรผู้บอกกัมมัฏฐาน
พึงถวายตัวแด่พระพุทธเจ้าหรืออาจารย์ เป็นผู้มีอัธยาศัยถึงพร้อม
เป็นผู้มีอธิมุตติ (ความตั้งใจ) ถึงพร้อมแล้วจึงขอกัมมัฏฐาน”7)
ในการถวายตนนั้น ควรถวายตนด้วยคำว่า
“ อิมาหํ ภควา อตฺตภาวํ ตุมฺหากํ ปริจฺจชามิ”ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ข้าพระพุทธเจ้าขอสละอัตภาพนี้แด่พระองค์
“ อิมาหํ ภนฺเต อตฺตภาวํ ตุมฺหากํ ปริจฺจชามิ”ข้าแต่อาจารย์ผู้เจริญ
ข้าพเจ้าขอสละอัตภาพนี้แก่ท่านเมื่อได้มอบอัตภาพแด่อาจารย์แล้ว
พึงเป็นผู้ที่อาจารย์ห้ามปรามได้ ไม่เป็นผู้ทำตามอำเภอใจ
เป็นผู้ว่าง่ายและเป็นผู้ใกล้ชิดอาจารย์อยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้ย่อม
ได้รับความสงเคราะห์ด้วยอามิสและธรรมะจากอาจารย์
ย่อมบรรลุธรรมสมปรารถนาถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระพุทธศาสนา
เหมือนดังเรื่องต่อไปนี้ เป็นอุทาหรณ์
อันเตวาสิกของพระจูฬปิณฑปาติกติสสเถระ
ครั้งนั้นพระภิกษุ 3 รูป เข้ามากราบพระเถระเพื่อมอบตัวเป็นศิษย์ ภิกษุ
รูปหนี่งกราบเรียนว่า
“ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเพื่อประโยชน์แก่ท่านอาจารย์แล้วละก็
กระผมสามารถ กระโดดลงในเหวลึก 100 ชั่วคนได้”รูปที่สองกราบเรียนว่า
“ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเพื่อประโยชน์แก่ท่านอาจารย์แล้วละก็ กระผมสามารถ
ถูอัตภาพนี้ เริ่มตั้งแต่ ส้นเท้าเข้าที่ลานหิน จนตัวสึกไปไม่เหลือเลยได้”
รูปที่สามกราบเรียนว่า
“ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าเพื่อประโยชน์แก่ท่านอาจารย์แล้วละก็ กระผมสามารถ
กลั้นลมหายใจเข้าออก จนสิ้นชีวิตได้”
พระเถระเห็นว่า พระภิกษุทั้ง 3 รูปเป็นผู้สามารถสอนได้ จึงบอกกัมมัฏฐานให้
และทั้ง 3 รูปก็ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน จนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
นี้คืออานิสงส์แห่งการมอบตนแด่อาจารย์
การมอบตัวแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและแด่อาจารย์ ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น
กล่าวตามแนว วิสุทธิมรรค ซึ่งท่านมุ่งถึงพระภิกษุผู้บำเพ็ญกัมมัฏฐานใน
พระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ แต่ฆราวาสผู้มุ่งปฏิบัติกัมมัฏฐาน
แม้จะถวายตัวแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและแด่อาจารย์ผู้สอนกัมมัฏฐาน
ก็ย่อมมีผลดีเช่นกัน ถึงแม้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะปรินิพพานไปนานแล้ว
การถวายตัวแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือระลึกนึกถึงพระพุทธองค์
ก็เป็นการสร้างกำลังใจและป้องกันความสะดุ้งกลัวในการปฏิบัติ
แต่อย่างไรก็ตาม ในการเริ่มเจริญสมาธิ แม้ผู้ปฏิบัติจะไม่ได้ถวายตัว
แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือแด่อาจารย์ผู้สอนกัมมัฏฐาน ก็ย่อมปฏิบัติได้ผลเช่นกัน
เพราะหลักสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติจริงและ ปฏิบัติได้ถูกต้อง
แต่ผู้ที่มอบกายถวายชีวิตแด่พระพุทธองค์และแด่อาจารย์ผู้สอนกัมมัฏฐานของตน
ย่อมมีแต่ผลดีไม่มีผลเสีย ดังได้กล่าวมาแล้ว
หลักเบื้องต้นในการเจริญสมาธิภาวนาดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ทุกประการมี
ความสำคัญทุกข้อ ขอให้ นักศึกษาศึกษาให้เข้าใจและฝึกฝนปฏิบัติให้
เกิดขึ้นในตัวให้ได้ จึงจะสามารถปฏิบัติธรรมได้ดียิ่งๆ ขึ้นไป
เหมือนการตอกเสาเข็มที่ต้องตอกให้ครบทุกต้น แต่ละต้นต้องตอกให้แน่นแข็งแรง
จึงจะรองรับอาคาร ที่จะสร้างขึ้นได้.
เรียนวิปัสสนา เพิ่งมีมา ต่อภายหลัง
ไม่เคยฟัง ในบาลี ที่ตถา
ไม่แยกเป็น คันถะ วิปัสสนา
มีแต่ว่า ตั้งหน้า บำเพ็ญธรรม
ไม่เคยฟัง ในบาลี ที่ตถา
ไม่แยกเป็น คันถะ วิปัสสนา
มีแต่ว่า ตั้งหน้า บำเพ็ญธรรม
เพราะทนอยู่ ไม่ได้ ในกองทุกข์
จึงได้ลุก จากเรือนอยู่ สู่เนกขัม
จัดชีวิต เหมาะแท้ แก่กิจกรรม
เพื่อกระทำ ให้แจ้ง แห่งนิพพาน
จึงได้ลุก จากเรือนอยู่ สู่เนกขัม
จัดชีวิต เหมาะแท้ แก่กิจกรรม
เพื่อกระทำ ให้แจ้ง แห่งนิพพาน
ในบัดนี้ มีสำนัก วิปัสสนา
เกิดขึ้นมา เป็นพิเศษ เขตสถาน
ดูเอาจริง ยิ่งกว่าครั้ง พุทธกาล
ขอให้ท่าน จริง,ดี มี วิปัสสนาฯ
เกิดขึ้นมา เป็นพิเศษ เขตสถาน
ดูเอาจริง ยิ่งกว่าครั้ง พุทธกาล
ขอให้ท่าน จริง,ดี มี วิปัสสนาฯ
อ้างอิง
พระเทพวิสุทธิกวี, การพัฒนาจิต, (กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย), 2543 หน้า 61.
พระเทพวิสุทธิกวี, 2538 บทอบรมกรรมฐาน, กรุงเทพฯ, หน้า 97.
สขสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓
สขสูตรที่ ๒ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓
อุปัฑฒสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ