จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เบิกเนตร คนฆ่า ร.๘







 “ใครฆ่า ร.8” 

ที่ม็อบพยายามจะบอกว่า ร.9 เป็นผู้ทำนั้น 

จริงๆแล้วข้อเท็จจริงคืออะไร ?



คดีลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที๘  ส่วนที่1


ไม่นึกไม่ฝันว่าจะได้มีโอกาสเขียนถึง คดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘ อีกครั้งหลังจากที่ มีหลายท่านตั้งข้อสงสัยกันมา ว่าเรื่องราวข่าวลืออันเกี่ยวกับเรื่องการลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘  วันนี้เราก็ มาพูดถึงเรื่องเหล่านี้กันอีกซักหน่อย (ขอใช้คำสามัญในการเขียนเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย)


ก่อนอื่นเลยเราต้องรู้ก่อนนะครับว่า คดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘ มีหลากหลายเวอร์ชั่นมาก และหลายๆฉบับในอดีต ก็มีการใส่ ข้อสันนิฐานเอาไว้มากมาย ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งก็ล้วนไปคนละทิศคนละทาง ส่วนนึงก็เพราะ คดีนี้เกิดขึ้นในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่สองพึ่งสงบ การใส่ความเท็จลงในหนังสือวิเคราะห์เท็จช่วงเปลี่ยนแปลงแผ่นดินรัชกาลที่๘จึงเกิดขึ้นมาก และไม่มีใครในปัจจุบันนี้เกิดทันว่าหลักฐานเอกสารใดที่ถูกทำในยุคเก่าๆนั้นเป็นเรื่องจริง


คดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘ เกิดขึ้นใน ปี2489 ภายหลัง เปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 เพียง 15 ปีเท่านั้น และเกิดขึ้นภายหลัง การยุติสงครามโลกครั้งที่สอง(2488) เพียงปีเดียว 


ซึ่งประเทศไทยเวลานั้น เกือบต้อง เสียเอกราชในสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ผู้นำคณะราษฎรเวลานั้นได้นำประเทศไทยเข้าร่วมกับ  อักษะที่มี นาซีเยอรมนี นาซีอิตาลี และ ญี่ปุ่น เป็น พันธมิตรหลัก แต่สุดท้ายก็กลับกลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทางสงคราม ส่งผลให้จอมพล แปลกพิบูลสงคราม  กลายเป็นอาชญากรสงครามที่ต้องขึ้นศาลอาญาโลกในเวลานั้น แต่เพราะ แนวคิดของ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หนึ่งในผู้นำคนสำคัญของ ขบวนการเสรีไทย จากสหรัฐอเมริกา  (โดยมี ปรีดี พนมยงค์ เป็นอีกหนึ่งแกนนำ ที่ยอมหักหลัง จอมพล แปลก มาฝักใฝ่ เสรีไทย สายรัฐบาล) ออกมาดัดหลังอังกฤษที่ แอบจ้องเขมือบประเทศไทยหากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง 


เวลานั้น ขบวนการเสรีไทย ในสหรัฐอเมริกา เริมมีการเคลื่อนไหวเพื่อนำ ในหลวงรัชกาลที่ ๘ และ น้องชาย ( รัชกาลที่๙) ประมุขของประเทศไทย ตัวจริงกลับประเทศ  เพื่อดัดหลังอังกฤษโดยยืนยันว่า การดำเนินราชการแผ่นดิน เวลานั้นมิใช่ทำไปด้วยเจตจำนงของในหลวงแห่งราชอาณาจักรไทย แต่เป็นการทำไปโดยพลการ ซึ่งผลลัพท์ ของการเจรจาครั้งนั้นก็สามารถทำให้ประเทศไทยหลุดออกจากการเป็นฝ่ายพ่ายสงครามโลกครั้งที่สอง และรักษาเอกราชได้เสมือนเป็นประเทศผู้ชนะสงคราม ด้วยวีรกรรมของเสรีไทย และ ในหลวงรัชกาลที่๘ นั้นเอง    


เอกราชที่ได้มานั้นก็ ทำให้ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม หลุดพ้นโทษประหารจากการเป็นอาชญากรในคดีบนศาลโลก เพราะ ราชอาณาจักรไทย มีเอกราชทางศาลเป็นของตนเอง เนื่องจากมีเอกราชเสรี ศาลโลกจึงไม่มีสิทธิแทรกแซงได้ต่อไป ศาลไทย มีการพิจารณาคดีทางวินัย และสุดท้าย จอมพลแปลกก็รอดพ้นจากการประหารชีวิต  


และเนื่องด้วยการกลับมาของในหลวงรัชกาลที่๘  และรัชกาลที่๙ ในวัยหนุ่มซึ่งทั้งสอง รูปงาม สูงโปร่ง ราวกับฝาแฝด และเต็มไปด้วยความฉลาดหลักแหลมก็ยิ่งผูกใจมัดปวงชนชาวไทยอย่างอยู่หมัด อีกทั้งแนวทางการบริหารราชการแผ่นดิน ช่วงปี2489เช่นการ เสด็จเยือนเยาวราชเพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างชาวไทยและชาวจีน ก็ยิ่งเห็นความฉลาดหลักแหลมของ ทั้งสองพระองค์ อย่างแนบแน่น


  แต่ความสุขเหล่านี้เกิดขึ้นได้ไม่นานก็เกิด คดีสะเทือนขวัญ เมื่อ เมื่อรัชกาลที่๘ เสด็จสวรรคต. เวลาประมาณ 9 โมงเช้า เมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 บนที่นอน โดยมีอาวุธปืนที่ใช้สังหารวางอยู่ข้างลำตัวบนเตียง  ลักษณะรอยกระสุน ถูกยิงกดจาก หน้าผากเหนือคิ้วซ้าย ทะลุไปที่ ท้ายทอยขวาล่าง รอยแผลมีลักษณะกดมุมต่ำ ลักษณะยิงด้วยการยืนยิงจากทางด้านซ้าย ของรัชกาลที่๘  ( ด้วยความทันสมัยของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ปัจจุบันฯเราจึงสามารถสร้างภาพจำลองจากคอมพิวเตอร์ให้เห็นแนวกระสุน ได้ จึงทำให้คาดคะเนได้ว่ากระสุนถูกยิงจากคนที่ยืนค้ำหัว)


จุดที่น่าสนใจ ที่ข้าพเจ้าพบตามหลักฐานในหนังสือ ที่อ้างอิงจากการจำลองรูปคดีในชั้นศาล คือลักษณะ อาวุธปืนที่ใช้สังหารวางอยู่ข้างลำตัวบนเตียง มีพิรุธมากเพราะปลายกระบอกหันไปทางปลายเท้า และมีลักษณะที่เป็นไปไม่ได้เลยที่จะ ยิงตัวตายแล้ว ปืนจะตกอยู่ข้างลำตัวเช่นนี้ 


 ........

เกร็ดเรื่องคดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘


มีข้อเท็จจริงเรื่องหนึ่ง ที่น่าสนใจ ช่วง  เมษายน พ.ศ. 2489  ก่อน คดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘ ราวสองเดือน  นายฉันท์ หุ้มแพร( นายทัศย์ สุจริตกุล) มหาดเล็กผู้ช่วยเหลือครอบครัวมหิดลมาตลอดนั้น  ถูกวางยาพิษจนเสียชีวิต  


นายฉันท์ หุ้มแพรนั้นเองคือคนที่มอบปืน(กระบอกที่วางข้างศพในวันเกิดเหตุ)ให้ในหลวง รัชกาลที่ ๘ปกป้องตนเอง และ เตือนพระองค์ถึงภัยที่กำลังเข้ามาหมายเอาชีวิต


(เดี่ยวเราค่อยกลับมาพูดว่าใครอยู่ที่ใหนในเหตุการณ์นี้ ดูได้ที่นี่  https://www.facebook.com/1403156603326693/posts/2441573612818315/)


.........


9 มิถุนายน พ.ศ. 2489  วันเดียวกันที่เกิดเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่๘ ประมาณ เที่ยงตรง นายปรีดีออกแถลงการณ์ การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเป็นอุบัติเหตุ   แทบจะในทันทีวันนั้น


หลังเหตุสะเทือนขวัญไปเพียงคืนเดียว 10 มิถุนายน พ.ศ. 2489  ระหว่างนั้นก็มีการทำความสะอาดพระบรมศพ โดยเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจุฬาฯได้พบบาดแผลที่(ท้ายทอย) ซึ่งเป็นบาดแผลที่พบใหม่ไม่ตรงกับคำแถลงการณ์ที่ออกมาในตอนแรก(หน้าผาก)  จึงเกิดความไม่มั่นใจหมู่ปชช. สงสัยว่ารัฐบาลปรีดีอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี ส่งผลให้เกิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายปรีดี แทบจะในทันที (การเมือง) ส่วนหนึ่งเกิดจาก พฤติกรรม ของนายปรีดี ต่อรัชกาลที่๘ นั้นมีหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่ามีการกลั่นแกล้งมาโดยตลอด ก่อนหน้านี้ (เช่นเหตุขโมยรถพระที่นั่ง)


ช่วงนั้นไม่ค่อยมี คนรู้ว่า.รถพระที่นั่งทางการที่จัดถวายในหลวง รัชกาลที่๘  คือรถ โรลสรอยส์ และรถ เดมเล่อร์ โดยมีรถแนชและเชฟโรเลทเป็นรถพระที่นั่งส่วนพระองค์ ซึ่งก็ไม่ได้เป็นรถที่สวยงามสมเกียรติ แต่เป็นรถโบราณก่อนสงครามโลกซึ่งมีสภาพไม่ค่อยดีเท่าไร


จากคำบอกเล่าของ หม่อมราชวงศ์หญิง กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี(ซึ่งเสียชีวิตเมื่อ ปี2561 ขณะอายุ85 ปี)


ระบุว่า “วันหนึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนีมีพระประสงค์จะเสด็จซื้อของเป็นการส่วนพระองค์ ปรากฎว่าทางในวังมิสามารถจัดหารถที่เหมาะสมถวายให้ทรงใช้ได้ เพราะรถเชฟโรเลทนั้น ราชเลขานุการส่งไปให้นายกรัฐมนตรีใช้ ส่วนรถแนชส่งไปซ่อมให้แขกเมืองใช้ เมื่อความทราบฝ่าละอองธุรีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงขุ่นพระราชหฤทัย มหาดเล็กต้องไปตามเอารถแนชคืนมา เมื่อมีพระราชดำรัสซักถามได้ความว่าราชเลขาจัดเอารถเชฟโรเลทไปให้นายกรัฐมนตรีใช้ จึงตรัสว่าหากทำเนียบนายกรัฐมนตรี(บ้านปรีดี)ไฟใหม้ พระองค์ท่านคงต้องยกวังให้อยู่เป็นแน่


ต่อจากนั้นไม่กี่วัน รถแนชพระที่นั่งก็หายไปจากโรงเก็บรถในเวลากลางคืน และไม่สามารถสืบหากลับมาได้ แสดงให้เห็นว่าเวรยามที่เฝ้าพระที่นั่งบรมพิมาน มิได้รักษาหน้าที่อย่างเคร่งครัดเลย แล้วองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงปลอดภัยได้อย่างไร”


เรามาดูไทม์ไลน์เรื่อยๆว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง


18 มิถุนายน 2489 รัฐบาลปรีดี ทนเสียงทัดทานไม่ไหว ก็ประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีสวรรคต แต่ก็ยังไมไ่ด้รับความไว้วางใจจากประชาชนเนื่องเกรงว่าปรีดีแต่งตั้งคนของตนเอง


19 สิงหาคม 2489 ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


23 สิงหาคม 2489 นายปรีดี ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีสวรรคต  และแต่งตั้งพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ขึ้นเป็นนายกคนต่อมา และทำการสืบคดีต่อ


8 พฤศจิกายน 2490 เกิดการรัฐประหาร 2490 โดยกลุ่มทหารนอกราชการที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ร่วมมือกับพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเหตุผลด้านการทุจริตของรัฐบาล และ ปัญหาเรื่องกรณีสวรรคตรัชกาลที่ ๘.   นาย ควง อภัยวงศ์ ขึ้นเป็นนายกต่อ


ตอนนั้น นายปรีดีและพลเรือตรี ถวัลย์ต้องลี้ภัยออกนอกประเทศเพราะ ต้องสงสัยในความไม่ชอบมาพากต่อกรณีสวรรคตรัชกาลที่๘ ( ปรีดี ลี้ภัยไปที่ประเทศจีน)


15 พฤศจิกายน 2490 ภายใต้รัฐบาลควง อภัยวงศ์ ตำรวจทำการจับกุมการจับคุมตัว นายชิต นายบุศย์ และ นายเฉลียว และได้ออกหมายจับนายปรีดี และเรือเอกวัชรชัย ในฐานะผู้ต้องหาร่วมกันลอบปลงพระชนม์ในหลวงรัชกาลที่๘


จากพยานและหลักฐานที่มีอยู่ขณะนั้น ศาลนี้เชื่อว่า นายเฉลียว นายชิตและนายบุศย์ ได้ร่วมสมคบคิดกันกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘


8 เมษายน พ.ศ. 2491 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขึ้นเป็นนายกแทนพันตรี ควง อภัยวงศ์ ตามมติคณะรัฐประหาร


26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 นายปรีดี แอบกลับไทยก่อ กบฏวังหลวง ขึ้น โดยการรุกเข้ายึดครองพื้นที่พระบรมมหาราชวัง แต่ไม่ประสบความสำเร็จจึงต้องหลบหนีออกนอกประเทศ และไม่กลับประเทศไทยอีกเลย


ช่วงปี พ.ศ. 2494 ศาลชั้นต้น เริ่มมีการพิพากษานายเฉลียว นายชิตและนายบุศย์ ระหว่างนั้นจอมพล ป. พิบูลสงคราม มีการพยายาม รัฐประหารแต่ไม่สำเร็จ  (ตอนนั้นในหลวง รัฐกาลที่๙ กำลังเสด็จกลับไทย)


อีก4 ปี ต่อมา ช่วงปี พ.ศ. 2498 ศาลฏีกา  พิพากษานายเฉลียว นายชิตและนายบุศย์ ประหารชีวิต


จะเห็นได้ว่า เกมการเมืองในช่วงหลัง มีการแบ่งออกเป็นสองฝ่ายในกลุ่มคณะราษฎร อีกทั้ง  นั้นมีการใช้ประเด็นกรณีสวรรคตรัชกาลที่๘ในการแสดงความไม่ไว้วางใจและซัดกันเองเนื่องๆ


แม้หลังจากประหารชีวิต 3 จำเลยไปแล้ว ต่อมา จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีแนวคิดจะรื้อฟื้นคดีใหม่อ้างว่ามีหลักฐานใหม่ เพื่อคืนความเป็นธรรมให้ 3 จำเลยที่เสียชีวิต รวมทั้งนายปรีดี และเรือเอกวัชรชัย ที่ถูกกล่าวหา แต่ยังไม่ทันได้ดำเนินการ จอมพล ป.กลับถูกรัฐประหารเสียก่อน โดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ ช่วงปี 2500 จนจอมพล ป. พิบูลสงคราม และพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ได้ลี้ภัยไปต่างประเทศ 


จอมพล แปลก พิบูลสงคราม. เสียชีวิต ปี 2507 ที่ ประเทศ ญี่ปุ่น โดยไม่ทราบสาเหตุ


....


อย่างไรก็ตามตลอดเหตุการณ์ตั้งแต่ ปี2489 - 2492  การเมืองต่างประเทศ ระหว่างอังกฤษและสหรัฐ ก็มีกระทบอยู่อย่างต่อเนื่องโดยมีการตั้งข้อสังเกต อย่างห่างๆมาโดยตลอด


 เช่น ออกหนังสือแจ้งข่าวด่วน ต่อสถานทูต อังกฤษโดยMI6  เมื่อ 14 สิงหาคม ปี 2489 โดยตั้งสมมุติฐานไปว่า อาจจะเป็นการ 1. ได้มีความพยายามลอบปลงพระชนม์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ด้วยการวางยาพิษ และรัฐบาลอังกฤษได้แจ้งเรื่องนี้ให้รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยทราบ และรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยยอมรับว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีความพยายามลอบปลงชนม์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ ก่อนที่พระองค์จะเสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์

(หลังเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่ ๘ แล้ว)


2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศอังกฤษสั่งการให้หน่วยสืบราชการลับทำการสืบค้นเรื่องลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘ ความพยายามปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๙ ความพยายามลอบสังหารแม่ทัพใหญ่อังกฤษ และความพยายามลอบสังหารเอกอัครราชทูตอังกฤษ โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษเชื่อว่ามีผู้อยู่เบื้องหลัง และมีความเป็นไปได้ว่าผู้กระทำทั้งหมด "เป็นกลุ่มเดียวกัน"


3. หน่วยสืบราชการลับอังกฤษรายงานถึงรัฐบาลอังกฤษ เพื่อยืนยันว่า ข้อสันนิษฐานดังกล่าวเป็นความจริง และมีการจับกุมผู้ลอบปีนเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง และมุ่งหน้าไปยังห้องบรรทมของในหลวงรัชกาลที่ ๙ เอาไว้ได้


4. หน่วยสืบราชการลับอังกฤษรายงานถึงรัฐบาลอังกฤษว่า จะมีการปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๙ ด้วยการวางแผนก่อวินาศกรรมเครื่องบินพระที่นั่งที่สนามบินดอนเมือง ในวันที่พระองค์จะเดินทางกลับไปสวิสเซอร์แลนด์ (ใน 19 สิงหาคม 2489 )


****สรุป ซึ่งหากเป็นจริงตามที่สายลับอังกฤษกล่าวอ้างแล้ว ลองมองในมุมของสงครามโลก  แสดงว่ามีผู้ไม่หวังดี ต้องการลอบสังหาร ทั้งรัชกาลที่๘ และ. รัชกาลที่๙ ตามลำดับ เพื่อยั่วยุ ให้เกิดการกระทบกระทั่งกันระหว่าง รัฐบาลอังกฤษและรัฐบาลไทย อีกครั้งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง 


แต่ข่าวสารที่แตกต่างออกไปก็มีมาโดยตลอดหลังจากนั้น

........


หลังคดีลอบปลงพระชนม์รัชกาลที่ ๘ ถูกปิดคดีไปนานแล้ว แต่   ข่าวลือต่างๆ พิศดารก็ยังงอกเงยจากทฤษฎีสมคบคิดต่างๆนา มีเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะ ช่วงสงครามเย็น ระหว่าง คอมมิวนิสต์ และฝ่ายเสรีนิยม ช่วง พ.ศ. 2490 – พ.ศ. 2534 ซึ่งแข่งขันกันพัฒนาทางเศรษฐกิจและลัทธิทางการเมือง ก็เลยมี หนังสือ ที่ถูกแต่งขึ้นจำนวนนึง หยิบเอาประวัติศาสตร์มาตกแต่งเพิ่มเติมเพื่อหวังผลเพื่อทำยอดขาย แต่บางเล่มก็ถูกนำมาแปลโดยหวังผลใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดความสงสัยในประวัติศาสตร์ให้ผู้คนออกมาโค่นล้มสถาบันกษัตริย์ และระบบตุลาการที่ไทยมีเอกราช

เช่น

หนังสือ เรื่อง The Devil's Discus (กงจักรปีศาจ) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2507  เขียนโดย. เรย์นี ครูเกอร์ กล่าวหา ในหลวง รัชกาลที่๘ ทรงยิงตัวตาย โดย เชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงชู้สาวที่ไม่สมหวังกับเพื่อนนักศึกษาชื่อ แมรีเลน เฟอร์รารี (Marylene Ferrari) อีกทั้งยังโจมตี ระบบศาลสถิตยุติธรรรมของไทยทำให้ไม่น่าเชื่อถือ  แต่หนังสือเล่มนี้ ก็ขัดต่อทุกบริบททางศาลที่พิจารณาคดี รัชกาลที่๘ และ ไม่สนใจแม้แต่หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ จึงทำให้ เป็นหนังสือที่หยิบเอาเฉพาะ ข่าวลือ หลังสวรรคตใหม่ๆ มาดัดแปลงเพื่อให้ดูน่าเชื่อถือเท่านั้น


ส่วนหนังสือ ยุคหลังๆ เช่น. The Revolutionary King: The True–Life Sequel to The King and I (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2543) เขียนโดย วิลเลี่ยม สตีเฟนสัน  เขียนเป็นนวนิยายสารคดีอ้างว่าสายลับญี่ปุ่น ชื่อ ซึจิ มาซาโนบุ (Tsuji Masanobu)ได้หลบซ่อนตัวอยู่ในประเทศไทยหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง  เชื่อว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับการลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่๘  แต่ก็ไม่พบหลักฐานชัดเจนว่า ซึจิ มาซาโนบุ เคยเดินทางมาถึงกรุงเทพฯ ในช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ รัชกาลที่ ๘ แต่อย่างใดเลยไม่น่าเชื่อถือ


............


มีต่อ 


ส่วนที่2

ค่ำคืนวันเกิดเหตุเกิดอะไรขึ้น และ บางส่วนของคำพิพากษา อ่านต่อ 

https://www.facebook.com/1403156603326693/posts/2441573612818315/


ส่วนที่3 สรุปแนวทาง การศึกษา ประวัตศาสตร์เรื่องคดีลอบปลงพระชนม์ อ่านต่อ 

https://www.facebook.com/1403156603326693/posts/2441797832795893/


คดีลอบปลงพระชนม์ ร.๘ ส่วนที่ 4 (หลักฐานหลังปี2500)

https://www.facebook.com/1403156603326693/posts/2443151809327162/


Cr.ปราชญ์ สามสี / Cr.สติค่ะลูกกกก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น