จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติบุคคลสำคัญทางพุทธศาสนา พระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 27

๒.ประวัติบุคคลสำคัญทางพุทธศาสนา  พระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 27
พระนารายณ์มหาราชกับพุทธศาสนา



สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระนารายณ์ราชกุมาร
พระปรมาภิไธย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์ ราชวงศ์ปราสาททอง
ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231
ระยะครองราชย์ 32 ปี
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
รัชกาลถัดไป สมเด็จพระเพทราชา
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ พ.ศ. 2175
สวรรคต 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231
พระราชบิดา สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
พระราชมารดา พระนางเจ้าสิริกัลยาณี อัครราชเทวี
พระราชโอรส/ธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ (พ.ศ. 2175 - พ.ศ. 2231 ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่เลื่องลือพระ เกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนของชาวต่างชาติและรับผลประโยชน์ ทั้งทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ ยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและงานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุด ในยุคนั้น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัยราชสมบัติ ณ ราชอาณาจักรศรีอยูธยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปในทางเกี่ยวข้องกับชาวต่าง ประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้วยในขณะนั้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และอยู่ในราชอาณาจักรไทยมากว่าที่เคยเป็นมาในกาลก่อน ที่สำคัญมาก คือ ชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ และผู้คน ตลอดจน มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ เหนือกว่าชาวเอเซียมาก และชาวยุโรปเหล่านี้กำลังอยู่ในสมัยขยายการค้า ลัทธิคริสต์ศาสนา และอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่ดินแดนตะวันออก

ในรัชสมัยของพระองค์์นั้น ชาวฮอลันดาได้ กีดกันการเดินเรือค้าขายของไทย ครั้งหนึ่งถึงกับส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขู่จะระดมยิงไทย จนไทยต้องผ่อนผันยอมทำสัญญายกประโยชน์การค้าให้ตามที่ต้องการ แต่เพื่อป้องกันมิให้ฮอลันดาข่มเหงไทยอีก สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงสร้างเมืองลพบุรีไว้เป็นเมืองหลวงสำรอง อยู่เหนือขึ้นไปจากกรุงศรีอยุธยา และเตรียม สร้างป้อมปราการไว้คอยต่อต้านข้าศึก เป็นเหตุให้บาทหลวงฝรั่งเศสที่มีความรู้ทางการช่าง และต้องการเผยแผ่คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก ได้เข้ามาอาสาสมัครรับใช้ราชการจัดกิจการเหล่านี้ ข้าราชการฝรั่งที่ทำราชการมีความดีความชอบในการปรับปรุงขยายการค้าของไทยขณะ นั้นคือ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ ซึ่งกำลังมีข้อขุ่นเคืองใจกับบริษัทการค้าของอังกฤษที่เคยคบหาสมาคมกันมา ก่อน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ จึงดำเนินการเป็นคนกลาง สนับสนุนทางไมตรีระหว่างสมเด็จพระนารายณ์กับทางราชการฝรั่งเศส ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชวงศ์บูร์บงฝ่าย สมเด็จพระนารายณ์กำลังมีพระทัยระแวงเกรงฮอลันดายกมาย่ำยี และได้ทรงทราบถึงพระเดชานุภาพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในยุโรปมาแล้ว จึงเต็มพระทัยเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ไว้ เพื่อให้ฮอลันดาเกรงขาม ด้วยเหตุนี้ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จึงได้มีการส่งทูตฝรั่งเศสไปสู่พระราชสำนักฝรั่งเศส และต้อนรับคณะทูตฝรั่งเศสอย่างเป็นงานใหญ่ถึงสองคราว แต่การคบหาสมาคมกับชาติมหาอำนาจคือฝรั่งเศสในยุคนั้น ก็มิใช่ว่าจะปลอดภัยนัก ด้วยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระราโชบายที่จะให้สมเด็จพระนารายณ์ และประชาชนชาวไทยรับนับถือคริสต์ศาสนา ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสนำมาเผยแผ่ โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงส่งพระราชสาสน์มาทูลเชิญสมเด็จพระนารายณ์เข้ารับ นับถือคริสต์ศาสนาพร้อมทั้งเตรียมบาทหลวงมาไว้คอยถวายศีลด้วย แต่สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงใช้พระปรีชาญาณตอบปฏิเสธอย่างทะนุถนอมไมตรี ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์ที่มีพระทัยรักใคร่พระองค์ถึงแสดงพระปรารถนาจะให้ ร่วมศาสนาด้วย แต่เนื่องด้วยพระองค์ยังไม่เกิดศรัทธาในพระทัย ซึ่งก็อาจเป็นเพราะพระเป็นเจ้าประสงค์ที่จะให้นับถือศาสนาคนละแบบคนละวิธี เช่นเดียวกับที่ทรงสร้างมนุษย์ให้ผิดแผกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือทรงสร้างสัตว์ให้มีหลายชนิดหลายประเภทก็ได้ หากพระเป็นเจ้ามี พระประสงค์จะให้พระองค์ท่านเข้ารับนับถือศาสนาตามแบบตามลัทธิที่พระเจ้า หลุยส์ทรงนับถือแล้ว พระองค์ก็คงเกิดศรัทธาขึ้นในพระทัย และเมื่อนั้นแหละ พระองค์ท่านก็ไม่รังเกียจที่จะทำพิธีรับศีลร่วมศาสนาเดียวกัน
วิชาพระพุทธศาสนา ม.5 : ความหนักแน่นทางพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเห็นได้ชัดเมื่อมีการเผยแผ่ศาสนาคริสต์มายังประเทศไทย บาทหลวงของศาสนาคริสต์ได้นำหลักคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลมาให้พระองค์ทรงศึกษา วันหนึ่งมีบาดหลวงถือไม้เท้ามีไม้กางเขนอันใหญ่เหมือนกับโป๊ปถือเข้าไปเฝ้าพระองค์ บอกกับพระองค์ว่า “ถึงเวลาแล้ว เพราะหว่าพระองค์ทรงรู้เรื่องของพระผู้เป็นเจ้า ของพระเยซูคริสต์ดีแล้ว ควรจะรับศีลเป็นคาธอลิคเสียที” พระองค์ทรงตอบว่า ถ้าพระผู้เป็นเจ้าในคัมภีร์ของทานมีอยู่จริง มีอำนาจพิเศษจริง ๆ พระผู้เป็นเจ้าของท่านก็คงทราบว่าประเทศไทยนี่ เป็นเมืองนับถือพระพุทธศาสนา แล้วพระผู้เป็นเจ้าให้ข้าพเจ้ามาเกิดในประเทศไทยก็เท่ากับว่าให้มาเป็นหัวหน้าของพุทธบริษัท นับถือพระพุทธศาสนา ถ้าข้าพเจ้าเปลี่ยนจิต เปลี่ยนมานับถือศาสนาคาทอลิคที่พวกท่านให้ข้าพเจ้านับถือ มันก็ขัดกับความต้องการของพระผู้เป็นเจ้า จะเป็นโทษเป็นบาป” (มูลนิธิเผยแพร่ชีวิตประเสริฐ, ม.ป.ป. :41-42)

คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง

1. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นแบบอย่างในการใช้ธรรมะนำการเมืองไทย ในสมัยนั้นมีการล่าอาณานิคม ท่านสามารถนำหลักธรรมะมาใช้ในการบริหารบ้านเมืองให้พ้นจากการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตกได้อย่างสง่างาม จึงทรงรักษาไว้ได้ทั้งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

2. ทรงมีพระทัยหนักแน่นในการนับถือพระพุทธศาสนา จะเห็นได้จากพระองค์ทรงปฏิเสธการเข้ารีตศาสนาคริสต์


     ทองพริก วิกิพีเดีย

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ6 ตุลาคม 2556 เวลา 03:45

    ฃอบอ่านประวัติของพระองคํท่านมากเลยน่าจะมีละครอิงประวัติศาสตรํเกี่ยวกับเรื่องนี้ย้าง

    ตอบลบ

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น