จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2564

เบิกเนตรความดีของในหลวง ร.9 :70 ปี ความดีพัฒนาถิ่นลำบากบนดอย

 








"คุณนริศโรจน์ เฟื่องระบิล"

อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส อาร์เจนติน่า




#บทความโดย


"คุณนริศโรจน์ เฟื่องระบิล"

อดีตเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส อาร์เจนติน่า


#จุดเริ่มต้นในการขึ้นไปของในหลวงรัชกาลที่9 #ไม่ใช่ต้องการแค่ให้คนเหล่านั้นมีไฟฟ้าใช้

#แต่พระองค์ต้องการทำให้คนเหล่านั้นมีตัวตน


โดยอดีตท่านทูตได้โพสต์กล่าวว่า.... 


"ย้อนหลังไป 20 กว่าปี ผมได้รับมอบหมายให้ดูแลคณะสื่อต่างประเทศที่เป็นแขกของ กต. โดยผมมีหน้าที่ต้องพาคณะสื่อเหล่านี้ไปถ่ายทำตามหมู่บ้านชาวเขาตามดอยต่างๆ เพื่อให้คณะสื่อได้สัมภาษณ์ถึง วิถีชีวิตของพวกเขาที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  


ผมได้ฟังการสัมภาษณ์ชาวเขาเผ่าต่างๆผ่านสื่อประเทศมานับครั้งไม่ถ้วน !


ประเด็นสำคัญที่ผมจับได้คือ ชาวเขาเหล่านี้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ในหลวง ร.๙ ได้ทรงเข้ามาช่วยเหลือให้พวกเขาเลิกทำไร่เลื่อนลอย/ปลูกฝิ่น และปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆทดแทน  ถนนหนทางดีขึ้นจนพวกเขานำของออกมาขายได้ 


แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ในหลวง ร.๙ ทำให้พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาเป็น #คนไทย โดยสมบูรณ์แบบ ไม่ใช่พลเมืองชั้นสองอีกต่อไป 


ในหลวง ร.๙ ไม่ได้เข้าไปเปลี่ยนวิถีชีวิตของพวกเขาแบบสุดโต่งให้เป็นคนเมืองแบบเราๆท่านๆ


แต่ท่านทำให้ชาวเขามีวิถีชีวิตที่ดีขึ้นในรูปแบบและวิถีชีวิตของพวกเขาเอง  


ในหลวงท่านไม่ได้ไปยัดเยียดความเป็นคนเมืองให้ชาวเขาแต่อย่างใด  


ถ้าใครที่เคยสัมผัสการทรงงานของพระองค์ท่านจะรับทราบได้ด้วยหัวใจว่าสิ่งที่ในหลวง ร.๙ ทรงทำนั้นไม่ได้หวังผลตอบแทนอะไรทางการเมืองเลย


ผมเคยพาคณะสื่อต่างประเทศร่วมร้อยคณะแล้วกระมังไปถ่ายทำสารคดีตรงแปลงปลูกสตอเบอรี่พันธ์พระราชทาน / ไร่กาแฟ / ไร่มะคาเดเมีย /แปลงปลูกพืชผักเมืองหนาว /แปลงดอกไม้เมืองหนาว ฯลฯ ในพื้นที่ซึ่งเดิมเคยเป็นไร่ฝิ่น ไร่เลื่อนลอยที่แห้งแล้งมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน


เคยพาคณะสื่อต่างประเทศไปดูแนวรอยต่อพรมแดนไทย-พม่า ตรงดอยตุง ที่ฝั่งไทยพลิกฟื้นจากเขาหัวโล้นเป็นป่าเขียวขจี ในขณะที่ฝั่งพม่ายังเป็นเขาหัวโล้นอยู่ 


จริงอยู่ที่ในบางพื้นที่ของไทยยังไม่สามารถเป็นไปตามแนวที่ในหลวง ร.๙ ได้ทรงกรุยทางเป็นแนวตัวอย่างให้ได้หมด #เพราะพระองค์ท่านมิใช่รัฐบาล #ไม่ได้มีอำนาจอะไรในมือ


#ท่านเพียงทรงวางรูปแบบแนวทางการพัฒนาให้เท่านั้น


แต่จากการตระเวนไปในหลายพื้นที่ ได้สัมภาษณ์ชาวเขาด้วยตัวเอง ทุกอย่างในภาพรวมมันดีขึ้น แตกต่างขึ้นจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด 


ตรงนี้ถ้ามีใครเอามากระแนะกระแหนว่า 70 ปีไม่มีอะไรดีขึ้นล่ะก้อ ผมขอเถียงหัวชนฝา เพราะเห็นความเปลี่ยนแปลงด้วยตาของผมเอง ได้ยินคำยืนยันจากชาวเขาด้วยหูของผมเอง


สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ในหลวง ร.๙ ได้มอบให้ชาวเขานอกเหนือจากการพัฒนาทางด้านเกษตรกรรม นั่นคือ #ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ การได้เป็นพสกนิกรของพระองค์ท่าน เป็น #ราษฎรไทยโดยสมบูรณ์  ที่ชาวเขาภูมิใจ พวกเขามิใช่คนเร่ร่อน ไร้สัญชาติ  อีกต่อไป


"แต่พวกเขามีประเทศไทย เป็นพลเมืองไทย และมีที่ดินทำกินเป็นของเขาเอง" 


ลูกหลานชาวเขาหลายๆคนได้รับการศึกษามีอาชีพมั่นคง และเป็นพี่น้อง “คนไทย” เหมือนพวกเราทุกคน  


มิติตรงนี้ต่างหากที่สำคัญมากที่สุด 


การที่จะมีกลุ่มบุคคลใดไปช่วยสานต่องานของในหลวง ร.๙ นั้น เป็นสิ่งที่ดีที่ควรยกย่องสรรเสริญ  


แต่การทำดีสานต่อนั้นไม่ใช่การเอามาเปรียบเทียบเพื่อ ดิสเครดิต สิ่งที่พระองค์ท่านได้ทำมาก่อนล่วงหน้า


การดิสเครดิตโดยเอาจุดเล็กๆจุดเดียวมาตีกินจุดอื่นๆในภาพรวมใหญ่ แบบนี้ถือว่าเป็นการกระทำที่ไม่หวังดี เพื่อหวังให้เกิดความแตกแยกในสังคม  


ใครก็ตามที่ทำแบบนั้นแสดงว่ามีจิตใจชั่วร้ายแอบแฝงและไม่หวังดีกับใครทั้งนั้นไม่ว่า “ชาวเขา” หรือ “ชาวเรา”....

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ยินดีต้อนรับความคิดเห็นดีๆ ติชมบทความตามพอเหมาะ

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น