จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

พุทธกิจของพระพุทธเจ้า และ พุทธจริยา ๓ ประการ

 
บทสวดพาหุง ทำนอง
พุทธกิจของพระพุทธเจ้า และ พุทธจริยา ๓ ประการ
พุทธกิจประจำวัน ของพระพุทธเจ้า

พระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญพุทธกิจใน 45 พรรษา ช่วยเหลือมนุษย์ ประทาน โอวาทคำสั่งสอน ชี้ทางดับทุกข์ให้บรรลุถึงความสุข

คุณงามความดีที่พระพุทธองค์ทรงทำไว้นั้นย่อมปรากฏแก่โลกทั่วไป และในพุทธกิจแต่ละวันนั้น ไม่ว่าพระองค์จะประทับอยู่ที่ใด พุทธกิจประจำวันของพระองค์ก็มิได้เปลี่ยนแปลง

ไม่มีวันหยุด ไม่มีวันพักผ่อน ดังจะให้จากตารางพุทธกิจของพระองค์ดังนี้

06.00 - 08.00 น. เสด็จบิณฑบาตโปรดประชาชน
08.00 - 10.00 น. เสวยภัตตาหารและแสดงธรรมโปรดประชาชน
10.00 - 12.00 น. เสด็จกลับพระวิหารพักผ่อน
12.00 - 14.00 น. ประทานโอวาทแก่พระภิกษุสงฆ์ และลำเร็จสีหไสยาสน์
14.00 - 16.00 น. ทรงตรวจดูสัตว์โลก
16.00 - 18.00 น. แสดงธรรมโปรดประชาชน
18.00 - 19.20 น. ทรงพักผ่อน
19.20 - 22.00 น. แสดงธรรมโปรดภิกษุสงฆ์
22.00 - 02.00 น. โปรดแก้ปัญหาเทวดา
02.00 - 03.20 น. เสด็จจงกรม
03.20 - 04.40 น. สำเร็จสีหไสยาสน์
04.40 - 06.00 น. เสด็จลุกจากสีหไสยาสน์ และตรวจดูสัตว์โลก

ข้อสังเกต
 มีข้อที่น่าสนใจอยู่เรื่องหนึ่งในพุทธกิจประจำวันคือ การตรวจดูสัตว์โลก เรื่องนี้ พระองค์จะทำอย่างไร ในอรรถกถาธรรมบทกล่าวว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์จะต้องทรงดูสัตว์โลกวันละ 2 ครั้ง ทุกวันไม่มีว่างเว้น

ครั้งแรก เวลาย่ำรุ่ง 04.00 - 06.00 น. ทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยการแผ่ข่ายคือพระญาณไปตรวจดู เริ่มจากพระคันธกุฏีออกไปจรดขอบจักรวาล

ครั้งที่สอง เวลาบ่าย 14.00 - 16.00 น. พระองค์ทรงปฏิบัติเช่นเดียวกับครั้งแรกคนนั้นทันที แม้ว่าบุคคลผู้นั้น จะอยู่ไกลเพียงไร โหดเหี้ยมทารุณเพียงใด โดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยากลำบากพระวรกาย
ทั้งนี้เพราะพระองค์มีพระมหากรุณาธิคุณต่อสัตว์โลก ถ้าจะยกตัวอย่างที่เห็นได้อยางชัดเจนและเป็นเรื่องที่ชาวพุทธทราบกันดี คือเรื่องที่พระองค์เสด็จไปโปรด พระองคุลิมาล


 เนื้อหาเพิ่มเติมย้ำความเข้าใจ

        "พุทธกิจประจำวัน ๕ ประการและพุทธจริยา ๓ ประการ"

งานการสอนธรรม เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า เป็นงานที่ละเอียดประณีต เพราะทรงมุ่งให้เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่คนทั้งปวงและอำนวยผลให้เป็นความสุข พระพุทธเจ้า จึงทรงมีกิจหลักที่เรียกว่าพุทธกิจ ในแต่ละวันทรงมีพุทธกิจหลัก ๕ ประการ เพื่อบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ประการ เพื่อบำเพ็ญพุทธจริยา ๓ ประการ ของพระพุทธเจ้าให้สมบูรณ์ คือ

     พุทธจริยาประการที่หนึ่ง โลกัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่โลก  
ในฐานะที่พระองค์เป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคมโลก ความสำเร็จในจริยาข้อนี้ทรงอาศัยพุทธกิจประจำวัน ๕ ประการคือ

     พุทธกิจประการที่ ๑ เวลาเช้าเสด็จออกบิณฑบาต เพื่อเป็นการโปรดสัตว์โลกผู้ต้องการบุญ
     พุทธกิจประการที่ ๒ ในเวลาเย็นทรงแสดงธรรมแก่คนผู้สนใจในการฟังธรรม
     พุทธกิจประการที่ ๓ ในเวลาค้ำทรงประทานพระโอวาทให้กรรมฐานแก่ภิกษุทั้งหลาย
     พุทธกิจประการที่ ๔ ในเวลาเที่ยงคืน ทรงแสดงธรรม และตอบปัญหาแก่เทวดาทั้งหลาย
     พุทธกิจประการที่ ๕ ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูสัตว์โลกที่อาจจะรู้ธรรมซึ่งประองค์ทรงแสดง แล้วได้รับผลตามสมควรแก่อุปนิสัยบารมีของคนเหล่านั้น

     พุทธกิจประการที่ ๕ นี้เอง เป็นจุดเด่นในการทำงานของพระพุทธเจ้า จนทำให้ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา บางคนมีความรู้สึกว่าทำไมคนแต่ก่อนสำเร็จกันง่ายเหลือเกิน ถ้าศึกษารายละเอียดแล้วจะพบว่าไม่มีคำว่าง่ายเลย เพราะนอกจากจะอาศัยวาสนาบารมีของคนเหล่านั้นเป็นฐานอย่างสำคัญแล้ว การแสดงธรรมของพระองค์นั้น เป็นระบบการทำงานที่มีการศึกษาข้อมูล การประเมินผล การสรุปผลในการแสดงธรรมทุกคราว

     หลังจากที่บุคคลนั้น ๆ ปรากฏในข่ายพระญาณของพระพุทธเจ้าคือทรงรู้ว่าเขาเป็นใคร ? มีอุปนิสัยบารมีอย่างไร ? แสดงธรรมอะไรจึงได้ผล ? หลังจากแสดงธรรมแล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร ? ดังนั้นการแสดงธรรมทุกครั้งของพระพุทธองค์ จึงบังเกิดผล เป็นอัศจรรย์เพราะจะทรงแสดงเฉพาะแก่ผู้เป็นพุทธเวไนย คือสามารถแนะนำให้รู้ได้เป็นหลัก

     พุทธจริยาประการที่สอง ญาตัตถจริยา ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่พระญาติ 
เช่นการทรงมีพระพุทธานุญาตพิเศษ ให้พรญาติของพระองค์ ที่เป็นเดียรถีย์ (นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา) มาก่อน ให้เข้าบวชในพรุพุทธศาสนาได้ โดยไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาสก่อน (ติตถิยปริวาส คือ วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาส (การอยู่ชดใช้หรืออยู่กรรม) ก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจจึงจะอุปสมาบทได้) หรือการที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ทรงแนะนำให้พระญาติซึ่งกำลังจะทำสงครามกันได้เข้าใจในเหตุผล สามารถปรองดองกันได้

     พุทธจริยาประการที่ ๓ พุทธัตถจริยา ทรงทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้า 
เช่น ทรงวางสิกขาบทเป็นพุทธอาณา สำหรับควบคุมความประพฤติของผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา ทรงแนะนำให้บรรพชิตและคฤหัสถ์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหน้าที่ของตน ทรงวางพระองค์ต่อผู้ที่เข้ามาบวชและแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา ในฐานะของบิดากับบุตร ผู้ปกครองกัลยาณมิตร ศาสดาผู้เอ็นดูเป็นต้น ตามสมควรแก่บุคคลและโอกาสนั้น ๆ จนสามารถประดิษฐานเป็นรูปสถาบันศาสนาสืบต่อกันมาได้
รวบรวมโดย ชัยวัฒน์ ทองพริก  อ้างอิงข้อมูลจาก ธรรมะไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น