จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย
โขน เอกลักษณ์วัฒนธรรมไทย ภาคกลาง
  เอกลักษณ์หรือลักษณะประจำชาติ ในทางวิชาการมีความหมาย
         2 ประการ คือ ประการแรก หมายถึง ลักษณะที่เป็นอุดมคติซึ่งสังคมต้องการให้คนในสังคมนั้น ยึดมั่นเป็นหลักในการดำเนินชีวิต เป็นลักษณะที่สังคมเห็นว่าเป็นสิ่งดีงามและให้การเทิดทูนยกย่อง อีกประการหนึ่ง หมายถึง ลักษณะนิสัยที่คนทั่วไปในสังคมนั้นแสดงออกในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น ในการทำงานการพักผ่อนหย่อนใจ การติดต่อสัมพันธ์กับผู้อื่น และในการดำเนินชีวิตทั่วไปในสังคมเป็นลักษณะนิสัยที่พบในคนส่วนนใหญ่ของประเทศ และส่วนมากมักจะแสดงออกโดยไม่รู้ตัวเพราะเป็นเรื่องของความเคยชินที่ปฏิบัติกันมาอย่างนั้น

 เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยที่เด่น ๆ มีดังนี้

(1) ความรักอิสรภาพหรือความเป็นไท คนไทยมีลักษณะนิสัยไม่ต้องการอยู่ในอำนาจบังคับของผู้อื่น ไม่ชอบการควบคุมเข้มงวด ไม่ชอบการกดขี่หรือให้ผู้อื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวสั่งการในรายละเอียดในการทำงานและการดำเนินชีวิตส่วนตัว คนไทยเป็นคนที่หยิ่งและรักศักดิ์ศรีของตนเอง การบังคับน้ำใจกันหรือฝ่าฝืนความรู้สึกของกันและกันถือว่าเป็นสิ่งไม่ควรทำ

(2) การย้ำการเป็นตัวของตัวเองหรือปัจเจกบุคคลนิยม คือ การให้คุณค่าในความเป็นตัวของตัวเอง ความนิยมนี้ส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของพุทธศาสนาซึ่งย้ำความสำคัญของตัวบุคคลเป็นพิเศษ ถือว่าบุคคลจะเป็นอย่างไรย่อมแล้วแต่กรรมของบุคคลนั้นในอดีต การย้ำสอนให้พึ่งตนเอง ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน ส่วนการที่จะดีหรือชั่วนั้นอยู่ที่การกระทำของตนเองมิได้อยู่ที่ชาติกำเนิด

(3) ความรู้สึกมักน้อย สันโดษ และพอใจในสิ่งที่มีอยู่ คนไทยไม่มีความดิ้นรนทะเยอทะยานที่จะเอาอย่างคนอื่น ถือเสียว่าความสำเร็จของแต่ละคนเป็นเรื่องของบุญวาสนา ทุกคนอาจมีความสุขได้เท่าเทียมกันทั้งนั้น เพราะเป็นเรื่องภายในใจ

(4) การทำบุญและการประกอบการกุศล คนไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อในเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด จึงมักนิยมทำบุญและประกอบการกุศลโดยทั่วไป โดยถือว่าเป็นความสุขทางใจและเป็นการสะสมกุศลกรรมในปัจจุบันเพื่อหวังจะได้รับผลประโยชน์ในอนาคต

(5) การย้ำการหาความสุขจากชีวิต คนไทยมองชีวิตในแง่สวยงาม ความกลมกลืนและพยายามหาความสุขจากโลก ซึ่งตรงกันข้ามกับชาวตะวันตกที่มักจะมองชีวิตในแง่ของความขัดแย้งระหว่างอำนาจฝ่ายต่ำในร่างกายมนุษย์และอนาจฝ่ายสูง ซึ่งได้แก่ ศีลธรรมและความรับผิดชอบในใจคนไทยจึงไม่มีความขัดแย้งในใจเกี่ยวกับการปล่อยตนหาความสำราญ เพราะถือว่าอยู่ในธรรมชาติมนุษย์

(6) การย้ำการเคารพเชื่อฟังอำนาจ คนไทยนิยมการแสดงความนอบน้อมและเคารพ บุคคลผู้มีอำนาจความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นไปตามแบบพิธีซึ่งแสดงฐานะสูงต่ำของบุคคลที่เกี่ยวข้อง

(7) การย้ำความสุภาพอ่อนโยนและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คนไทยเป็นมิตรกับทุกคนและมืชื่อเสีงในการต้อนรับ คนไทยนิยมความจริงและช่วยเหลือกันในการมีความสัมพันธระหว่างกันและไม่คิดเอาเปรียบผู้อื่น มีความเมตตาสงสารไม่ซ้ำเติมผู้แพ้ ถือเป็นคุณธรรมสำคัญยิ่งของคนไทย

(8) ความโอ่อ่า ลักษณะนี้สืบเนื่องมาจากความเชื่อมั่นและหยิ่งในเกียรติของตนเอง คนไทยนั้นถึงแม้ภายนอกจะดูฐานะต่ำ แต่ในใจจริงเต็มใจยอมรับว่าตัวเองต่ำกว่าผู้อื่น ถือว่าตัวเองมีความสามารถเท่าเทียมกับผู้อื่นถ้าตนมีโอกาสเช่ยเดียวกัน คนไทยไม่ยอมให้มีการดูถูกกันง่าย ๆ และถือว่าตนมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้อื่นในฐานะเป็นมนุษย์คนหนึ่ง

ลักษณะที่กล่าวมานี้มักจะพบเห็นในพฤติกรรมและบุคลิกภาพของคนไทยลักษณะพิเศษของวัฒนธรรมไทยและประสบการณ์ที่คล้าย ๆ กัน ทำให้คนไทยมีลักษณะบางอย่างคล้ายกัน



ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย ความสำคัญของวัฒนธรรมไทยอาจสรุปได้ดังนี้

(1) วัฒนธรรมเป็นเครื่องสร้างระเบียบแก่สังคมมนุษย์ วัฒนธรรมไทยเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมของสมาชิกในสังคมไทย ให้มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนรวมถึงบผลของการแสดงพฤติกรรมตลอดจนถึงการสร้างแบบแผนของความคิด ความเชื่อและค่านิยมของสมาชิกให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน

(2) วัฒนธรรมทำให้เกิดความสามัคคีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สังคมที่มีวัฒนธรรมเดียวกันย่อมจะมีความรู้สึกผูกพันเดียวกัน เกิดความเป็นปึกแผ่น จงรักภักดีและอุทิศตนให้กับสังคมทำให้สังคมอยู่รอด

(3) วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบัน เช่น รูปแบบของครอบครัวจะเห็นได้ว่าลักษณะของครอบครัวแต่ละสังคมต่างกันไป ทั้งนี้เนื่องจากวัฒนธรรมในสังคมเป็นตัวกำหนดรูปแบบ เช่น วัฒนธรรมไทยกำหนดเป็นแบบสามีภรรยาเดียว ในอีกสังคมหนึ่งกำหนดว่าชายอาจมีภรรยาได้หลายคน หรือหญิงอาจมีสามีได้หลายคน ความสัทพันธ์ทางเพศก่อนแต่งงานเป็นสิ่งที่ดีหรือเป็นเรื่องขัดต่อศีลธรรม

(4) วัฒนธรรมเป็นเครื่องมือช่วยแก้ปัญหา และสนองความต้องการของมนุษย์ มนุษย์ไม่สามารถดำรงชีวิตภายใต้สิ่งแวดล้อมได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นมนุษย์ต้องแสวงหความรู้จากประสบการณ์ที่ตนได้รับการประดิษฐ์คิดค้นวิธีการใช้ทรัพยากรนั้นให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตและถ่ายทอดจากสมาชิกรุ่นหนึ่งไปสู่สมาชิกรุ่นต่อไปได้โดยวัฒนธรรมของสังคม

(5) วัฒนธรรมช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า หากสังคมใดมีวัฒนธรรมที่ดีงามเหมาะสม เช่น ความมีระเบียบวินัย ขยัน ประหยัด อดทน การเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว เป็นต้น สังคมนั้นย่อมจะเจริญก้าวหน้าได้อย่างรวดเร็ว

(6) วัฒนธรรมเป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ คำว่า เอกลักษณ์ หมายถึง ลักษณะพิเศษหรือลักษณะเด่นของบุคคลหรือสังคม ที่แสดงว่าสังคมหนึ่งแตกต่างไปจากอีกสังคมหนึ่ง เช่น วัฒนธรรมการพบปะกันในสังคมไทย จะมีการยกมือไหว้กันแต่ในสังคมญี่ปุ่น

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ17 กรกฎาคม 2558 เวลา 19:45

    ดีมากค่ะ ขอบคุณที่ให้ข้อมูลให้ทำรายงาน

    ตอบลบ
  2. กรุณาแก้ใขคำบางที่ผิดมีมาก ใน 100 ธรรมคำคม และเอกลักษณ์นี้ก็เหมือนกัน ,,แต่ในสังคมญี่ปุ่น,,จะว่ายังไงต่อ

    ตอบลบ

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น