จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เราถามพระพุทธเจ้าตอบ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ 3

พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
 วิธีสร้างอิทธิฤทธิ์
 ปัญหา อิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ เป็นสิ่งมีได้จริงหรือ ? ถ้ามีจริงจะมีวิธีสร้างได้อย่างไร ?
 พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝ่ากำแพง ภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์...ก็ได้
ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่าเราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือเสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์... ถ้าภิกษุจะถึงหวังว่าเราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่าเราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือพึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง.... พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง .... ว่าในภพโน้นเรามีชื่อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้.....
ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม... ด้วยประการฉะนี้เถิด ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารฯ

อากังเขยยสูตร มู. ม. (๘๕-๘๙)
ตบ. ๑๒ : ๖๐-๖๓ ตท.๑๒ : ๕๑-๕๓
ตอ. MLS. I : ๔๓-๔๔

 การล้างบาปด้วยน้ำ
 ปัญหา ลัทธิพราหมณ์ถือว่า กระทำบาปแล้วอาจจะชำระล้างให้หมดสิ้นไปด้วยการอาบน้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา เป็นต้น ทางพระพุทธศาสนามีทรรศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....คนพาล มีกรรมดำ (บาป) แล่นไปยังแม่น้ำพาหุกาท่าน้ำอธิกักกะ ท่าน้ำคะยา แม่น้ำสุนทริกา แม่น้ำสรัสสดี ท่าน้ำปยาคะ และแม่น้ำพาหุมดีแม้เป็นนิตย์ ก็บริสุทธิ์ไม่ได้ แม่น้ำสุนทริกา ท่าน้ำปยาคะ หรือแม่น้ำพาหุกา จักทำอะไรได้ จะชำระนรชนผู้มีเวรทำกรรมอันหยายช้า ผู้มีกรรมอันเป็นบาปนั้นให้บริสุทธิ์ไม่ได้เลย ผัคคุณฤกษ์ย่อมพึงพร้อมแก่บุคคลผู้หมดจดแล้วทุกเมื่อ อุโบสถก็ย่อมถึงพร้อมแก่บุคคลผู้หมดจดแล้วทุกเมื่อ วัตรของบุคคลผู้หมดจดแล้ว มีการงานอันสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงอาบในคำสอนของเรานี้เถิด จงทำความเกษมในสัตว์ทั้งปวงเถิด ถ้าท่านไม่กล่าวคำเท็จ ไม่เบียดเบียนสัตว์ ไม่ถือวัตถุที่เขาไม่ให้เป็นผู้มีความเชื่อ ไม่ตระหนี่ไซร้ ท่านจักต้องไปยังท่าน้ำคะยาทำไม แม้การดื่มน้ำในท่าน้ำคะยาก็จักทำอะไรให้แก่ท่านได้ฯ

วัตถูปมสูตร มู. ม. (๙๘)
ตบ. ๑๒ : ๗๐ ตท.๑๒ : ๕๘
ตอ. MLS. I : ๔๙-๕๐

 ความหมายของสัมมาทิฐิ
 ปัญหา ข้อที่ว่าสัมมาทิฐิ ความเห็นชอบนั้นหมายถึงเห็นอะไร
(คำกล่าวพุทธสาวก)จะพิมพ์ตัวเน้นชื่อไว้เดี่ยวพวกเราจะอ้างและจำผิดว่าศาสดาตอบในที่นี้ เวลาจะอ้างสอนต้องกล่าวให้แน่ชัด ว่าใครเป็นผู้กล่าว และเน้นความน่าเชื่อถือโดย อ้างที่มาด้วย
พุทธสารีบุตรตอบ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศล และรากเหง้าของอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศล และรากเหง้าของกุศล.... รู้ชัดซึ่งอาหาร (๔ ประการ คือ อาหารคือคำข้าว อาหารคือผัสสะ อาหารคือความจงใจ และอาหารคือความรู้แจ้งทางทวาร ๖) เหตุเกิดแห่งอาหาร (ตัณหา) ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร (มรรคมีองค์ ๘).... รู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และทางให้พึงความดับทุกข์ .... รู้ชัดซึ่งชราและมรณะเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชราและมรณะ.... รู้ชัดซึ่งชาติ.... ภพ.... อุปาทาน.... ตัณหา....เวทนา.... ผัสสะ.... อายตนะ ๖..... นามรูป.... วิณญาณ..... สังขาร.... อวิชชา ..... อาสวะ..... เหตุเกิดแห่งอาสวะความดับแห่งอาสวะ และทางปฏิบัติเพื่อถึงความดับอาสวะแม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฐิ

สัมมาทิฐิสูตร มู. ม. (๑๑๗-๑๒๘)
ตบ. ๑๒ : ๙๐-๑๐๐ ตท.๑๒ : ๗๖-๘๒
ตอ. MLS. I : ๕๘-๗๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น