จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

สาระพุทธวจน พระพุทธศาสนากับคำตอบทางเดินของสันติภาพ


พระพุทธศาสนากับคำตอบทางเดินของสันติภาพ
        
      สันติภาพ ที่เราเรียกกันหรือมีความรู้สึก ว่า เป็น ความสงบ ความไม่วุ่นวาย ความเป็นปกติ ความอิสระ การไม่มีสงคราม  มันก็เป็นเรื่องที่จะคิด และพูดหาวิธีการทางออกไปตามประสา โลกๆ หาวิธีการไปในแบบใด อย่างไร วิธีใด มันก็ยังวุ่นวาย ไร้สันติภาพ อยู่อย่างนั้น ก็ให้ดูว่า ประเทศที่ร้องเรียกสันติภาพ มันก็ยังร้องเรียกกันโดยใช้อาวุธ ไอ้ประเทศที่ต้องการให้เกิดสันติภาพความสงบมันก็ต้องใช้อาวุธ ทำลายกันให้เสียไปข้างหนึ่ง  จึงตัวเองบอกว่าได้สันติภาพกลับมา สันติภาพอย่างไร ก็สันตืภาพอย่างภายนอก เปลือกหลอก ให้เห็นว่า สันติ  เดี่ยวนี้ก็ยังไปแก้เรียกหาสันติภาพ อะไร ต่ออะไร แบบจัดการแบบเปลือกนอก จับมือกัน ตกลงกัน จะหาวิธีเพื่อประนีประนอม กัน นี้มันก็ดีอยู่ แต่ไม่ได้ยั้งยืนอะไร ได้โอกาสที่จะขัดกัน หรือจะเอาประโยชน์กันอย่างอื่นๆ มันก้กลับมาไร้สันติภาพ เหมือนเดิมๆ วนเวียนกันอยู่อย่างนี้ สันติภาพของอะไร  นี้ส่วนใหญ่ จะเป็นสันติภาพภายนอก ที่มันทำให้เห็นกันแบบหลอก แสแสร้ง ว่าดีกัน หรือ ดูว่าสงบ ปกติ เหมือนมหาสมุทร ที่ดูสงบ แต่ใต้มหาสมุทร นี้เป็นคลื่นแปรปรวน รอวันที่จะเป็นคลื่นยักษ์ถ่าโถมทำลาย หรือสันติภาพ แบบภูเขาไฟ ที่รอจะปะทุ นี้เป็นแบบภายนอก   โลก หรือ สังคม รัฐอะไรต่างๆ ย่อยตามที่เข้าแบ่งกัน จัดสรรกัน สังคม ชุมชน ต่างๆ มันก็สนใจกันแบบสันติภาพภายนอก จับมือกัน แต่มืออีกข้างจับมีด จับปืน แอบไว้ข้างหลัง  เราทุกคน แม้ตัวเราเองนี้ กำลังลืมตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิด การไร้สันติภาพ ที่จะมีอาการแสดงออกไปทำลายคนใกล้ๆลามไปถึงเบียดเบียนสิ่งอื่นขยายใหญ่จนเสียหาย จนว่าสันติภาพในใจตัวเองไม่มี ก็ยังทะเลาะกับตัวเองอยู่เลย วุ่นวายเป็นสงครามในใจ นี้เราต้องกลับมาดูต้นเหตุของการทะเลาะวิวาท ตามพระพุทธเจ้ากล่าวไว้อย่างไร ที่จะทำให้เรารู้ว่าต้องดับเชื้อไฟ ตัวไหนเสีย  
    ความอยาก (ตัณหา)
คือ ต้นเหตุแห่งการทะเลาะวิวาท
เพราะอาศัยตัณหา (ความอยาก) จึงมี การ
แสวงหา (ปริเยสนา);
เพราะอาศัยการแสวงหา จึงมี การได้ (ลาโภ);
เพราะอาศัยการได้ จึงมี ความปลงใจรัก (วินิจฺฉโย);
เพราะอาศัยความปลงใจรัก จึงมี ความกำหนัด
ด้วยความพอใจ (ฉนฺทราโค);
เพราะอาศัยความกำหนัดด้วยความพอใจ จึงมี
ความสยบมัวเมา (อชฺโฌสานํ);
เพราะอาศัยความสยบมัวเมา จึงมี ความจับอก
จับใจ (ปริคฺคโห);
เพราะอาศัยความจับอกจับใจ จึงมี ความตระหนี่
(มจฺจริยํ);
เพราะอาศัยความตระหนี่ จึงมี การหวงกั้น
(อารกฺโข);
เพราะอาศัยการหวงกั้น จึงมี เรื่องราวอันเกิด
จากการหวงกั้น (อารกฺขาธิกรณํ); กล่าวคือ การใช้อาวุธ
ไม่มีคม การใช้อาวุธมีคม การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท
การกล่าวคำหยาบว่า “มึง ! มึง !” การพูดคำส่อเสียด
และการพูดเท็จทั้งหลาย : ธรรมอันเป็นบาปอกุศลเป็น
อเนก ย่อมเกิดขึ้นพร้อม ด้วยอาการอย่างนี้.
มหา. ที. ๑๐/๖๗-๗๒/๕๘-๕๙. 
           นี้มันจะเห็นเชื้ออันร้ายกาจของการเกิดไฟ นั้นคือตัณหา ที่อยู่ในจิตในใจของเรานี้เอง หรือของคน ที่ยังมีกิเลศหนาอยู่  ที่นี้ก็รู้ว่า มีกิเลศ แต่มันก็มองไม่เห็นสักที ว่ามีตัวกิเลศ ตัณหาอยู่ เพราะมันไม่เคยมองมาเข้าตัวเองสักที ก็มีเเต่โทษ สิ่งภายนอกออกจากตัว ไปต่างๆนา   คนนู้น คนนี้ เขานั้น สิ่งบรรดาลไปอย่างหลากหลาย นี้ เพราะเรียกว่า อวิชชา คือความไม่รู้ไม่เห็นความจริง ไอ้ความจริงที่จะให้มองมานี้ ในเรื่อง หาสันติภาพ ในใจ คือ มองให้เห็นความจริง ที่เป็นเหตุในใจ ให้เกิด ความทุกข์ หรือจะเป็นต้นเหตุไปให้เกิด การทะเลาะวิวาท นั้นเเหละ ต้องมาดูตัวตัณหา ความอยากได้ อยากมี อยากเป็น ในใจของคน นี้เรากำลังมาแก้ตัวภายใน เพราะถ้าไอ้ตัวภายในนี้มีอยู่แม้เเต่สักคนหนึ่งที่มี มันก็จะทำให้เกิด เหตุร้ายขึ้นได้มากกว่าที่คิด คิดดูถ้ามันมีในใจของ ไอ้พวกผู้นำ ตัวใหญ่ๆ นี้มันจะเสียหายไปอย่างไร นึกภาพเอา และมันก็มีในใจของคนส่วนใหญ่ในโลก มีมาก มีน้อย มันก็จะอยู่รวมกันแบบหาสันติภาพได้ให้ดี อย่างไรกัน แม้มองกัน จะอยู่กันก็จะยังเบียดเบียนกันเมื่อมีโอกาส เหมือน จ้องกัน แบบเสือจ้องตะครุบเหยื่อ ที่นี้ไม่ต้องคิดว่า มีเฉพาะมนุษย์ มันก็ยังลามไปถึง เทวดา เทพเจ้า อะไรๆที่อยู่บนสววรค์ นู้นเเหละ ที่จะเบียดเบียนกัน ทำลายสันติภาพ แม้ที่เรียกว่า สันติภาพแบบเปลือกๆ ที่กล่าวมาอย่างเบื้องต้น มันก็ยังให้เห็นแบบตัวอย่าง ที่พระพุทธเจ้าทรงตอบปัญหาของพวกจอมเทพ ที่มาถาม เหตุของการเบียดเบียน กันว่า อย่างนี้
                          เหตุแห่งการเบียดเบียน
“ข้า้ แตพระองค์ผู้นิรทุกข  ! อะไรเป็นเครื่องผูกพันเทวดา
มนุษย ์ อสูร นาค คนธรรพทั้งหลาย อันมีอยูเ่ป็นหมูๆ่ (ซึ่งแตล่ะหมู)
ปรารถนาอยูว่า่ เราจักเป็น ผู้ไ้ม่มีเวร ไมมีอาชญา ไมมีข้า้ศึก ไมมี
การเบียดเบียนแกกันและกัน แตแ่ลว้ ก็ไมสามารถจักเป็น ผู้อยู่อย่า่ง
ผู้ไ้ม่มีเวร ไมมีอาชญา ไมมีข้า้ศึก ไมมีเบียดเบียนแก่กันและกันเล่า
พระเจ้าข้า ?”.

จอมเทพ ! ความอิจฉา (อิสสา) และความ
ตระหนี่ (มัจฉริยะ) นั่นแล เป็น เครื่องผูกพันเทวดา มนุษย์
อสูร นาค คนธรรพทั้งหลาย อันมีอยู่เ่ป็น หมู่ๆ่ (ซึ่งแตล่ะหมู่)
ปรารถนาอยู่ว่า เราจักเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีอาชญา ไม่มี
ข้าศึก ไม่มีการเบียดเบียนแก่กันและกัน แต่แล้วก็ไม่สามารถ
จักเป็น ผู้อยู่อย่า่งผู้ไ้ม่มีเวร ไมมีอาชญา ไม่มีข้าศึก ไม่มีการ
เบียดเบียนแก่กันและกันได้.
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็ความอิจฉาและความ
ตระหนี่นั้น มีอะไรเป็นต้นเหตุ (นิทาน) มีอะไรเป็นเครื่องก่อขึ้น
(สมุทัย) มีอะไรเป็นเครื่องทำใหเ้กิด (ชาติกะ) มีอะไรเป็น แดนเกิด
(ปภวะ) ? เมื่ออะไรมีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่จึงมี ?
เมื่ออะไรไมมีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่จึงไมมี พระเจ้า้ ขา้ ?”.
จอมเทพ ! ความอิจฉาและความตระหนี่นั้น
มีสิ่งอันเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เ่ป็น ที่รัก (ปิยาปฺปยิ ) นั่นแล
เป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ... เมื่อสิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รัก
ไม่มีอยู่ ความอิจฉาและความตระหนี่ก็ไม่มี.
“ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ! ก็สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็น
ที่รักนั้นเล่า มีอะไรเป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ... ? เมื่ออะไรมีอยู่ สิ่งเป็น
ที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักจึงมี ? เมื่ออะไรไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและ
สิ่งไม่เป็นที่รักจึงไม่มี พระเจ้าข้า ?”.

จอมเทพ ! สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักนั้น
มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นต้นเหตุ ...ฯลฯ... เมื่อฉันทะ
ไม่มีอยู่ สิ่งเป็นที่รักและสิ่งไม่เป็นที่รักก็ไม่มี...
มหา. ที. ๑๐/๓๑๐-๓๑๒/๒๕๕-๒๕๖

นี้ทำให้เราเห็นว่า อะไรที่จะทำให้เราไปยึด เอามาเป็นด้วยความพอใจ จะให้ได้มา หรือเป็นของเรา มันก็เป็นสิ่งที่จะทำให้พวกคนทั้งหลายที่มีอยู่ในเรื่องอย่างนี้ อย่างใด สิ่งใด ที่จะให้มาพอใจมา กอด ยึดมั่น ถือมั่น ว่าเป็นของกู ของกู ทั้งจะเป็นอย่างวัตถุ และนามธรรม ตั้งแต่คราวใดๆที่จะให้เกิดความรู้สึกพอใจ ก็รอเถอะว่า สิ่งนั้นจะเป็นต้นเหตุของความทุกข์  พระพุทธเจ้า ตรัสว่า ความพอใจ เป็นต้นเหตุของทุกข์ ดั่งนี้
          ความพอใจใด ความพอใจนั้น
คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์
“ทุกข์ใดๆ ที่เกิดขึ้นแล้วใน อดีต
ทุกข์ทั้งหมดนั้น
มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
เพราะว่า ฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์;
และทุกข์ใดๆ อันจะเกิดขึ้นใน อนาคต
ทุกข์ทั้งหมดนั้น
ก็มีฉันทะ (ความพอใจ) เป็นมูล มีฉันทะเป็นเหตุ
เพราะว่า ฉันทะเป็นมูลเหตุแห่งทุกข์”.

สฬา. สํ. ๑๘/๔๐๓/๖๒๗.
     ดั่งนั้นสาเหตุทั้งหลายที่ว่า พวกเราหาสันติภาพกันไม่ค่อยเจอ ก็ให้รู้ไว้มาจากสิ่งใด สิ่งใดนี้ มาจากจิตใจ เราทั้งหมด จะหาวิธีแก้กันอย่างไร ก็ต้องเอาตัวเรานี้แหละ เป็นเริ่มต้น หันมาทำความเข้าใจกันให้มากกว่า สันติภาพแบบหลอกๆ ไอ้แบบหลอกก็ให้มันมี แต่ไอ้สิ่งสำคัญกว่าก็คือ การแก้สิ่งที่เป็นหัวจิต หัวใจของคน ให้มาทำความรู้จักตนเอง ให้รู้ว่า เริ่มต้นของสันติภาพ  มันอยู่ในใจเราทั้งหมด ก็ต้องหาวิธีกันเพื่อทำให้คนทั้งมากๆ หันมาแก้กันตรงนี้ ทำความละเอียดให้ได้ แม้มันจะเป็นการยากที่จะให้ใครหันมามองตนเองแบบยุติธรรม ไม่เข้าข้างตนเอง แต่ก็ต้องทำ มันบังคับให้สนใจและเเก้กันแบบนี้ แม้เรื่อง ฉันทะ ที่เราพอใจกันนั้นเป็นพอใจแบบอวิชชา หลง เพลิน และ ยึด ที่เป็นแบบตัณหา กิเลศ สิ่งที่พอใจทั้งหลาย มันเป็นสิ่ง ไม่เที่ยงแท้ แน่นอน ทนอยู่อย่างสภาพเดิมไม่ได้ทั้งนั้น เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป นี้เรื่องที่จะทำให้คนเข้าใจและฉลาดในการปล่อยวาง เเละมันจะมีอีกตามขั้นๆที่จะให้เข้าใจ รู้สึก ตามปัญญา ความจริงตามมา ดั้งนั้นก็ต้องอาศัย ฉันทะ อีกแบบหนึ่งเช่นกัน ที่เรียกว่า ปัญญา คือความพอใจ แบบปัญญานำหน้า ต่างกับฉันทะแบบ ตัณหานำ นี้ก็เป็นความอยากอีกแบบหนึ่งแต่เป็นฝ่ายดี และก้ต้องทำความรู้สึกให้เรามีตัณหาแบบฝ่ายขาวอย่างนี้ คือ ต้องช่วยกันตามแต่ล่ะแบบ วิธีที่คนฉลาด จะสามารถนำให้มีส่วนร่วมกัน เพื่อดึงคนทั้งหลาย ให้มีความรู้สึกอย่างนี้ด้วย ก็จะมา ตกลง ร่วมใจกันหาสันติภาพ ภายในใจกันได้ เหมือนกับคน ตั้งใจพอใจ มาที่วัด เพื่อฟังเทสน์ คำสอนให้มันฉลาดขึ้น ดับกิเลศ รู้เท่าทัน สร้างสันติภาพได้ ดั้งนั้น วิชาทางพุทธศาสนา ที่เป็นปริยัติ ก็ต้องมีบทบาทกันให้มากขึ้น มากขึ้นตามพระพุทธเจ้า ตามสูตร และให้เข้าไปที่จะนำำไปปฏิบัติ...ก็คงจะเป็น หน้าที่ ที่จะทำให้พระพุทธศาสนา เข้าไปสู่คำตอบของ สันติภาพ แบบให้กว้างไกลไปถึง สันติภาพโลก จึงเป็นหน้าที่ต้องช่วยกัน ทั้งหมด จึงจะแก้ปัญหาให้เกิด คำว่าสันติภาพได้นั้นเอง พระพุทธศาสนานี้มีคำตอบ ที่จะเป็นเส้นทาง ต่อไป.......สู่สันติภาพ
                                                                       โดย พระชัยวัฒน์ อุตฺํตมสาโร
(หมายเหตุ ต้องเชื่อมั่นในคำพระศาสดา เอาเนื้อ ของ พุทธวจน เป็นแนวทาง มีหลายพระสูตรที่เป็นคำตอบ
ผิดประการใดอย่าเอาความคิดเห็นข้าพเจ้า เป็นตัวยึด ให้เอาคำพระศาสดา ที่ต้องทำความเข้าใจให้มาก)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น