จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ใจเข้าถึงพุทธ ดับภาวะโลกร้อน

     สาระธรรมกับชีวิตในวันนี้ ก็จะมาบรรยายกันในเรื่อง ที่เป็นปัญหาอยู่ เช่นเคย เพราะศาสนาพุทธ ในการที่จะสอนอะไรก็แล้วแต่ ที่เป็นเริ่ม แรก ก็ไม่พ้นเรื่องทุกข์ ถ้าไม่มีทุกข์ ที่ แปลว่า การทนได้อยาก มันก็จะไม่พบกับสภาพความเป็นจริง ในบางสิ่งบางอย่าง ที่จะทำให้เราเข้าใจอะไรเป็นอะไร ในสิ่งที่เรียกว่า สิ่งนี้ สิ่งนั้น มันทำให้เรามีความทนได้อยาก เมื่อรู้ขึ้นมา ว่านี้แหละที่ทำให้เราเป็นทุกข์ มองเห็นอย่างถี่ถ้วน ว่า เหตุของการเกิดทุกข์ นั้น คืออะไร ในทางพระเรียกว่า สมุทัย คือ เหตุเกิดทุกข์ ซึ่งเหตุเกิดทุกข์จะมาในรูปแบบทั้งสิ่งภายนอก และสิ่งภายในที่จะทำให้เกิด โดยอายตนะทั้งภายใน ภายนอก ที่เรียกว่า ภายใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไปสัมผัสกระทบ อายตนะภายนอก ทาง รูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ และ ธรรมารมณ์ ทั้งสิ่งที่รับรู้ ทั้ง รูปธรรม ที่เป็นวัตถุให้เรา ปรุงเเต่ง เช่น เงิน ทอง เครื่องประดับ เป็นต้น  และนามธรรม ที่ทำให้เรานึกคิดปรุงแต่งให้ทุกข์ เช่น การนินทา อำนาจ ลาภ ยส สรรเสริญ อิจฉา โกรธเกลียด อารมณ์ในความรู้สึกที่ไม่พอใจทั้งหลายและเสวยเสพทั้งหลายโดยไปตามกิเลสตัณหา ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ เรียกว่า ธรรมมะ คือ ตัวธรรมชาติ หรือ เรียกโดยรวมว่า สภาวะธรรม (อาตมภาพต้องใช้ทฤษฏี ธรรมมะ ๔ ความหมาย ของท่านพุทธทาสในการที่จะโยงปัญหา หนึ่ง) ทีนี้ก็มาโยงเข้า กับปัญหา ปัญหาหนึ่ง ที่มนุษย์ส่วนใหญ่ในโลก มีความรู้สึกกันว่า โลกกลมๆที่เราเหยียบอยู่นี้ มันมีการเปลี่ยนแปลงให้โลก มีอุณหภูมิร้อนขึ้น จนว่ามนุษย์ มีความทนได้อยากกับสภาวะธรรมแวดล้อมภายนอก มากระทบซึ่งประสาทสัมผัสกายภายนอกของมนุษย์ ที่เรียกเมื่อกี้ว่า อายตนะภายนอก โผฏฐัพพะ มากระทบปรุงแต่ง อายตนะภายใน เกิดความรู้สึกขึ้นมาหรือภาษาพระเรียกว่า เวทนา ที่ทำให้กาย ใจ ทุรนทุราย เลยรู้สึกว่าโลกนี้มันร้อน เกิด ภาวะโลกร้อน ดังนั้นไอ้ที่เรียกว่า โลกร้อนมันก็เป็นในความรู้สึก โดยสภาวะธรรมชาติในร้างกายไม่สมดุลกับสภาวะธรรมชาติภายนอก มันก็เกิดอาการขึ้นมา ว่าโลกร้อน ถ้าให้มองอีกอย่างหนึ่ง ว่าความรู้สึกในใจของคนไม่เหมือนกันในการรับรู้ เช่น นักเรียนคนผอม กับ นักเรียนคนอ้วนๆ กับนักเรียน ร่างกายพอดีๆ นั่งเรียนหนังสือในห้อง ไอ้เด็กที่อ้วน จะเหงื่อออกเต็มตามตัวตามใบหน้าและมันก้ต้องบ่นว่าร้อน โดยไอ้คนที่ผอมมันไม่มีความรู้สึกเลย อีกคนหนึ่ง มีความรู้สึก ร่างกายปกติไม่ร้อนมาก แม้สัตว์ที่อยู่ในทะเลทราย มันอยู่กับความร้อนได้ โดย เป็นสภาวะธรรมชาติของมัน โดยเราก็ยังเห็นว่า ธรรมชาติภายนอก ดิน น้ำ ลม ไฟ มันก็เป็นอยู่ของมัน อยู่เช่นนั้น ความร้อนหนาวแต่ระดับของเรา มันก็อยู่ในความรู้สึกที่กล่าวมา ข้างต้น แม้เราจะถามคนอื่นบางคนว่า เธอ รู้สึกร้อนไหม เพื่อนมันตอบว่าฉันไม่รู้สึกร้อนเฉยๆ นี้เราจะมองสาเหตุในความรู้สึกมนุษย์กันเช่นนี้ ส่วน ภาวะโลกร้อนทางโลกในทางวิทยาสาสตร์ ก็จะมองกันในแง่ อุณหภูมิ การเพิ่ม ระดับความร้อน ที่เครื่องมือการวัดมันบอก ที่เอาความรู้สึกร้อนของมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นมาตรฐาน สิ่งที่กล่าวมานี้ทั้งหมด เรียกว่า การรู้ถึงสภาวะธรรม ของ วิกฤตโลกร้อน เรียกว่า รู้ความหมาย ธรรมมะ ข้อที่ หนึ่งที่เรียก ว่า ธรรมชาติ นั้นเอง ไอ้สิ่งอื่นๆก็เช่นกันทั้งหลายที่เป็นปัญหาทั้งหมด ต้องรู้สภาวะเช่นนี้  ต่อมา เราต้องทำความเข้าใจว่า สาเหตุที่เกิดวิกฤติโลกร้อน ที่ทางวิทยาศาสตร์เขาบอกและบวกกับความรู้สึกของเรา นั้น มันเกิดมาจากเหตุปัจจัยอะไร ที่เป็นสาเหตุให้เรื่องมันเดินทางมาสู้ปัญหา อาจจะมองให้ลึกเข้าไปว่า
ในข้อที่ ๒ ธรรมมะ ที่แปลว่า กฏธรรมชาติ   
๑.จะเกิดจากธรรมชาติตามปัญหาของมันเอง ที่เรียกว่า กฏของธรรมชาติ
๒.หรือมนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่ไปเกี่ยวข้องให้เกิดการเช่นนี้ ตามความเห็นแก่ตัว โดยเจตนารับรู้ หรือไม่รับรู้ก็ตาม ก็มองดูสิว่า เราทำอะไรที่ก่อ เหตุปัจจัยให้เกิดภาวะ เช่นนี้ ทั้งสองข้อที่กล่าวมา เราเรียกว่า การเห็นสัจธรรมและสภาวะธรรมของมันตามความเป็นจริง คือ การรู้ทุกข์และก็รู้ สาเหตุของการเกิดทุกข์ เรียกว่า รู้อริยสัจสี่ คือทุกข์ และสมุทัย นั้นเอง  เมื่อรู้เช่นนี้ก็ต้องดำเนินไปตามลำดับ ของธรรมะ
ข้อที่ ๓ ที่เรียกว่า ธรรมะ คือ หน้าที่ หรือ บทบาทของธรรมชาติ ที่ว่ามันเชื่อมโยงกับข้อ ที่เรียกว่าเข้าใจ สัจธรรมของธรรมชาติ ที่เรา มองเห็นสาเหตุของการเกิดปัญหาวิกฤติโลกร้อน (สมุทัย) เราก็ต้องมาทำหน้าที่ให้ถูกต้องกับธรรม เรียกว่า การปฏิบัติธรรม คือ จะต้องกำจัดและแก้ปัญหา ที่เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดภาวะเช่นนี้ จะแก้ปัญหาความรู้สึกจากใจ ที่ปรุงแต่ง ให้เกิดเวทนา อย่างที่ปฏิบัติลึกถึงธรรมที่สุด ที่เห็นว่ากายเป็นสภาวะมีความรู้สึกเป็น ธรรมดาตามธรรมชาติแต่ใจอย่าไปเกี่ยวทุกข์เสริมเติมแต่งย้ำทุกข์เข้าไปด้วย ส่วนนี้สำหรับคนที่ปฏิบัติจนเข้าใจคำว่า พุทธะจริงๆที่จะทำได้  ส่วนพวกเราชาวโลกที่จะต้องทำคือ แก้ไขที่เราเอง หยุด สาเหตุจากตัวเราที่จะทำในสิ่งต่างๆให้เกิด สภาวะโลกร้อน ตามที่สมควรจะทำ เช่น การทิ้งขยะ เผาขยะ ใช้ไฟฟ้าฟุ่มเฟื่อย ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เผาป่า ทำลายต้นไม้ และอีกหลายสาเหตุ และ รณรงค์ช่วยกันที่จะรักษาและเพิ่มสภาวะดีให้กับธรรมชาติ เช่น การปลูกป่า แม้แต่การสร้างสิ่งที่ตอบสนองร่างกายให้ปรับสภาพความร้อนให้เราอยู่ได้ เดี่ยวนี้ มีอยู่ เช่น แอร์ พัดลม แต่ก็ต้องทำให้สมดุลทั้งหมดในที่กล่าวมา ให้เรียกว่า "การปฏิบัติธรรมคือการปฏิบัติหน้าที่ ถ้าไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ที่ควรจะเป็นมนุษย์ก็จะอยู่กับธรรมชาติไม่ได้" เมื่อรู้ เหตุปัจจัย และแก้เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด สภาวะโลกร้อนแล้ว ผลสุดท้ายที่ตามมา คือ ตัวธรรมะ ข้อที่ ๔  ที่ เรียกว่า ธรรมะ คือ ผลของธรรมชาติ ในที่นี้ก็คือ ผลของ ธรรมมะข้อที่ ๓ ที่เรียกว่า หน้าที่ หรือ การปฏิบัติธรรม ถูกต้องกับธรรมชาตินั้นเอง มันจึงเป็น อริยสัจ ๔ ที่เรียกในข้อนี้ว่า ปฏิเวธธรรม และ จะต้องดำรงปฏิบัติ ตาม ธรรมะที่บรรยายอยู่ข้างต้นนั้น อยู้เรื่อยไป จนเห็นว่า รอดพ้นจากวิกฤติโลกร้อนนี้ได้ จนถึง อริยสัจข้อที่ ๔ ที่เรียกว่ามรรค ที่เกิด จากเหตุปัจจัยที่ดำเนินมาแต่ละขั้นตอน หรือ สูตรทางพุทธที่เรียกว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
โดยตามลำดับ อริสัจ ๔ โดยธรรมชาติของมัน การดับทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง แม้ไอ้เรื่องสภาวะโลกร้อน รวมสรุปกำจัดไปได้ เรียก อริสัจ สั้นๆนี้ว่า อิทัปปัจจยตา สิ่งใดเกิดแต่เหตุสิ่งนั้นย่อมดับแก่เหตุเช่นนั้น    นี้จึงเป็นเหตุ เห็นโดยแท้จริง ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ค้นพบ ทฤษฏีที่ เป็นธรรมชาติโดยไม่มีใครในโลกที่จะแก้ได้ การที่เอาใจเข้าถึงพุทธะ ที่เรียก ว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถ้าเราทั้งหลาย เห็นเข้าตามใน อริสัจ หรือ อิทัปปัจยตา อย่างปัญหาทุกเรื่องใดๆก็แล้วแต่ ใจมันก็จะ เข้าถึงคำว่า พุทธะ ตามความหมาย อะไรๆในโลกก็จะแก้ปัญหาได้หมดทั้นสิ้นจนไปถึงความหลุดพ้น สิ้นอาสวะสูงสุดทางพุทธศาสนาทีเดียว แม้ภาวะโลกร้อน เช่นนี้ ก็เป็นเรื่อง เล็กๆที่มนุษย์ส่วนใหญ่เข่าใจถึงพุทธะ แม้จะมากจะน้อย ก็จะทำให้แก้ปัญหาวิกฤติโลกร้อนนี่ไปได้อย่างสบายๆ ไอ้ความเห็นแก่ตัวหมดไป มีสามัญสำนึกรู้สิ่งที่ ควรทำ และการกระทำที่จะเห็นประโยชน์อันถูกต้องแก่ประโยชน์ของสังคม ประเทศ จนไปถึงคำนึง ว่าเห็นประโยชน์ของโลกนั้นเอง.
                                             บรรยายโดย อุตฺตมสาโร ภิกขุ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น