จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ทำไมต้องกลัวผี ฝึกวิธีคิดไม่กลัวผี ดีกว่า คิดแบบทางธรรม และ ทางโลก


เพลง บทปลงสังขาร ฉบับโบราณ ดั่งเดิม
ทำไมต้องกลัวผี ฝึกวิธีคิดไม่กลัวผี ดีกว่า
คิดแบบทางธรรม และ ทางโลก
และ โน้มความกลัวเขาสู่ ทางธรรม อาจจะลึกในความคิดสักหน่อย
ไม่ได้หวังว่าจะให้เราเลิกกลัวกันอย่างง่ายๆแบบฉับพลัน แต่ให้เรารู้จักคิดมากขึ้น และฝึกฝนพัฒนาใจให้สูงยิ่งขึ้น ทุกอย่างต้องใช้เวลาของมัน

1.ผีเขาก็เคยเป็นคนเหมือนเรา แม้แต่จะเป็นญาติ เป็นเพื่อน เป็น พ่อ แม่ คนที่เรารัก ดั่งก่อนที่เขามีชีวิตอยู่

2.ไม่เคยได้ยินข่าวว่า ผีฆ่าคน เบียดเบียนคน ปล้นคน ผิดศีล 5 กับใคร

3.ผีมีแต่วิญญาณ เรามีทั้งกาย เนื้อ และ วิญญาณ เรามีมากกว่าเหนือกว่า

4.พื้นแผ่นดินนี้ มีคนเคยตายแล้วทั้งนั้น ตั้งแต่มีมนุษย์มา กระดูกมากมายฝั่งอยู่ในแผ่นดิน เรากำลังเหยียบกองกระดูก ของบรรพบุรุษ ครั้งก่อน

5.ก่อนที่เราเกิดมาในโลกนี้ เราเคยเป็นผีเป็นวิญญาณ มาก่อน

6.และเมื่อเราจากโลกนี้ที่สุดของคนเรา ก็จะกลับไปเป็นวิญญาณอีก

7.เรากลัวกระดูก กันทำไม เมื่อในร่างกายเราก็มีกระดูก

8.เรากลัวศพทำไมเมื่อสักวันหนึ่งเราก็ต้องแปรสภาพเป็นอย่างนั้น คืนสู่ ธรรมชาติ

 9.เรามักเรียกวิญญาณรวมๆว่าผี (ทางพุทธเราเรียก อุปติกะ) แต่นั้น อาจจะเป็น เทวดา นางฟ้า เทพเจ้า สิ่งศักด์สิทธิ์ มาช่วยคุ้มครองเราก็ได้

10.สิ่งศักดิ์สิทธิ์ วิญญาณ ชั้นสูงเขามีแต่ช่วยคน ไม่ทำร้ายคน เขาก็อยากสร้างสมบุญ เช่นกัน

11.ปากของเรา กระเพาะของเรา ก็เป็นโลงศพที่ทิ้งซากของวิญญาณ พวก อาหารเนื้อ สัตว์ที่สละร่างกายชีวิตให้เราได้กินไป

12.สัตว์มันไม่มีความคิดรู้สึกกลัวผี แม้แต่วิญญาณพวกของมัน หรือ แม้จะอยู่ที่ใด แต่แปลกที่เราที่ว่าจะฉลาดกว่ามันกลับคิดกลัวขึ้นมา คนบ้า มันยังไม่กลัวผี

13.และผีก็อยู่ส่วนผี จะไปหาเรื่องที่จะเข้าไปยุ่งกับสิ่งนั้นทำไม เมื่อไปอยู่ หมกหมุ่นในเรื่องเหล่านี้ ก็มักจะเจอพัวพันกับสิ่งเหล่านี้ ว่าใครชอบอะไร สนใจอะไร ก็มักจะไปอยู่กับสิ่งเหล่านั้น (ดั่งพวกชอบเล่นของ ทำคุณไสย ย่อมไม่พ้น เรื่อง กรรมเหล่านี้)

14.เรากลัวความมืด หรือกลัวอะไร ที่ใจจะปรุงแต่งในความมืดนั้น ลองคิด กลับดูถ้ากลางคืน เป็นกลางวัน มันจะน่ากลัว ผี หรือเปล่า

15.ผีหลอกคนไม่เท่ากับคนหลอกคนด้วยกัน
16.ทางวิทยาศาสตร์ พิสูจน์แล้วว่า ผี  คือ พลังงานชนิดหนึ่ง
 17.ผี วิญญาณ มีอยู่ตามธรรมชาติ ธรรมดา ตามปัจัยของมันอยู่อย่างนั้น
 18.ถ้าไม่กลัวตายเสียอย่างเดียวแล้ว สิ่งเหล่านี้เราก็จะไม่กลัว

19.เรื่องผี หรือ วิญญาณ ที่เราเรียกกัน ถ้าเราศึกษากระบวนการแห่งจิต ตามหลักพุทธศาสนา สิ่งนั้นก็จะเฉลยว่า สิ่งที่เรากลัวไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร มันมีอยู่อย่างนั้น ตามเหตุปัจจัย ธรรมชาติ เรื่องลี้ลับก็ไม่ใช่เรื่องลี้ลับ อีกต่อไป

20.ผีหลอกเราไม่เท่ากับเราหลอกตัวเอง ปรุงแต่งจิตวาดภาพให้น่ากลัว แต่งเป็นหัว เป็นเท้า เป็นรูปร่างลำตัวขึ้น

21.สิ่งที่ เราเรียกว่าผีนั้น  ศพ นั้น เขาก็เรียกว่าผี ส่วนจิตใจคน ที่เป็นไปด้วยกิเลศ นั้นก็เรียกว่า ผี เช่นกัน

22.ผี ที่น่ากลัวที่สุด คือ ผีกิเลศในใจคน ที่มี ทั้ง โลภ โกรธ หลง มันจะฆ่าตัวเราเอง กระทั้งจะ ทำลายชีวิตคนอื่นให้เป็นผีได้ สารพัดพิษวิธี ที่จะจ้องทำลาย

23.ผีมักจะมาสิ่งสู่ใจคน ที่อ่อนแอ คือ อ่อนแอให้กิเลศ     และ นำพาไปในทางเสื่อม คือ      ผี อบาย มุข ๖
  มีผี ดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน เที่ยวดูการเล่น เล่นการพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร และเกียจคร้านการทำงาน 

24.ผี หลอกเราไม่เท่ากับเราหลอกตัวเอง หลงตัวเอง  คือ หลงใน  ทิฐิ ความ ดื้อรั้นผิดๆของตน  และ มานะ ความมัวเมาถือตัว อวดดื้อ อวดเบ่ง และ หลงลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ว่าเป็นสิ่งสูงสุดของชีวิต  หลงว่าทุกข์ เป็นสุข ว่าผิดเป็นชอบ และ หลงไม่เข้าใจ อนิจจัง  ทุกขัง อนัตตา  รวมเรียก ว่า หลงใน จ้าวแห่งผี คือ ผี อวิชชา คือ ความไม่รู้ตามความเป็นจริงของโลก ว่า อะไร เป็นอะไร
25. หัดฝึกพิจารณาร่างกาย ให้ลึกๆ ด้วยกรรมฐาน หรือ ความคิดความอ่านสติปัญญา ที่เรามี ให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในร่างกายเรา ว่า ประกอบด้วย ธาตุ 4 และ ขันธ์ 5 ที่มารวม เป็นสมมุติ ว่าเป็นตัวเรา ของเราขึ้นมา และแปรสภาพในความจริงว่า มันไม่ใช่ตัวใช่ตน และเมื่อฝึกลึกๆจนเป็นนิสัย จนเห็นความจริง มันก็จะไม่มี ตัวมีตน ให้กลัวสิ่ง เหล่านี้
26. เป็นคนดี จิตกุศล มั่นคงในหลักธรรม ผีมีแต่เกรงใจเรา คุ้มครองเราด้วยซ้ำ และ ผีร้ายไม่กล้ำกลาย จิตใจ มั่นคง มีสติ สัมปชัญญะ คือ ใจที่ประเสริฐ

27.ผีใดจะทำร้าย เท่ากับเราทำร้ายจิตใจตนและร่างกายตัวเรา ผีใดจะหน้ากลัวเท่ากับคน ที่เบียดเบียนข่มเหงเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

28.สร้างเวร ก่อกรรม ทำชั่ว จะสร้างผีติดตัวเรา แบบเงาตามตัว ดั่งสุนัข ล่าเนื้อ เมื่อ เหยื่ออย่างเราอ่อนแอ (ด้วยจิตที่ตกต่ำในกิเลศ) ถึงเวลามันจะกัดกินจิตวิญญาณเรา ให้ตายทั้งเป็น น่ากลัวกว่าผีทั้งหลาย นั้น คือ ผีกฎแห่งกรรม แห่ง อกุศล (เจ้ากรรมนายเวร พึงระวัง อย่าเบียดเบียนใคร ทำร้ายใคร ในทางใดทางหนึ่ง)

29.คนเรา มีพลังงาน แห่ง กุศลจิต และอกุศลจิต ที่เป็นเชื้อเหตุปัจจัย อย่างต่อเนื่องของ การเวียนว่ายตายเกิด วนเวียนในสังสารวัฏ และมีจิต ธรรมชาติอันต่อเนื่อง แม้ในปัจจุบันขณะ แม้นอน จิตก็ทำงาน ยังเกิดฝันได้ ละเมอได้ จนกระทั้งตายไปในร่างกาย จิตก็ยังทำงาน แปรสภาพ พลังงาน ตามเหตุปัจจัย อิทัปปัจยตา (เมื่อมีสิ่งนี้เกิดสิ่งนี้จึงเกิด)หรือ เรียก ว่า กฎแห่งกรรม ตามพลังของ กุศล และ อกุศล ดังนั้นในช่วงทั้งหลายเหล่านี้ เราก็ยังเวียนว่าย อยู่ในสภาพ อุปติกะ สภาวะวิญญาณ เช่นกัน อยู่ในหลายภพ หลายชาติ ทั้งทาง จิต ที่ มีอุปาทาน ทั้งทางโลกเนื้อหนัง ที่เกิดในท้องมารดา เราก็เป็นสิ่งนี้มาหลายภพหลายชาติ ตราบใดที่ไม่หมดเชื้อที่ทำให้เกิด ทั้ง ฝ่ายบุญ และ ฝ่ายบาปจนกว่า  สะสมจิตสู่นิพพาน คือ สภาวะ เหนือ สุข เหนือทุกข์ นั้นเอง.

 30. ในใจคนเรานั้น ขณะใจจะปรุงแต่ง จะเกิดอุปาทาน (ความยึดมั่น ถือมั่น ในอารมณ์ทั้งหลาย) สร้างให้เกิดเป็นอะไรก็ได้ เช่น ขณะ โกรธ จิตเรามันร้อนเร่า ทุรนทุราย เป็นดั่งสัตว์นรก ทำลายสิ่งนั้นสิ่งนี้  และ เมื่อตัณหา เห็นสิ่งใด ที่ถูกใจตามอารมณ์ ของความ อยากได้ อยากมี ใจมันทุรนทุราย กระสับกระส่าย สับสนมุ่งต้องการสิ่งนั้นมาครอบครอง นี้เขาบอกว่า ตาโต อยากได้ มือใหญ่อยากกอบโกย ปากเล็กกินไม่รู้จักอิ่ม เมื่อได้มาแล้วอยากได้อีก วนเวียนอยู่อย่างนี้ เรียกว่า จิตใจเกิดเป็นเปรต นี้เรียกว่าเกิดจากความโลภ    และเมื่อ จิตใจมีความกลัวสิ่งนู้นสิ่งนี้ กลัวในทุกอย่าง ด้วยความยึด แม้ว่ากลัวสิ่งใดที่ต้องจากไป กลัวในเรื่องอดีต กลัวไปในอนาคต จิตใจฟุ่งซ่าน วิตกเสียแล้ว นี้เป็นไปในรูปของ ความหลง เขาเรียกว่าเกิด เป็น อสูร คือ ใจมันกลัวไปต่างๆนา  ใจเรามันจะเป็นอะไรก็ได้ แล้วแต่ภูมิจิต ของเรามันเป็นกระแสทำให้เกิด จะเป็นเทวดา พระพรหม หรือ สิ่งสูงๆต่ำ แต่ระดับภพภูมิของจิต ในปัจจุบันขณะมันเกิดมีความรู้สึกในใจ  นี้เราต้องเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ เพราะมันจะต้องเป็นเหตุปัจจัย ให้ไปสู่เมื่อกายนี้ตายไปด้วย จะเกิดเป็นภพภูมิ ของการเกิด เป็นผี เป็นสัตว์นรก เป็นเปรต อสูรกาย ในอีกแบบหนึ่ง ในโลกหน้า ด้วยเช่นกัน  เรื่อง อิทัปปัจจยตา คือสิ่งที่เราต้องศึกษา คือสิ่งพระพุทธเจ้าวางไว้ให้ เป็นคัมภีร์ที่ประเสริฐกว่า วิชาใดๆในทางโลก  จะทำให้เราเริ่มเรียนรู้ในหลายสิ่งหลายอย่าง ที่จะเป็นประตูทางปัญญา จนกระทั่งทำให้เราพ้นทุกข์เสียได้  ผู้ไม่ประมาท ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้ จงอย่าละเลยสิ่งเหล่านี้ไป.

ตราบใดที่เรายังมีสัญชาติญาณ แห่งความยึดมั่นถือมั่น เสียแล้ว ในเรื่องต่างๆ เราก็ยังต้องตกอยู่ในสภาพของความกลัว ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เรายึดมั่นไว้ ถ้าฝึกบรรเทาความยึดให้น้อยลง ก็ทุกข์ หรือ กลัวน้อยลง ถ้าฝึกสู่ความเข้าใจ ความปล่อยวางได้มาก ก็ทุกข์น้อยลงยิ่งกว่า ยิ่งเข้าใกล้นิพพานมากขึ้น นั้นเอง.
     โดย อุตฺตมสาโร ภิกขุ


            เราเรียกสิ่งทั้งหลายแบบเหมารวม  ที่ว่าหลังจากตายนั้น ว่าผี หรือ วิญญาน  ที่จริง เราไม่รู้ว่าหลังจากตายนั้น จะไปเกิดเป็นอะไร ตามภพภูมิของตนที่สร้างเวร สร้างกรรมมา จะเป็นเปรตวิสัย อสูร สัตว์นรก เทวดา พรหม เทพ อะไรๆอย่างนั้น นี้เราเรียกว่าเกิด(จุติ) เป็นภพภูมิใด ภูมิหนึ่ง เกิดแบบไม่ต้องมี พ่อ แม่ เกิดตามกรรม เรียกว่า อุปติกะ พระพุทธเจ้าท่านทราบ เลยเรียกตรงๆว่า นั้นเปรต นั้นเทวดา นั้นอสูร ไปตามๆนี้ แต่เรานั้นไม่ทราบ เลยเรียกรวมเหมาง่ายๆว่า ผี ตามประสาของคนทั่วไป เมื่อเขาตายเเล้วในร่างกายเนื้อเขาก้เกิดทันที เป็นอะไร เสวยภพชาติอย่างไร ตามกรรมนั้น ที่เป็นเผ่าพันธ์ บุญ กุศลนั้นแหละเป็นที่หล่อเลี้ยง ถ้าบุญไม่พอ นี้จะเสวยภพภูมิอย่างทรมาณนั้นไป ดั่งนั้นรีบสร้างกรรมดี ให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา เข้าหาพระพุทธศาสนาโดยเร็วเถิด จะขอเตือน......

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น