พระสารีบุตร พระอรหันห์ตอบแทนคุณ
พระสารีบุตรแรกเกิดชื่อว่า “อุปติสสะ” เป็นบุตรของนางพราหมณีชื่อสารีและพราหมณ์ชื่อวันคันตะผู้เป็นหัวหน้าหมู่บ้านอุปติสคามแห่งตำบลนาลกะหรือนาลันทะ ในวันเดียวกันวันที่นางพราหมณีสารีให้กำเนิดอุปติสสะนั้นมีครอบครัวข้างเคียงให้กำเนิดบุตรชื่อว่า “โกลิตะ” หรือเมื่อต่อมาพระมหาโมคัลลานะเมื่อเจริญเติบโตขึ้นก็ได้มาเป็นเพื่อนสนิทกัน วันหนึ่งอุปติสสะและโกลิตะได้ช่วนกันไปเที่ยวในงานรื่นเริงประจำปีในกรุงราชคฤห์ ขณะชมมหรสพอยู่นั้นเกิดความสลดใจขึ้นมาอย่างเดียวกันว่ากิจกรรมนี้ชั่งไร้สาระสิ้นดี หาสาระอะไรไม่ได้เลยควรจะหาสิ่งใดเป็นเครื่องยุดเหนี่ยวและหลุดพ้นจากบ่วงเช่นนี้ต่อมาสองสหายได้ไปมอบตัวเป็นศิษย์ของสำนักทางปรัชญาผู้มีชื่อเสียง นามว่า สัญชัย เวลัฏฐบุตรเช้าตรู่วันที่พระอัสสะชิหนึ่งในปัญจวัคคีย์ที่บรรลุพระอรหันต์แล้วห่มจีวรถือบาตรไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาทอุปติสสะเมื่อพบพระอัสสะชิเถระเกิดความประทับใจในพระอิริยาบทที่สำรวมและน่าเลื่อมใสของพระอัสสะชิผู้มีอินทรีย์ฝึกมาดีแล้วจึงเกิดคิดว่าท่านผู้นี้จักต้องเป็นพระอรหันต์ จึงได้ตามพระอัสสะชิไปข้างหลังและรอคอยโอกาสที่เหมาะสม แล้วจึงสอบถามพระเถระพระอัสสะชิเถระได้แสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้าตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้นพระมหาสมณเจ้ามีปกติตรัสอย่างนี้ครั้นเมื่ออุปติสสะและโกลิตะได้ชวนกันไปเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าต่อมาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานการอุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิขุอุสัมปทา และทรงบัญญัตินามให้อุปติสสะว่าพระสารีบุตรและโกลิตะว่าพระโมคคัลลานะซึ่งต่อมาพระสารีบุตรได้รับการยกย่องจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นพระธรรมเสนาบดีอัครสาวกเบื้องขวาส่วนพระโมคคัลลานะเป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้ายของพระพุทธองค์ พระสารีบุตรมีน้องชาย ๓ คน และน้องสาวอีก ๓ คน ภายหลังพระสารีบุตรได้ชวนน้องทั้งหกคนออกบวช คือ พระจุนทะ พระเรวตะ พระอุปเสนะ และน้องสาว คือ พระจาลาเถรี พระอุปจาลาเถรี และพระสีสุปจาลาเถรี การที่พระสารีบุตรชวนน้องทั้งหกคนบวชนั้นเป็นเหตุให้นางพราหมณีสารีผู้เป็นมารดานั้นไม่ค่อยพึงพอใจนัก เพราะคิดว่าทอดทิ้งนางออกไปบวช ประกอบกับนางสารีพราหมณีเป็นผู้ที่มีทิฐิมานะแรงจึงไม่ค่อยชื่นชมและเชื่อถือพระลูกชายนับแต่พระสารีบุตรได้ฟังธรรมเทศนาที่พระอัสส-ชิแสดงจนบรรลุโสดาบันแล้วได้มาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาท่านก็ได้นับถือพระอัสสชิเป็นพระอาจารย์ทำการเคารพอยู่เสมอแม้ได้ยินข่าวว่าพระอัสสชิอยู่ทิศใด เมื่อจะนอน ท่านจะนมัสการไปทิศนั้นก่อนแล้วนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น
อีกตัวอย่างหนึ่งของความกตัญญูของพระสารีบุตรก็คือ พราหมณ์ชื่อ ราธะ มีศรัทธาจะอุปสมบท แต่ไม่มีภิษุรูปใดรับเป็นพระอุปัชฌาย์ให้ พระตรัสถามในที่ประชุมสงฆ์ว่าผู้ใดระลึกถึงอุปการะของพราหมณ์ผู้นี้ได้บ้างพระสารีบุตรเถระกราบทูลว่า ระลึกได้ คือครั้งหนึ่งราธพราหมณ์ผู้นี้ได้เคยใส่บาตรด้วยข้าวสุกแก่ข้าพระพุทธเจ้าหนึ่งทัพพี พระพุทธองค์จึงมอบให้พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทให้แก่ราธพราหมณ์
อีกตัวอย่างหนึ่งของความกตัญญูรู้คุณของพระสารีบุตร คือ การไปตอบแทนคุณมารดาด้วยการกลับไปนิพพาน ณ ห้องที่ท่านเกิดที่บ้านของท่าน ตอนแรกที่นางสารีพราหมณีทราบว่าพระลูกชายกลับมาบ้าน โดยนางไม่รู้ว่าพระสารีบุตรมีความต้องการจะตอบแทนคุณมารดาด้วยการเทศนาธรรม และนางไม่เชื่อว่าพระลูกชายเป็นพระอรหันต์ เมื่อพระสารีบุตรพร้อมด้วยพระจุนทะพระน้องชายพร้อมบริวารเข้าไปในสถานที่ที่โยมมารดาให้คนจัดให้ตามประสงค์แล้วตกดึกพระสารีบุตรก็ป่วยด้วยโรคปักขันทิกาพาท(ถ่ายจนเป็นเลือด)อย่างปัจจุบันทันด่วนท่านได้รับทุกขเวทนาอย่างมากพระจุนทะและบริวารช่วยกันดูแลอย่างใกล้ชิดฝ่ายมารดาเห็นว่าท่านอาพาธหนักตึงเข้ามาดูอาการด้วยความห่วงใยขณะนั้นเทวดาองค์สำคัญๆต่างมาเยี่ยมอาการป่วยของท่านตามลำดับคือ ท้าวมหาราชทั้งสี่ ได้แก่ท้าวธตรฐ ท้าววิรูปักษ์ ท้าววิรุฬหก และท้าวเวสสุวัน ผู้เป็นเจ้าแห่งสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์)ผู้เป็นเจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสุยามผู้เป็นเจ้าแห่งสวรรค์ชั้นยามา ท้าวสันดุสิตผู้เป็นเจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดุสิต ท้าวสุนิมมิตผู้เป็นเจ้าแห่งสวรรค์ชั้นนิมมานรดีและท้าวปรนิมมิตวสวัตดี เป็นเจ้าแห่งสวรรค์ชั้น ปรนิมมิตวสวัตดีรวมทั้งท้าวมหาพรหมแห่งพรหมโลกชั้นสุทธาวาส ก็ได้มาเยี่ยมอาการป่วยของท่านด้วย เทวดาและท้าวมหาพรหมแต่ละองค์นั้นล้วนมัศมีกายเปล่งปลั่งงดงาม ต่างพามาเยี่ยมอาการป่วยของท่านด้วยความเป็นห่วงและเคารพยิ่ง นางสารีเห็นเหตุการณ์นั้นตลอด เมื่ออาการของพระเถระค่อยบรรเทาลง นางได้เข้าไปหาแล้วสนทนาด้วย โดยได้ถามถึงเทวดาองค์สำคัญๆที่มาเยี่ยมซึ่งนางไม่ทราบว่าเป็นใคร ท่านได้บอกให้โยมมารดาทราบตามลำดับจนกระทั่งถึงท้าวมหาพรหม
“อุปติสสะ” โยมมารดาเรียกชื่อเดิมของท่านด้วยความอัศจรรย์ใจ “นี่ลูกของแม่ใหญ่กว่าท้าวมหาพรหมอีกหรือ”
“ใช่...โยมแม่” ท่านตอบรับ ทันใดนั้นโยมแม่ก็เกิดปีติอย่างใหญ่หลวง สีหน้าอิ่มเอิบเมื่อได้ทราบว่าพระลูกชายยิ่งใหญ่กว่าท้าวมหาพรหมที่ตนเคารพ “อุปติสสะลูกชายเรายิ่งใหญ่ขนาดนี้แล้วพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดาของลูกชายเราเล่าจะยิ่งใหญ่แค่ไหน” นางนางสารีคิดไปถึงพระพุทธเจ้า พระสารีบุตรสังเกตดูโยมมารดาตลอดเวลา เมื่อเห็นจิตจิตใจเริ่มอ่อนโยนเหมาะจะรับน้ำย้อม คือ คำสอนทางพระพุทธศาสนาได้ จึงเริ่มแสดงธรรมโปรดโดยพรรณนาถึงพระพุทธคุณนานาประการ อาทิ พระพุทธเจ้าทรงเป็นพระอรหันต์ห่างไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง โยมมารดาฟังแล้วเลื่อมใสยิ่งนักเมื่อจบฟังธรรมเทศนานางก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล พระเถระได้ตอบแทนคุณโยมมารดาด้วยการตอบแทนที่ล้ำค่า คือให้พ้นความเห็นผิดที่มีมานานเสียได้ ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญเช่นนั้น ส่วนโยมมารดารู้สึกเสียดายวันเวลาที่ผ่านมาและไม่ได้สัมผัสอมตธรรม จึงพูดกับพระสารีบุตรเป็นเชิงต่อว่า “ลูกรักทำไมจึงเพิ่งมาให้อมตธรรมนี้แก่แม่เหล่า” หลังจากโยมมารดาลากลับไปที่พักผ่อนแล้วท่านก็ได้บอกพระจุนทะให้นิมนต์พระบริวารมาประชุมพร้อมกัน ขณะนั้นเป็นเวลาใกล้สว่างท่านดูอิดโรยเต็มทีแต่ถึงกระนั้นก็พยายามยันกายลุกขึ้นนั่ง โดยพระจุนทะคอยประคองอยู่ตลอดเวลา “ท่านทั้งหลาย” พระเถระเอ่ยขึ้นด้วยน้ำแสงแหบพร่า “ผมกับท่านอยู่ด้วยกันมานานถึง ๔๔ปี หากกายกรรมและวจีกรรมของผมอันใดไม่เป็นที่พอใจขอได้อภัยให้ผมด้วย “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ” บริวารกล่าวตอบ “พวกกระผมติดตามท่านมานานยังมองไม่เห็นกายกรรมและวจีกรรมที่ไม่สมควร เมื่อพระเถระกับพระบริวารต่างกล่าวคำขอขมากันและกันแล้ว แสงเงินแสงทองเริ่มจับขอบฟ้าแล้วเช้าวันนั้นเบญจขันธ์เริ่มอ่อนล้าของพระเถระก็ดับลงอย่างสนิท ท่านนิพพานเมื่อวันขึ้น๑๕ค่ำเดือน๑๒ในห้องที่ท่านเกิดเทวดาและมนุษย์ได้พร้อมใจกันฌาปนกิจศพของท่านอย่างสมเกียรติ พระจุนทะนำผ้าขาวมาห่ออัฐิของท่านแล้วนำไปพร้อมทั้งบาตรและจีวร เพื่อมอบให้พระอานนท์นำไปถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงรับอัฐิของท่านแล้วโปรดให้สร้างสถูปบรรจุไว้ที่ใกล้ประตูเชตวันมหาวิหารเพื่อให้พุทธบริษัทได้สักการะต่อไป จะสังเกตเห็นว่าพระสารีบุตรนั้นทรงเป็นผู้ที่กตัญญูรู้คุณและปฏิบัติเพื่อตอบแทนคุณด้วยความเคารพและนอบน้อม ทั้งต่อพระอัสสะชิซึ่งเป็นพระอาจารย์ในพระพุทธศาสนาพระองค์แรกของท่านและตอบแทนคุณมารดา ตลอดจนสำนึกรู้คุณและผูกพันต่อบ้านเกิดโดยกลับมาเทศนาธรรมให้มารดาและกลับมานิพพานในห้องที่ท่านเกิด และแม้นิพพานก็ยังสำนึกรู้คุณแก่พระเถระทั้งหลายที่ตามมาร่วมปรนนิบัติ ด้วยการขอขมาหากเคยกระทำล่วงเกินใดๆไว้ทั้งๆที่มิได้กระทำใดเลย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการสำนึกกตัญญูรู้คุณของพระสารีบุตร เป็นปัญญาที่สูงส่งยิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ