จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

๖๐ ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

"เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"
5 ธันวาคม คนไทยต้องช่วยอ่านให้จบ ๖๐ ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับในหลวง (ขอย้ำต้องกรุณาพยายามอ่านให้จบ เพื่อในหลวงของเรา)

ดนตรี คาราโอเกะ  สดุดีมหาราชา  ขอพระองศ์จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
 
๖๐ ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ 
๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ วันพ่อแห่งชาติ ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
อ่านบทความนี้แล้ว แสดงความจงรักภักดี ลองร้องตามดู
๑)พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเฉลิมพระ ปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

๒) เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ จุลศักราช ๑๒๘๙ รัตนโกสินทร์ศก ๑๔๖ ตรงกับวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนกทรงศึกษาวิชาแพทย์อยู่

๓) ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่สาม ทรงมีพระเชษฐภคินี ๑ พระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช ๑ พระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทุกพระองค์ประสูติในต่างประเทศ

๔) เสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกพร้อมสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เมื่อพระชนม์ได้ ๑ ชันษา ในเดือนธันวาคม ๒๔๗๑

๕) ทรงสูญเสียทูลกระหม่อมพ่อตั้งแต่ พระชนม์ไม่ถึง ๒ พรรษา โดยสมเด็จพระบรมราชชนกทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคต ในวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๔๗๒

๖) ทรงศึกษาเล่าเรียนในต่างประเทศตลอดพระชนม์ชีพ เว้นแต่ในช่วงพระชนมพรรษา ๕ พรรษา ได้เสด็จเข้าศึกษาในโรงเรียนมาแตร์เดอี ๑ ปี ก่อนเสด็จไปประทับที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

๗) ทรงจบการศึกษาชั้นประถมจากโรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซานน์, ชั้นมัธยมจากโรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออิส โรมองด์ เมืองแชลลี ซูร โลซานน์ ต่อมาในปี ๒๔๘๑ ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนยิมนาส คลาสสิค กังโตนาล เมืองโลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากนั้น จึงทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ โดยทรงเลือกแผนกวิทยาศาสตร์
๘) เสด็จนิวัติประเทศไทยครั้งที่สอง วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๘ ขณะมีพระชนมพรรษา ๑๘ พรรษา

๙) เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคต ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ คณะรัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์แทน แต่เนื่องจากยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงเสด็จฯกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อด้านรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์

๑๐) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่สอง หลังประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุข

๑๑) ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาองค์ใหญ่ของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๔๙๒

๑๒) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม ในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ และมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนา ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินี
สิริกิติ์ และเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในเดือนต่อมา

๑๓) พระราชพิธีบรมราชาภิเษก มีขึ้นเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า  เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม

๑๔) ทรงมีพระราชธิดา ๓ พระองค์ และพระราชโอรส ๑ พระองค์ โดยทุกพระองค์ประสูติที่เมืองไทย ยกเว้นพระราชธิดาองค์โตคือ สมเด็จ พระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ประสูติที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

๑๕) ทรงพระผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ และประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน โดยทรงมีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และต่อมาได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

ในการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงผนวชในครั้งนี้ฉันในฐานะที่เป็นข้าแผ่นดินคนหนึ่งก็มีความปีติยินดีเช่นเดียวกับประชาชนคนไทยทั้งปวง และในฐานะที่ฉันเป็นสตรีผู้เกิดมาในพระบวรพุทธศาสนา มีพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และมีความเชื่อถือเลื่อม ใสในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฉันก็ย่อมจะมีความปีติปลื้มใจยิ่งขึ้นไปอีก ในโอกาสที่บุตรชายได้บวชสืบพระศาสนาของ พระพุทธองค์ ในระหว่างทรงผนวชนี้ฉันเห็นว่า เมื่อประชาชนทั้งปวงก็ได้ร่วมพระราชกุศลนี้อยู่ส่วนหนึ่งแล้ว ด้วยการถวายอนุโมทนา ในการทรงผนวช จัดว่าเป็นปัตตานุโมทนามัย คือ บุญสำเร็จได้ด้วยอนุโมทนามัย จึงมีความปรารถนาที่จะให้ได้ร่วมพระราชกุศลอีกทางหนึ่งคือธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม ด้วยเหตุนี้ฉันจึงได้ขอแรงบรรดาผู้ที่คุ้นเคยได้เคยร่วมสนทนาธรรมด้วยกัน ให้ช่วยกันเขียนบทความอันว่าด้วยข้อธรรมะต่างๆมาอ่านทางวิทยุกระจายเสียงสถานี อส.นี้ ทุกวันในระหว่างทรงผนวช หวังว่าบทความ ที่จะมีต่อไปในวันนี้และวันต่อๆไปจะมีประโยชน์ในทางความรู้ธรรม การพิจารณาธรรม และการปฏิบัติธรรม แก่ผู้ที่ได้ฟังบ้างไม่มาก ก็น้อย

สมเด็จย่า แม่ฟ้าหลวง
๑๖) เสด็จเยือนต่างประเทศเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีเป็นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๐๒ โดยเสด็จเยือนเวียดนามเป็นประเทศแรก และเสด็จเยือนแคนาดาเป็นประเทศสุดท้าย ในปี ๒๕๑๐ รวมทั้งสิ้น ๓๑ ครั้ง ๒๘ ประเทศ และนับแต่นั้นมามิได้เสด็จออกนอกพระราชอาณาจักรอีกเลย

๑๗) การเสด็จเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการยาวนานที่สุดกินเวลา ๗ เดือนเต็ม มีขึ้นเมื่อปี ๒๕๐๓ โดยเสด็จเยือน ๑๔ ประเทศในภูมิภาคยุโรป และอเมริกา

๑๘) จตุรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเสตต์ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ และสะท้อนความภาคภูมิใจของชาวเมืองเคมบริดจ์ ในฐานะที่เป็นเมืองเดียวของสหรัฐอเมริกาที่เคยมีพระมหากษัตริย์เสด็จพระราชสมภพ

๑๙) ทรงขึ้นชื่อว่าเป็นอัครศิลปิน เพราะทรงเปี่ยมด้วยพระอัฉริยภาพหลายด้าน โดยทรงศึกษาด้วยพระองค์เองจากตำราต่างๆ ในด้านจิตรกรรม ทรงเริ่มสนพระทัยวาดภาพ เมื่อพระชนมพรรษาได้ ๑๐ พรรษา และทรงวาดภาพอย่างจริงจัง เมื่อปี ๒๕๐๒ โดยมักจะทรงใช้เวลาในตอนค่ำหลังว่างจากพระราชภารกิจ แต่นับจากปี ๒๕๑๐ เป็นต้นมา ก็มิได้ทรงเขียนภาพอีกเลย

๒๐) เมื่อปี ๒๕๒๕ ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ จำนวน ๔๗ ภาพ ไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่พระมหากษัตริย์ ซึ่งยังทรงดำรงสิริราชสมบัติอยู่ ทรงแสดงภาพจิตรกรรมในฐานะศิลปินเดี่ยว

๒๑) ด้านประติมากรรม ทรงศึกษาค้นคว้าเทคนิควิธีการต่างๆ ทั้งงานปั้น, หล่อ และทำแม่พิมพ์ งานประติมากรรมฝีพระหัตถ์แบบลอยตัว เก็บรักษาที่ตู้บนพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มี ๒ ชิ้นคือ รูปปั้นผู้หญิงเปลือยนั่งคุกเข่า ปั้นด้วยดินน้ำมัน และพระรูปปั้นครึ่งพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ

๒๒) โปรดการถ่ายรูปและถ่ายภาพยนตร์ เช่นเดียวกับสมเด็จพระ บรมราชชนนี โดยทรงเป็นนักถ่ายรูปที่มีพระปรีชาสามารถยิ่ง ทรงจัดทำห้องมืดขึ้นที่ชั้นล่างตึกทำการสถานีวิทยุ อ.ส. ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ส่วนใหญ่เป็นแบบฉับพลันทันเหตุการณ์ ซึ่งทรงบันทึกไว้ระหว่างเสด็จฯไปตามสถานที่ต่างๆ

๒๓) ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ทุกภาพ จะทรงจัดให้มีหมายเลขประจำภาพ เช่น ภาพครอบครัว, พระราชพิธี, ภาพราษฎรที่มาเฝ้า รวมถึงภูมิประเทศต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

๒๔) ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานที่ใด จะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ ๓ สิ่งคือ แผนที่ ซึ่งทรงทำขึ้นเอง, กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ โดยเวลาทรงงานจะทรงใช้ยางลบเสมอ เมื่อทรงพบเห็นอะไรก็จะทรงขีดเขียนลงบนแผนที่ เช่นเดียวกับที่สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงกระทำมาก่อน

๒๕) ทรงเคยประดิษฐ์ของเล่นด้วยพระองค์เอง เป็นเครื่องร่อน และเรือรบจำลอง

๒๖) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์แรกของโลก ที่ทรงได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์ คิด ค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย หรือ กังหันน้ำชัยพัฒนา เมื่อปี ๒๕๓๖

๒๗) กีฬา โปรดของพระ องค์คือ แบดมินตัน, สกี และเรือใบ

๒๘) เมื่อปี ๒๕๐๗ ทรงต่อเรือใบที่ใช้งานได้จริงลำแรก เป็นเรือมาตรฐานสากลประเภท เอ็นเตอร์ไพรส์ คลาส พระราชทานชื่อว่า  ราชปะแตน  และปล่อยเป็นปฐมฤกษ์ในคูน้ำรอบสวนจิตรลดา
๒๙) ทรงต่อเรือใบพระที่นั่งด้วยพระองค์เองมาแล้วหลายลำ รวมถึงเรือชื่อ มด, ซุปเปอร์มด และไมโครมด ซึ่งจดทะเบียนระดับนานาชาติประเภท Moth Class ที่ประเทศอังกฤษ

๓๐) นอกจากจะทรงโปรดเครื่องดนตรีเป่าทุกชนิดแล้ว ยังทรงกีตาร์และเปียโนด้วย ทรงเป็นผู้นำด้านการประพันธ์เพลงสากลของเมืองไทย โดยใส่คอร์ดดนตรีแปลกใหม่และซับซ้อน ทำให้เกิดเสียงประสานที่เข้มข้น

๓๑) เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงซื้อคือ คลาริเน็ต เมื่อพระชนมพรรษา ๑๐ พรรษา

๓๒) ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา ๑๘ พรรษา โดยเพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ  แสงเทียน  และจนถึงขณะนี้ พระราชนิพนธ์เพลงไว้แล้ว ๔๗ เพลง

๓๓) เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๒๙ ทรงเริ่มใช้คอมพิวเตอร์พระราชนิพนธ์ คำร้องและโน้ตเพลงครั้งแรก

๓๔) ทรงพระราชนิพนธ์เพลงประจำมหาวิทยาลัยหลายแห่ง อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

๓๕) ทรงตั้งวงดนตรี  อ.ส.วันศุกร์  ย่อมาจากชื่อพระที่นั่งอัมพรสถาน สถานที่ทรงก่อตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง ส่วนวันศุกร์คือ วันที่ทรงดนตรีเป็นประจำ

๓๖) ทรงมีพระปรีชาสามารถโดดเด่นด้านภาษา โดยทรงถนัดทั้งภาษาฝรั่งเศส, เยอรมัน และอังกฤษ

๓๗) นอกจากจะทรงพระราชนิพนธ์หนังสือไว้หลายเรื่อง อาทิ พระราชนิพนธ์เรื่อง พระราชกิจรายวันของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และเรื่อง  เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์ ยังทรงอุทิศเวลาให้ กับพระราชนิพนธ์แปลด้วย เช่น นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ, ติโต และพระมหาชนก ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษจากพระไตรปิฎก

๓๘) พระราชนิพนธ์เรื่อง  พระมหาชนก  เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี ๒๕๓๑ ทรงมีพระราชประสงค์ให้จัดพิมพ์ในโอกาสพระราชพิธีฉลองปี กาญจนาภิเษก เมื่อปี ๒๕๓๙

๓๙) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ทรงขับรถยนต์ พระที่นั่งด้วยพระองค์เอง โดยเป็นระยะทางไกลจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดเชียงใหม่

๔๐) เมื่อวันเสาร์ที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดของประเทศไทย 

 ๔๑) เสด็จฯทรงเปิดโครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน สายเฉลิมรัชมงคลสายแรกของประเทศ และประทับรถไฟใต้ดิน เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๔๗

๔๒) ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตร เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์, ดีโซฮอล์ และน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า ๒๐ ปี

๔๓) ทรงมีสุนัขทรงเลี้ยง ๓๔ ตัว มีคุณทองแดง สุวรรณชาด เป็นสุนัขทรงโปรด ได้รับฉายาว่า สุนัขประจำรัชกาล

๔๔) ทรงช่วยเหลือประชาชนให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ด้วยการสนับสนุนให้เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่เกษตรกร ทำให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน

๔๕) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกคือ โครงการสร้างถนนเข้าสู่หมู่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน
๔๖) ทรงริเริ่มโครงการนาข้าวทดลอง ในบริเวณสวนจิตรลดา จากนั้นทรงริเริ่มโครงการโรงโคนม จัดตั้งเป็นโรงโคนมสวนจิตรลดา เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่การเลี้ยงโคนมอย่างถูกวิธี

๔๗) จนถึงปัจจุบัน มีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแล้วเกือบ ๓ พันโครงการ มีทั้งเรื่องการศึกษา, สิ่งแวดล้อม, สาธารณสุข, สวัสดิการสังคม และชลประทาน

๔๘) โครงการหลวง เป็นโครงการที่ทรงริเริ่มขึ้น เมื่อปี ๒๕๑๒ เพื่อช่วยเหลือชาวเขาทางภาคเหนือให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เลิกปลูกฝิ่นและหันมาปลูกพืชเศรษฐกิจแทน

๔๙) เนื่องจากทรงห่วงใยพสกนิกรที่ต้องทนทุกข์จากการอาศัยในถิ่นทุรกันดารขาดแคลนน้ำ จึงทรงริเริ่มโครงการฝนหลวง โดยทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าครั้งแรก ที่บริเวณวนอุทยานเขาใหญ่ เมื่อปี ๒๕๑๒

๕๐) ทรงริเริ่มโครงการเพื่อการศึกษาไว้มากมาย โดยทรงตั้งทุนภูมิพลพระราชทานทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ส่วนทุนเล่าเรียนหลวง ริเริ่มขึ้นในสมัย ร.๕ และยกเลิกไปเมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง ภายหลังทรงรื้อฟื้นขึ้นใหม่ ในปี ๒๕๐๘ เพื่อส่งนักเรียนไทยไปศึกษาในต่างประเทศ นำความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเมือง

๕๑) โรงเรียนร่มเกล้าแห่งแรกตั้งขึ้น เมื่อปี ๒๕๑๕ ณ บ้านหนองแคน อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

๕๒) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามภูมิภาคต่างๆ รวม ๖ แห่ง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชนบท

๕๓) โครงการพระดาบส เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จัดตั้งขึ้นปี ๒๕๑๙ เพื่อให้การศึกษาแก่บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดเพศ วัย และวุฒิการศึกษา

๕๔) ในปี ๒๕๓๕ องค์การอนามัยโลก ได้ทูลเกล้าฯถวายเหรียญเทิดพระเกียรติ ในฐานะที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจด้านสุขภาพอนามัยเพื่อปวงชนชาวไทยอย่างกว้างขวาง

๕๕) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยรักษาพยาบาล ที่ปากทางเข้าเขตพระราชฐานเกือบทุกแห่ง โดยไม่คิดค่ารักษา

๕๖) ชาวบ้านจำนวนมากทุกข์ทรมานจากโรคฟัน จึงทรงให้จัดตั้งหน่วยทันตแพทย์เคลื่อนที่

๕๗) ทรงก่อตั้งมูลนิธิเพื่อการพัฒนาประเทศไว้หลายแห่ง รวมถึง มูลนิธิชัยพัฒนา เน้นช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาเร่งด่วน ซึ่งทางราชการไม่สามารถดำเนินการพัฒนาได้ทันที

๕๘) โครงการแก้มลิง เป็นโครงการที่ทรงคิดค้นเพื่อระบายน้ำท่วมขัง และกักน้ำไว้ใช้ในยามแห้งแล้ง

๕๙) ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ ทรงพระราชทานปรัชญาสำคัญแก่ประชาชนชาวไทย นั่นคือ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำรงชีพอย่างพอเพียง โดยยึดหลักทางสายกลาง

๖๐) ล่าสุด ทางสหประชาชาติ นำโดย  โคฟี อันนัน  ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล  ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก ที่ยูเอ็นยกย่องว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา ซึ่งทรงริเริ่มปรัชญาสำคัญๆไว้มากมาย โดยเฉพาะเศรษฐกิจพอเพียง ได้รับการชื่นชมไปทั่วโลก และมีหลายประเทศนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนา

รางวัล "ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์" ซึ่งยูเอ็นดีพีจัดทำขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มีลักษณะเป็นพานทรงกลม ทำด้วยเงินบริสทุธิ์ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9.85 นิ้ว สูง 8.66 นิ้ว ด้านในของพานขัดมันผิวเรียบ ส่วนด้านนอกผิวมีลักษณะเป็นคลื่นคล้ายสายน้ำ ตั้งอยู่บนฐานที่ทำจากไม้สัก ซึ่งมีแผ่นป้านคำจารึกที่ฐานไม้ความว่า

"To His Majesty King Bhumibol Adulyadej In Recognition of Lifetime Achievement in Human Development May 2006"

กลอน คิดถึงโรงเรียน

                                      คิดถึงโรงเรียน
   โรงเอ่ยนะ โรงเรียน    ที่อ่านเขียน เรียนวิชา
โรงเรียนฉัน ที่ศึกษา         ที่ค้นหา ราคาตน
โรงเรียนฉัน บ้านที่สอง      มีเพื่อนพ้อง ปรองดองชน
โรงเรียนฉัน ที่สับสน         เพราะหมู่เด็ก ปกครองกัน
โรงเรียนฉัน คือเรื่องราว     บันทึกข่าว ชาวใฝ่ฝัน
โรงเรียนฉัน เลยผูกพัน      มิตรภาพ มิจางเลือน......
                                                                                     โดยสายลม

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปัจฉิมโอวาท ครั้งสุดท้ายของพุทธองศ์ คือความรักที่ยิ่งใหญ่


“ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลาย สังขารทั้งหลายมีความเสื่อม ความสิ้นไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลาย จงบำเพ็ญไตรสิกขา คือศีล สมาธิ ปัญญา ให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด
ก่อนจะเสด็จนิพพานเล็กน้อย คือ ภายหลังทรงโปรดสุภัททะปริพาชกแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสประทานโอวาทพระสงฆ์ โอวาทนั้นเป็นพุทธดำรัสสั่งเป็นครั้งสุดท้าย มี หลายเรื่องด้วยกัน เช่น เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับพระสงฆ์ ยังใช้ถ้อยคำเรียกขานกันลักลั่นอยู่ คือ คำว่า “อาวุโส” และ “ภันเต” อาวุโสตรงกับภาษาไทยว่า “คุณ” และภันเตว่า “ท่าน”
พระพุทธเจ้าตรัสสั่งว่า พระ ที่มีอายุพรรษามาก ให้เรียกพระบวชภายหลังตน หรือ ที่อ่อนอายุพรรษากว่าว่า “อาวุโส” หรือ “คุณ” ส่วนพระภิกษุที่อ่อนอายุพรรษา พึงเรียกพระที่แก่อายุพรรษากว่าตนว่า “ภันเต” หรือ “ท่าน”
ครั้น แล้วทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ทั้งปวงทูลถามว่า ท่านผู้ใดสงสัยอะไรในเรื่องที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้แล้ว ก็ให้ถามเสีย จะได้ไม่เสียใจภายหลังว่า ไม่มีโอกาสถาม ปรากฎตามท้องเรื่องในมหาปรินิพพานสูตรว่า ไม่มีพระองค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้าในข้อสงสัยที่ตนมีอยู่เลย
เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพานนั้น พระ พุทธเจ้าไม่ได้ทรงตั้งพระสาวกองค์ใดให้รับตำแหน่ง เป็นพระศาสดาปกครองพระสงฆ์สืบต่อจากพระองค์ เหมือนศาสดาในศาสนาอื่น เรื่องนี้ก็ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งพระสงฆ์ไว้ชัดเจนก่อนจะนิพพานว่า พระภิกษุรูปใดอย่าเข้าใจผิดว่า เมื่อพระองค์นิพพานแล้ว ศาสนาพุทธ หรือคำสั่งสอนของพระองค์จักไร้พระศาสดา จึงตรัสบอกพระอานนท์ว่า ” ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และบัญญัติไว้ด้วยดี นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่าน สืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไปแล้ว”

ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราจักขอเตือนพวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลก มีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็นประโยชน์แก่ตน และคนอื่น ให้สำเร็จบริบูรณ์ ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
หลัง จากนั้นไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย จนกระทั่งนิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือ วันเพ็ญวิสาขะ ณ ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์แปดประเสริฐที่สุด บรรดาบททั้งหลาย บทสี่คืออริยสัจประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะ คือ การปราศจากความกำหนัดยินดีประเสริฐที่สุด บรรดาสัตว์สองเท้า พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด มรรคมีองค์แปดนี่แล เป็นไปเพื่อทรรศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์แปดนี้ อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติเพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไป ความเพียรพยายาม เธอทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกทางเท่านั้นเมื่อปฏิบัติตนดังนี้ พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจากตัณหา อุปาทาน ความทะยานอยากดิ้นรน และความยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราเป็นของเรา รวมถึงความเพลินใจในอารมณ์ต่างๆ สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นตนเป็นของตนที่จะไม่ก่อทุกข์ ก่อโทษให้นั้นเป็นไม่มี หาไม่ได้ในโลกนี้ เมื่อใดบุคคลมาเห็นสักแต่ว่าได้เห็น ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง รู้สักแต่ว่าได้รู้ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆเพียงสักว่าๆ ไม่หลงใหลพัวพันมัวเมา เมื่อนั้นจิตก็จะว่างจากความยึดถือต่างๆ ปลอดโปร่งแจ่มใสเบิกบานอยู่บานอยู่”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฏฐิ คือความยึดมั่นถือมั่นเรื่องตัวตนเสีย ด้วยประการฉะนี้ เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวล ไม่มีความสุขใดยิ่งไปกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ในตัวเรานี้เอง ตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นหาความสุขจากที่อื่น เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลย มนุษย์ได้สรรค์สร้างสิ่งต่างๆขึ้นไว้เพื่อให้ตัวเองวิ่งตาม แต่ก็ตามไม่เคยทัน การแสวงหาความสุขโดยการปล่อยใจให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้น เป็นการลงทุนที่ไม่มีผลคุ้มเหนื่อย เหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็กๆเพียงตัวเดียว มนุษย์ส่วนใหญ่มักวุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกิน และเรื่องเกียรติ จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่งซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือ ดวงจิตที่ผ่องแผ้ว เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรน เรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา และเรืองเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้ เมื่อมีเกียรติมากขึ้น ภาระที่จะต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้ว ในหมู่ชนที่เพ่งมองแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น จิตใจของเจาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลา ไม่เคยประสบความสงบร่มเย็นเลย เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตา เขาพากันบ่นว่าหนักและเหน็ดเหนื่อย พร้อมๆกันนั้น เขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! คนในโลกส่วนใหญ่เต็มไปด้วยความกลับกลอกและหลอกลวงหาความจริงไม่ค่อยได้ แม้แต่ในการนับถือศาสนา ด้วยอาการดังกล่าวนี้ โลกจึงเป็นเสมือนระงมอยู่ด้วยพิษไข้อันเรื่อรังตลอดเวลา ภายในอาคารมหึมาประดุจปราสาทแห่งกษัตริย์ มีลมพัดเย็นสบาย แต่สถานที่เหล่านั้น มักบรรจุไปด้วยคนซึ่งมีจิตใจเร่าร้อนเป็นไฟอยู่เป็นอันมากภาวะอย่างนั้นจะมี ความสุขสู้ผู้มีใจสงบอยู่โคนไม้ได้อย่างไร”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! การแสวงหาทางออกอย่างพวกเธอนี้เป็นเรื่องประเสริฐแท้ การแก่งแย่งกันเป็นใหญ่เป็นโตนั้น ในที่สุดทุกคนก็รู้เองว่าเหมือนแก่งแย่งกันเข้าไปสู่กองไฟมีแต่ความรุ่มร้อน กระวนกระวาย เสนาบดีดื่มน้ำด้วยภาชนะทองคำกับคนจนๆ ที่ดื่มน้ำด้วยภาขนะที่ทำด้วยกะลามะพร้าว เมื่อมีความพอใจย่อมมีความสุขเท่ากัน นี่เป็นข้อยืนยันว่า ความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจ แม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็มีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่า แน่นอนทีเดียว คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนั้นไม่ใช่คนใหญ่คนโต แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุข สงบ เยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ลาภยศนั้นเป็นเหยื่อของโลก ที่น้อยคนนักจะสละและวางได้ จึงแย่งลาภแยกยศกันอยู่เสมอ เหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกิน แต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วย หรือ เหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือนกันจิกตีกัน ทำลายกันจนพินาศกันไปทั้งสองฝ่าย น่าสลดสังเวชจิตยิ่งนัก ถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภลง ทีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี ถ้าเขาลดโทสะลง มีความเห็นอกเห็นใจกัน มีเมตตากรุณาต่อกัน และลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาและดำรงชีวิต โลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก แต่ช่างเขาเถิด หน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอคือลดความโลภ ความโกรธ และความหลงของเธอเองให้น้อยลง แล้วจะประสบความสุขความเยือกเย็นขึ้นมาก เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใด ความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! ทำไมมนุษย์จึงยอมตัวอยู่ภายใต้การจองจำของสังคม ซึ่งมีแต่ความหลอกหลอน สับปรับและแปรผัน ทำไมมนุษย์จึงยอมตัวเป็นทาสของสังคมจนแทบจะกระดิกกระเดี้ยตัวมิได้ จะทำอะไรจะคิดอะไรก็ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของสังคมไปเสียหมด สังคมจึงกลายเป็นเครื่องจองจำชีวิต ที่มนุษย์ซึ่งสำคัญตัวว่าเจริญแล้วช่วยกันสร้างขึ้น เพื่อผูกมัดตัวเองให้อึดอัดรำคาญ มนุษย์ยิ่งเจริญขึ้นก็ดูเหมือนจะมีเสรีภาพน้อยลงทั้งทางกายและทางใจ ดูๆแล้วความสะดวกสบายและเสรีภาพของมนุษย์จะสู้สัตว์เดรัจฉานบางประเภทไม่ได้ ที่มันมีเสรีภาพที่จะทำอะไรตามใจชอบอยู่เสมอ ดูอย่างเช่นฝูงวิหดนกกา มนุษย์เราเจริญกว่าสัตว์ตามที่มนุษย์เราชอบพูดกัน แต่ดูเหมือนพวกเราจะมีความสุขน้อยกว่าสัตว์ ภาระใหญ่ที่ต้องแบกไว้คือเรื่องกาม เรื่องกิน และเรื่องเกียรติ มันเป็นภาระหนักยิ่งของมนุษยชาติ สัตว์เดรัจฉานตัดไปได้อย่างหนึ่งคือเรื่องเกียรติ คงเหลือแต่เรื่องกามและเรื่องกิน นักพรตอย่างพวกเธอนี้ตัดไปได้อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องกาม คงเหลือแต่เรื่องกินอย่างเดียว ปลดภาระไปได้อีกมาก แต่การกินอย่างนักพรตกับการกินของผู้บริโถคกามก็ดูเหมือนจะบริโถคแตกต่างกัน อยู่ ผู้บริโภคกามและยังหนาแน่นอยู่ในโลกีย์วิสัย บริโภคเพื่อยุกามให้กำเริบ จะต้องกินอย่างมีเกียรติ กินให้สมเกียรติ มิใช่กินเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้อย่างสมณะ ความจริงร่างกายคนเรามิได้ต้องการอาหารอะไรมากนัก เมื่อหิวร่างกายก็ต้องการอาหารเพียงเพื่อบำบัดความหิวเท่านั้น แต่เมื่อมีเกียรติเข้ามาบวกด้วย จึงกลายเป็นเรื่องกินอย่างเกียรติยศ และแล้วก็มีภาระตามมาอย่างหนักหน่วง คนจำนวนมากเบื่อเรื่องนี้ แต่จำต้องทำเหมือนโคหรือควาย ซึ่งเหนื่อยหน่ายต่อแอกและไถ แต่จำใจต้องลากมันไป ลากมันไป อนิจจา !”
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย ! การครองเรือนเป็นเรื่องยาก เรือนที่ครองไม่ดี ย่อมก่อทุกข์ให้มากมาย การอยู่ร่วมกับคนพาลเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง”

บทกลอนสอนใจ เห็นดี พูดดี เรื่องเขาบ้าง

เห็นดี พูดดี เรื่องเขาบ้าง

พูดแต่เรื่อง ดีดี ของคนอื่น    
แม้ต้องฝืน คอยฝึก เป็นนิสัย
พูดแง่ดี ละแง่ชั่ว ฝึกเอาไว้
แม้เรื่องใด จะเจริญ แก่ตัวเอง
สิ่งสำคัญ หัดเห็นดี เขาเสียบ้าง
ต้องหัดล้าง ดวงตาจิต คิดข่มเหง
ล้างแต่เรื่อง ล้างตาจิต ตานักเลง
ชั่วจะเกรง ตาใจเรา มิกล้ำกลาย.
                                                          บัวเพลิง.

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติบุคคลสำคัญทางพุทธศาสนา พระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 27

๒.ประวัติบุคคลสำคัญทางพุทธศาสนา  พระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 27
พระนารายณ์มหาราชกับพุทธศาสนา



สมเด็จพระนารายณ์มหาราชพระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระนารายณ์ราชกุมาร
พระปรมาภิไธย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
ราชวงศ์ ราชวงศ์ปราสาททอง
ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231
ระยะครองราชย์ 32 ปี
รัชกาลก่อนหน้า สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
รัชกาลถัดไป สมเด็จพระเพทราชา
ข้อมูลส่วนพระองค์
พระราชสมภพ พ.ศ. 2175
สวรรคต 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2231
พระราชบิดา สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
พระราชมารดา พระนางเจ้าสิริกัลยาณี อัครราชเทวี
พระราชโอรส/ธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุดาวดี กรมหลวงโยธาเทพ

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 หรือ สมเด็จพระรามาธิบดีศรีสรรเพชญ (พ.ศ. 2175 - พ.ศ. 2231 ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231) พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 27 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระมหากษัตริย์ผู้เป็นที่เลื่องลือพระ เกียรติยศในพระราโชบายทางคบค้าสมาคมกับชาวต่างประเทศ รักษาเอกราชของชาติให้พ้นจากการเบียดเบียนของชาวต่างชาติและรับผลประโยชน์ ทั้งทางวิทยาการและเศรษฐกิจที่ชนต่างชาตินำเข้ามา นอกจากนี้ ยังได้ทรงอุปถัมภ์บำรุงกวีและงานด้านวรรณคดีอันเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองที่สุด ในยุคนั้น เมื่อสมเด็จพระนารายณ์เสด็จเถลิงถวัยราชสมบัติ ณ ราชอาณาจักรศรีอยูธยาแล้ว ปัญหากิจการบ้านเมืองในรัชสมัยของพระองค์เป็นไปในทางเกี่ยวข้องกับชาวต่าง ประเทศเป็นส่วนใหญ่ ด้วยในขณะนั้น มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขาย และอยู่ในราชอาณาจักรไทยมากว่าที่เคยเป็นมาในกาลก่อน ที่สำคัญมาก คือ ชาวยุโรปซึ่งเป็นชาติใหญ่มีกำลังทรัพย์ กำลังอาวุธ และผู้คน ตลอดจน มีความเจริญรุ่งเรืองทางวิทยาการต่าง ๆ เหนือกว่าชาวเอเซียมาก และชาวยุโรปเหล่านี้กำลังอยู่ในสมัยขยายการค้า ลัทธิคริสต์ศาสนา และอำนาจทางการเมืองของพวกตนมาสู่ดินแดนตะวันออก

ในรัชสมัยของพระองค์์นั้น ชาวฮอลันดาได้ กีดกันการเดินเรือค้าขายของไทย ครั้งหนึ่งถึงกับส่งเรือรบมาปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยา ขู่จะระดมยิงไทย จนไทยต้องผ่อนผันยอมทำสัญญายกประโยชน์การค้าให้ตามที่ต้องการ แต่เพื่อป้องกันมิให้ฮอลันดาข่มเหงไทยอีก สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงสร้างเมืองลพบุรีไว้เป็นเมืองหลวงสำรอง อยู่เหนือขึ้นไปจากกรุงศรีอยุธยา และเตรียม สร้างป้อมปราการไว้คอยต่อต้านข้าศึก เป็นเหตุให้บาทหลวงฝรั่งเศสที่มีความรู้ทางการช่าง และต้องการเผยแผ่คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก ได้เข้ามาอาสาสมัครรับใช้ราชการจัดกิจการเหล่านี้ ข้าราชการฝรั่งที่ทำราชการมีความดีความชอบในการปรับปรุงขยายการค้าของไทยขณะ นั้นคือ เจ้าพระยาวิชเยนทร์ ซึ่งกำลังมีข้อขุ่นเคืองใจกับบริษัทการค้าของอังกฤษที่เคยคบหาสมาคมกันมา ก่อน เจ้าพระยาวิชเยนทร์ จึงดำเนินการเป็นคนกลาง สนับสนุนทางไมตรีระหว่างสมเด็จพระนารายณ์กับทางราชการฝรั่งเศส ซึ่งเป็นรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชวงศ์บูร์บงฝ่าย สมเด็จพระนารายณ์กำลังมีพระทัยระแวงเกรงฮอลันดายกมาย่ำยี และได้ทรงทราบถึงพระเดชานุภาพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในยุโรปมาแล้ว จึงเต็มพระทัยเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ไว้ เพื่อให้ฮอลันดาเกรงขาม ด้วยเหตุนี้ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ จึงได้มีการส่งทูตฝรั่งเศสไปสู่พระราชสำนักฝรั่งเศส และต้อนรับคณะทูตฝรั่งเศสอย่างเป็นงานใหญ่ถึงสองคราว แต่การคบหาสมาคมกับชาติมหาอำนาจคือฝรั่งเศสในยุคนั้น ก็มิใช่ว่าจะปลอดภัยนัก ด้วยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 มีพระราโชบายที่จะให้สมเด็จพระนารายณ์ และประชาชนชาวไทยรับนับถือคริสต์ศาสนา ซึ่งบาทหลวงฝรั่งเศสนำมาเผยแผ่ โดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงส่งพระราชสาสน์มาทูลเชิญสมเด็จพระนารายณ์เข้ารับ นับถือคริสต์ศาสนาพร้อมทั้งเตรียมบาทหลวงมาไว้คอยถวายศีลด้วย แต่สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงใช้พระปรีชาญาณตอบปฏิเสธอย่างทะนุถนอมไมตรี ทรงขอบพระทัยพระเจ้าหลุยส์ที่มีพระทัยรักใคร่พระองค์ถึงแสดงพระปรารถนาจะให้ ร่วมศาสนาด้วย แต่เนื่องด้วยพระองค์ยังไม่เกิดศรัทธาในพระทัย ซึ่งก็อาจเป็นเพราะพระเป็นเจ้าประสงค์ที่จะให้นับถือศาสนาคนละแบบคนละวิธี เช่นเดียวกับที่ทรงสร้างมนุษย์ให้ผิดแผกเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ หรือทรงสร้างสัตว์ให้มีหลายชนิดหลายประเภทก็ได้ หากพระเป็นเจ้ามี พระประสงค์จะให้พระองค์ท่านเข้ารับนับถือศาสนาตามแบบตามลัทธิที่พระเจ้า หลุยส์ทรงนับถือแล้ว พระองค์ก็คงเกิดศรัทธาขึ้นในพระทัย และเมื่อนั้นแหละ พระองค์ท่านก็ไม่รังเกียจที่จะทำพิธีรับศีลร่วมศาสนาเดียวกัน
วิชาพระพุทธศาสนา ม.5 : ความหนักแน่นทางพระพุทธศาสนาของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเห็นได้ชัดเมื่อมีการเผยแผ่ศาสนาคริสต์มายังประเทศไทย บาทหลวงของศาสนาคริสต์ได้นำหลักคำสอนในคัมภีร์ไบเบิลมาให้พระองค์ทรงศึกษา วันหนึ่งมีบาดหลวงถือไม้เท้ามีไม้กางเขนอันใหญ่เหมือนกับโป๊ปถือเข้าไปเฝ้าพระองค์ บอกกับพระองค์ว่า “ถึงเวลาแล้ว เพราะหว่าพระองค์ทรงรู้เรื่องของพระผู้เป็นเจ้า ของพระเยซูคริสต์ดีแล้ว ควรจะรับศีลเป็นคาธอลิคเสียที” พระองค์ทรงตอบว่า ถ้าพระผู้เป็นเจ้าในคัมภีร์ของทานมีอยู่จริง มีอำนาจพิเศษจริง ๆ พระผู้เป็นเจ้าของท่านก็คงทราบว่าประเทศไทยนี่ เป็นเมืองนับถือพระพุทธศาสนา แล้วพระผู้เป็นเจ้าให้ข้าพเจ้ามาเกิดในประเทศไทยก็เท่ากับว่าให้มาเป็นหัวหน้าของพุทธบริษัท นับถือพระพุทธศาสนา ถ้าข้าพเจ้าเปลี่ยนจิต เปลี่ยนมานับถือศาสนาคาทอลิคที่พวกท่านให้ข้าพเจ้านับถือ มันก็ขัดกับความต้องการของพระผู้เป็นเจ้า จะเป็นโทษเป็นบาป” (มูลนิธิเผยแพร่ชีวิตประเสริฐ, ม.ป.ป. :41-42)

คุณธรรมที่เป็นแบบอย่าง

1. สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นแบบอย่างในการใช้ธรรมะนำการเมืองไทย ในสมัยนั้นมีการล่าอาณานิคม ท่านสามารถนำหลักธรรมะมาใช้ในการบริหารบ้านเมืองให้พ้นจากการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตกได้อย่างสง่างาม จึงทรงรักษาไว้ได้ทั้งชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

2. ทรงมีพระทัยหนักแน่นในการนับถือพระพุทธศาสนา จะเห็นได้จากพระองค์ทรงปฏิเสธการเข้ารีตศาสนาคริสต์


     ทองพริก วิกิพีเดีย

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประวัติบุคคลสำคัญทางพระพุทธศาสนา ๑ พระเจ้าอโศกมหาราช

ประวัติบุคคลสำคัญทางพระพุทธศาสนา ๑ 
พระเจ้าอโศกมหาราช หรือ พระเจ้าธรรมโศก
ประวัติบุคคลสำคัญทางพระพุทธศาสนา ๑ 
พระเจ้าอโศกมหาราช หรือ พระเจ้าธรรมโศก

พระเจ้าอโศกมหาราช (เทวนาครี: अशोकः, อังกฤษ: Ashoka the Great; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมริยะ ผู้ปรีชาสามารถพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ ทรงปกครองแคว้นมคธ มีพระราชธานีชื่อว่า ปาฏลีบุตร (ปัจจุบันเรียกว่า ปัฏนะ Patna) ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าพินทุสารแห่งราชวงศ์โมริยะ พระมารดานามว่าศิริธรรม พระเจ้าอโศกมีพระโอรส และธิดา 11 พระองค์
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิอโศกมหาราช หรือพระเจ้าอโศกมหาราช เดิมเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่โหดร้าย ชอบการทำสงครามกับแว่นแคว้นต่าง ๆ จนได้รับสมญานามว่า จัณฑาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้โหดเหี้ยม) แต่หลังจากที่พระองค์หันมานับถือพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ทรงกลายเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปถัมภก์ ผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองและแผ่ขยายมากที่สุดในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และจากพระราชกรณียกิจมากมายนานัปการที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญด้วยทศพิธราชธรรมอย่างแท้จริง ทำให้ภายหลังทรงได้รับการขนานพระราชสมัญญานามว่า ธรรมาโศกราช (พระเจ้าอโศกผู้ทรงธรรม)

พระเจ้าอโศกมหาราช กับพระพุทธศาสนา

ก่อนที่จะเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนา มีความดุร้ายและโหดเหี้ยมเป็นอย่างยิ่ง จนได้รับฉายาว่า จัณฑาโศก แปลว่าอโศกผู้ดุร้าย ต่อมาเมื่อไปรบที่แคว้นกาลิงคะ (ปัจจุบันอยู่รัฐโอริสสา) มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จึงเกิดความสลดสังเวชในบาปกรรม และตั้งใจแสวงหาสัจธรรมและพบนิโครธสามเณรที่มีกิริยามารยาทสงบเรียบร้อย จึงทรงนิมนต์พระนิโครธโปรดแสดงธรรม พระนิโครธก็แสดงธรรม จึงมีความเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า ต่อมาได้ฟังพระธรรมจากพระสมุทระเถระทรงส่งกระแสจิตตามพระธรรมเทศนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัย พระองค์ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา เช่น ทรงสร้างวัด วิหาร พระสถูป พระเจดีย์ หลักศิลาจารึก มหาวิทยาลัยนาลันทา ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงผนวชขณะที่ยังทรงครองราชย์อยู่ และเลิกการแผ่อำนาจในการปกครอง มาใช้หลักพุทธธรรม (ธรรมราชา) ปกครอง นอกจากนี้พระเจ้าอโศกมหาราชยังทรงส่งสมณะทูตไปเผยแพร่ศาสนา โดยแบ่งเป็น 9 สาย สายที่ 8 มาเผยแพร่ที่ สุวรรณภูมิ โดยพระโสณะและพระอุตระเป็นสมณะทูต และพระองค์เป็นผู้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่3 ณ วัดอโศการาม เมืองปาฏลีบุตร
ต่อมาก็ทรงโปรดเกล้าให้สร้างบ่อน้ำ ที่พักคนเดินทาง โรงพยาบาล และปลูกต้นไม้ เพื่อจัดสาธารณูปโภคและสาธารณ ตามหลักพุทธธรรม ต่อจากนั้นก็เสด็จไปพบสังเวชนียสถาน4แห่ง เป็นผู้แรก และทรงสถาปนาให้เป็นเป็นสถานที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนในเวลาต่อมา นับว่าพระองค์เป็นอัครศาสนูปถัมภ์พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และต่อมาพระองค์ทรงได้สมญานามว่า ธรรมมาอโศก แปลว่า อโศกผู้ทรงธรรม ทรงครองราชย์ได้41ปี

ดำเนินรัฐศาสนโยบาย

ด้วยทรงถือหลักธรรมวิชัยปกครองแผ่นดินโดยธรรม ยึดเอาประโยชน์สุขของพสกนิกรของพระองค์เป็นที่ตั้ง ทรงส่งเสริมสารธารณูปการ และประชาสงเคราะห์ ทรงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในชมพูทวีปอย่างกว้างขวาง ได้เป็นบ่อเกิดอารยธรรมที่มั่งคงไพศาล อนุชนได้เรียกขานพระนามของพระองค์ด้วยความเคารพเทอดทูน ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์หลายองค์ที่พิชิตนานาประเทศด้วยสงคราม แม้พระนามของพระองค์ก็ปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน

อัครศาสนูปถัมภก

พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในพระพุทธศาสนา ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ในชมพูทวีป ทรงเป็นพระอัครศาสนูปถัมภกทั้งฝ่ายมหายาน และฝ่ายเถรวาท ตามพระราชประวัติในคัมภีร์อโศกาวทาน ของฝ่ายมหายาน ใน อรรถกถาสมันตปาสาทิกา คัมภีร์ทีปวงศ์ และคัมภีร์มหาวงศ์ ของฝ่ายเถรวาท และทรงอุปถัมภ์ผู้ที่นักถือศาสนาเชน โดยการถวายถ้ำหลายแห่ง ให้แก่เชน

ทรงเป็นหนึ่งใน 6 ในอัครมหาบุรุษ

เอช. จี. เวลส์ (H.G.Wells) นักเขียน (The father of science-fiction)ในตะวันตกก็ยกย่องพระเจ้าอโศกมหาราช ว่าทรงเป็นอัครมหาบุรุษท่านหนึ่ง ใน 6 อัครมหาบุรุษแห่งประวัติศาสตร์โลก คือ พระพุทธเจ้า โสเครติส อริสโตเติล โรเจอร์ เบคอน และอับราฮัม ลิงคอล์น
บุรพกรรมของพระเจ้าอโศกมหาราช
  • กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกเป็นใหญ่ในชมพูทวีป เพราะได้เคยถวายน้ำผึ้งแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า
  • กล่าวว่าด้วยเหตุอันที่พระเจ้าอโศกผูกพันกับนิโครธสามเณรเมื่อแรกพบ เพราะเมื่อชาติอดีตที่เป็นพ่อค้าขายน้ำผึ้ง เป็นพี่น้องกัน รวมทั้งพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ที่ลังกาทวีป
  • หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชสิ้นพระชนม์ พระองค์ก็ได้ไปบังเบังเกิดเป็นงูเหลือม เพราะก่อนพระองค์จะสวรรคตพระองค์ทรงพระดำริที่จะถวายพระราชทรัพย์ถวายไว้ในพระศาสนาอีก ได้มีขุนนางมาทัดทาน พระองค์จึงเกิดจิตโทสะ เมื่อสิ้นพระชนม์ จึงได้ไปเกิดสู่ทุคติภูมิ แต่หลังจากนั้นพระองค์ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระมหินทเถระ พระราชโอรสซึ่งบรรลุพระอรหันต์แล้ว จนได้บรรลุพระโสดาบัน และ พองูเหลือมซึ่งก็คือพระเจ้าอโศกมหาราชได้ตายแล้ว ดวงวิญญาณของพระองค์ก็ได้ล่องลอยสู่สรวงสวรรค์ ด้วยผลบุญที่พระองค์ทรงเคยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างใหญ่หลวง
  • พอมาสมัยยุคปัจจุบันนั้น ในประเทศไทยมีพระอริยสงฆ์ซึ่งได้บรรลุธรรมสูงสุดจำนวนมาก ซึ่งส่วนมากเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
  • หนึ่งในจำนวนนั้นก็คือ ท่านพ่อลี ธัมธโร ซึ่งได้บรรลุธรรมสูงสุดแล้ว (พระอรหันต์) ได้เล่าถึงอดีตชาติว่าชาติก่อนท่านเป็นพระเจ้าอโศกมหาราช[ต้องการอ้างอิง]
  • พระเจ้าอโศกทรงขุดพบสถานที่เผาพระพุทธสรีระหรือที่เรียกกันว่า "เนินดินเจ้าชายสิ้นชีพ"

โดย ทองพริก วิกิพีเดีย

วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วันสำคัญมาฆบูชา วันที่ชาวพุทธต้องอ่าน

เหลืออีก ๓ วัน เริ่มจากเขียนกระทู้นี้ เป็นวันที่เข้าช่วง วันสำคัญทางพุทธศาสนา มาฆบูชา ในมาฆบูชา ปีนี้ ตรงกับวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๕๔    วันสำคัญมีกันอย่างไรนั้น
ก็ต้องมีการที่จะทำความรู้กันเสียก่อน ในฐานะที่พวกคุณทั้งหลายบอกกับตัวเองว่าเป็นชาวพุทธ เดี่ยวนี้เราส่วนใหญ่จะรู้วันสำคัญทางฝรั่งเขามากเกินที่จะให้ความสำคัญกับวันที่เป็นไทยๆของเรา โดยเฉพาะวันที่เป็นรากฐานของชาวพุทธ คือวันสำคัญต่างๆทางพุทธศาสนา
 วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ 
มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันเกิดพระธรรม ถือว่าเป็นวันที่ พระพุทธเจ้า ได้ประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น นำไปเผยแผ่
           วั น"มาฆบูชา" เป็นวันบูชาพิเศษที่ต้องทำในวันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือในวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์
( ซึ่งโดยปกติทำกันในกลางเดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด ก็เลื่อนไปกลางเดือน ๔ )
ถือกันว่าเป็นวันสำคัญ เพราะวันนี้ เป็นวันคล้ายกับ วันประชุมกันเป็นพิเศษ แห่งพระอรหันตสาวก โดยมิได้มีการนัดหมาย ซึ่งเรียกว่า วัน
จาตุรงคสันนิบาต ซึ่งได้มีขึ้น ณ บริเวณเวฬุวันมหาวิหาร หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นเวลานับได้ ๙ เดือน
           วันนี้เอง ที่พระพุทธองค์แสดง "โอวาทปาฎิโมกข์" ซึ่งถือกันว่า เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
จาตุรงคสันนิบาต คือ การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ
๑. วันนั้น เป็นวันมาฆปูรณมี คือวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำกลางเดือนมาฆะ จึงเรียกว่า มาฆบูชา
๒. พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย (
สาเหตุของการชุมนุม)
๓. พระภิกษุทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ ประเภทฉฬภิญญา คือ ได้
อภิญญา ๖
๔. พระภิกษุ เหล่านั้น ทั้งหมด ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เอหิภิกฺขุอุปสมฺปทา)

<><><><><><>
<>
<><><><><><>
โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึง จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ของพระพุทธศาสนาไว้อย่างครบถ้วน
๑. จุดหมายของพระพุทธศาสนา คือ พระนิพพาน (นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา)

๒. หลักการของพระพุทธศาสนา คือ ต้องมีความอดทน ในการฝึกตนเอง เพื่อบรรลุจุดหมาย (ขนฺติ ปรมํ ตโป ตีติกฺขา) ต้องประกอบด้วย
     ก. ไม่ทำความชั่วโดยประการทั้งปวง ทั้งทางกาย วาจา และทางใจ (สพฺพปาปสฺส อรกณํ)
     ข. ทำความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ (กุสลสฺสูปสมฺปทา) การไม่ทำความชั่วนั้น จะเรียกว่า เป็นคนดียังไม่ได้ การเป็นคนดี จะต้องทำความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ มิฉะนั้นแล้ว คนปัญญาอ่อน คนเป็นอัมพาต เป็นต้น ก็จะเป็นคนดีไปหมด
     ค. การชำระจิตใจให้สะอาด ผ่องใส สงบ (สจิตฺตปริโยทปนํ)

๓. วิธีการที่จะบรรลุจุดหมาย คือ ต้องฝึกอบรมตนแบบต่อเนื่อง ให้เกิดมรรคสามัคคี คือ
อริยมรรคมีองค์ ๘ ** รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๘ เกลียว หรือให้มี ศีล สมาธิ และปัญญา รวมพลังกัน เหมือนเชือก ๓ เกลียว พัฒนากาย วาจา ใจ ให้พูดดี ทำดี คิดดี ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส คือ โลภะ โทสะ โมหะ หรือ ราคะ โมสะ โมหะ ไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลส ตัณหา หรือความใคร่ ความอยากมี อยากเป็น แบบมืดบอด ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ที่มันเป็นไปไม่ได้ เช่น ไม่อยากเป็นคนเสื่อมลาภ, ยศ, สรรเสริญ, สุข เป็นต้น โดยอาศัยวิธีการดังต่อไปนี้.

     ก. ฝึกวาจา ระวังเสมอ มิให้กล่าวคำเท็จ คำหยาบ คำส่อเสียด คำเพ้อเจ้อ (อนูปวาโท)
     ข. ฝึกกาย ระวังเสมอมิให้มีการฆ่า ทำลายชีวิต ตลอดจนถึงการเบียดเบียนทางกาย (อนูปฆาโต)
     ค. ละเว้นข้อที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสห้ามไว้ และทำตามข้อที่พระพุทธองค์อนุญาต (ปาฎิโมกฺเข จ สํวโร)
     ง. รู้จักประมาณในการบริโภค อาหาร ตลอดจน รู้จักประมาณในการใช้สอยปัจจัย ๔ (มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺสมึ)
     จ. ฝึกตนอย่างจริงจัง ในที่ที่สงัดจากสิ่งรบกวน (ปนฺตนฺ จ สยนาสนํ)
     ฉ. ภาวนาอยู่เสมอ คือ พัฒนาตนเองให้พ้นจากอำนาจของกิเลสตัณหา การภาวนา หมายถึง การใช้ทั้งสมาธิ และวิปัสสนา แก้ปัญหา หรือจัดการกับกิเลส (อธิจิตฺเต จ อาโยโค) เป็นการตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ มิให้จิตใจเศร้าหมอง ให้จิตใจผ่องใสอยู่เสมอ (สจิตฺตปริโยทปนํ)

          จุดหมาย หลักการ และวิธีการ ที่พระพุทธเจ้าได้ประกาศไว้จะเป็นไปด้วยดี และบรรลุวัตถุประสงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงมุ่งหมายไว้นั้น พระองค์ได้ย้ำเตือนไว้ว่า จะต้องปฏิบัติตนให้เป็นอย่างบรรพชิต และเป็นอย่างสมณะ คือ เว้นจากความชั่วทุกประการ และเป็นผู้ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่าง เพื่อระงับบาปอกุศล ได้แก่ ผู้ปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นอริยบุคคล ทั้งไม่เบียดเบียนและไม่ก่อให้เกิดความเดือนร้อนแก่คนที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบทั้งหลาย (น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต)
หมายเหตุ
สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบ
สัมมาสังกัปปะความดำริชอบ
สัมมาวาจาการพูดจาชอบ
สัมมากัมมันตะการทำงานชอบ
สัมมาอาชีวะการเลี้ยงชีวิตชอบ
สัมมาวายามะความพากเพียรชอบ
สัมมาสติความระลึกชอบ
สัมมาสมาธิความตั้งใจมั่นชอบ
อภิญญา ๖
อภิญญา คือความรู้อันยอดยิ่งมี ๖ ประการได้แก่
๑.แสดงฤทธิ์ได้ (อิทธิวิธิ)
๒.หูทิพย์ (ทิพยโสต)
๓.รู้จักกำหนดใจผู้อื่น (เจโตปริยญาณ)
๔.ระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ)
๕.ตาทิพย์ (ทิพยจักษุ)
๖.ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป-คือญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย (อาสวักขยญาณ)
สาเหตุของการชุมนุมคงเนื่องมาจากภิกษุเหล่านั้นล้วนเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนและในวันเพ็ญเดือนมาฆะ
เป็นวันที่ทางศาสนาพราณ์ได้ประกอบพิธีศิวาราตรี คือ การลอยบาปในแม่น้ำคงคา และประกอบพิธีสักการบูชาพระเป็นเจ้าในเทวสถาน เมื่อถึงวันนั้น พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าซึ่งเคยประกอบพิธีดังกล่าวจึงต่างพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์

สายฝน แห่งชีวิต ปล่อยความทุกข์ กังวลไหลไปตาม สายน้ำ ไม่ยึดมั่นถือมั่น ปล่อยวาง





ใบไม้ร่วงโรย ชีวิตล่วงเลย แต่ใจไม่ร่วงหล่น