จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เราถามพระพุทธเจ้าตอบ พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ 4

พระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
 มนุษย์ไปเกิดเป็นสัตว์ได้
 ปัญหา ตามหลักวิวัฒนาการ มนุษย์เจริญมาจากสัตว์ และจะกลับไปเห็นสัตว์ไม่ได้อีก ทางพระพุทธศาสนามีทรรศนะในเรื่องนี้อย่างไร ?
 พุทธดำรัสตอบ ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจว่า บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น ดำเนินอย่างนั้น และชั้นสู่หนทางนั้นจักเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉาน โดยสมัยต่อมา เราเห็นบุคคลนั้นเบื้องหน้า แต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงแล้วซึ่งกำเนิดดิรัจฉาน เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้า เผ็ดร้อนด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์.... เปรียบเหมือนหลุมคูถลึกยิ่งกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยคูถ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีตัวอันความร้อนแผดเผาครอบงำเหน็ดเหนื่อย.... มุ่งมาสู่หลุมคูถนั้นแหละ โดยหนทางสายเดียว บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้มีจักษุนั้น พึงเห็นเขาตกลงในหลุมคูถนั้น เสวยทุกขเวทนาอันแรงกล้าฉันใด ดูก่อนสารีบุตร เราย่อมกำหนดรู้ใจบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจ ฉันนั้นเหมือนกันแลฯ
 มหาสีนหนาทสูตร มู. ม. (๑๗๒)
ตบ. ๑๒ : ๑๕๐-๑๕๑ ตท.๑๒ : ๑๑๙
ตอ. MLS. I : ๙๙-๑๐

 หลักความเชื่อในพระพุทธศาสนา
 ปัญหา ได้ทราบว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งปัญญา สอนให้ใช้ปัญญาพิจารณาก่อนจึงเชื่อ แต่อยากทราบว่ามีหลักอะไรบ้างในพระพุทธศาสนาที่พุทธศาสนิกชนจะต้องเชื่อ ? และถ้าไม่เชื่อจะมีผลอย่างไร ?
 พุทธดำรัสตอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงสัยเคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา.... ในพระธรรม.... ในพระสงฆ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา .... ในพระธรรม..... ในพระสงฆ์นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อเพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนือง ๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ....ฯ

เจโตขีลสูตร มู. ม. (๒๒๘)
ตบ. ๑๒ : ๒๐๕-๒๐๖ ตท.๑๒ : ๑๖๔
ตอ. MLS. I : ๑๓๒

 พระพุทธศาสนากับการอยู่ป่า
 ปัญหา ในที่มาหลายแห่ง พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการอยู่ป่า ทรงแนะนำให้ภิกษุอยู่ป่า แต่ว่าภิกษุควรจะอยู่ป่าเสมอไปหรือ ? หรือว่ามีข้อยกเว้นอะไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ไม่พึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานเภสัชบริขารเหล่าใดที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก.... ดูก่อนภิกษุทั่งหลาย ภิกษุนั้นควรหลีกไปเสียจากป่าชัฏนั้น ในเวลากลางคืนหรือในเวลากลางวันก็ตาม ไม่ควรอยู่....ฯ

วนปัตถสูตร มู. ม. (๒๓๕)
ตบ. ๑๒ : ๒๑๒-๒๑๓ ตท.๑๒ : ๑๗๓
ตอ. MLS. I : ๑๓๖-๑๓๘

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น