พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
ประยูร ธมฺมจิตฺโต พระธรรมโกศาจารย์ ผู้เด่นปรัชญา |
ประวัติอธิการบดี มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
(พระธรรมโกศาจารย์ ประยูร ธมฺมจิตฺโต)
เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2498 อุปสมบท พ.ศ. 2519 พรรษา 34 อายุ 55 วัด วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
จังหวัด กรุงเทพมหานคร สังกัด มหานิกาย
วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก, ป.ธ. ๙ (นาคหลวง),
พธ.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 1), M.A., Ph.D
ตำแหน่งงานคณะสงฆ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เจ้าคณะภาค 2, คณะเลขานุการคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช, เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
พระธรรมโกศาจารย์ (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต ) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร, อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยคนปัจจุบัน, เจ้าคณะภาค 2 และคณะเลขานุการของคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
พระธรรมโกศาจารย์ เกิดเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2498 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 12 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ท่านสอบไล่ได้ เปรียญธรรม 9 ประโยค อันเป็นลำดับชั้นสูงสุดของการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย ขณะยังเป็นสามเณร ทำให้ท่านได้เป็นนาคหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยได้รับการอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาท่านได้ศึกษาต่อจนจบการศึกษาปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาปรัชญา (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และจบการศึกษาในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาปรัชญา จากมหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดีย (นอกจากนี้ ท่านยังศึกษาจนได้รับประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศส จากมหาวิทยาลัยเดลีอีกด้วย)
พระธรรมโกศาจารย์ เป็นพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการของประเทศไทยรูปหนึ่ง ที่มีผลงานคำบรรยายธรรมและหนังสือออกมาเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน และด้วยการที่ท่านเป็นพระนักปกครองและพระนักพัฒนาด้านการศึกษา ทำให้ท่านได้รับรางวัลและดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากหลายสถาบันทั้งในและนอกประเทศ
ปัจจุบันพระธรรมโกศาจารย์ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีและศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และจำพรรษาอยู่ที่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร
ประวัติพระธรรมโกศาจารย์ เดิมชื่อ ประยูร มีฤกษ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 เดือนกันยายน พ.ศ. 2498 จังหวัดสุพรรณบุรี และบรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 12 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2519 ท่านสำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดในด้านบาลีศึกษาของประเทศไทย คือสอบได้เปรียญธรรมประโยค 9 ประโยค ขณะเป็นสามเณรและได้รับการอุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะ นาคหลวง
สองปีต่อมา ท่านได้รับปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาปรัชญา เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลังจากนั้น ท่านได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดีย ได้รับประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศส ปริญญาโทและปริญญาเอก สาขาปรัชญา วิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกของท่านซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษและได้รับการตีพิมพ์ในชื่อเรื่องว่า “อนัตตาในปรัชญาอัตถิภาวนิยมของซาตร์และในพุทธศาสนาดั้งเดิม” มีการพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง
หลังจากที่จบปริญญาเอก ท่านได้เป็นอาจารย์ประจำที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยระยะหนึ่ง ในปี 2529 ท่านได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคมให้ไปเป็นพระธรรมทูต ประจำวัดธัมมาราม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา และกลับมารับตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิชาการ และเป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยท่านแรก และได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจากสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. 2540 และในปีถัดมาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะภาค 2 รับผิดชอบเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดอยุธยา จังหวัดสระบุรี จังหวัดอ่างทอง
นอกจากงานปกครองคณะสงฆ์แล้ว ท่านยังเป็นพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการของประเทศไทยรูปหนึ่ง ได้นิพนธ์หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญากว่า 60 เล่ม งานพิมพ์ต่าง ๆ ของท่านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งหนังสืออื่น ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ปรัชญากรีก พุทธวิธีสร้างสันติภาพ จริยธรรมชาวพุทธ โลกทัศน์ของชาวพุทธ และ วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลสหประชาชาติ
ท่านได้รับเชิญให้กล่าวบรรยายธรรมทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ และได้รับเชิญให้บรรยายธรรมเป็นประจำทุกปีทั่วประเทศและทั่วโลกตั้งแต่ 20 ปีที่แล้วมา ซึ่งรวมทั้งการบรรยายธรรมเป็นชุดต่อเนื่องในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2537 เป็นผู้แทนของประเทศไทยเสนอบทความทางวิชาการ ในที่ประชุมใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ที่กรุงเทพมหานคร และในที่ประชุมสัมมนาผู้นำทางศาสนาที่จัดเนื่องในการประชุมใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2543 ท่านได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง “พุทธทัศนะสลายความขัดแย้ง” ในการประชุมสุดยอดผู้นำทางศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อสันติภาพโลก ณ องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา สามเดือนต่อมาท่านได้บรรยายพิเศษเรื่อง “การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพของโลก” ในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลกครั้งที่สอง ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย
ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาท่านได้รับอาราธนาไปบรรยายธรรม และแสดงปาฐกถาเป็นภาษาอังกฤษจำนวนหลายครั้งในที่ประชุมนานาชาติในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ
ด้วยการเป็นที่ยอมรับในงานบทความด้านวิชาการและการสละอุทิศตน เพื่อสังคมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของท่าน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยจึงพระราชทานตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาปรัชญาแก่ท่าน ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ท่านได้เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลก ครั้งที่สอง จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 9 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
นอกจากนี้ ท่านยังเป็นประธานคณะกรรมการจัดประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่งโลก ณ พุทธมณฑล และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ระหว่างวันที่ 12 -14 มิถุนายน พ.ศ. 2545
สองปีต่อมา ท่านได้ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานการประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่งโลก พร้อมกับการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำเยาวนเพื่อสันติภาพแห่งโลก ณ พุทธมณฑล ระหว่างวันที่ 24-29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 และเป็นประธานคณะกรรมการจัดงาน การประชุมการทำงานร่วมกันชาวพุทธนานาชาติ ครั้งที่หนึ่ง หัวข้อ “เอกภาพและความร่วมมือของชาวพุทธ” ณ พุทธมณฑล และศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 16-20 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 และจากนั้นเป็นต้นมาก็เป็นแกนหลัก และประธานการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลกที่ประเทศไทย และเป็นประธานคณะกรรมการการจัดงานประชุมนานาชาติ วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่สอง และครั้งที่สาม อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2548และ พ.ศ. 2549 ตามลำดับ
หลังจากการจัดประชุมวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2548 ประมุขสงฆ์และผู้นำชาวพุทธทั่วโลกได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมรับรองให้พุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก
ท่านเป็นประธานคณะกรรมการการจัดงานการประชุมนานาชาติ ครั้งที่สี่ วันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 -29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ภายหลังการประชุมท่านได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ
เดิมท่านเป็นที่รู้จักกันในนามของพระมหาประยูร มีฤกษ์ พระเมธีธรรมาภรณ์ พระราชวรมุนี พระเทพโสภณ ด้วยการที่ท่านเป็นที่ยอมรับในเรื่องการสนับสนุนส่งเสริมต่าง ๆ แก่คณะสงฆ์และสังคมอย่างกว้างขวาง เมื่อวันที่ 5 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ท่านได้รับพระบรมราชโองการ เลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี.
เกียรติคุณที่ได้รับ บทความนี้มีลักษณะเหมือนประวัติสมัครงาน คุณสามารถร่วมแก้ไขปรับปรุงได้ โดยเขียนให้มีลักษณะเป็นสารานุกรมมากยิ่งขึ้น
พ.ศ. 2537 ได้รับรางวัลคนดีศรีสังคม จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2539 ได้รับรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัลมหิดลวรานุสรณ์
พ.ศ. 2541 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาการศึกษา จากมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2544 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา จากมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2547 ได้รับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนา จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2548 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารองค์การจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม
พ.ศ. 2548 ได้รับรางวัลกิตติคุณเสมาคุณูปการ จากกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2548 ได้รับเข็มกิตติคุณสถาบันพระปกเกล้า
พ.ศ. 2548 ได้รับพระราชทานรางวัลศาสตรเมธี สาขาศึกษาศาสตร์ ด้านการบริหารการศึกษา จากมูลนิธิศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร
พ.ศ. 2550 ได้รับเกียรติบัตรศิษย์เก่าดีเด่นเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา
พ.ศ. 2551 สภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ถวายปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ภาษาอังกฤษ)
พ.ศ. 2551 สภามหาวิทยาลัยวงษ์เชาวลิตกุล ถวายปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. 2552 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง "พระธรรมโกศาจารย์" อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอัคฆวิทยา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2552[1]
[แก้] ผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือพ.ศ. 2526 (1) เปรียบเทียบแนวคิดพุทธทาสกับซาตร์
พ.ศ. 2530 (2) พระพุทธประวัติ
พ.ศ. 2531 (3) Sarte's Existentialism and Early Buddhism
พ.ศ. 2532 (4) A Buddhist Approach to Peace (5) ไตรลักษณ์ในชีวิตประจำวัน
พ.ศ. 2533 (6) พุทธศาสนากับปรัชญา (7) ระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ไทย (8) ปรัชญากรีก
พ.ศ. 2534 (9) พัฒนาชีวิตด้วยแนวคิดเชิงคุณธรรม (10) พรใดก็ไร้ค่าถ้าไม่ทำ
พ.ศ. 2535 (11) ด้วยความหวังและกำลังใจ (12) กรรม การเวียนว่ายตายเกิด (13) ธรรมานุสรณ์วีรชนประชาธิปไตย
พ.ศ. 2536 (14) คุณธรรมสำหรับนักบริหาร (15) ทางแห่งความสำเร็จ (16) ปรัชญาแก้เซ็งและสร้างสุข (17) ทำความดีมีความสุข (18) ธรรมเพื่อชีวิตใหม่ (19) มองสังคมไทย
พ.ศ. 2537 (20) ปรัชญากรีก บ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก (21) ความรักในหน้าที่ (22) อภิธรรมาวตาร (ประธานคณะผู้ปริวรรต) (23) อยู่อย่างไรให้เป็นสุข (24) Buddhist Morality
พ.ศ. 2538 (25) สุขภาพใจ (26) สติในชีวิตประจำวัน (27) วิมุตติมรรค (ประธานคณะผู้แปล) (28) สร้างฝันให้เป็นจริง (29) ธรรมะและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
(30) จรรยาบรรณของข้าราชการ (31) การควบคุมสัญชาตญาณ
พ.ศ. 2539 (32) มธุรตฺถปกาสินี นาม มิลินฺทปญฺหฏีกา (ประธานปริวรรต) (33) การบำเพ็ญและสร้างสมบารมี (34) พระพุทธศาสนาในยุคโลกาภิวัตน์ (35) ธรรมมงคลแห่งชีวิต
(36) อนุทินธรรมะ : ธรรมะสำหรับ 365 วัน
พ.ศ. 2540 (37) มณีแห่งปัญญา (38) ขอบฟ้าแห่งความรู้
พ.ศ. 2541 (39) ปลุกปลอบใจในยามวิกฤต (40) วิทยาศาสตร์ในทรรศนะของพระพุทธศาสนา
พ.ศ. 2542 (41) พระธรรมเทศนากัณฑ์พิเศษ (42) เพื่อน (43) การคณะสงฆ์กับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2543 (44) จักรพรรดิธรรม (45) กระบวนการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา (46) A Buddhist Worldview (โลกทัศน์ของชาวพุทธ)
พ.ศ. 2545 (47) กรอบความคิดในการจัดทำสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาในหลักสูตรใหม่
พ.ศ. 2546 (48) พุทธธรรมเพื่อการพัฒนา (49) ทิศทางการศึกษาไทย (50) Buddhism in Contemporary Thailand (พระพุทธศาสนาในประเทศไทยสมัยปัจจุบัน)
(51) วัดประยุรวงศาวาสกับราชนิกุลบุนนาค
พ.ศ. 2547 (52) International Recognition of the Day of Vesak (วิสาขบูชา วันสำคัญสากล ของสหประชาชาติ) (53) มหาราชนักปฏิรูป
(54) พระพุทธศาสนา : การวิจัย
พ.ศ. 2548 (55) ธรรมรักษาใจสู้ภัยสึนามิ (56) อานุภาพพระปริตร (57) พุทธวิธีบริหาร (58) การเผยแผ่เชิงรุก
พ.ศ. 2549 (59) พุทธทาส บุคคลสำคัญของโลก (60) พระพุทธศาสนากับความสมานฉันท์แห่งชาติ (61) Dharma for Love and Marriage (ธรรมกับความรักและการแต่งงาน)
พ.ศ. 2550 (62) เยือนสยามนิกายในศรีลังกา
พ.ศ. 2550 (63) พระบรมสารีริกธาตุที่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
พ.ศ. 2551 (64) สาระนโยบายพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน (65) สืบสานตำนานสาริกาป้อนเหยื่อ (66) ทำอย่างไรจึงเรียนเก่ง (67) สืบสานตำนานสาริกาป้อนเหยื่อ (68) หลักการและวิธีการเทศนา
แสดงพระธรรมเทศนาพระธรรมเทศนา ว่าด้วยการกำจัดมลทิน
พระธรรมเทศนา จิตนิคหกถา ว่าด้วยการข่มจิต
พระธรรมเทศนา อเวรกถา ว่าด้วยการไม่จองเวร
[แก้] บรรยาย-ปาฐกถาความขัดแย้งในสังคมไทย
ปาฐกถาธรรม เรื่อง "ธรรมาธิปไตย"
ปาฐกถาธรรมหัวข้อเรื่อง "ดวงตาเห็นธรรม"
[แก้] บันทึกวีดิทัศน์"ทิศทางการสอนศีลธรรมในยุคปัจจุบัน"
พระธรรมโกศาจารย์ เยือนสหภาพพม่า ถวายสมณศักดิ์ที่ อัคคมหาสัทธัมมโชติกะธชะ แก่พระธรรมโกศาจารย์
พระธรรมโกศาจารย์ เยือนประเทศอียิปต์ พบผู้นำศาสนาอิสลามอย่างเป็นทางการ นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งแรกของคณะสงฆ์ไทย
บทความจากสื่อสารมวลชนอธิการบดีมจร."จี้พระนักเผยแผ่อย่ามัวแต่จำวัด"
วิสาขบูชาโลก ดึงคนเข้าใกล้ธรรม
ปาฐกถาพระธรรมโกศาจารย์ ชี้ "งานวิจัยคุณธรรม" ใช้ประโยชน์ได้จริง
อ้างอิง^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์, เล่ม ๑๒๖, ตอนพิเศษ ๖๒ ง, วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒, หน้าที่ ๓๑
http://www.watprayoon.org/
http://www.watprayoon.org/index.php?topgroupid=1&groupid=61
http://www.watprayoon.org/index.php?topgroupid=1&subgroupid=459&groupid=61
http://www.watprayoon.org/index.php?topgroupid=1&subgroupid=458&groupid=61
http://www.watprayoon.org/index.php?topgroupid=1&subgroupid=457&groupid=61
http://www.watprayoon.org/index.php?topgroupid=1&subgroupid=456&groupid=61
http://www.watprayoon.org/index.php?topgroupid=1&subsubgroupid=455&groupid=61โดย ทองพริกวิกิพีเดีย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ