จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2555

ถามเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ใครประเสริฐที่สุดในโลก พระพุทธเจ้าต่างจากมนุษย์ธรรมดาอย่างไร

  
 
ถาม อยากทราบว่าใครเป็นที่สุดในโลก เป็นผู้ประเสริฐที่สุดในโลกนี้
 
ทรงเป็นอัจฉริยมนุษย์ในโลก
 
      ภิกษุ ท. ! บุคคลเอก เมื่อเกิดขึ้นมาในโลก ย่อมเกิดขึ้น เป็นอัจฉริย -
มนุษย์. ใครกันเล่าเป็นบุคคลเอก? ตถาคต ผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง
นี้แลเป็นบุคคลเอก.

 ภิกษุ ท. ! นี่แล บุคคลเอก ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นมาในโลก ย่อมเกิดขึ้น
เป็นอัจฉริยมนุษย์ ดังนี้.
 
ถาม พระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์แบบเราหรือต่างจากมนุษย์ธรรมดาอย่างเราอย่างไร 
 
ทรงต่างจากมนุษย์ธรรมดา
        ภิกษุ ท. ! เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลาย มีรูปเป็นทียินดี กำหนัดแล้ว ในรูป บันเทิงด้วยรูป.เทวดาแลมนุษย์ ท. ย่อมทนทุกข์อยู่ เพราะความแปรปรวน ความกระจัดกระจาย ความแตกทำลาย ของรูป. ภิกษุ ท. ! เทวดาแลมนุษย์ ทั้งหลาย มีเสียง๓ ฯลฯ, มีกลิ่น ฯลฯ, มีรส ฯลฯ, มีโผฏฐัพพะ ฯลฯ, มีธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี กำ หนัดแล้วในธรรมารมณ์ บันเทิงด้วยธรรมารมณ์. เทวดาแลมนุษย์ ท. ย่อมทนทุกข์อยู่ เพราะความแปรปรวน ความกระจัดกระจาย ความแตกทำลาย ของธรรมารมณ์. ภิกษุ ท. ! ส่วนตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะ รู้แจ้งตามเป็นจริง ซึ่งเหตุเป็นเครื่องเกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษคือความ ต่ำทราม และอุบายเครื่องหลุดพ้นออกไปได้ แห่งรูปทั้งหลายแล้ว ; ไม่เป็นผู้มีรูป เป็นที่ยินดี ไม่กำหนัดในรูป ไม่บันเทิงด้วยรูป. ภิกษุ ท. ! ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข เพราะความแปรปรวน ความกระจัดกระจาย ความแตกทำลาย ของรูป, ภิกษุ ท. ! ตถาคตรู้แจ้งตามเป็นจริง ซึ่งเหตุเป็นเครื่องเกิดขึ้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งรสอร่อย ซึ่งโทษคือความต่ำทราม และอุบายเครื่องหลุดพ้นออกไปได้แห่ง เสียง ท. แห่งกลิ่น ท. แห่งรส ท. แห่งโผฏฐัพพะ ท. และแห่งธรรมารมณ์ ท. แล้ว; ไม่เป็นผู้มีเสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี ไม่กำหนัดไม่ บันเทิงด้วยเสียงเป็นต้นภิกษุ ท. ! ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข เพราะความแปรปรวน ความกระจัดกระจาย ความแตกทำลาย แห่งธรรมมีเสียงเป็นต้นนั้นๆ. (พระผู้มีพระภาค ได้ทรงกล่าวคำนี้แล้ว, พระสุคตครั้นตรัสคำนี้แล้ว พระศาสดาได้ภาษิตคำอื่นอีกที่ผูกเป็นคาถาดังนี้ว่า :-) รูป ท. เสียง ท. กลิ่น ท. รส ท. ผัสสะ ท. ธรรม ท. ทั้งสิ้น อันน่าปรารถนา น่ารักใคร่ น่าชอบใจ ยังเป็นสิ่งกล่าวได้ว่ามีอยู่เพียงใด มนุษยโลกพร้อมด้วยเทวโลก ก็ยังสมมติว่า “นั่นสุข”อยู่เพียงนั้น. ถ้าเมื่อ สิ่งเหล่านั้นแตกดับลงในที่ใด, สัตว์เหล่านั้น ก็สมมติว่า “นั่นทุกข์” ในที่นั้น. สิ่งที่พระอริยเจ้า ท.เห็นว่าเป็นความสุข ก็คือความดับสนิทแห่ง สักกายะทั้งหลาย,แต่สิ่งนี้กลับปรากฏเป็นข้าศึกตัวร้ายกาจ แก่สัตว์ ท. ผู้เห็นอยู่โดยความเป็นโลกทั้งปวง. สิ่งใด ที่สัตว์อื่นกล่าวแล้วโดยความ เป็นสุข, พระอริยเจ้า ท. กล่าวสิ่งนั้น โดยความเป็นทุกข์. สิ่งใดที่สัตว์อื่น กล่าวแล้ว โดยความเป็นทุกข์, พระอริยะผู้รู้ กล่าวสิ่งนั้นโดยความเป็น สุข, ดังนี้. --------------------------------------------------------------------------------------------------------- บาลี สฬา. สํ. ๑๘/๑๕๙/๒๑๖. มีข้อความเต็มเหมือนในข้อต้นที่ว่าด้วยรูปเป็นที่ยินดีจนตลอด, แต่ในที่นี้ย่อไว้ให้สะดวกแก่การอ่าน ไม่รกตา.

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ13 มกราคม 2556 เวลา 06:53

    ข้าพเจ้าเอง พิจารณาตามความเป็นจริงดูแล้ว ว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ
    แต่คนรอบข้างเขาไม่เข้าใจ เขาไม่รู้ แล้วก็ไม่เคยรับไปพิจารณาดูว่าจริงอย่างไร ข้าพเจ้าอยู่อย่างสับสน ที่มารู้ความเป็นจริงว่า มันเป็นอย่างนี้นี่เอง ข้าพเจ้าอยากฟังแต่ธรรม อยากพยายามพูดถึงธรรม แต่คนรอบข้างชอบพูดเรื่องทั่วไป ข้าพเจ้าใช้ชีวิตอยู่อย่างปุถุชน เกิดความสับสนมาก ชีวิตที่อยู่ในตอนนี้เหมือนฝันเลย ทำใจยากเหลือเกินที่มีแต่เราที่เข้าใจถึงจะยังไม่ละเอียดลึกซึ้งมากพอก็เถอะ น้อยคนนักที่จะคิดและเข้าใจอย่างเรา ข้าพเจ้าเศร้าใจจังเลย

    ตอบลบ

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น