จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ตายอย่างมีสติ ตายอย่างไร รู้เรื่องความตาย

สังขารท่าน พุทธทาส ตัวอย่างของการปล่อยวาง

ความปรารถนาก่อนสุดท้าย ขอ...ตายอย่างมีสติ
“พรุ่งนี้กับชาติหน้า อย่างไหนมาถึงก่อน” ต่อคำถามนี้ ถ้าให้เวลาเพียงวินาทีเดียว คุณอาจจะโพล่งออกมาทันทีว่า “พรุ่งนี้”
แต่เมื่อไรที่คุณเริ่มใช้กระบวนการคิด คำตอบครั้งที่สองอาจไม่เหมือนเดิม
และแม้ว่ามันจะต่างจากคำตอบแรก นั่นก็อาจเป็นอีกหนึ่งครั้งที่ทำให้คุณ “ใส่ใจ” กับการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ณ วินาทีนี้มากยิ่งขึ้น
แต่ถึงกระนั้น คำตอบใหม่ที่ว่า “ไม่รู้/ไม่ทราบ/ไม่แน่...” ก็เป็นแค่คำพูด ซึ่งยังไม่มากพอที่จะ “ทำขณะนี้ ที่นี่ เดี๋ยวนี้...ให้ดีที่สุด” ได้
ดังนั้น การที่จะสรุปว่า ขณะนี้ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ คือ เวลาที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับชีวิตในวันหนึ่ง ๆ ก็คงไม่ผิดนัก ถ้าหากวานนี้(เมื่อวาน) คือ วันเวลาที่ผ่านพ้นไป และพรุ่งนี้ คือ วันเวลาที่ยังมาไม่ถึง
เพราะ วันนี้ ขณะนี้ ที่นี่ เดี๋ยวนี้เป็นวันเดียวเท่านั้นในจำนวนวันเวลาทั้งหมดของชีวิต เป็นวันเดียวที่คุณมีสิทธิเลือก “ความตาย” ให้กับตัวเอง
กล่าวกันว่า “ความตาย” แล้วความตายคืออะไร
ภิกษุทั้งหลาย ! มรณะ เป็นอย่างไรเล่า ?
มรณะ คือการจุติ
ความเคลื่อน
การแตกสลาย
การหายไป
การวายชีพ
การตาย
การทำกาละ
การแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย
การทอดทิ้งร่าง
การขาดแห่งอินทรีย์ คือชีวิตจากสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เรียกว่า มรณะ
แล้วเพราะอะไรมี “มรณะ” จึงมี
...เพราะมีชาติเป็นปัจจัย
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน...
...เพราะมีความดับแห่งชาติ นั่นแล
ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น...
หากไล่เรียงธรรมอันอาศัยกันและกันเกิดขึ้นตามสายปฏิจจสมุปบาททั้งสายการเกิด-การดับ คุณก็จะทราบว่า แท้จริงแล้ว “เหตุแห่งความตาย” ก็คือ การเกิด
คุณรู้ไหม “การเกิด” คืออะไร

ภิกษุทั้งหลาย ! ชาติ เป็นอย่างไรเล่า
?
ชาติ คือการเกิด
การกำเนิด
การก้าวลง
(สู่ครรภ์)การบังเกิด
การบังเกิดโดยยิ่ง
ความปรากฏของขันธ์ทั้งหลาย
การที่สัตว์ได้ซึ่งอายตนะทั้งหลาย ในสัตวนิกายนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ๆ
ภิกษุทั้งหลาย ! นี้ เรียกว่า ชาติ
กล่าวอย่างสั้นที่สุด ไม่ว่าชาตินี้หรือชาติไหน ๆ ทุกคนเกิดมามีหน้าที่ต้องตาย (สถานเดียว) เช่นเดียวกับพุทธวจนะ
“...สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่...
เป็นคนหนุ่มและคนแก่
เป็นคนพาลและบัณฑิต

มั่งมี และยากจน
ล้วนแต่มีความตายเป็นที่ไปถึงในเบื้องหน้า
เปรียบเหมือนภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นแล้วทั้งเล็กและใหญ่
ทั้งที่สุกแล้วและยังดิบ
ล้วนแต่มีการแตกทำลายเป็นที่สุด ฉันใด
ชีวิตแห่งสัตว์ทั้งหลายก็มีความตายเป็นเบื้องหน้า ฉันนั้น...”
แม้กระทั่งวันนี้ ความตายก็เกิดขึ้นกับหลายชีวิตทั่วโลก และในจำนวนนั้นก็มีไม่น้อยที่คาดไม่ถึงว่า วันนี้จะเป็นวันสุดท้ายของตัวเอง และ
ก็มีไม่น้อยเช่นกันที่เชื่อว่า ยังมีวันพรุ่งนี้สำหรับฉันเสมอ
 
ทั้ง ๆ ที่ความจริง วันพรุ่งนี้ มีไว้สำหรับชีวิตของใครบางคนเท่านั้น และใครบางคนที่ว่า ก็อาจไม่ใช่คุณและ/หรือ ไม่ใช่แม้กระทั่งคนที่คุณรัก (ภริยา/สามี ลูก พ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย) ก็ได้ นั่นเป็นเพราะอะไร ก็เพราะเหตุปัจจัยแห่งความตายของแต่ละคนมันต่างกัน และเหตุปัจจัยแห่งความตายนั้น ก็คือ กรรม(ทั้งกรรมเก่าและกรรมใหม่) นั่นเอง
ยิ่งไปกว่านั้น ทว่าคุณไม่เคยตั้งคำถามเรื่องความตายกับชีวิตเลย จนกระทั่ง...วันพรุ่งนี้
คนที่คุณรักตายลงตรงหน้า เฮ้ย ! คิดสิว่า อะไรจะเกิดขึ้นกับชีวิตของคุณต่อจากนี้
ความโศก ความร่ำไรรำพัน และความทุกข์ใจ ใช่ไหมละ นี่แหละ ๆ ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ทุกขอริยสัจ เป็นอย่างไรเล่า ?แม้ โสกะ ปริเทวะ... โทมนัส... ความตายก็เป็นทุกข์...
ในทางกลับกัน หากคุณเริ่มต้นเตรียมตัวตาย อย่างสม่ำเสมอ ทุก ๆ วัน ก่อนหน้าจะถึงวันสุดท้ายของชีวิต ลองเปรียบเทียบง่าย ๆ ว่า ระยะเวลาทำใจในข้อ 1 กับข้อ 2 อย่างไหนจะมากกว่ากัน
ซึ่งนั่น คือสิ่งที่คุณจะต้องเลือก คือ
ข้อ 1 เลือกที่จะเตรียมตัวตายแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่คุณและ/หรือคนที่คุณรักจะหมดลมหายใจ หรือไม่ข้อ 2 ก็ปล่อยให้ความตาย (ของคุณและ/หรือคนที่คุณรัก) เลือกที่จะเดินมา Surprise คุณอย่างคาดไม่ถึง/ตั้งตัวไม่ทัน (เมื่อรู้สึกตัวก็สายเสียแล้ว/ไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา)
หากคุณเลือกข้อ
2 ขอบคุณสำหรับการติดตาม เราคงจบกันเพียงเท่านี้ โชคดีกับความตายนะ !
แต่หากคุณเลือกข้อ 1 อย่างน้อยที่สุด นั่นก็เป็นไปเพื่อการได้อัตตภาพใหม่ คือ มนุษย์หรือเทวดา ในภพต่อไป ดังที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแก่พระสารีบุตรว่า
สารีบุตร ! เหล่านี้เป็นคติ (คือที่เป็นที่ไป) ห้าอย่าง คือนรก
กำเนิดเดรัจฉาน
เปรตวิสัย
มนุษย์
เทวดา
แต่การจะได้อัตตภาพใหม่อย่างใดอย่างหนึ่งในห้าอย่าง นั่นก็ขึ้นอยู่กับ อารมณ์(แห่งกาม) ที่บุคคลใคร่อยู่ ดังพุทธวจนะ
ภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลใคร่อยู่ซึ่งอารมณ์ (แห่งกาม) ใด เขากระทำอัตตภาพอันเกิดจากกามนั้น ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพ...
มีส่วนแห่งบุญ
มีส่วนแห่งอบุญ ก็ดี
ดังนั้น เมื่อพิจารณาพุทธวจนะข้างต้นคู่กัน เราก็จะทราบว่า
อัตตภาพมีส่วนแห่งบุญ (สุคติ) คือ มนุษย์ และเทวดา ส่วน
อัตตภาพมีส่วนแห่งอบุญ (ทุคติ) คือ นรก กำเนิดเดรัจฉาน และเปรตวิสัย
เมื่อพิจารณาดังนี้แล้ว เวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต (ก่อนตาย) ก็หนีไม่พ้นณ ขณะลม...
อัสสาสะ
(ลมหายใจเข้า)
ปัสสาสะ(ลมหายใจออก) อันจะมีเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อจะดับจิต นั่นเอง
เพราะฉะนั้น อารมณ์ (แห่งกาม) ที่บุคคลใคร่อยู่ ณ ช่วงเวลาข้างต้น จึงเป็นอารมณ์ที่สำคัญที่สุดของชีวิต (ก่อนตาย) เช่นเดียวกัน
ส่วนคำว่า กาม พระองค์ตรัสไว้เป็นคาถาว่า
ความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึก (สงฺกปฺปราค) นั่นแหละคือ กาม ของคนเรา
เมื่อผนวกพุทธวจนะทั้งสองเข้าด้วยกัน จึงอธิบายกันและกันได้ว่า
บุคคลใคร่อยู่ซึ่งอารมณ์ (แห่งกาม) ใด
เขากระทำอัตตภาพอันเกิดจากความกำหนัดไปตามอำนาจความตริตรึกนั้น ๆ ให้เกิดขึ้น เป็นอัตตภาพ...
มีส่วนแห่งบุญ
มีส่วนแห่งอบุญ
ด้วยความดังกล่าวข้างต้น นั่นทำให้เราทราบว่า แท้จริงแล้ว คนเราเลือกเกิดได้ในสุคติ/ทุคติ อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วย อารมณ์ (แห่งกาม) ที่บุคคลใคร่อยู่ ณ ขณะ...
ลมอัสสาสะ
(ลมหายใจเข้า)
ลมปัสสาสะ (ลมหายใจออก) อันจะมีเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อจะดับจิต นั่นเอง

เพราะฉะนั้น ความเห็นผิดที่กล่าวกันเสมอ ๆ ว่า คนเราเลือกเกิดไม่ได้ ๆ ... จึงตกไป และไม่สมควรอ้างถึงอีก หากว่าคุณสามารถละทิ้งสิ่งซึ่งหวงแหนทั้งหลายทั้งปวง ดังคาถาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้
...ข้าวเปลือก ทรัพย์ เงินทอง หรือข้าวของ ที่หวงแหนอย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่ทาส กรรมกร คนใช้ และผู้อาศัยของเขา พึงพาเอาไปไม่ได้ทั้งหมด จะต้องถึงซึ่งการละทิ้งไว้ทั้งหมด
ก็บุคคลทำกรรมใด ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ กรรมนั้นแหละเป็นของ ๆ เขา และเขาย่อมพาเอากรรมนั้นไป
อนึ่ง กรรมนั้นย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาติดตามตน ฉะนั้น...
นี่แหละ ๆ อารมณ์ (แห่งกาม) ที่บุคคลทั่วไป ใคร่อยู่ ขณะใกล้ตาย ซึ่งนั่นมิได้นำเราไปสู่สุคติ ในภพใหม่ แต่อย่างใด
เอาละ ชีวิตคุณก็ใกล้ความตายเข้าไปทุกทีแล้วนะ พร้อมแล้วยัง ถ้าพร้อม มาร่วมกันต้อนรับความตาย แขกคนสุดท้ายของชีวิตกัน !
4 มรรควิธี ต่อแต่นี้แหละ คือ สิ่งที่จะทำให้คุณและคนที่คุณรักรู้ว่า การเตรียมตัวตายที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ (ต่างจากคำกล่าวสาวก) แท้จริงแล้ว เป็นอย่างไร
มรรควิธีที่ 1 คือ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรณสัญญา ดังพุทธวจนะ
ภิกษุทั้งหลาย ! สัญญา ๑๐ ประการเหล่านี้ อันบุคคล...
เจริญ
กระทำให้มาก แล้ว ย่อมมี...
ผลใหญ่
อานิสงส์ใหญ่
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน
สิบประการอย่างไรเล่า ?
สิบประการ คือ
มรณสัญญา (ความสำคัญรู้ในความตาย)
ภิกษุทั้งหลาย ! สัญญา ๑๐ ประการเหล่านี้แล อันบุคคล...
เจริญ
กระทำให้มาก แล้ว ย่อมมี...
ผลใหญ่
อานิสงส์ใหญ่
หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน และ
มรรควิธีที่ 2 คือ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรณสติ ดังพุทธวจนะ
ภิกษุทั้งหลาย
! มรณะสติ (การระลึกถึงความตาย) อันบุคคล...
เจริญ
ทำให้มาก แล้ว ย่อมมี...
ผลใหญ่
อานิสงส์ใหญ่ หยังลงสู่นิพพาน มีนิพพานเป็นที่สุด
พวกเธอเจริญมรณะสติอยู่บ้างหรือ ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลตอบ และพระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปว่า
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุพวกที่เจริญมรณสติอย่างนี้ว่า
โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง...
วันหนึ่งคืนหนึ่ง
ชั่วเวลากลางวัน
ชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตเสร็จมื้อหนึ่ง

ชั่วขณะที่ฉันอาหารเสร็จเพียง ๔ - ๕ คำ
ดังนี้ก็ดี

เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด
การปฏิบัติตามคำสอน ควรทำให้มากแล้วหนอ
ดังนี้ก็ดี
ภิกษุเหล่านี้ เราเรียกว่ายังเป็นผู้ประมาทอยู่
ยังเจริญมรณสติ เพื่อความสิ้นอาสวะช้าไป
ภิกษุทั้งหลาย ! ฝ่ายภิกษุพวกที่เจริญมรณสติ อย่างนี้ว่า
โอหนอ เราอาจจะมีชีวิตอยู่ได้เพียง
ชั่วขณะฉันอาหารเสร็จเพียงคำเดียว
ชั่วขณะที่หายใจเข้าแล้วหายใจออก หรือชั่วขณะหายใจออกแล้วหายใจเข้า
ดังนี้ก็ดี
เราพึงใส่ใจถึงคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด
การปฏิบัติตามคำสอนควรทำให้มากแล้วหนอ
ดังนี้ก็ดี
ภิกษุเหล่านี้เราเรียกว่าเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว
เป็นผู้เจริญมรณสติเพื่อความสิ้นอาสวะอย่างแท้จริง
ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะฉะนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้ว่า
เราทั้งหลาย...จักเป็นผู้ไม่ประมาทเป็นอยู่
จักเจริญมรณสติ เพื่อความสิ้นอาสวะอย่างแท้จริง
ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกใจไว้อย่างนี้แล
สอดคล้องกับอีกนัยยะหนึ่งที่พระองค์ตรัสไว้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ! มรณสติ อันบุคคล...
เจริญ
ทำให้มาก แล้ว ย่อมมี...
ผลใหญ่
อานิสงส์ใหญ่
เป็นธรรมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน
ภิกษุทั้งหลาย ! มรณสติ (อันบุคคลเจริญเห็นปานนั้น) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ ผ่านกลางวันมาถึงกลางคืนแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า
ปัจจัยแห่งความตายของเรามีมาก คืองูฉกเรา
แมลงป่องกัดเรา
หรือว่า
เราเดินพลาดล้มลง
อาหารไม่ย่อย
ดีกำเริบ
เสมหะกำเริบ หรือ
ลมมีพิษดังศัตรากำเริบ
หรือว่า
พวกมนุษย์หรืออมนุษย์ทำร้ายเรา
ความตายก็จะมีแก่เรา
นั่นเป็นอันตรายของเรา
ดังนี้

ภิกษุนั้นพึงพิจารณาสืบไปว่า
มีอยู่หรือไม่หนอ บาปอกุศลธรรมที่เรายังละไม่ได้แล้วเป็นอันตรายแก่เรา ผู้กระทำกาละลงไปในคืนนี้ ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าพิจารณาอยู่รู้สึกว่า
บาปอกุศลธรรมอย่างนั้นมีอยู่
ภิกษุนั้นพึงกระทำซึ่งฉันทะ
วายามะ
อุสสาหะ
อุสโสฬหี
อัปปฏิวานี
สติ และ
สัมปชัญญะอย่างแรงกล้า
เพื่อละเสียซึ่งบาปอกุศลธรรมเหล่านั้น (โดยด่วน)
เช่นเดียวกับบุคคลผู้มีเสื้อผ้าหรือศรีษะอันไฟลุกโพลงแล้ว จะพึงกระทำฉันทะ
วายามะ
อุสสาหะ
อุสโสฬหี
อัปปฏิวานี
สติ และ
สัมปชัญญะอย่างแรงกล้า
เพื่อจะดับไฟที่เสื้อผ้าหรือที่ศีรษะนั้นเสีย ฉันใดก็ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย ! ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่รู้สึกว่า
บาปอกุศลธรรมอย่างนั้นไม่มีอยู่
ภิกษุนั้นพึงอยู่ด้วยปีติปราโมทย์นั้นนั่นแหละ
ตามศึกษาอยู่ทั้งกลางวันและกลางคืน ในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ! มรณสติ อันบุคคล...
เจริญ
ทำให้มาก แล้ว อย่างนี้แล ย่อมมี...
ผลใหญ่
อานิสงส์ใหญ่ เป็นธรรมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นปริโยสาน และ
มรรควิธีที่ 3 คือ มีสติและสัมปชัญญะ รอคอยการตาย ดังพุทธวจนะ
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มี...
สติ
สัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการทำกาละ
นี้เป็นอนุสาสนีของเรา สำหรับพวกเธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีสติ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้...

ตามเห็นกายในกาย
อยู่เป็นประจำ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า  เราเป็นผู้…รู้พร้อมเฉพาะซึ่ง กายทั้งปวงทำ กายสังขาร ให้ระงับอยู่หายใจเข้า
หายใจออก

ตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย อยู่เป็นประจำย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า  เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่ง ปีติรู้พร้อมเฉพาะซึ่ง สุขรู้พร้อมเฉพาะซึ่ง จิตตสังขาร
ทำ จิตตสังขาร ให้ระงับอยู่หายใจเข้า
หายใจออก

ตามเห็นจิตในจิต อยู่เป็นประจำ
ย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า  เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่ง จิตทำจิตให้ ปราโมทย์ยิ่ง อยู่ทำจิตให้ ตั้งมั่น อยู่
ทำจิตให้ ปล่อย อยู่หายใจเข้า
หายใจออก

ตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย อยู่เป็นประจำย่อมทำการฝึกหัดศึกษาว่า  เราเป็นผู้ตามเห็น ความไม่เที่ยงตามเห็น ความจางคลายตามเห็น ความดับไม่เหลือ
ตามเห็น ความสลัดคืนหายใจเข้า
หายใจออก

มีความเพียรเผากิเลส
มีสัมปชัญญะ
มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกออกเสีย อย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย !  เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสติ
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ เป็นอย่างไรเล่า
?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในกรณีนี้ เป็นผู้รู้ตัวรอบคอบใน...
การก้าวไปข้างหน้า
การถอยกลับไปข้างหลัง
การแลดู
การเหลียวดู
การคู้
การเหยียด
การทรงสังฆาฏิ บาตร จีวร
การฉัน
การดื่ม
การเคี้ยว
การลิ้ม
การถ่ายอุจจาระปัสสาวะ
การไป
การหยุด
การนั่ง
การนอน
การหลับ
การตื่น
การพูด
การนิ่ง
อย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ! เรียกว่า ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะ
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุ พึงเป็นผู้มี...
สติ
สัมปชัญญะ เมื่อรอคอยการทำกาละ
นี้แล เป็นอนุสาสนีของเราสำหรับพวกเธอทั้งหลาย และ
มรรควิธีที่ 4 คือ เจริญ กระทำให้มากซึ่งอานาปานสติ ดังพุทธวจนะ

ราหุล
! เมื่อบุคคล...
เจริญ
กระทำให้มาก ซึ่งอานาปานสติอย่างนี้แล้ว
ลม...
อัสสาสะ
(ลมหายใจเข้า)
ปัสสาสะ(ลมหายใจออก)
อันจะมีเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อจะดับจิตนั้น
จะเป็นสิ่งที่เขารู้แจ้งแล้วดับไป
หาใช่เป็นสิ่งที่เขาไม่รู้แจ้งไม่ ดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! เมื่ออานาปานสติ อันบุคคล...
เจริญ
ทำให้มาก แล้วอยู่อย่างนี้
ผลอานิสงส์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาผล ๒ ประการ เป็นสิ่งที่หวังได้ คือ
อรหัตตผลในปัจจุบัน หรือว่า
ถ้ายังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จักเป็น อนาคามี
กล่าวอย่างสั้นที่สุดการเจริญมรณสัญญา
การเจริญมรณสติ
การเจริญอานาปานสติ
และ
การมีสติ สัมปชชัญญะรอคอยการตาย นี่แหละ คือ 4 มรรควิธี เตรียมตัวตาย
ซึ่งหากคุณและคนที่คุณรักเจริญ 4 มรรควิธี ดังกล่าวนี้ อย่างสม่ำเสมอ ทุก ๆ วัน ลองคิดดูสิว่า

อารมณ์ (แห่งกาม) ที่เกิดขึ้น ณ ขณะลมหายใจสุดท้ายของชีวิต จะเป็นอารมณ์อันเป็นสุคติ (บุญ) หรืออารมณ์อันเป็นทุคติ (อบุญ) กันแน่ !
ในทางกลับกัน หากคุณไม่เคยเตรียมตัวเลย พอถึงที่ตายจริง ๆ คุณจะมีสติ สัมปชัญญะมากเพียงพอหรือไม่ ที่จะใคร่อยู่ในอารมณ์อันเป็นสุคติ (บุญ)
ทั้ง ๆ ที่วันทั้งวัน สติ สัมปชัญญะ เป็นสิ่งที่คนทั่วไปไม่ค่อยเจริญ ทว่ามักเพลินในธรรมารมณ์ ดังพุทธวจนะ
มิคชาละ ! ...ธรรมารมณ์ ทั้งหลาย อันจะพึงทั้งหลายอันจะพึงรู้แจ้งด้วยใจ
อันเป็นธรรมารมณ์ที่...
น่าปรารถนา
น่ารักใคร่
น่าพอใจ
มีลักษณะน่ารัก

เป็นที่...
เข้าไปตั้งอาศัยอยู่แห่งความใคร่
ตั้งแห่งความกำหนัดย้อมใจ มีอยู่
ถ้าหากว่าภิกษุย่อม...
เพลิดเพลิน
พร่ำสรรเสริญ
สยบมัวเมา ซึ่งธรรมารมณ์
นั้นไซร้
แก่ภิกษุผู้...
เพลิดเพลิน
พร่ำสรรเสริญ
สยบมัวเมา ซึ่งธรรมารมณ์นั้นอยู่
นั่นแหละ นันทิ (ความเพลิน) ย่อมเกิดขึ้น
เมื่อ นันทิ มีอยู่ สาราคะ (ความพอใจอย่างยิ่ง) ย่อมมี

เมื่อ สาราคะ มีอยู่ สัญโญคะ (ความผูกจิตติดกับอารมณ์) ย่อมมี...
นี่แหละคือ ลำดับของการปล่อยให้อารมณ์อันเป็นสุคติ (บุญ) หรือ ทุคติ (อบุญ) เกิดขึ้นในความรับรู้ของวิญญาณ แต่ทว่า โดยส่วนมากแล้ว อารมณ์อันเป็นทุคติ (อบุญ) เกิดขึ้นง่ายกว่า
มากกว่า
บ่อยกว่า
นานกว่า
ปกติกว่า
อารมณ์อันเป็นสุคติ (บุญ) ใช่หรือไม่
!
เท่าที่ลำดับความมาทั้งหมด สอดคล้องกับส่วนหนึ่งของคาถาที่พระองค์ตรัสไว้
...เพราะฉะนั้น บุคคลควรทำกรรมดี สั่งสมไว้สำหรับภพหน้า
บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในโลกหน้า
4 ตัวอย่างต่อไปนี้ คือ อารมณ์อันเป็นทุคติ (อบุญ)

กามวิตก (ความตรึกใน กาม)พ๎ยาปาทวิตก (ความตรึกใน ทางมุ่งร้าย)วิหิงสาวิตก (ความตรึกที่ก่อให้เกิด ความลำบากทั้งแก่ตนและผู้อื่น)
ทุกขเวทนา (ความรู้สึกอันเป็น ทุกข์) และ
 

21 ตัวอย่างต่อไปนี้ คือ อารมณ์อันเป็นสุคติ (บุญ)

เนกขัมมวิตก
(ความตรึกใน การหลีกออกจากความพัวพันในกาม)
อัพยาปาทวิตก (ความตรึกใน การไม่ทำความมุ่งร้าย)
อวิหิงสาวิตก (ความตรึกใน การไม่ทำตนและผู้อื่นให้ลำบาก)

อสุภสัญญา (ความสำคัญรู้ใน ความไม่งาม)
อัฏฐิกสัญญา (ความสำคัญรู้ใน ศพมีแต่กระดูก)
ปุฬวกทกสัญญา (ความสำคัญรู้ใน ศพมีแต่หนอน)
วินีลกสัญญา (ความสำคัญรู้ใน ศพขึ้นเขียว)
วิจฉิททกสัญญา (ความสำคัญรู้ใน ศพเป็นชิ้นๆท่อนๆ)
อุทธุมาตกสัญญา (ความสำคัญรู้ใน ศพขึ้นพอง)
มรณสัญญา
(ความสำคัญรู้ใน ความตาย)
อาหารเรปฏิกูลสัญญา (ความสำคัญรู้ใน ปฏิกูลแห่งอาหาร)
สัพพโลเกอนภิรตสัญญา (ความสำคัญรู้ใน ความไม่ยินดีในโลกทั้งปวง)
อนิจสัญญา (ความสำคัญรู้ใน ความไม่เที่ยง)
อนิจเจทุกขสัญญา (ความสำคัญรู้ใน ความเป็นทุกข์แห่งความไม่เที่ยง)
อนัตตสัญญา (ความสำคัญรู้ใน ความเป็นอนัตตา)
ทุกเขอนัตตสัญญา (ความสำคัญรู้ใน ความเป็นอนัตตาในทุกข์)
ปหานสัญญา (ความสำคัญรู้ใน การละเสีย)
วิราคสัญญา (ความสำคัญรู้ใน ความคลายกำหนัด)
นิโรธสัญญา (ความสำคัญรู้ใน ความดับไม่เหลือ)

สุขเวทนา (ความรู้สึกอันเป็น สุข)
อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกที่ยังไม่อาจกล่าวได้ว่าเป็นทุกข์หรือสุข)
เห็นดังนี้แล้ว ลองพิจารณาดูเถิดว่า ในชีวิตของคุณ
อารมณ์อันเป็นสุคติ (บุญ) เกิดขึ้น น้อยกว่า อารมณ์อันเป็นทุคติ (อบุญ) หรือ
อารมณ์อันเป็นทุคติ (อบุญ) เกิดขึ้น มากกว่า อารมณ์อันเป็นสุคติ (บุญ)
และนอกจากการการได้อัตตภาพใหม่ คือ มนุษย์หรือเทวดา ในภพต่อไปจาก...การเจริญมรณสัญญา
การเจริญมรณสติ
การเจริญอานาปานสติ
แล้ว
ขณะเดียวกัน ผล อานิสงส์อย่างมากที่สุดของการเตรียมตัวตายด้วย 3 มรรควิธี ดังกล่าว ก็เป็นไปเพื่อที่สุดของที่สุดนั่นคือ อมตะ
แล้ว อมตะ คืออะไรละ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! มีคำกล่าวกันอยู่ว่า
อมตะ อมตะ (ความไม่ตาย ๆ) ดังนี้
อมตะ เป็นอย่างไรเล่า พระเจ้าข้า
?
ภิกษุทั้งหลาย
!ความสิ้นแห่ง...
ราคะ
โทสะ
โมหะ

นี้เรียกว่า อมตะ
ซึ่ง อย่างน้อยที่สุด คุณก็สามารถตายไปพร้อม ๆ กับความไม่ตายได้ หากคุณเจริญ ทำให้มากซึ่งมรรควิธีต่อไปนี้
ภิกษุทั้งหลาย ! ข้อต่อไปนี้คือ บุคคลบางคนในกรณีนี้มีปรกติพิจารณาเห็น...ความไม่เที่ยง
ความเป็นทุกข์ ในสังขารทั้งหลายทั้งปวง
เป็นอยู่
ความเป็นอนัตตา ในธรรมทั้งหลาย

มีความกำหนดหมายใน...ความไม่เที่ยง
ความเป็นทุกข์
ความเป็นอนัตตา
อยู่เป็นประจำ

กำหนดรู้พร้อมเฉพาะใน...ความไม่เที่ยง
ความเป็นทุกข์
ความเป็นอนัตตา


เป็นผู้ฝังใจอย่างติดต่อสม่ำเสมอไม่ขาดตกบกพร่องในความไม่เที่ยง
ความเป็นทุกข์
ความเป็นอนัตตา
ถือเอารอบอยู่
(ซึ่งธรรมนั้น) ด้วยปัญญา
อนึ่งความสิ้นอาสวะ และความสิ้นชีวิต
ของบุคคลนั้น มีขึ้นไม่ก่อนไม่หลังกว่ากัน(มรณภาพพร้อมกับความสิ้นอาสวะ)
หรือ อย่างมากที่สุด ความไม่ตาย ก็คือสิ่งที่คุณสามารถสัมผัสได้ก่อนตาย (ลงครั้งสุดท้าย) จริง ๆ

ตายก่อนตาย

 รวบรวมและเรียบเรียงหลังม่านสีฟ้า
บลู เลอสง่า
แรม 8-14 ค่ำ เดือน 6


อาตมภาพหวังว่าทุกคนคงเริ่มเข้ามาอยู่ที่ลมหายใจ คือการเรียนรู้ ชีวิตของความจริงจากลมหายใจเข้าออกนี้ ดังนั้นอย่าดูถูกสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรง ตรัสสอน เพราะสิ่งนี้ทั้งหลายพุทธองค์ทรงค้นพบซึ่งความจริงที่มีอยู่ในธรรมชาติ ยากที่ใครในโลกที่มีอวิชชา หรือระดับไหนๆจะค้นพบความจริงตรงนี้ เเต่เมื่อพระองค์ค้นพบความจริง ที่เรียกว่า ตรัสรู้ พระองศ์ก็มีเมตตา กรุณา ที่บอกพวกเรา อย่างที่สุด เช่นกัน  
อุตฺตมสาโร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น